ASEAN: ข่าวดีและข่าวร้ายจากการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 20

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday July 18, 2012 13:51 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ASEAN: ข่าวดีและข่าวร้ายจากการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 20

สรุปผลที่มีทั้งข่าวด้านบวกและด้านลบจากการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 20 ที่จัดขึ้นในกรุงพนมเปญประเทศกัมพูชาที่พึ่งสิ้นสุดในเดือนเมษายนที่ผ่านมา

ข่าวเชิงบวก :

การพลิกโฉมหน้าใหม่ของพม่าเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยนับเป็นข่าวดีข่าวแรกที่อาเซียนสามารถอวดแก่สายตาประชาคมโลกด้วยความภาคภูมิใจ ในอดีตที่ผ่านมาช่วงระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียนโดยเฉพาะช่วงการตอบประเด็นคำถามที่มักจะถูกยกขึ้นโดยองค์กรระหว่างประเทศ เกี่ยวกับความคืบหน้าและบทบาทความพยายามของอาเซียนที่จะเข้าสนับสนุนให้มีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจการเมืองอย่างเป็นรูปธรรมในประเทศสมาชิกอย่างพม่า ที่มักจะคอยสร้างความลำบากใจอย่างมากให้แก่กลุ่มผู้นำอาเซียน ซึ่งในที่สุดในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ผ่านมาผู้นำอาเซียนสามารถแถลงถึงความสำเร็จในการปฏิรูปของประเทศพม่าและบทบาทของอาเซียนที่สำคัญในภูมิภาคได้อย่างเต็มที่

โดยเพียงไม่กี่วันก่อนการเริ่มการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งล่าสุดในเดือนเมษายนที่ผ่านมา การเลือกตั้งในประเทศพม่าได้จบลงด้วยสัญญาณแห่งชัยชนะประชาธิปไตยที่ชัดเจน ส่งผลให้มีการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งตามระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยในสหภาพพม่าเป็นครั้งแรก โดยพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (The National League for Democracy หรือ NLD) นำโดยนางอองซานซูจีได้รับเลือกในการเข้าร่วมในรัฐสภาขาดลอยถึง 43 ที่นั่งจากทั้งหมด 45 ที่นั่ง ในขณะเดียวกันชัยชนะทางการเมืองนี้จะยังคงไม่สามารถเปลี่ยนความจริงที่ว่ารัฐสภาจะยังคงอยู่ภายใต้อิทธิพลทางทหารของพรรคผู้นำจาก พรรคสหสามัคคีและการพัฒนา(the Union Solidarity and Development Party หรือ USDP) โดยยังมีกันที่นั่งรัฐสภาส่วนหนึ่งที่จะได้รับการแต่งตั้งจากฝ่ายทหารโดยตรง

อย่างไรก็ตามการเลือกตั้งครั้งนี้ได้ส่งสัญญาณความน่าเชื่อถือและความโปร่งใสของกระบวนการการเลือกตั้ง และนับเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิรูปเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยของประเทศพม่าที่มาจากการริเริ่มของนาย เต็ง เส่ง (Thein Sein) ประธานาธิบดีคนปัจจุบันจากชุดรัฐบาลทหารเดิมของพม่าเอง หลายคนยังมีความเห็นว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ดำเนินการไปด้วย "ความเสรี เป็นธรรมและโปร่งใส" และทั้งนี้บุคคลที่น่ายกย่องที่สุดในการเลือกตั้งของพม่าครั้งแรกนี้ก็ยังเป็น ท่านประธานาธิบดี เต็ง เส่ง ผู้ริเริ่มเปิดทางอนุญาต และดำเนินงานจัดตั้งการเลือกตั้งรัฐสภาครั้งแรกภายในระยะอันสั้นเหนือกระแสการคาดการณ์

ผู้นำอาเซียนได้ยกประเด็นเหตุการณ์ประเทศพม่าปฏิรูปเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยในระหว่างการปิดท้ายการประชุมสุดยอดอาเซียน โดยผู้นำอาเซียนได้เรียกร้องถึงนานาประเทศให้ยกเลิกการคว่ำบาตรต่อประเทศพม่า อันจะนำมาซึ่งประโยชน์แก่ประชาคมนานาชาติและโดยเฉพาะอย่างยิ่งแก่กลุ่มประเทศอาเซียน เพื่อสนับสนุนให้ประเทศพม่ามีโอกาสพัฒนาก้าวไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่องและอย่างไม่ถอยกลับ ด้วยการสนับสนุนที่ไม่มีการเคลือบแฝง, ต่อเนื่องคงที่ และ ทันท่วงที โดยเฉพาะในแง่ของการให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและการเพิ่มการค้าและการลงทุน

ฐานกลุ่มผู้สนับสนุนการปฏิรูปการการเมืองการปกครองของประธานาธิบดี เต็ง เส่ง โดยส่วนมากประกอบด้วยกลุ่มนายทหารชั้นสูง(ที่อาจไม่มีความเชี่ยวชาญพอทางด้านเศรษฐกิจ) อันอาจจะทำให้รัฐบาลพม่าชุดปัจจุบันตกอยู่ภายใต้ภาวะกดดัน หากรัฐบาลไม่สามารถบริหารประเทศให้มีการเติบโตในภาคการค้าเศรษฐกิจอย่างเป็นรูปธรรมได้ และแม้กระทั่งตามศักยภาพภายในกลุ่มประเทศอาเซียนเองก็ยังต้องการการสนับสนุนและความร่วมมือจากนานาประเทศ - โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาและยุโรป — เพื่อที่จะช่วยผลักดันพม่าให้เดินไปในทิศทางที่ก้าวไปข้างหน้า

ข่าวเชิงลบ:

โดยข่าวเชิงตอบปฏิเสธที่ออกมาจากการประชุมสุดยอด โดยประเด็นคำถามแรกของการเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มประเทศอาเซียนของหมู่เกาะติมอร์เลสเต ในขณะที่อินโดนีเซียยังคงยืนยันสนับสนุนการเข้าร่วมของประเทศหมู่เกาะติมอร์เลสเตในฐานะสมาชิกใหม่ ในทางตรงกันข้ามสิงคโปร์ยังคงไม่มั่นใจในศักยภาพประเทศเกิดใหม่เล็กๆอย่างติมอร์เลสเตในความสามารถปรับรับความท้าทายและความซับซ้อนของการเข้าเป็นสมาชิกอาเซียน ประเด็นการเข้าร่วมสมาชิกของติมอร์เลสเตจึงถูกพัก "ภายใต้การพิจารณา" โดยคาดกันว่าติมอร์เลสเตคงต้องรอเวลาที่เหมาะสมในการการเข้าร่วมเป็นสมาชิกลำดับที่ 11

อินโดนีเซียในฐานะบ้านพี่เมืองน้องกับติมอร์เลสเตยังคงกล่าวเตือนทิ้งท้ายแก่ประเทศสมาชิกอื่นว่า การช่วยเหลือประเทศเกิดใหม่ในภูมิภาคให้เข้าร่วมสมาชิกนับเป็นความรับผิดชอบอย่างหนึ่งของกลุ่มประเทศอาเซียน และในไม่ช้าก็เร็วเชื่อว่าติมอร์เลสเตก็จะต้องได้เข้าร่วมเป็นประเทศสมาชิก

ประเด็นข่าวเชิงลบถัดมาคือประเด็นข้อพิพาทอันสร้างความแตกแยกระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนเกี่ยวกับทะเลจีนใต้ ซึ่งจัดเป็นประเด็นที่ได้รับการกล่าวถึงมากระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ผ่านมา โดยให้มีมติการร่างข้อปฏิบัติจรรยาบรรณ(Code of Conduct (CoC))เกี่ยวกับการแสวงผลประโยชน์ในน่านน้ำทะเลจีนใต้

ประเทศสมาชิกฝ่ายแรกออกความเห็นว่า ควรจะเชิญประเทศจีนให้มีส่วน ในการร่วมกันร่างข้อปฏิบัติจรรยาบรรณ CoC กับกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยกันตั้งแต่เริ่มต้น ด้านความเห็นของประเทศสมาชิกอีกฝ่ายหนึ่งโดยเฉพาะประเทศเวียดนามและฟิลิปปินส์กลับยืนยันว่ากลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนสมควรการจะกำหนดบทบาทท่าทีที่ชัดเจนภายในเพื่อประโยชน์ของประเทศสมาชิกในการสนทนาและการเจรจาต่อรองก่อนที่จะนำเสนอร่างข้อปฏิบัติดังกล่าวแก่ประเทศจีน ความไม่ลงรอยของความคิดเห็นในระหว่างประเทศสมาชิกนี้ ชี้ให้เห็นความแตกต่างทางยุทธศาสตร์และท่าทีที่แต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนมีต่อประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจโลกอย่างจีน

อินโดนีเซียผู้เป็นคนกลางไกล่เกลี่ยหาทางออกที่เป็นที่ยอมรับร่วมกันได้สำหรับทุกฝ่าย ในการระงับข้อพิพาททะเลจีนใต้ โดยประเทศอินโดนีเซียควรจะเข้ามามีบทบาทเชิงรุกมากขึ้น ทั้งนี้รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ นาย มาร์ตี นาตาเลกาวา (Marty Natalegawa) ได้เน้นย้ำว่า "สิ่งสำคัญอาเซียนจะต้องตระหนักมากที่สุดคือ” ความเข้มแข็งเป็นปึกแผ่นและการมีท่าทีที่ชัดเจนในเวทีการเจรจา" ทั้งนี้ทั้งนั้น นาย มาร์ตี ได้กล่าวเตือนว่าประเทศสมาชิกอาเซียนควรจะมีการสื่อสารประเด็นดังกล่าวให้จีนรับทราบเกี่ยวกับขบวนการร่างข้อปฏิบัติ โดยไม่ควรกีดกันจีนออกจากขบวนการร่างข้อปฏิบัติ แสวงผลประโยชน์ในน่านน้ำทะเลจีนใต้

อาเซียนควรจะเพิ่มการประชุมอภิปรายในการหามติภายในเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว โดยการยืดระยะเวลาลงมติภายในกลุ่มประเทศอาเซียนจะยิ่งอำนวยให้จีนรับประโยชน์จากน่านน้ำเพียงฝ่ายเดียว หนึ่งในแนวทางที่จะเป็นทางออกแก่ประเทศสมาชิกอาเซียนคือการเริ่มต้นงานร่างข้อปฏิบัติจรรยาบรรณ CoC ควบคู่ไปกันกับการหาข้อมูลจากผู้มีส่วนได้เสียที่ได้รับผลกระทบสำคัญทั้งหมด อันมีประเทศหลักๆ เช่น จีน

ท้ายสุดนี้อาเซียนจะต้องรอร่วมลงนามร่างข้อปฏิบัติจรรยาบรรณ CoC กับประเทศจีนที่ โดยมีการคาดการณ์ว่าร่างข้อปฏิบัติน่าจะเสร็จทันเสนอเซ็นสัญญากับจีนก่อนปลายปีนี้ ถ้าภายในปีนี้อาเซียนมีการตกลงร่วมลงนามร่างข้อปฏิบัติจรรยาบรรณ CoC กับจีน การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งนี้ก็นับว่ามีนัยยะข่าวดีมากกว่าข่าวเสีย

สำนักงานส่งเสริมการค้า ฯ ณ กรุงจาการ์ตา
9 พฤษภาคม 2555
แปลและเรียบเรียง: ธุวดา ส่งแสง
ที่มา: หนังสือพิมพ์ Jakarta Post วันเสาร์ 07/04/2012 “Insight : Good and bad news from the 20th ASEAN Summit”

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ