สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศไทย — เวียดนาม ปี 2551 (ม.ค-มิ.ย.) สรุปจากสถิติ Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday August 21, 2008 15:35 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ข้อมูลทั่วไป:
เมืองหลวง : โฮจิมินห์ซิตี้
พื้นที่ : 330,363 ตารางกิโลเมตร
ภาษาราชการ : Vietnamese
ประชากร : 84 ล้านคน (October 2006)
อัตราแลกเปลี่ยน : 0.0020 VND (14/8/08)
(1) เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ
ปี 2007 ปี 2008
Real GDP growth (%) 8.5 6.2
Consumer price inflation (av; %) 8.3 24.2
Budget balance (% of GDP) -1.5 -1.6
Current-account balance (% of GDP) -9.9 -13.6
Commercial banks' prime rate (av; %) 11.4 21.3
Exchange rate D:US$ (av) 16,179 16,839
โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับเวียดนาม
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น 2,570.59 100.00 58.77
สินค้าเกษตรกรรม 115.01 4.47 32.12
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร 124.70 4.85 16.99
สินค้าอุตสาหกรรม 1,871.87 72.82 52.34
สินค้าแร่และเชื้อเพลิง 459.01 17.86 141.76
สินค้าอื่นๆ 0.0 0.0 -100.00
โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับเวียดนาม
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
นำเข้าทั้งสิ้น 733.73 100.00 47.29
สินค้าเชื้อเพลิง 174.35 23.76 26.18
สินค้าทุน 276.84 37.73 43.00
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป 193.78 26.41 91.77
สินค้าบริโภค 61.84 8.43 44.74
สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง 26.91 3.67 21.18
สินค้าอื่นๆ 0.0 0.0 -99.83
1. มูลค่าการค้า
มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย - เวียดนาม
2550 2551 D/%
(ม.ค.-มิย.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการค้ารวม 2,117.18 3,304.32 56.07
การนำเข้า 498.16 733.73 47.29
การส่งออก 1,619.02 2,570.59 58.77
ดุลการค้า 1,120.86 1,836.86 63.88
2. การนำเข้า
ประเทศไทยนำเข้าจากตลาดเวียดนาม เป็นอันดับที่ 27 มูลค่า 733.73 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.29 สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการนำเข้ารวม 733.73 100.00 47.29
1. เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ 167.58 22.84 28.75
2. น้ำมันดิบ 161.59 22.02 30.33
3. เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ 56.36 7.68 956.43
4. เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ 48.31 6.58 52.15
5. เครื่องมือ เครื่องใช้ทางการแพทย์ 34.15 4.65 155.79
อื่น ๆ 265.74 36.22 37.28
3. การส่งออก
ประเทศไทยส่งออกไปตลาดเวียดนามเป็นอันดับที่ 9 มูลค่า 2,570.59 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 58.77 สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการนำเข้ารวม 2,570.59 100.00 58.77
1. น้ำมันสำเร็จรูป 376.20 14.63 368.77
2. เม็ดพลาสติก 222.68 8.66 47.39
3. เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ 178.35 6.94 39.07
4. เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบ 84.19 3.28 41.36
5. เคมีภัณฑ์ 78.78 3.06 48.02
อื่น ๆ 1,630.39 63.42 42.19
4. ข้อสังเกต
4.1 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปเวียดนาม ปี 2551 (มค.-มิย.) ได้แก่
น้ำมันสำเร็จรูป : เวียดนามเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 3 ของไทย และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่ามีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปี 29.34, 25.32, 9.11, 368.77 ตามลำดับ
เม็ดพลาสติก : เวียดนามเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 3 ของไทยรองจากฮ่องกง และจีน โดยมีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปีในขณะเดียวกันบริษัท ปตท.ได้เปิดสำนักงานตัวแทน ณ นครโฮจิมินห์ เพื่อเปิดตลาดแนะนำเม็ดพลาสติกโพลิเอททิลีนคุณภาพสูงภายใต้แบรนด์ Inno Plus
เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ : ไทยส่งออกไปตลาดเวียดนามเป็นอันดับที่ 4 และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 — 2551 พบว่ามีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปี 21.85, 49.97, 30.87 และ 39.07 ตามลำดับ จากความพยายามของไทยที่ตั้งเป้าเป็นผู้นำตลาดเหล็กแผ่นรีดร้อนชั้นคุณภาพพิเศษของอาเซียน จึงมุ่งเน้นการขายสินค้าชั้นคุณภาพพิเศษ (High Grade) ที่มีราคาขายเฉลี่ยสูงกว่าสินค้าชั้นคุณภาพทั่วไป(Commercial Grade) ทำให้ส่วนต่างระหว่างราคาขายกับวัตถุดิบสูงขึ้น (Spread) บวกกับนโยบายควบคุมต้นทุนการผลิตที่ดี
เครื่องยนต์สันดาปภายใน : เวียดนามเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 5 ของไทย โดยมีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 41.36 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
เคมีภัณฑ์ : เวียดนามเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 8 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่า ปี 2548 เป็นเพียงปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวลดลง (-.02%) ในขณะที่ปี 2549-2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.83, 47.07, 48.02 ตามลำดับ สำหรับอนาคตตลาดเคมีภัณฑ์มีแนวโน้มไปดี เพราะสินค้าเคมีภัณฑ์จะเข้าไปอยู่ในวิถีชีวิตของผู้คนมากขึ้นคนตื่นตัวเรื่องของสุขภาพอนามัยสูงขึ้น ต้องมีการแยกผลิต แยกการขนส่ง เพื่อให้เกิดความปลอดภัย
4.2 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดเวียดนาม ปี 2551 (มค.-มิย.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราเพิ่มสูงโดยสูงกว่าร้อยละ 50 มีรวม 11 รายการ คือ
อันดับที่ / รายการ มูลค่า อัตราการขยายตัว หมายเหตุ
ล้านเหรียญสหรัฐ %
1. น้ำมันสำเร็จรูป 376.20 368.77 จากการที่เวียดนามประสบปัญหา
7. รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 77.19 170.63 วิกฤติการเงินในประเทศ โดยลด
ค่าเงินดอง ส่งผลให้ผู้ผลิตเพื่อการ
8. กระดาษและผลิตภัณฑ์ 76.36 56.41 ส่งออกมีความได้เปรียบในด้านต้นทุน
การผลิต ทำให้นักลงทุนไทยในสินค้า
9. รถจักรยานยนต์ฯ 69.84 100.13 ผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เช่น
10. ผลิตภัณฑ์ยาง 69.78 66.84 เครื่องปรับอากาศ เครื่องซักผ้า
11. เครื่องปรับอากาศฯ 67.65 53.18 อุปกรณ์โทรคมนาคม กลุ่มทุนในกลุ่ม
13. ยางพารา 53.10 68.89 อุตสาหกรรมปิโตรเคมี สนใจเข้าไปดู
16. ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ 48.38 65.65 ลู่ทางกาคค้าและการลงทุนในเวียดนาม
ขณะเดียวกันตลาดรถมอเตอร์ไซด์ใน
20. เครื่องคอมพิวเตอร์ 35.66 656.32 เวียดนามขยายตัวต่อปีสูงถึง 2 ล้านคัน
22. เครื่องซักผ้า 33.98 101.52 คาดว่าใน 10 ปีนับจากนี้ไปจะยัง
23. รถจักรยานและส่วนประกอบ 24.24 76.67 ขยายตัวในระดับนี้อยู่
4.3 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดเวียดนามปี 2551 (ม.ค.-มิ.ย.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราลดลงรวม 1 รายการ คือ ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ มีอัตราการขยายตัวลดลง 5.11 % เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
4.4 ข้อมูลเพิ่มเติม
ภาวะเศรษฐกิจของเวียดนามยังคงมีแนวโน้มแจ่มใสในปี 2551 โดยคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจเวียดนามจะขยายตัวประมาณ 8.5% - 9% ในปี 2551 นับว่าเป็นอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงกว่าประเทศอื่นๆในกลุ่มอาเซียน ทั้งนี้ การบริโภค การลงทุนในประเทศและการส่งออก ยังคงเป็นปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญ เนื่องจากปัญหาอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นมาก (1 เท่าตัวช่วงปีที่แล้ว) ดังนั้นปลายเดือนเมษายน 2551 รัฐบาลได้ปรับเป้าหมายของการขยายตัวทางเศรษฐกิจลงจากอัตราประมาณ 8.5%-9% และธนาคารโลกได้คาดการณ์ ว่าปีนี้การขยายตัวทางเศรษฐกิจประมาณ 7.5%-8 % เวียดนามเป็นประเทศที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจ การที่เศรษฐกิจเวียดนามเติบโตเร็ว ทำให้เวียดนามเป็นตลาดการค้า แหล่งท่องเที่ยว และทำเลลงทุนแห่งใหม่ ที่ต่างชาติให้ความสนใจเพิ่มขึ้น ประกอบกับเวียดนามเปิดประเทศสู่ประชาคมโลกมากขึ้น โดยเฉพาะการที่เวียดนามเข้าเป็นสมาชิกองค์กรการค้าโลก WTO จะส่งผลดีต่อเวียดนาม ทั้งด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว
เวียดนามเป็นประเทศในอาเซียนที่มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเฉลี่ยสูงสุด ตั้งแต่ปี 2546-2550 และยังถือเป็นอันดับ 2 ในเอเชียรองจากจีน โดยมีอัตราเติบโตเฉลี่ย 8% ต่อปี ขณะที่ประเทศอื่นๆ เติบโต 4-5% ต่อปี จึงเป็นตลาดการค้าและแหล่งลงทุนแห่งใหม่ที่ต่างชาติให้ความสำคัญ มากขึ้น โดยปี 2550 มีนักลงทุนต่างชาติเข้าไปลงทุนในเวียดนาม รวม 15,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นถึง 40% จากปีก่อน จากผลของการเปิดเสรีด้านการลงทุนของรัฐบาลเวียดนาม เพื่อให้สอดคล้องกับข้อตกลงขององค์การการค้าโลก จึงทำให้นักลงทุนต่างชาติมั่นใจที่จะเข้าไปลงทุนในเวียดนามมากขึ้น และแม้ว่าขณะนี้สาธารณูปโภคของเวียดนามยังไม่เพียงพอกับความต้องการ แต่ขณะนี้ในเขตรอบนอกเมืองฮานอยและโฮจิมินห์มีการก่อสร้างถนนขนาดใหญ่เชื่อมจากใจกลางเมืองไปยังเขตรอบนอกเมือง พร้อมกับลงทุนพัฒนาทางรถไฟเพื่อรองรับการขยายตัวของนิคมอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นรอบเมืองใหญ่ และการเชื่อมต่อระบบโลจิสติกส์ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ที่สำคัญคือ ปัจจุบันเวียดนามมีนิคมอุตสาหกรรมทางซอฟต์แวร์โดยเฉพาะที่เปิดให้บริการแล้ว 1 แห่ง คือ Quang Trung Software Industrial Park มีพื้นที่กว่า 430,000 ตร.ม. อยู่ห่างจากสนามบินนานาชาติในนครโฮจิมินห์เพียง 15 นาที ซึ่งขณะนี้มีบริษัทไอที 89 แห่งเข้ามาลงทุนในนิคมนี้แล้ว และเป็นบริษัทจากต่างชาติกว่า 49 แห่ง โดยทั้งหมดได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 4 ปี หลังจากเริ่มมีกำไรและในอีก 9 ปีหลังจากนั้นยังได้รับการลดอัตราภาษีให้อีก 50% จากอัตราปกติ 28% ที่สำคัญคือซอฟต์แวร์และบริการด้านซอฟต์แวร์ที่เกิดขึ้นในนิคมอุตสาหกรรมนี้ไม่ต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม นอกจากนี้ยังมีแผนการจะสร้าง Hoa Lac Hitech Park ห่างจากฮานอยเพียง 30 นาที เพื่อเป็นศูนย์รวมของบริษัทในอุตสาหกรรมไอที ซอฟต์แวร์ ที่ตั้งของมหาวิทยาลัยและศูนย์ฝึกอบรมด้านไอที โดยเฉพาะ ซึ่งจะเริ่มสร้างเฟสแรกในปีหน้า และจะเสร็จสมบูรณ์ทั้งหมดในอีก 4 ปีข้างหน้าปี 2550 มูลค่าตลาดไอทีในเวียดนามมีประมาณ 795 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ในอีก 2 ปีข้างหน้า รัฐบาลเวียดนามประเมินว่าจะมีมูลค่าสูงถึง 1,100 ล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้รัฐบาลยังส่งเสริมให้การผลิตบุคลากรด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ และตั้งเป้าจะผลิตนักไอซีทีที่มีทักษะด้านภาษาดีมากให้ถึง 1 แสนคนในอีก 2 ปี ข้างหน้า
ในขณะที่เวียดนามกำลังเผชิญปัญหาวิกฤตการเงินในประเทศ แต่ยังมีจังหวะและโอกาสที่จะเข้าไปทำการค้าและลงทุน เพราะการปรับลดค่า ”เงินดอง” ทำให้มีความได้เปรียบด้านต้นทุนการผลิตยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการผลิตเพื่อการส่งออก เพราะค่าเงินดองที่ลดลงทำให้โครงสร้างทุนทั้งหมดลดลงด้วย ไม่ว่าจะเป็นค่าที่ดิน ค่าแรงงาน และต้นทุนอื่น ๆ ที่นักลงทุนไทยจะเข้าไปศึกษาและลงทุนที่เวียดนามในช่วงนี้ เพื่อใช้เป็นฐานผลิตและส่งออกไปขายทั่วโลกโดยบริษัทซีพี มีแผนนำร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลเว่น ไปลงทุนในเวียดนามซึ่งซีพีมองว่าตลาดเวียดนาม เป็นประเทศที่มีประชากรเป็นจำนวนมากเมื่อเทียบกับประเทศไทย ขณะที่ภาวะเศรษฐกิจกำลังอยู่ในช่วงเจริญเติบโต สำหรับแผนการขยายการลงทุนไปยังประเทศเวียดนาม คาดว่าจะได้เห็นภายใน 6 — 18 เดือนข้างหน้า เนื่องจากต้องรอให้มีการเปิดเสรีค้าปลีกเวียดนามก่อน โดยเวียดนามจะอนุญาตให้เปิดการค้าเสรีได้ในวันที่ 1 มค. 2552
Upload Date : สิงหาคม 2551
ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ