สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศของไต้หวัน ปี 2551( ม.ค.-มี.ค.) สรุปจากสถิติ World Trade Atlas

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday June 19, 2008 16:50 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. มูลค่าการค้า
1.1 มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไต้หวัน-โลก
2550 2551 D/%
(ม.ค.-มี.ค.) ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการค้ารวม 99,477.63 122,596.75 23.24
การนำเข้า 47,863.39 61,106.00 27.67
การส่งออก 51,614.24 61,490.75 19.14
ดุลการค้า 3,750.86 384.76 -89.74
1.2 มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไต้หวัน-ไทย
2550 2551 D/%
(ม.ค.-มี.ค.) ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการค้ารวม 2,036.02 2,140.39 5.13
การนำเข้า 862.04 898.01 4.17
การส่งออก 1,173.98 1,242.38 5.83
ดุลการค้า 311.94 344.37 10.40
2. การนำเข้า
2.1 ประเทศสำคัญ 5 อันดับแรกที่ไต้หวันนำเข้าจากโลก ปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการนำเข้ารวม 61,106.00 100.00 27.67
1. ญี่ปุ่น 12,608.67 20.63 21.56
2. จีน 7,475.17 12.23 24.54
3. สหรัฐอเมริกา 7,231.43 11.83 27.05
4. ซาอุดิอารเบีย 3,715.71 6.08 67.64
5. เกาหลีใต้ 3,623.30 5.93 0.83
15. ไทย 898.01 1.47 4.17
อื่น ๆ 25,553.71 41.82 33.62
2.2 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่ไต้หวันนำเข้าจากโลก ปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการนำเข้ารวม 61,106.00 100.00 27.67
1. น้ำมันปิโตรเลี่ยม น้ำมันดิบ 8,422.47 13.78 70.45
2. แผงวงจรไฟฟ้า 7,389.59 12.09 10.53
3. น้ำมันสำเร็จรูป 3,109.89 5.09 132.88
4. เครื่องจักรและเครื่องใช้กล 1,632.78 2.67 68.10
5. ก๊าซปิโตรเลี่ยม 1,447.78 2.37 67.98
อื่นๆ 39,103.48 63.99 -15.80
2.3 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่ไต้หวันนำเข้าจากไทยปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการนำเข้ารวมจากไทย 898.01 100.00 4.17
1. แผงวงจรไฟฟ้า 179.55 19.99 -33.90
2. คอมพิวเตอร์ + อุปกรณ์ 74.14 8.26 23.93
3.น้ำมันดิบจากถ่านหิน 58.35 6.50 1,255.74
4. น้ำตาลอ้อย น้ำตาลทราย 37.77 4.21 330.18
5. เครื่องปรับอากาศ 33.38 3.72 88.38
อื่น ๆ 514.81 57.33 -16.89
3. การส่งออก
3.1 ประเทศสำคัญ 5 อันดับแรกที่ไต้หวันส่งออกไปโลกปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการส่งออกรวม 61,490.75 100.00 19.14
1. จีน 16,783.02 27.29 43.07
2. ฮ่องกง 7,451.72 12.12 -2.49
3. สหรัฐอเมริกา 7,068.58 11.50 -0.44
4. ญี่ปุ่น 3,909.48 6.36 -1.38
5. สิงคโปร์ 2,936.22 4.78 46.64
11. ไทย 1,242.38 2.02 5.83
อื่น ๆ 22,099.35 35.94 22.76
3.2 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่ไต้หวันส่งออกไปโลกปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการส่งออกรวม 61,490.75 100.00 19.14
1. แผงวงจรไฟฟ้า 9,118.53 14.83 6.72
2. เลเซอร์ เครื่องใช้อุปกรณ์เชิงทัศนศาสตร์ 4,935.81 8.03 56.56
3. น้ำมันสำเร็จรูป 4,057.98 6.60 60.66
4. เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับใช้สัญญาณเสียง 2,446.76 3.98 87.27
5. ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ 1,795.98 2.92 -28.14
อื่น ๆ 39,135.69 63.64 -1.89
3.3 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่ไต้หวันส่งออกไปไทยปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการส่งออกไปไทย 1,242.38 100.00 5.83
1. แผงวงจรไฟฟ้า 227.70 18.33 -22.85
2. ปลาแช่เย็น แช่แข็ง 59.48 4.79 100.55
3. เทปแม่เหล็กสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ 52.45 4.22 -36.17
4. เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรัใช้สัญาณเสียง 36.16 2.91 -9.77
5. แผงวงจรพิมพ์ 31.96 2.57 -7.37
อื่น ๆ 834.63 67.18 11.03
4. ข้อสังเกต
4.1 สินค้านำเข้าสำคัญของไต้หวัน ได้แก่ น้ำมันปิโตรเลียม แผงวงจรไฟฟ้า น้ำมันสำเร็จรูป เครื่องจักรและเครื่องใช้กลที่มีหน้าที่การทำงานเป็นเอกเทศก๊าซปิโตรเลียม
4.2 สินค้าส่งออกสำคัญของไต้หวัน ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า เลเซอร์เครื่องใช้ฯเชิงทัศนศาสตร์ น้ำมันสำเร็จรูป เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับใช้สัญญาณเสียง ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์
4.3 แหล่งผลิตสำคัญที่ไต้หวันนำเข้า ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา ซาอุดิอารเบียและเกาหลีใต้ ปัจจุบันไต้หวันนำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 15 สัดส่วนร้อยละ 1.47 และไทยเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 11 ของไต้หวัน สัดส่วนร้อยละ 2.02
4.4 สินค้าไทยที่มีศักยภาพส่งออกไปตลาดไต้หวัน ได้แก่
- แผงวงจรไฟฟ้า (H.S. 8542) ไต้หวันนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 7,389.594 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.53 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 9 สัดส่วนร้อยละ 2.43 มูลค่า 179.549 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 33.90 ในขณะที่นำเข้าจากเกาหลีใต้อันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 19.93 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.07 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ ญี่ปุ่น และสหรัฐ
- คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (H.S. 8471) ไต้หวันนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 597.589 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.73 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 2 สัดส่วนร้อยละ 12.41 มูลค่า 74.142 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.93 ในขณะที่นำเข้าจากจีนอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 57.63 เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.68 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ มาเลเซีย และสิงคโปร์
- น้ำมันดิบจากถ่านหิน (H.S.2707) ไต้หวันนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 236.580 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 94.35 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 2 สัดส่วนร้อยละ 24.67 มูลค่า 58.354 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1,255.87 ในขณะที่นำเข้าจากเกาหลีใต้อันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 40.33 เพิ่มขึ้นร้อยละ 54.44 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ ญี่ปุ่น และฟิลิปปินส์
- น้ำตาลจากอ้อย น้ำตาลทราย(H.S.1701) ไต้หวันนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 43.771 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.50 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 86.29 มูลค่า 37.770 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 330.17 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ อินเดีย และกัวเตมาลา
- เครื่องปรับอากาศ (H.S. 8415) ไต้หวันนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 74.661 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.20 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 44.71 มูลค่า 33.382 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 88.37 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ สหรัฐฯ และ เกาหลีใต้
4.5 ในบรรดาสินค้าส่งออกที่มีศักยภาพจากไทยไปตลาดไต้หวัน 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราลดลงมี 7 รายการ เช่น
1. แผงวงจรไฟฟ้า (H.S.8542) ไต้หวันนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 7,389.594 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.53 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 9 สัดส่วนร้อยละ 2.43 มูลค่า 179.549 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 33.90
ในขณะที่นำเข้าจากเกาหลีใต้อันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 19.93 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.07 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ ญี่ปุ่น และสหรัฐ
2. น้ำมันสำเร็จรูป (H.S.2710) ไต้หวันนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 3,109.888 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 132.88 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 23 สัดส่วนร้อยละ 0.50 มูลค่า 15.454 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 47.04 ในขณะที่นำเข้าจากสหรัฐอาหรับฯอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 18.65 เพิ่มขึ้นร้อยละ 116.67
3. ทองแดงบริสุทธิ์ (H.S.7403) ไต้หวันนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 1,186.15 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.46 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 14 สัดส่วนร้อยละ 0.80 มูลค่า 9.529 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 61.44
5. ข้อมูลเพิ่มเติม
ไต้หวันกับโอกาสทางการค้าและการลงทุนในประเทศอาเซียน
ตลาดอาเซียนถือเป็นตลาดที่สำคัญของไต้หวันมาโดยตลอดทั้งในด้านการค้าและการลงทุน ปัจจุบันมูลค่าการส่งออกของไต้หวันไปยังประเทศอาเซียนมากกว่าอเมริกาเหนือและยุโรป ซึ่ง Taitra ได้ให้ความสำคัญกับตลาดอาเซียนมาก จึงได้มีการตั้งสำนักงานฯ ขึ้นทั้งในประเทศไทย เวียตนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย โดยประเทศที่ได้รับการกล่าวขวัญถึงมากที่สุดในช่วงนี้เห็นจะได้แก่ไทยและ เวียตนาม โดยในส่วนของไทยนั้น นอกจากจะมีตลาดในประเทศที่มีศักยภาพแล้ว ยังถือเป็น Hub ที่สำคัญในการก้าวเข้าสู่ตลาดอาเซียนประเทศอื่นๆ ด้วย โครงการต่างๆ ของรัฐบาลไทย ต่างก็กลายเป็นที่รู้จักในวงกว้างทั้ง Kitchen to the World ที่เน้นในส่วนของการส่งเสริมสินค้าอาหารและร้านอาหารไทย ธุรกิจบริการทางการแพทย์เชิงท่องเที่ยวที่ส่งให้ชื่อของไทยกลายเป็นศูนย์กลางการแพทย์นานาชาติของภูมิภาคได้อย่างภาคภูมิ รวมไปจนถึงปรากฏการณ์ Cluster Effect ของอุตสาหกรรมยานยนต์และส่วนประกอบที่ทำให้ไทยได้รับการยกย่องให้เป็น ดีทรอยต์แห่งเอเชีย
อาเซียนถือเป็นตลาดที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก เพราะมีทั้งประเทศที่เป็นพุทธ (ไทย, พม่า) อิสลาม (มาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน) และคริสต์ (ฟิลิปปินส์)
รวมกันอยู่ในภูมิภาคเดียวกัน แต่ในความแตกต่างอย่างสุดขั้วนี้ ก็มีความเหมือนที่คล้ายกัน นั่นก็คือการที่ประเทศเหล่านี้ต่างก็มี Rice Culture ที่เหมือนๆ กัน จึงเหมาะเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ประกอบการไต้หวันที่เริ่มคิดจะบุกเบิกตลาดต่างประเทศ จะใช้เป็นสถานีแรกในการเริ่มดำเนินการ เพราะจะมีโอกาสได้เรียนรู้ถึงอิทธิพลของวัฒนธรรมที่แตกต่างว่าส่งผลต่อการติดต่อประสานงาน และพฤติกรรมต่างๆ ของลูกค้าอย่างไร เพื่อจะสามารถพัฒนาตัวเองให้ก้าวสู่ความเป็น International Entrepreneur ที่สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น
ในส่วนของนักลงทุนไต้หวันนั้น ได้มีการลงทุนในประเทศอาเซียนมานานแล้ว โดยช่วงที่มีนักลงทุนไต้หวันไปลงทุนมากที่สุดเห็นจะได้แก่ช่วงปี 2530 ที่ค่าเงิน NT$ แข็งค่าขึ้นเป็นอย่างมากจนผู้ประกอบการต้องย้ายฐานการผลิตเพื่อสร้างความได้เปรียญในการแข่งขัน นอกจากนี้ ในปี 2537รัฐบาลไต้หวันต้องการลดการพึ่งพาตลาดจีนแผ่นดินใหญ่จึงได้มีการริเริ่มนโยบาย Go South ขึ้น ก่อนที่ในปี 2545 รัฐบาลไต้หวันโดยประธานาธิบดีเฉินสุ่ยเปี่ยน ซึ่งถือนโยบายเป็นปฏิปักษ์กับจีน ได้ประกาศเพิ่มความสำคัญของนโยบาย Go South ให้ถือเป็นแนวทางหลักด้านการต่างประเทศด้วย
และหากนับจนถึงสิ้นปี 2550 มูลค่ารวมของการลงทุนโดยนักลงทุนไต้หวันในแถบประเทศอาเซียนสูงถึง 51,110 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยไต้หวันถือเป็นประเทศที่ไปลงทุนในเวียตนามมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ในไทยเป็นอันดับที่ 3 โดยที่มาเลเซีย อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ ต่างก็อยู่ในอันดับที่ 7 เช่นเดียวกัน
สำหรับประเทศไทยประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศนับถือศาสนาพุทธ จึงไม่ค่อยมีความแตกต่างด้านวัฒนธรรมกับไต้หวันมากนัก เป็นประเทศใหญ่ที่มีพื้นฐานทางเศรษฐกิจดี แม้รายได้เฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์ไม่สูงมาก (ปี 2550 เฉลี่ย 3,740.1 เหรียญสหรัฐฯ/คน/ปี) แต่ก็ทำให้ค่าครองชีพและราคาวัตถุดิบไม่สูงเกินไป ส่งผลให้ต้นทุนในการประกอบการค่อนข้างสมเหตุผล แม้จะยังมีปัญหาด้านการเมืองมาก แต่ด้วยความที่ประชาชนให้ความเคารพพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขของประเทศอย่างสูง จึงทำให้ไม่ส่งผลต่อสภาพเศรษฐกิจโดยรวมมากนัก
นอกจากนี้ ไทยยังมีจุดเด่นด้านทำเลที่ตั้งที่ถือเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างทวีปเอเชียกับยุโรปที่สำคัญ ทั้งในส่วนของทางหลวงสายเอเชีย รวมไปจนถึงหากมีการขุดคอคอดกระจริงในอนาคตจะทำให้ศักยภาพของไทยในการเป็น Hub ของภูมิภาคโดดเด่นยิ่งขึ้น
ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ