อัญมณีและเครื่องประดับของฮ่องกง

ข่าวเศรษฐกิจ Friday September 14, 2012 15:39 —กรมส่งเสริมการส่งออก

อัญมณีและเครื่องประดับของฮ่องกง

บทสรุป

อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในฮ่องกง ส่วนใหญ่เป็นเครื่องประดับที่มีราคา เนื่องจากต้องตอบสนองการขยายตัวของความต้องการจากตลาดภายในประเทศ รวมถึงการขายให้กับนักท่องเที่ยว และการส่งออกต่อไปยังประเทศอื่นๆ(Re-export) ปัจจุบันฮ่องกงเป็นผู้ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับเทียมอันดับสองของโลก และเป็นอันดับห้าในการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับมีราคา

เครื่องประดับที่ผลิตในฮ่องกงมีหลากหลายตั้งแต่ราคาปานกลางถึงสูง ฮ่องกงจะชำนาญในการทำเครื่องประดับแฟชั่นที่ใช้อัญมณีเม็ดเล็กๆ และเครื่องประดับทองคำแท้ และมีการพัฒนาเป็นศูนย์กลางการค้าไข่มุกมาได้สักระยะแล้ว

แม้ว่ากระบวนการผลิตที่เพิ่มมูลค่าสูงขึ้นจะอยู่ในฮ่องกง แต่กระบวนการที่ใช้โรงงานผลิตได้ย้ายไปยังจีนแผ่นดินใหญ่ โดยเฉพาะแถวเซินเจิ้น(Shenzhen) ปานหยู(Panyu) โดยไปลงทุนสร้างโรงงานหรือ outsourcing และโรงงานเหล่านี้มีการนำเทคโนโลยี่ใหม่ๆ จากคอมพิวเตอร์มาช่วยด้านการออกแบบเพื่อทำให้สินค้ามีการพัฒนาได้เร็วขึ้น

ผลจากข้อตกลงความร่วมมือทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดระหว่างฮ่องกงกับจีนแผ่นดินใหญ่(Mainland and Hong Kong Closer Economic Partnership Arrangement(CEPA)) ทำให้สินค้าที่ผลิตในฮ่องกง รวมถึงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่ส่งออกไปจีนแผ่นดินใหญ่ ได้รับยกเว้นภาษีศุลกากรตั้งแต่ปี 1 มกราคม 2006

จำนวนโรงงานและผู้ประกอบการในฮ่องกง
                              Manufacturing  (2010)        Import — Export Trade (2010)
No. of Establishments                 80                               1,460
Employment                           620                               9,330
Note: * Industry statistics cover activities in Hong Kong only.

          อุตสาหกรรมเครื่องประดับฮ่องกงแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือเครื่องประดับที่ทำจากอัญมณีแท้และเครื่องประดับที่ทำจากอัญมณีเทียม โดยหากพิจารณาจากมูลค่าพบว่าร้อยละ 80 ของการส่งออกของฮ่องกงเป็นเครื่องประดับที่ทำจากอัญมณีแท้ ฮ่องกงได้ชื่อว่ามีความยืดหยุ่นในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าเครื่องประดับที่ผลิตมีหลากหลายระดับราคาตั้งแต่กลางถึงสูง เครื่องประดับขึ้นชื่อ ได้แก่ เครื่องประดับตัวเรือนอัญมณี (โดยเฉพาะเพชร) ที่ทำจากทองขาวหรือเหลือง 14K หรือ 18 K โรงงานของฮ่องกงจะชำนาญในการผลิตเครื่องประดับที่ใช้อัญมณีเม็ดเล็กๆ มีการออกแบบร่วมสมัย ฝีมือจะเทียบเท่ากับผู้ผลิตระดับโลกในยุโรป
          แรงงานฮ่องกงมีทักษะสูง ในการผลิตตามคำสั่งซื้อจำนวนน้อยที่เน้นด้านการดีไซค์ และมีราคาเหมาะสม เทคโนโลยี่ที่นำมาใช้ในโรงงานผลิตเครื่องประดับไม่แพ้คู่แข่ง เช่น ประเทศไทย จะเป็นรองก็อิตาลีและญี่ปุ่น โดยเฉพาะเครื่องประดับที่ทำจากทอง
          ฮ่องกงได้ชื่อว่าเป็นผู้นำในการผลิตเครื่องประดับหยก ทั้งที่เป็นกำไล ต่างหู จี้ และเป็นศูนย์กลางการค้าค้าไข่มุก เนื่องจากการเติบโตอย่างรวดเร็วของตลาดไข่มุกของจีนและไข่มุก South Sea ในขณะที่ตลาดไข่มุกตาฮิติเริ่มตกลง

การส่งออกเครื่องประดับของฮ่องกง(รายประเทศ)
Precious Jewellery Markets        2009                   2010             2011(Jan-Nov)
                            Share%    Growth%     Share%    Growth%     Share%    Growth%
US                            35.7        -27       35.2        20        34.1        32
EU                            24.1        -24       21.4         8          19        20
France                         5.4        -21        5.8        30         5.6        29
United Kingdom                 6.8        -24        5.7         2         5.6        33
Italy                          4.2        -22        3.5         2         2.8         4
Switzerland                    6.9        -25        7.8        38         7.5        38
Macau                          2.9         30        3.6        53         6.7       184
ASEAN                          4.7          9        4.9        25         5.6        66
Chinese Mainland               7.1         68        6.3         8           5         8
India                          1.2        -33        1.1        +9         4.9      +521
การส่งออกเครื่องประดับของฮ่องกง(รายสินค้า)
Precious Jewellery             2009                   2010             2011(Jan-Nov)
By Cataegory              Share%    Growth%     Share%    Growth%     Share%    Growth%
Articles of Jewellery,     95.4        -24       96.3         23        97.3        38
 of Precious Metal
Articles of Pearls,         4.4         -2        3.2        -11         2.6        12
  Precious or Semi-precious stone
Goldsmiths’ & Silversmiths’ 0.2        -13        0.5        180         0.1       -66
 Wares, Precious Metal
การส่งออก
  • ฮ่องกงเป็นผู้ส่งออกเครื่องประดับมีค่าเป็นอันดับ 5 ของโลกรองจากอินเดีย สหรัฐอเมริกา สวิสเซอร์แลนด์และอิตาลี โดยส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 37(2011) และร้อยละ 21 (2010) อย่างไรก็ตามเนื่องจากราคาโลหะและอัญมณีพุ่งสูงขึ้นเป็นอย่างมากทำให้หากพิจารณาในเชิงปริมาณแล้วการส่งออกลดลง
  • ฮ่องกงส่งออกเครื่องประดับไปยังสามประเทศหลักได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป

และสวิทเซอร์แลนด์ คิดเป็นมูลค่าร้อยละ 60 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด ซึ่งเป็นตลาดเดิมที่ส่งออกติดต่ออย่างต่อเนื่องของฮ่องกง ในขณะที่ตลาดเอเชียที่มีผลตอบรับดี ได้แก่ มาเก๊า อาเซียน และอินเดีย ในสินค้าไข่มุก อัญมณีพลอยและเพชร ขยายตัวร้อยละ 33 ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2011

สถิติการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของฮ่องกง
Pearls, Gem-stones and           2009                  2010             2011(Jan-Nov.)
rough diamonds(SITC 667) Share (%)  Growth (%)  Share (%)  Growth (%)  Share (%)  Growth (%)
Domestic Exports            202         -5         130         -36         97        -18
Re-Exports               69,971        -17      95,678         +37      115,118      +34
Of Chinese Mainland       4,341        -23       5,672         +31       5,495        +9
Origin
Total Exports            70,173        -17      95,808         +37      115,215      +33
Imitation Jewellery                 2009               2010                       2011(Jan-Nov.)
(SITC 897.2)                Share (%)  Growth (%)   Share (%)  Growth (%)     Share (%)   Growth (%)
Domestic Exports               83          -26         101        +21             88          -3
Re-Exports                  6,954          -17       8,293        +19          8,138          +7
Of Chinese Mainland Origin  6,585          -18       7,810        +19          7,554          +6
Total Exports               7,038          -17       8,394        +19          8,226         + 7
  • ฮ่องกงเป็นผู้ส่งออกเครื่องประดับเทียมใหญ่เป็นอันดับสองของโลกรองจากจีนแผ่นดินใหญ่ ในปี 2010 ฮ่องกงส่งออกเครื่องประดับเทียมมูลค่า 8.4 พันล้านเหรียญฮ่องกง และปี 2011 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7 ไม่เหมือนเครื่องประดับแท้ เครื่องประดับเทียมฮ่องกงจะเป็นการ Re-export จากประเทศอื่นทั้งหมด จีน(ร้อยละ 93)
  • ผู้ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของฮ่องกง คู่แข่งที่สำคัญได้แก่ จีนแผ่นดินใหญ่ อินเดียและไทย ประกอบกับความผันผวนของราคาวัตถุดิบที่สูงขึ้นของวัตถุโลหะมีค่า เพชร พลอยสีทำให้กำไรลดลง แต่เมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมอื่นอุตสาหกรรมนี้สามารถส่งผ่านต้นทุนที่เพิ่มนี้ไปยังผู้ซื้อหรือผู้บริโภคได้ง่ายกว่าหากเป็นการขึ้นของโลหะ/อัญมณีมีค่า อย่างอย่างไรก็ตามผู้ขาย ผู้นำเข้ามักต่อรองให้ขยายระยะเวลาเครดิตหรือการเปลี่ยนสินค้าที่ขายไม่ได้/ระยะเวลาส่งมอบที่สั้นขึ้น/ออกแบบใหม่

ช่องทางการขายสินค้า

อุตสาหกรรมเครื่องประดับฮ่องกงเป็นอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกเป็นหลักแยกได้เป็น

1. โรงงานขนาดกลาง-เล็ก ที่รับจ้างทำเฉพาะด้าน mould making, precision casting, gem-setting, polishing and electroplating

2. โรงงานขนาดใหญ่

3. ผู้ค้าปลีกเครื่องประดับการผลิตเครื่องประดับจำนวนมากๆ โดยทั่วไปต้องตั้งโรงงานที่มีเครื่องจักรทันสมัยใช้เทคโนโลยี่ชั้นสูง เครื่องประดับที่ฮ่องกงส่งออกส่วนใหญ่จะใช้แบรนด์และโลโก้ของลูกค้า มีผู้ผลิตบางรายเริ่มมีการตั้งสำนักงาน/ร้านค้า ในต่างประเทศเพื่อส่งเสริมการขาย นอกจากนั้น การขาย online ก็เป็นแนวโน้มที่เป็นที่นิยม

ผู้ผลิตฮ่องกงบางราย ได้ขยายธุรกิจสู่การค้าปลีกในฮ่องกง เนื่องจากเห็นศักยภาพของการท่องเที่ยวในฮ่องกง จากสถิติการท่องเที่ยวฮ่องกงในปี 2010 นักท่องเที่ยวที่มาพำนักในฮ่องกงจะใช้จ่ายถัวร้อยละ 25 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด ในการซื้อนาฬิกาหรือเครื่องประดับ(จากจีนจะใช้ถึงร้อยละ 28)

นอกจากมีผู้ประกอบการฮ่องกงบางเจ้าได้ขยายสาขาไปเปิดในจีนแผ่นดินใหญ่ในรูปแบบแฟรนส์ไชค์/ร่วมลงทุน ซึ่งได้รับการตอบรับค่อนข้างดี โดยเฉพาะในภาพลักษณ์ของแบรนด์ จากการสำรวจของ HKTDC พบว่าหากคนจีนต้องการซื้อสินค้าระดับกลางๆ แบรนด์ของฮ่องกงจะเป็นทางเลือกแรกๆ เมื่อเปรียบเทียบกับ แบรนด์ท้องถิ่นและแบรนด์ต่างชาติ

การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าเป็นวิธีการหนึ่งที่มีประสิทธิภาพในการแสวงหาโอกาสทางการค้า นอกจากการจัดคณะไปศึกษาตลาดหรือพบปะเพื่อสร้างเครือข่าย

งานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่สำคัญ
   Country/Region             Major Events
Hong Kong           Hong Kong Int’l  Jewellery Show in February
Chinese Mainland    Shenzhen Int’l Jewellery Fair in February
US                  The JCK  Show in Las Vegas in June
Europe              Vicenza Fair in Italy in January/May/September
                    Baselworld in Switzerland in March
แนวโน้มอุตสาหกรรม
  • เครื่องประดับปัจจุบันเน้นการดีไซค์มากขึ้น ดีไซน์ใหม่ๆ จะช่วยยกระดับสินค้าสู่ตลาดบน ผู้ผลิต/โรงงานจึงจำเป็นที่จะแสวงหาความรู้ทั้งด้านการพัฒนาวัตถุดิบที่ใช้และการสร้างสรรดีไซน์ใหม่ๆ ตลาดเครื่องประดับที่แต่เดิมจะเน้นเฉพาะตลาดระดับบน จะหันมาให้ความสนใจกับกระแสแฟชั่นมากขึ้น เน้นกลุ่มเป้าหมายอายุน้อยลง และมีรายได้ระดับปานกลาง รวมทั้งมีการสร้างแบรนด์มากขึ้น
  • เทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้สามารถผลิตเครื่องประดับคุณภาพดีจำนวนมากในราคาที่แข่งขันได้ แม้ว่าอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องประดับฮ่องกงบางส่วนยังคงเป็นอุตสาหกรรมพื้นฐานที่ใช้ฝีมือล้วนๆ แต่อีกส่วนที่เป็นส่วนใหญ่ได้มีการพัฒนานำเทคโนโลยีทันสมัยช่วยให้ทักษะฝีมือเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนั้น เทคโนโลยีใหม่ๆ ยังช่วยพัฒนาวัตถุดิบใหม่ๆ สำหรับเครื่องประดับแฟชั่น
  • ผู้ซื้อรายใหญ่จะเข้ามาแทนรายย่อยมากขึ้น โดยเฉพาะในตลาดสหรัฐอเมริกาซึ่งในช่วง 10 ปีที่มีผู้ประกอบการรายย่อยลดจำนวนลงไปอย่างมาก เนื่องจากไม่สามารถแข่งกับห้างใหญ่ อาทิ Wal-mart (ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 20) , Target, Costco โดยผู้ประกอบการรายใหญ่เหล่านี้มีอำนาจต่อรองสูงเพราะซื้อจำนวนมาก ซึ่งผู้ประกอบการฮ่องกงมีแนวโน้มจะถูกกดดันด้านราคา ณ โรงงานและบริการเสริมอื่นๆ
  • ด้านการตลาดและกระจายสินค้า: การสร้างแบรนด์หรือมี License ของตนเองจะเป็นกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพในระยะยาว เช่นเดียวกับที่โรงงานหันมาทำการตลาดและขายสินค้าเอง นอกจากนั้น การขายออนไลน์และใช้อินเตอร์เน็ตในการโฆษณาสินค้าจะเป็นช่องทางสำคัญต่อไป
การใช้ประโยชน์จากข้อตกลงการค้ากับสาธารณรัฐประชาชนจีน( CEPA)

ผลจากข้อตกลงความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับจีนแผ่นดินใหญ่(CEPA) ทำให้สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่เข้าออกระหว่างฮ่องกงและจีน และมีคุณสมบัติตาม Rule of Origin ไม่ต้องเสียภาษี

หากผลิตภัณฑ์อัญมณีและเครื่องประดับที่ไม่มีคุณสมบัติตามข้อตกลง CEPA จะต้องเสียภาษี ร้อยละ 35

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเทศแหล่งกำเนิด หลักเกณฑ์ของ CEPA สามารถเข้าดูในเว็ปไซค์ที่http://www.tid.gov.hk/english/cepa/tradegoods/files/mainland_2012.pdf

มาตรการทางการค้าที่มีผลกระทบต่อการส่งออกเครื่องประดับ

1. ในจีน การค้าทองที่เป็นค้าส่งสำหรับโรงงานผลิตและผู้ค้าส่งปัจจุบันจะค้าใน Shanghai Gold Exchange ในปี 2004 จีนยกเลิกข้อกีดกันที่ต้องมีใบอนุญาต(License) สำหรับการเป็นผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่ายและค้าปลีกทอง และอนุญาตให้บริษัทจีนบางรายนำเข้าเครื่องประดับทอง ในเดือนสิงหาคม 2010 จีนประกาศอนุญาตให้เพิ่มธนาคารที่จะนำเข้าและส่งออกทอง รวมทั้งขยายโอกาสไปยังบริษัทต่างชาติด้วย และเพิ่มจำนวนบริษัทต่างชาติให้เป็นสมาชิกใน Shanghai Gold Exchange และกำลังพิจารณาที่จะอนุญาตบริษัทค้าทองแท่งต่างชาติที่เหมาะสมเข้ามาค้าในตลาดด้วย

2. ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2005 จีนได้ยกเลิกการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT) การส่งออกเครื่องประดับที่ทำจากทองและโลหะมีค่า แต่ยังคงเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับวัตถุดิบที่นำเข้า และตั้งแต่กรกฏาคม 2007 ได้มีการลดหย่อนการเรียกเก็บภาษีดังกล่าวสำหรับการนำเข้าไข่มุก อัญมณี และโลหะมีค่า บางชนิดจากร้อยละ 13 เป็นร้อยละ 5 แต่ขณะเดียวกันสำหรับเครื่องประดับเทียมได้ปรับอัตราลดหย่อนการเรียกเก็บภาษีเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 9

3. การนำเข้าเพชร(ทั้งที่ยังไม่ได้เจียรนัยและที่เจียรนัยแล้วแต่ยังไม่ขึ้นรูป) และส่งออกจะต้องแจ้งต่อศุลกากรใน Shanghai Diamond Exchange(SDE) เพื่อขอยกเว้นภาษีนำเข้า ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีบริโภค เพชรที่ค้าใน SDE จะได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับเพชรที่มาจากภายในประเทศเข้ามาค้าใน SDE จะได้รับการคืนภาษี โดยสามารถรับได้เมื่อเพชรนั้นมีการส่งออก และเพชรจาก SDE ที่นำมาขายในประเทศไม่เสียภาษีนำเข้าแต่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม(ร้อยละ 4 สำหรับเพชรที่เจียรนัยแล้วและไม่ต้องเสียสำหรับเพชรดิบ)

4. จากการที่ฮ่องกงและจีนได้เห็นด้วยกับ Kimberley Process ที่ป้องกันการค้าเพชรอย่างผิดกฏหมายในแอฟริกา ทำให้ผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจเกี่ยวข้องกับการนำเข้าส่งออก การขน การซื้อขายเพชรดิบ จะต้องจดทะเบียนกับ Trade and Industry Department เพื่อได้รับใบอนุญาต KP (Kimberley Process Certificate) ก่อนที่จะนำเข้าและส่งออกเพชรดิบได้

5. กรกฏาคม 2008 สหรัฐฯ ขยายเวลาคว่ำบาตรเศรษฐกิจกับพม่า ซึ่งรวมถึงการห้ามการนำเข้าสินค้าทุกชนิดจากพม่า รวมทั้งเครื่องประดับทุกชนิดที่มีส่วนประกอบของอัญมณี(ทับทิม หยก ฯลฯ) จากพม่าด้วย

6. ต้องให้ความสำคัญกับประเด็นสิ่งแวดล้อมและสุขภาพมากขึ้น อาทิ สหภาพยุโรปห้ามนำเข้าเครื่องประดับที่มีส่วนผสมของนิเกิลเพราะจะเกิดการแพ้กับผู้สวมใส่ได้ สหรัฐอเมริกาควบคมจำนวนสารตะกั่วในเครื่องประดับเทียมต้องสอดคล้องกับที่ US Consumer Product Safety Commission กำหนด

7. มีองค์กรเพิ่มขึ้นในการกำหนดคุณภาพมาตรฐานของอัญมณีที่ใช้ในเครื่องประดับ อาทิ The World Gold Council, the Natural Colour Diamond Association(NCDIA) นอกจากนั้น Tanzanite Foundation กำลังพัฒนาระบบ grading เพื่อใช้เป็นมาตรฐานอ้างอิงในอนาคต

แนวโน้มของสินค้าเครื่องประดับ
  • ในแง่วัตถุดิบทองคำขายยังเป็นที่นิยมหลัก ในขณะที่พลอยสีก็ได้รับความสนใจเช่นกัน ส่วนทองคำก็เป็นที่นิยม แต่ต้องมีการปรับให้ทันสมัยขึ้น ไททาเนียมได้รับความนิยมเรื่องความเบาแข็ง และไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เป็นที่น่าสังเกตุว่าความต้องการเครื่องประดับเพชรเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 2-3 ปีนี้ โดยเฉพาะในประเทศจีนและอินเดีย เนื่องจากประชากรมีอำนาจการซื้อมากขึ้น ส่วนเครื่องประดับที่มีราคาไม่แพงแต่มีดีไซน์ ทำจากทองและอัลลอย์ก็ได้รับความนิยมมากในหมู่ชนชั้นกลาง
  • เครื่องประดับที่เน้นด้านดีไซน์ได้รับอิทธิพลจากแฟชั่นเสื้อผ้า แมกกาซีน ทีวี ภาพยนตร์ จะเป็นที่นิยมมากขึ้น เนื่องจากจำนวนผู้บริโภคที่อายุน้อย แต่มีอำนาจซื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในตลาดเอเซียจากการสำรวจของ De Beers ผู้ซื้อเครื่องประดับรายใหญ่สุดกลายเป็นกลุ่มผู้หญิงที่เริ่มเข้าทำงาน
  • รูปแบบการดีไชน์เครื่องประดับ จะได้รับอิทธิพลจากเสื้อผ้ามากขึ้นโดยเฉพาะกับผู้หญิงที่จะใช้เครื่องประดับเป็นเครื่องแสดงถึงสไตล์ เครื่องประดับที่เน้นความอ่อนหวาน โรแมนติก จะนิยมในตลาดระดับสูง เครื่องประดับที่ใช้ใส่ได้ทุกวันจะเป็นที่นิยมในวัยรุ่น
  • เครื่องประดับสำหรับผู้ชายจะเป็นที่ต้องการมากขึ้นความคิดที่ว่าเครื่องประดับเป็นเรื่องของผู้หญิงกำลังจะเปลี่ยนไป เพราะผู้ชายเริ่มเห็นว่าเครื่องประดับดีๆ สามารถทำให้ดูดีได้ อาทิ สร้อยข้อมือ แหวน จี้ กระดุมข้อมือเสื้อ เข้มกลัดเน็คไท แม้ว่าประเภทของเครื่องประดับชายจะจำกัดแต่ตลาดนี้ยังมีศักยภาพอีกมาก
  • เครื่องประดับเทียมกำลังกลับมาอีก ปัจจุบันร้ายขายเสื้อผ้าทั้งหลายจะนำเครื่องประดับมาเป็นส่วนประกอบของเสื้อผ้าและขายรวมไปกับเครื่องประดับเทียมที่ใช้อัญมณีที่เป็นพลอยเนื้ออ่อน และคริสตัวสีทั้งหลายจะขายดี
ระเบียบการนำเข้าของฮ่องกง

การนำเข้าอัญมณีเจียรนัยและเครื่องประดับนำเข้าได้เสรี สำหรับการนำเข้าเพชร(Diamond Rough) ต้องขอใบอนุญาตนำเข้า (Import Licence) การนำเข้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ ภาษี 0

รายชื่อผู้ประกอบการและนำเข้าอัญมณีและเครื่องประดับ

Hong Kong Jewelry Manufacturers’ Association

Ft G, 2/F., Phase 2, Kaiser Est, 51 Man Yue St,

Hung Hom, Kowloon, Hong Kong.

Tel. 852-2766 3002

Fax. 852- 2362 3647

Website: www.jewelry.org.hk

ISE Jewellry

Shop BW5, Basement Floor,

The Peninsula Hotel Shopping Arcade

TST, Kln, Hong Kong.

Tel. 852-2366 6561

Fax. 852- 2721 0415

Email: ac@isejewellery.com

AttnMs. Pak Sze Patsy Lam

Chow Sang Sang Jewellery Co., Ltd.

Tel: 852- 2192 3333

Fax. 852- 2730 9683

Email: chwong@chowsangsang.com

Elegant Jewellery Company

Tel: 852- 2364 6255

Email: elejlry@netvigator.com

Eternity Jewelry Company Ltd.

Tel.: 852- 2774 1172

Fax. 2334 5258

Email: et@eternityjewelry.com.h

Able Jewelry Co., Ltd.

Tel.: 852- 23330009

Fax. 852 2333 9936

Email: info@ablejewelry.com

Attn: Mr. Ka Kin Lau

Shing Hing Jew Co., Ltd.

Tel.: 852 2738 7623

Fax. 852- 2357 5212

Attn: Ms. Chan Yuk Yin

Owner

Silver Jewellery Co.

Tel: 852- 2784 6676

Email: silverart2003@yahoo.com.hk

Julico Jewel Ltd.

Tel: 852- 2972 0922

Fax.: 2974 0122

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองฮ่องกง

กันยายน 2555


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ