วิกฤตการณ์ดังกล่าวมีผลกระทบต่อการกำหนดเส้นทางใหม่ของวงการค้าเครื่องประดับของสหรัฐฯ ในปัจจุบัน กล่าวคือ การเปลี่ยนและเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงในด้านผู้นำตลาดเครื่องประดับในสหรัฐฯ
1. ร้านค้าปลีกเครื่องประดับทั้งแบบร้านเดี่ยวหรือร้านมีสาขาจำนวน เลิกกิจการไป จำนวนมาก หรือ ประมาณร้อยละ 20 และปัจจุบัน การขยายสาขาเพิ่มอยู่ในระดับต่ำ ส่งผลให้ร้านค้าปลีกลดบทบาทในการเป็นผู้นำตลาดเครื่องประดับในสหรัฐฯ จะเห็นได้จาก ในช่วง 3-4 ปีผ่านมา ร้านค้าปลีกเครื่องประดับ เป็นผู้นำตลาดสำคัญ 10 รายแรกของประเทศ
2. ช่องทางการจัดจำหน่ายในตลาดค้าปลีกเปลี่ยนไป และขยายวงกว้างขึ้น ไม่จำกัด เฉพาะร้านค้าปลีกเฉพาะเครื่องประดับเท่านั้น ดังนี้
2.1 ห้างขายสินค้าให้ส่วนลด (Discount) ได้แก่ Wal-Mart, Sam's Club, Target และ Costco และ ห้างสรรพสินค้า เช่น Sears, JC Penny Macy's และ Neiman Marcus ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำตลาดเครื่องประดับที่สำคัญของสหรัฐฯ แทนร้านค้าปลีกเครื่องประดับซึ่งอยู่ในภาวะถดถอยเนื่องจากจำหน่ายเครื่องประดับในราคาย่อมเยากว่าร้านค้าปลีกเครื่องประดับทั่วไป
2.2 ผู้ประกอบการขายสินค้าผ่านทางทีวี (Infomercials) และ ผู้ประกอบการ ขายสินค้าทาง E-commerce ได้รับความนิยมมาก และเป็นช่องทางสำคัญของการจำหน่ายเครื่องประดับ
2.3 ร้านค้าปลีกเครื่องประดับราคาแพง (High-end Jewelry Stores) ได้รับ ความนิยมสูง และมียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้น จึงก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำเข้าตลาดในกลุ่ม Top 25 เช่น Tiffany, Cartier, Turneau ซึ่งนักการตลาดให้ข้อคิดเห็นว่า เครื่องประดับราคาแพงจำหน่ายเพิ่มขึ้นในช่วงภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว เนื่องจาก ผู้บริโภครายได้สูงเลี่ยงการลงทุนในตลาดการเงินเนื่องจากได้ผลตอบแทนต่ำหรืออาจจะขาดทุน จึงหันไปซื้อเครื่องปรับราคาแพงแทน
ผู้นำตลาดรายสำคัญในแต่ละช่องทางจัดจำหน่ายในปัจจุบันของสหรัฐฯ
(จัดอันดับตามยอดจำหน่ายในปี 2554)
ผู้นำตลาดร้านค้าปลีก ยอดจำหน่าย เครื่องประดับ (ล้านเหรียญฯ) 1. Sterling, Inc. 3,034 2. Zales Corp. 1,742 3. Helzberg Diamond 410 4. Ross-Simon 360 5. Fred Meyers 325 ผู้นำตลาดกลุ่มห้างสรรพสินค้า ยอดจำหน่าย(ล้านเหรียญฯ) 1. Macy's 1,600 2. JC Penny 800 3. Sears (รวม Kmart) 690 4. Neiman Marcus 440 5. Kohl's 270 ผู้นำตลาดกลุ่มห้าง Discount ยอดจำหน่าย (ล้านเหรียญฯ) 1. Wal-Mart (รวมSam'sClub) 2,800 2. Costco 525 3. Target 475 4. Meijer 155 ผู้นำตลาดกลุ่มTV Infomercials ยอดจำหน่าย (ล้านเหรียญฯ) 1. QVC 827 2. JTV 425 3. HSN 302 4. ShopNBC 296 ผู้นำตลาดกลุ่ม E-Commerce ยอดจำหน่าย (ล้านเหรียญฯ) 1. www.amazon.com 350 2. www.bluenile.com 348 3. www.ice.com ไม่เปิดเผย 4. www.myjewelrybox.com ไม่เปิดเผย 5. www.bidz.com ไม่เปิดเผย ผู้นำตลาดกลุ่ม High-end Jewelry ยอดจำหน่าย (ล้านเหรียญฯ) 1. Tiffany & Co 1,085 2. Cartier 450 3. Tourneau 300 4. Bulgari 190 5. Van Cleef & Arpels 190ปัจจุบัน การนำเข้าเครื่องประดับและอัญมณีของสหรัฐฯ จากไทยลดลงต่อเนื่อง การนำเข้าในช่วงครึ่งแรกของปี 2555 (มกราคม-มิถุนยน) มีมูลค่า 448.18 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงไปจากช่วงเดี่ยวกันของปี 2554 ร้อยละ 12.38 อัตราการเติบโตของตลาดการบริโภคเครื่องประดับและอัญมณีในสหรัฐฯ ขยายตัวในอัตราต่ำ เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบการลดลงของการนำเข้าจากไทย
การเปลี่ยนทิศทางของช่องทางจัดจำหน่ายเครื่องประดับในสหรัฐฯ มีผลกระทบต่อความต้องการสินค้าทั้งในเชิงปริมาณ รูปแบบสินค้า ราคาสินค้า และ ผู้จัดซื้อสินค้า เช่น ห้าง Wal-Mart และ Target ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำตลาดอันดับที่ 2 และ อันดับที่ 10 ตามลำดับ โดยห้างทั้งสองขยายจำนวนสาขาเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ แสดงให้เห็นถึงปริมาณความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้น แต่ในขณะเดียวกันห้างทั้งสองแห่งจำหน่ายเครื่องประดับในราคาย่อมเยาว์ เป็นต้น
ผู้ผลิต/ส่งออกไทยที่มีความสนใจรุกช่องทางใหม่ของตลาดจำหน่ายเครื่องประดับในสหรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็น ห้าง Discount Store, Department Store, TV Channel, E-Commerce Store หรือ ร้าน High-end Jewelry Store จะต้องพิจารณาปรับ/วางแผนการตลาด รวมไปถึงรูปแบบสินค้าและราคา เพื่อให้เกิดความเหมาะสมในแต่ละช่องทางจำหน่าย
ที่มา: National Jeweler, June 2012
1 = Jewelry Retail
2 = Discount Store
3 = High-end
4 = Department Store
5 = TV
6 = E-Commerce
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครชิคาโก