ภาวะตลาดสินค้ายางและผลิตภัณฑ์ยางของไต้หวัน

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday October 21, 2008 11:23 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. ภาวะตลาดโดยรวม

อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางของไต้หวันเริ่มจากการผลิตกาวยาง ท่อน้ำ และลูกกลิ้งเครื่องสีข้าว โดยนับ ย้อนกลับไปจนถึงปี 1929 ที่มีผู้ประกอบการเพียง 3รายจนกระทั่งในปี 1948 ผู้ประกอบการจำนวน 34 รายได้รวม ตัวกันจัดตั้ง Taiwan Rubber Industries Associations ขึ้น ปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 520 ราย เมื่อรวมกับผู้ ประกอบการอีก 300 กว่ารายที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสมาคมฯ ทำให้มูลค่าการตลาดในไต้หวันปัจจุบันมากกว่า 80,000 ล้านเหรียญไต้หวัน (อัตราแลกเปลี่ยน 1 เหรียญสหรัฐฯ เท่ากับประมาณ 32 เหรียญไต้หวัน)

ยางธรรมชาติถือเป็นวัตถุดิบที่สำคัญสำหรับอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง แต่ในปัจจุบันมีการผลิตยางสังเคราะห์ ขึ้นใช้งาน โดยวัตถุดิบสำคัญของอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางแบ่งได้ดังนี้

1.1 ยางธรรมชาติ (Natural Rubber, NR) ซึ่งแบ่งย่อยได้หลายประเภทตามคุณสมบัติเช่น RSS3, SMR20, TSR20 เป็นต้น ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาจากการที่เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศ BRICs ที่เจริญรุดหน้าอย่าง รวดเร็วส่งผลให้เกิดปัญหาวัตถุดิบขาดแคลนจนทำให้ราคาวัตถุดิบแทบทุกชนิดพุ่งสูงขึ้น โดยในส่วนของยางธรรมชาติราคา ปรับตัวสูงขึ้นถึง 4 เท่าในระยะเวลาไม่กี่ปี จากการประมาณการของ Economist Information Unit (ETU) คาดว่าในปี 2550 ปริมาณการผลิตยางธรรมชาติทั่วโลกประมาณ 91,500 เมตริกตันเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 3 และคาดว่าในปี 2551 ปริมาณการผลิตจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 ด้วยปริมาณ 95,600 เมตริกตัน ซึ่งในจำนวนนี้เป็นการ ผลิตเพื่อป้อนให้กับตลาดจีนประมาณ 25,000 เมตริกตัน/ปี คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 26 ของปริมาณการผลิตทั่วโลก โดย ที่ราคายางธรรมชาติก็ยังคงมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ (ราคาในช่วงปลายปี 2550 เฉลี่ยประมาณ 2,300-2,500 เหรียญสหรัฐฯ ต่อเมตริกตัน)

1.2 ยางสังเคราะห์ (Synthetic Rubber) ซึ่งแบ่งย่อยได้หลายประเภทตามคุณสมบัติเช่น SBR, BR, NBR เป็นต้น ราคาจะแปรผันตามราคาและปริมาณน้ำมันดิบในตลาดโลกเป็นสำคัญ เช่นในส่วนของ NBR ซึ่งราคาจำหน่าย ในปี 2550 สูงสุดถึง 2,680 เหรียญสหรัฐ/เมตริกตัน มากกว่าช่วงที่ราคาต่ำที่สุด (2,070 เหรียญสหรัฐฯ/เมตริกตัน) ถึงร้อยละ 29.5

1.3 วัตถุดิบชนิดใหม่ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมากระแสความนิยมของวัตถุดิบประเภท Thermoplastic Elastomer (TPE) เพิ่มสูงขึ้นมาก จนความต้องใช้ในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ของไต้หวันเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 15 ขึ้นไป โดยจุดเด่นด้านราคาและสมรรถนะที่ดีกว่า ปัจจุบันได้มีการพัฒนาออกเป็นสิบกว่าประเภทใช้เป็นวัตถุดิบทดแทนยาง ธรรมชาติ ยางสังเคราะห์ รวมไปจนถึงพลาสติกที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ทั้งในอุตสาหกรรมยานยนต์ ก่อสร้าง รองเท้า เครื่องมือแพทย์ เป็นต้น โดยสัดส่วนการใช้งานในอุตสาหกรรมยานยนต์สูงที่สุดคิดเป็น 1 ใน 3 ของปริมาณ ความต้องการทั้งหมด โดยผู้ผลิตรายสำคัญได้แก่จีน สหรัฐฯ รัสเซีย ญี่ปุ่น และอิตาลี

2. การผลิต

ที่ผ่านมามูลค่าการผลิตในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางคิดเป็นสัดส่วนไม่ถึงร้อยละ 1 ของมูลค่าการผลิตสินค้า อุตสาหกรรมทั้งหมดของไต้หวัน อย่างไรก็ดีจากการที่ปริมาณความต้องการในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้นทำให้มูลค่าการผลิต มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ปี 2002 เป็นต้นมา สำหรับในปี 2007 มูลค่าการผลิตรวมในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง ของไต้หวันเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.71 จากปีก่อนหน้า คิดเป็นมูลค่าประมาณ 85,542 ล้านเหรียญไต้หวัน โดยในจำนวนนี้ มูลค่าการผลิตยางสำหรับพาหนะ (รถยนต์รถจักรยานยนต์ รถจักรยาน และอื่นๆ) คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 50.8 ด้วย มูลค่า 43,468 ล้านเหรียญไต้หวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4 จากปีก่อนหน้ารายละเอียดเพิ่มเติมปรากฏตามตารางที่ 1

ตารางที่ 1 : มูลค่าการผลิตในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางของไต้หวัน

Unit: NT$ Million

   ปี           ยาง (พาหนะ)   อื่นๆ       รวม       +/- (%)
  2002           27,897    35,896    63,793      10.84
  2003           30,661    38,376    69,037       8.22
  2004           35,783    42,444    78,227      13.31
  2005           37,918    39,097    77,015      -1.55
  2006           39,375    40,046    79,421       3.12
  2007           43,468    42,074    85,542       7.71
Source: Ministry of Economic Affairs

ผู้ผลิตยางรถยนต์รายสำคัญของไต้หวันมี 8 รายได้แก่ Nankang Rubber Tire Corp., Federal Corp., Cheng Shin Rubber Ind. Co.,Ltd., Kenda Rubber Ind. Co.,Ltd., Duro Rubber Ind. Co.,Ltd., Goodyear Taiwan Ltd., Bridgestone Taiwan Co.,Ltd. และ Hsing Kwo Rubber Mfg. Co.,Ltd. โดย 5 รายแรกเป็นผู้ประกอบการไต้หวันที่มีความพร้อมทั้งเงินทุนและเทคโนโลยีจนสามารถไปลงทุนตั้งโรงงานในต่าง ประเทศได้ สำหรับ Goodyear Taiwan Ltd. ถือเป็นโรงงานผลิตยางรถยนต์ของค่าย Goodyear จากสหรัฐฯ ที่มีปริมาณการผลิตสูงเป็นอันดับ 3 ของโลก ในขณะที่ Bridgestone Taiwan Co.,Ltd. เป็นผู้ผลิตยางรถยนต์ ทุนญี่ปุ่นที่มีปริมาณการผลิตสูงที่สุดในโลก ในส่วนของ Hsing Kwo Rubber Mfg. Co.,Ltd. เป็นผู้ประกอบการ ไต้หวันที่มีความเชี่ยวชาญในการผลิต Transmission Belt ที่มีชื่อเสียงมานานและเพิ่งเริ่มการผลิตยางรถยนต์ได้ ไม่นานนัก โดยปริมาณการผลิตยางรถยนต์ของไต้หวันระหว่างปี 2004-2007 ปรากฏตามตารางที่ 2

ตารางที่ 2: ปริมาณการผลิตยางรถยนต์ของไต้หวันระหว่างปี 2004-2007
   ปี          ผลิต      ขายในประเทศ     สัดส่วน     ส่งออก      สัดส่วน     ยอดขายรวม
  2004      31,508         7,683      29.95%    17,969      70.05       25,652
  2005      24,524         7,745      30.17%    17,928      69.83       25,673
  2006      22,816         6,598      26.99%    17,847      73.01       24,445
  2007      25,533         6,500      25.19%    19,300      74.81       25,800
Source: Taiwan Institute of Economic Research (TIER)           Unit: 1,000 เส้น

3. การส่งออก

แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางของไต้หวันได้รับผลกระทบจากราคาวัตถุดิบที่พุ่งสูงขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ดีมูลค่าการส่งออกสินค้าผลิตภัณฑ์ยางโดยเฉลี่ยนของไต้หวันก็ยังคงเพิ่มสูงขึ้น โดยสินค้ายางและ ผลิตภัณฑ์ยางที่ไต้หวันส่งออกมากที่สุดได้แก่สินค้ายางเทียม (HS-Code: 4002) โดยในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2551 ไต้หวันส่งออกสินค้ายางเทียมคิดเป็นมูลค่า 650.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.5 จากช่วงเดียวกันของ ปี 2550 รองลงมาได้แก่ สินค้ายางนอก มูลค่ารวม 494.28 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 1.17 ของอื่นๆ ที่ทำจากยาง (มูลค่า 94.13 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.31) ยางแข็ง (มูลค่า 63.43 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.62) โดยสถิติการส่งออกสินค้ายางและผลิตภัณฑ์ยางที่สำคัญของไต้หวันปรากฏตามตาราง ที่ 3 และ 4

ตารางที่ 3 มูลค่าการส่งออกสินค้ายางเทียม (HS-Code: 4002) ของไต้หวัน
    ประเทศ          2006     2007      +/-      2008*     +/-*
1. China           380.2    378.6    -0.40%    223.1      0.60%
2. Japan            61.8     69.9    13.10%     60.3     53.00%
3. HK               82.7     79.2    -4.20%     52.7     14.80%
4. Malaysia         43.5     62.3    43.10%     47.1     40.90%
5. Vietnam          24.9     37.1    49.10%     39.2    142.20%
Others             192.7    267.0    38.60%    227.7
Total              785.8    894.1    13.80%    650.1     27.50%
ที่มา : Directorate General of Customs, Ministry of Finance
Unit: US$Million
* ข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม-กรกฎาคม

ตารางที่ 4 มูลค่าการส่งออกสินค้ายางนอก (HS-Code: 4011) ของไต้หวัน
     ประเทศ          2006     2007      +/-      2008*     +/-*
1. USA              257.8    255.9    -0.70%    144.3    -13.20%
2. Japan             62.8     66.4     5.80%     44.9     15.50%
3. UK                34.4     39.1    13.90%     21.9     -5.20%
4. Australia         36.0     46.4    28.80%     21.3    -16.20%
5. Germany           27.9     37.2    32.80%     19.4    -27.10%
Others              312.6    385.4    23.30%    242.4
Total               731.5    830.4    13.50%    494.2      0.90%
ที่มา : Directorate General of Customs, Ministry of Finance
Unit: US$Million
* ข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม-กรกฎาคม

4. การนำเข้า

ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2551 ไต้หวันนำเข้าสินค้ายางและผลิตภัณฑ์ยางคิดเป็นมูลค่ารวม 740.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 29.2 โดยรายละเอียดการนำเข้าของสินค้าประเภทต่างๆ ที่สำคัญ ปรากฏดังนี้

สินค้าประเภทนี้ที่ไต้หวันนำเข้ามากที่สุดคือยางเทียม (HS-Code: 4002) รองลงมาได้แก่ยางธรรมชาติ (มูลค่า 155.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.1) และสินค้ายางนอก (มูลค่า 133.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.9)

4.1 ยางเทียม (HS-Code: 4002)

สินค้ายางและผลิตภัณฑ์ยางที่ไต้หวันนำเข้ามากที่สุดคือยางเทียม โดยในช่วงระหว่างเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2551 ไต้หวันได้นำเข้าสินค้ายางเทียมคิดเป็นมูลค่า 248.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.8 จากช่วงเดียวกัน ของปีก่อนหน้า แหล่งนำเข้าสำคัญได้แก่ญี่ปุ่นมูลค่า 68.14 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.23 รองลงมาได้แก่ สหรัฐฯ (มูลค่า 63.96 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.66) เกาหลีใต้ (มูลค่า 25.99 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.74) รัสเซีย (มูลค่า 24.17 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 457.89) และฝรั่งเศส (มูลค่า 22.53 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 131.20) ตามลำดับ โดยไทยเป็นแหล่งนำเข้าอันดับที่ 7 ของไต้หวันในสินค้า ประเภทนี้ด้วยมูลค่า 5.48 เพิ่มขึ้นร้อยละ 197.30 รายละเอียดเพิ่มเติมปรากฏตามตารางที่ 5

4.2 ยางธรรมชาติ (HS-Code: 4001)

สินค้ายางและผลิตภัณฑ์ยางที่ไต้หวันนำเข้ามากเป็นอันดับ 2 คือยางธรรมชาติ โดยในช่วง 7 เดือนแรกของ ปี 2551 ไต้หวันได้นำเข้าสินค้ายางธรรมชาติคิดเป็นมูลค่า 155.76 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.14 จาก ช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า แหล่งนำเข้าอันดับ 1 ของไต้หวันได้แก่ไทยด้วยมูลค่า 61.00 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 31.21 รองลงมาได้แก่อินโดนีเซีย (มูลค่า 34.75 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.45) เวียตนาม (มูลค่า 29.72 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 12.04) มาเลเซีย (มูลค่า 28.78 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.48) และศรีลังกา (มูลค่า 0.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.25) ตามลำดับ โดยรายละเอียดเพิ่มเติม ปรากฏตามตารางที่ 6

ตารางที่ 5 : สถิติการนำเข้าสินค้ายางเทียมของไต้หวัน

    ประเทศ           2006      2007       +/-      2008*      +/-*
1. ญี่ปุ่น              93.43    107.43     14.99%     68.14     12.23%
2. สหรัฐฯ            79.36     85.07      7.20%     63.96     35.66%
3. เกาหลีใต้          27.78     43.51     56.60%     25.99      4.74%
4. รัสเซีย            20.40     12.49    -38.81%     24.17    457.89%
5. ฝรั่งเศส           30.41     21.05    -30.77%     22.53    131.20%
7. ไทย               3.15      4.60     46.21%      5.48    197.30%
Others              41.97     48.69     16.01%     43.55
Total              296.50    322.84      8.88%    248.34     42.81%
ที่มา : Directorate General of Customs, Ministry of Finance
Unit: US$Million
* ข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม-กรกฎาคม

ตารางที่ 6 : สถิติการนำเข้าสินค้ายางธรรมชาติของไต้หวัน
      ประเทศ            2006      2007       +/-      2008*      +/-*
1. ไทย                 60.13     84.92     41.23%     61.00     31.21%
2. อินโดนีเซีย            49.14     50.12      2.00%     34.75     34.45%
3. เวียตนาม             45.99     67.08     45.85%     29.72    -12.04%
4. มาเลเซีย             45.66     40.89    -10.45%     28.78     16.68%
5. ศรีลังกา               1.49      0.33     32.80%      0.40    -77.92%
Others                 11.38      4.80    -57.82%    242.40
Total                 213.79    248.14     16.06%    155.76     16.14%
ที่มา : Directorate General of Customs, Ministry of Finance
Unit: US$Million
* ข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม-กรกฎาคม

4.3 ยางนอก (HS-Code: 4011)

สินค้ายางและผลิตภัณฑ์ยางที่ไต้หวันนำเข้ามากเป็นอันดับ 3 คือยางนอก โดยในช่วง 7 เดือนแรกของ ปี 2551 ไต้หวันได้นำเข้าสินค้ายางนอกคิดเป็นมูลค่า 133.61 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.96 จากช่วง เดียวกันของปีก่อนหน้า แหล่งนำเข้าอันดับ 1 ของไต้หวันได้แก่ญี่ปุ่นด้วยมูลค่า 52.81 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 37.48 รองลงมาได้แก่จีน (มูลค่า 20.82 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.66) ไทย (มูลค่า 15.01 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.94) เยอรมันนี (มูลค่า 6.67 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.43) และฝรั่งเศส (มูลค่า 6.52 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.13) ตามลำดับ รายละเอียดเพิ่มเติมปรากฏตาม ตารางที่ 7

ตารางที่ 7 : สถิติการนำเข้าสินค้ายางนอกของไต้หวัน
    ประเทศ           2006      2007       +/-      2008*      +/-*
1. ญี่ปุ่น              80.07     68.65    -14.27%     52.81    37.48%
2. จีน               29.84     27.03     -9.42%     20.82    35.66%
3. ไทย              19.43     18.85     -2.99%     15.01    29.94%
4. เยอรมัน            7.59      8.50     12.00%      6.67    33.43%
5. ฝรั่งเศส           11.31     10.29     -9.08%      6.52     4.13%
Others             312.60    385.40     12.29%     31.78
Total              189.37    175.17     -7.50%    133.61    33.96%
ที่มา : Directorate General of Customs, Ministry of Finance
Unit: US$Million
* ข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม-กรกฎาคม

5. การตลาด

ยางธรรมชาติถือเป็นวัตถุดิบที่สำคัญในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง ในช่วงที่ผ่านมาสภาเกษตรของไต้หวัน พยายามทดลองปลูกต้นยางพาราในพื้นที่แถบจังหวัดไถหนานทางภาคใต้แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ทำให้จำเป็นต้อง นำเข้ายางธรรมชาติจากต่างประเทศทั้งหมด จากสถิติของ International Rubber Study Group (IRSG) ปริมาณความต้องการใช้ยางธรรมชาติและยางเทียมของโลกในปี 2007 คิดเป็นปริมาณ 22.93 ล้านเมตริกตัน 119.07 ล้านเมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 20.17 ทั้งนี้ในปี 2007 ราคายางธรรมชาติทั้งในไต้หวันและทั่วโลกพุ่ง สูงขึ้นตั้งแต่ในช่วงไตรมาสแรก แม้ว่าในไตรมาสที่สามราคาจะมีการปรับตัวลงมาเล็กน้อย แต่ในไตรมาสที่สี่ก็เริ่มดีด ตัวขึ้นอีกครั้ง และพุ่งสูงขึ้นต่อเนื่องมาจนถึงไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ สาเหตุสำคัญที่ส่งให้ราคายางธรรมชาติเพิ่มสูงขึ้นนี้ คาดว่าน่าจะมาจากสามประการใหญ่ๆ คือ

1) การที่ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซียจับมือกันพยุงราคาสินค้า

2) ราคาน้ำมันที่พุ่งขึ้นอย่างไม่หยุดหย่อน ซึ่งฉุดให้ราคาวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตยางเทียมพุ่งสูงขึ้นตามไป ด้วยจนส่งผลให้ราคายางธรรมชาติเพิ่มสูงขึ้น

3) จากการที่อุตสาหกรรมยานยนต์ของจีนเจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็วทำให้ผู้ประกอบการผลิตยางรถยนต์ รายใหญ่ทั่วโลกพากันไปลงทุนตั้งโรงงานในประเทศจีน ส่งผลให้ปริมาณความต้องการของจีนเพิ่มสูงขึ้นมาก

ทั้งนี้ ราคา FOB เฉลี่ยของยาง SMR 20 จากมาเลเซียและ TSR 20 จากสิงคโปร์ในช่วงปี 2007 ปรากฏตามตารางที่ 8 และ 9 ตามลำดับ

ตารางที่ 8 ราคา FOB เฉลี่ยของยางธรรมชาติ SMR 20 จากมาเลเซีย

Unit: US$/Kg.

           มค.      กพ.      มีค.     เมย.      พค.      มิย.      กค.     สค.      กย.      ตค.       พย.      ธค.
2005    1207.8   1268.5   1252.9   1224.7   1218.2   1287.5   1427.4   1437.1   1576.4   1644.5   1573.7   1639.4
2006    1762.8   1935.8   1916.5   1957.1   2161.0   2354.3   2317.6   2156.7   1832.4   1832.5   1626.5   1639.9
2007    1934.2   2113.1   2084.9   2160.7   2243.7   2158.3   2043.5   2089.0   2131.4   2256.7   2369.8   2450.6
ที่มา : Taiwan Rubber Industry Association

ตารางที่ 9 ราคา FOB เฉลี่ยของยางธรรมชาติ TSR 20 จากสิงคโปร์

Unit: US$/Kg.

           มค.       กพ.       มีค.       เมย.      พค.       มิย.       กค.       สค.       กย.       ตค.       พย.       ธค.
2005    1184.2    1213.4    1218.4    1207.7    1202.8    1266.7    1449.8    1434.6    1573.3    1628.8    1574.9    1630.4
2006    1767.6    1924.6    1904.9    1938.9    2152.6    2321.0    2297.4    2121.1    1803.1    1789.0    1615.5    1645.7
2007    1940.2    2116.9    2052.7    2122.4    2199.0    2079.8    2008.7    2039.3    2089.8    2252.6    2369.7    2397.5
ที่มา : Taiwan Rubber Industry Association

และแม้ว่าในปัจจุบันไต้หวันจะนำเข้ายางธรรมชาติจากไทยมากที่สุด แต่จากการที่ปริมาณการผลิตของทั้ง อินเดีย (เพิ่มจากประมาณ 7 แสนตันในปี 2003 เป็น 8.1 แสนตันในปี 2007) และเวียตนาม (เพิ่มจาก 3.6 แสนตัน ในปี 2003 เป็น 6.02 แสนตันในปี 2007) ที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ก็ถือได้ว่าอาจมีโอกาสกลายมาเป็นคู่แข่งที่สำคัญของ ไทยได้ในอนาคต เพราะปัจจุบันนี้เวียตนามถือว่าเป็นแหล่งเพาะปลูกยางพาราที่ให้ผลผลิตต่อไร่มากที่สุดในโลก (ประมาณ 300 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี) ซึ่งผู้ประกอบการของเวียตนาม (บางส่วนมาจากมาเลเซีย) กำลังเร่งขยายพื้นที่เพาะปลูก ไปสู่ลาวและกัมพูชาด้วย ทั้งนี้ จีนแผ่นดินใหญ่ก็มีการปลูกต้นยางเพิ่มขึ้นในแถบเกาะไหหลำและถือเป็นคู่แข่งสำคัญที่ไม่อาจ มองข้ามได้เช่นเดียวกัน แม้จะไม่ได้ส่งออกไปต่างประเทศมากนัก เพราะปัจจุบันจีนถือเป็นประเทศผู้สั่งซื้อรายสำคัญที่มี ปริมาณความต้องการใช้ยาง (ยางธรรมชาติ+ยางเทียม) ที่สูงที่สุดในโลก ด้วยปริมาณ 5.99 ล้านเมตริกตันในปี 2007 เพิ่มขึ้นร้อยละ 113.4 จากปีก่อนหน้า ดังนั้นหากจีนสามารถผลิตได้เองเพิ่มขึ้นปริมาณนำเข้าก็จะลดลงโดยปริยาย

สำหรับมาเลเซียเองที่เป็นคู่แข่งสำคัญของไทยมาโดยตลอดก็ได้มีการพัฒนายางสายพันธ์ใหม่ที่จะให้ผลผลิต มากกว่าเดิม (มากกว่า 300 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี) และเริ่มทำการเพาะปลูกแล้ว ผู้ส่งออกไทยจึงควรที่จะพยายาม ปรับปรุงการเพาะปลูก โดยเน้นในส่วนของผลผลิตต่อไร่ให้มากขึ้นกว่าเดิมด้วย เพื่อรักษาศักยภาพในการเป็นผู้นำใน การส่งออกยางธรรมชาติต่อไป ทั้งนี้รายละเอียดเพิ่มเติมของปริมาณการผลิตยางธรรมชาติของประเทศต่างๆ ปรากฏ ตามตารางที่ 10

ตารางที่ 10 : ปริมาณการผลิตยางธรรมชาติของประเทศต่างๆ ทั่วโลก
  ประเทศ            2003     2004     2005     2006     2007      เพิ่ม/ลด
ไทย                2,876    2,984    2,937    3,137    3,063      -2.40%
อินโดนีเซีย           1,792    2,066    2,271    2,637    2,797       6.10%
มาเลเซีย              986    1,169    1,126    1,284    1,201      -6.40%
อินเดีย                707      743      772      853      811      -4.90%
เวียตนาม              364      419      469      554      602       8.80%
จีน                   565      573      510      533      600      12.60%
โกติวัวร์               127      143      165      178      192       7.70%
ศรีลังกา                92       95      104      109      120       9.90%
ไลบีเรีย               107      115      111      101      114     134.00%
บราซิล                 94      101      107      108      108       0.00%
อื่นๆ                  323      348      320      192      285      47.90%
รวม                8,033    8,576    8,892    9,686    9,893       2.10%
ที่มา : International Rubber Study Group (IRSG)            Unit: 1,000 Kgs.

6. รายชื่อผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง

รายชื่อผู้นำเข้าในสินค้าที่เกี่ยวข้องปรากฏตามเอกสารแนบ

7. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • Bureau of Foreign Trade (http://www.trade.gov.tw)
8. แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
  • Taiwan Rubber Industries Association (http://www.tria.org.tw)
  • International Rubber Study Group (http://www.rubberstudy.com

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศฯ

Upload Date : ตุลาคม 2551

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ