ปี 2007 ปี 2008
Real GDP growth (%) 8.5 7.3 Consumer price inflation (av; %) 5.9 7.9 Budget balance (% of GDP) -3.3 -4.3 Current-account balance (% of GDP) -1.1 -2.9 Lending rate (av; %) 11.5 14.1 Exchange rate Rs:US$ (av) 41.3 42.1 Exchange rate Rs:ฅ100 (av) 35.0 39.7 โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับอินเดีย มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลดล้านเหรียญสหรัฐฯ
สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น 1,576.94 100.00 28.22 สินค้าเกษตรกรรม 57.79 3.66 5.41 สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร 69.58 4.41 3.75 สินค้าอุตสาหกรรม 1,387.96 88.02 25.91 สินค้าแร่และเชื้อเพลิง 61.61 3.91 263.33 สินค้าอื่นๆ 0.0 0.0 -100 โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับอินเดีย มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลดล้านเหรียญสหรัฐฯ
นำเข้าทั้งสิ้น 1,320.23 100.00 36.88 สินค้าเชื้อเพลิง 3.99 0.30 -94.48 สินค้าทุน 96.37 7.30 27.74 สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป 981.54 74.35 51.57 สินค้าบริโภค 197.67 14.97 59.22 สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง 40.67 3.08 12.51 สินค้าอื่นๆ 0.0 0.0 -100.00 1. มูลค่าการค้า มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย - อินเดีย 2550 2551 D/%(ม.ค.-มิย.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการค้ารวม 2,194.42 2,897.17 32.02 การนำเข้า 964.51 1,320.23 36.88 การส่งออก 1,229.88 1,576.94 28.22 ดุลการค้า 265.33 256.71 -3.25 2. การนำเข้า ประเทศไทยนำเข้าจากตลาดอินเดีย เป็นอันดับที่ 19 มูลค่า 1,320.23 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.88 สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลดล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการนำเข้ารวม 1,320.23 100.00 36.88 1.เครื่องเพชรพลอย อัญมณี 212.79 16.12 13.67 2.พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช 208.64 15.80 215.08 3.สินแร่โลหะอื่น 196.70 14.90 40.34 4.เคมีภัณฑ์ 124.22 9.41 12.20 5.เหล็ก เหล็กกล้า 102.57 7.77 196.40 อื่น ๆ 41.72 3.16 36.09 3. การส่งออก ประเทศไทยส่งออกไปตลาดอินเดีย เป็นอันดับที่ 14 มูลค่า 1,576.94 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.22 สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลดล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการนำเข้ารวม 1,576.94 100.00 28.22 1.เม็ดพลาสติก 180.28 11.43 64.57 2.เหล็ก เหล็กกล้า 134.99 8.56 -25.69 3.รถยนต์ อุปกรณ์ฯ 85.12 5.40 10.23 4.เครื่องยนต์สันดาป 81.64 5.18 27.17 5.เครื่องคอมพิวเตอร์ 75.86 4.81 82.40 อื่น ๆ 264.22 16.75 28.04 4. ข้อสังเกต 4.1 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปอินเดีย ปี 2551 (มค.-มิย.) ได้แก่เม็ดพลาสติก : อินเดียเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 4 ของไทยเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 — 2551 พบว่าในปี 2549 มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 28.17 สำหรับปี 2547 2548 2550 และ 2551 มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 188.50 91.82 64.57 ตามลำดับอย่างต่อเนื่อง
เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ : อินเดียเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 6 ของไทย และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 — 2550 พบว่ามีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปีร้อยละ 71.07, 24.53, 185.77 ตามลำดับ ในขณะที่ปี 2551 (มค.-มิย.) มีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 25.69
รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบฯ : เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่ามีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปีร้อยละ 31.29 51.4 8.69 และ10.23 ตามลำดับ
เครื่องยนต์สันดาปภายในฯ : อินเดียเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 6 ของไทยเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่ามีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปีร้อยละ 227.08 20.45 26.58 27.17 ตามลำดับ
เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ : เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2549 — 2551 พบว่ามีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปีร้อยละ 4.74 138.9 82.4 ตามลำดับ มีปี 2548 เพียงปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 40.72
บริษัท ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) (TUF) เปิดเผยถึงการลงทุนโดยการเข้าซื้อหุ้นของบริษัท อะแวนติ ฟีด จำกัด ว่า TUF จะเข้าถือหุ้นสามัญของบริษัท อะแวนติ ฟีด จำกัด 1,190,000 หุ้น หรือคิดเป็น 14.99 % ของจำนวนหุ้นที่ถือทั้งหมด โดยบริษัทได้เข้าซื้อหุ้นในมูลค่าหุ้นละ 40 รูปี คิดเป็นมูลค่าเงินลงประมาณ 40 ล้านบาท สำหรับ บริษัท อแวนติ ฟีด จำกัด เป็นผู้ดำเนินธุรกิจผลิตและส่งออกอาหารกุ้ง และกุ้งแช่แข็ง โดยเป็นผู้ผลิตอาหารกุ้งรายใหญ่อันดับ 2 ของประเทศอินเดีย และจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์บอมเบย์ของอินเดีย การเข้าลงทุนครั้งนี้ เพราะ บริษัทเป็นพันธมิตรทางการค้ากับ อะแวนติ ฟีด มานานผ่านทางบริษัท ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ จำกัด ซึ่งดำเนินธุรกิจผลิตอาหารสัตว์น้ำ ประเภทอาหารกุ้งและอาหารปลา และเป็นบริษัทย่อยของTUF โดยไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้เทคโนโลยีทางด้านการผลิตอาหารกุ้งกุลาดำให้กับอะแวนติ ฟีด เนื่องจากเดิมนั้นรัฐบาลอินเดียอนุญาตให้ผู้ประกอบการเลี้ยงกุ้งกุลาดำได้เพียงอย่างเดียว และเพิ่ง มีนโยบายที่จะอนุญาตให้ผู้ประกอบการสามารถเลี้ยงกุ้งขาวได้ โดย TUF มองว่า โอกาสที่กุ้งขาวจะเป็นที่ยอมรับและเติบโตในอินเดียเหมือนประเทศอื่นๆ ที่หันมาเลี้ยงกุ้งขาวแทนกุ้งกุลาดำนั้น มีความเป็นไปได้สูง และไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์มีความชำนาญในเทคโนโลยีการผลิตอาหารกุ้งขาว ทำให้บริษัทเห็นโอกาสในการขยายธุรกิจอุตสาหกรรมกุ้งให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันก็มองโอกาสสำหรับการขยายช่องทางการตลาดของสินค้าอาหารทะเลแช่แข็ง และบรรจุกระป๋องอีกด้วย " ตลาดอินเดีย เป็นตลาดที่มีความน่าสนใจ และเป็นตลาดที่มีอนาคตสดใส เพราะการบริโภคอาหารของคนอินเดียมีลักษณะใกล้เคียงกับสินค้าที่เราขายอยู่ ดังนั้น จึงไม่น่าจะเป็นเรื่องยากที่ชาวอินเดียจะยอมรับสินค้าประเภทอาหารกระป๋อง เช่น ปลาทูน่ากระป๋อง ได้ " ทั้งนี้ ธุรกิจผลิตอาหารกุ้งนั้น เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่มีความสำคัญอย่างมากกับ TUF เพราะที่ผ่านมามีอัตราการเติบโตอย่างเนื่อง เห็นได้จากผลงานของ บริษัทไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ จำกัด ช่วง 6 เดือนแรกปีนี้ทำกำไรสูงถึง 120% และมียอดขายเติบโตขึ้น 5% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 6 เดือนแรกของปี 50 แม้ว่าจะต้องเผชิญกับต้นทุนการผลิตต่างๆ ที่เพิ่มสูงขึ้น
ข้อตกลงFTA ไทย-อินเดีย เป็นข้อตกลงแรกที่ไทยทำกับประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้ และเป็นสะพานเชื่อมโยงระหว่างอินเดียกับภูมิภาคอาเซียน ปัจจุบันภายใต้กรอบทวิภาคี FTA ไทย-อินเดีย ทั้งสองฝ่ายได้ยกเลิกภาษี จำนวน 82 รายการ ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2549 จึงเป็นโอกาสดีที่สามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ก่อน ส่วนสินค้าอีกหลายพันรายการยัง อยู่ในระหว่างการดำเนินการเจรจา โดยมีความคืบหน้าใกล้จะสำเร็จสรุปผลแล้ว จากผลของ FTA ไทย-อินเดีย ทำให้มูลค่า
การค้าระหว่างไทย-อินเดียเพิ่มมากขึ้นในปี 2550 มีมูลค่าการค้ากว่า 163,000 ล้านบาท และใน 7 เดือนแรกของปี 2551 มูลค่าการค้าประมาณ 114,000 ล้านบาท สินค้าที่ไทยส่งไปอินเดียมากคือ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เม็ดพลาสติก รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ส่วนสินค้าที่ไทยนำเข้าจากอินเดียมากคือ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้ที่ผ่านมาการค้าขายกับอินเดียมีปัญหา และอุปสรรค เช่น อินเดียเก็บภาษีนำเข้าในอัตราสูง และยังมีการเก็บภาษีอื่นๆภายในประเทศ สำหรับระบบพิธีการศุลกากรมีความยุ่งยาก ซับซ้อน และล่าช้า ด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร ทำให้เกิดอุปสรรคต่อการขนถ่ายสินค้า และมีพื้นที่ขนาดใหญ่ การขนส่งสินค้าใช้เวลานานและมีค่าใช้จ่ายสูง นอกจากนี้มีการลอกเลียนแบบสินค้าเกิดขึ้นจำนวนมากและรวดเร็ว ซึ่งการเจรจาการค้าเป็นเครื่องมือที่ช่วยลดอุปสรรคและบรรเทาปัญหาลงได้ โดยการทำการค้ากับอินเดียต้องอดทน หนักแน่น และการบุกตลาดอินเดียต้องเรียนรู้ศึกษา สำรวจเจาะลึกสินค้าประเภทเดียวกันกับเราในตลาดอินเดีย เตรียมตัวให้พร้อมด้วยการปรับปรุงสินค้าให้ตรงกับความต้องการของตลาด ทั้งนี้อินเดียยังมีความต้องการสินค้าของไทยอีกมาก เช่น ยางรถยนต์ หมาก สำหรับธุรกิจที่น่าจะมีโอกาสในตลาดอินเดีย คือ ธุรกิจบริการเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ภัตตาคาร สปา หรือเครื่องอุปโภคบริโภค
ที่มา: http://www.depthai.go.th