ปี 2007 ปี 2008
Real GDP growth (%) 2.0 1.8 Consumer price inflation (av; %) 2.9 4.5 Budget balance (% of GDP) -1.2 -2.5 Current-account balance (% of GDP) -5.3 -4.7 Commercial banks' prime rate (year-end; %) 5.0 2.2 Exchange rate ฅ:US$ (av) 1.37 1.51 โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับสหรัฐอเมริกา มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลดล้านเหรียญสหรัฐฯ
สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น 20,274.50 100.00 4.42 สินค้าเกษตรกรรม 1,825.82 9.01 18.71 สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร 2,050.56 10.11 15.45 สินค้าอุตสาหกรรม 15,858.37 78.22 1.80 สินค้าแร่และเชื้อเพลิง 539.76 2.66 63.59 สินค้าอื่นๆ 0.0 0.0 -100.00 โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับสหรัฐอเมริกา มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลดล้านเหรียญสหรัฐฯ
นำเข้าทั้งสิ้น 11,391.01 100.00 19.98 สินค้าเชื้อเพลิง 362.83 3.19 57.77 สินค้าทุน 3,808.04 33.43 11.19 สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป 5,858.43 51.43 26.52 สินค้าบริโภค 1,230.08 10.80 27.57 สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง 97.33 0.85 16.05 สินค้าอื่นๆ 34.29 0.30 -78.70 1. มูลค่าการค้า มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย - สหรัฐอเมริกา 2550 2551 D/%(ม.ค. - ธ.ค.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการค้ารวม 28,909.97 31,665.51 9.53 การส่งออก 19,415.61 20,274.50 4.42 การนำเข้า 9,494.37 11,391.01 19.98 ดุลการค้า 9,921.24 8,883.49 -10.46 2. การนำเข้า ประเทศไทยนำเข้าจากสหรัฐอเมริกาเป็นอันดับที่ 3 มูลค่า 11,391.01 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.98 สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลดล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการนำเข้ารวม 11,391.01 100.00 19.98 1. แผงวงจรไฟฟ้า 1,162.77 10.21 -16.74 2. เคมีภัณฑ์ 1,150.47 10.10 38.94 3. เครื่องจักรกล 1,132.22 9.94 20.43 4. เครื่องคอมพิวเตอร์ 860.46 7.55 -1.72 5. เหล็ก เหล็กกล้า 732.15 6.43 142.31 อื่น ๆ 1,263.18 11.09 7.78 3. การส่งออก ประเทศไทยส่งออกไปเป็นสหรัฐอเมริกา อันดับที่ 1 มูลค่า 20,274.50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.42 สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลดล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการนำเข้ารวม 20,274.50 100.00 4.42 1. เครื่องคอมพิวเตอร์ 3,426.57 16.90 1.13 2. เสื้อผ้าสำเร็จรูป 1,408.65 6.95 -8.09 3. อาหารทะเลกระป๋อง 1,191.99 5.88 14.18 4. อัญมณี 1,075.88 5.31 4.78 5. ผลิตภัณฑ์ยาง 955.91 4.71 11.22 อื่น ๆ 3,931.79 19.39 -5.97 4. ข้อสังเกต 4.1 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปสหรัฐอเมริกา ปี 2551 (มค.-ธค.) ได้แก่เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ : สหรัฐอเมริกา เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 2 ของไทยรองจากจีน และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 23.39 44.83 17.40 และ 1.13 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
เสื้อผ้าสำเร็จรูป : สหรัฐอเมริกา เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่า ปี 2549-2551 มีอัตราการขยายตัวลดลงอย่างต่อเนื่องร้อยละ -2.26 -5.81 -8.09 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
อาหารทะเลกระป๋องฯ : สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่า ปี 2550 เป็นเพียงปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวลดลง (-6.04%) ในขณะที่ปี 2548 2549 2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.47 24.25 และ 14.18 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อน
อัญมณีและเครื่องประดับ : สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 4 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่า ปี 2549 เป็นเพียงปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวลดลง (-1.84%) ในขณะที่ปี 2548 2550 2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.16 9.37 และ 33.16 ตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อน
ผลิตภัณฑ์ยาง : สหรัฐอเมริกา เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 29.61 23.36 11.87 และ 11.22 ตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
การค้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับในสหรัฐฯ สามารถทำได้อย่างเสรี และยังมีโอกาสสูง โดยกลุ่มผู้บริโภคที่น่าสนใจมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มผู้บริโภคชาวอเมริกันผิวขาว ที่ชอบเครื่องประดับ เพชรที่ทำด้วยทองคำ 18 กะรัตหรือโลหะมีค่าประเภทอื่ๆ เช่น แพลตตินัม และเงิน รองลงมาคือ กลุ่มชาวฮิสแปนิก ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยในสหรัฐฯ ครอบคลุมเชื้อสายสเปน ละตินอเมริกา คิวบา เม็กซิโก และเปอร์โตริโก เป็นต้น และปัจจุบันมีจำนวนประชากรประมาณ 15% หรือ 46 ล้านคน ที่ชอบทองคำและเครื่องประดับที่เกี่ยวข้องกับศาสนา ทั้งนี้ หากแยกตามกลุ่มอายุ พบว่า กลุ่มผู้บริโภคอายุระหว่าง 55-64 ปี ประมาณ 26 ล้านคน เป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อมากที่สุด รองลงมา กลุ่มอายุระหว่าง 35-44 ปี ประมาณ 48 ล้านคน ซึ่งการทำตลาดต้องอาศัยกลยุทธ์ที่แตกต่างกันไปทั้งในด้านการกำหนดรูปแบบผลิตภัณฑ์ ช่องทางการจำหน่ายและการส่งเสริมการจำหน่ายอย่างไรก็ตาม จากวิกฤติการณ์ทางการเงินในสหรัฐฯ ได้ส่งผลให้ผู้นำเข้าสหรัฐฯ มีความเข้มงวดในการสั่งซื้อสินค้า และซื้อสินค้าน้อยลง เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาสินค้าตกค้างในสต๊อกผู้ผลิต ผู้ค้าปลีกหลายรายต้องปิดกิจการไป ขณะที่ผู้บริโภคก็ชะลอการซื้อสินค้าและหันไปบริโภคเครื่องประดับเงิน และพลอยเนื้ออ่อนมากขึ้นแทนที่จะเป็นเครื่องปะดับทองและพลอยเนื้อแข็ง และยังมีการหันไปสั่งซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ตและช่องทางการขายตรงอื่นๆ มากขึ้น นอกจากนี้ ไทยยังมีคู่แข่งอีกเป็นจำนวนมาก ในตลาดสหรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็นอินเดีย อิตาลี และจีน แม้ว่าจีนจะไม่ได้รุกเข้าไปตลาดสหรัฐฯ อย่างดุเดือดเช่นเดียวกับอินเดีย แต่สินค้าจากจีนสามารถครองส่วนแบ่งตลาดในสหรัฐฯ ได้สูงกว่าไทย โดยจีนมีส่วนแบ่งร้อยละ 15 ไทยร้อยละ 12 และจีนเองยังคงพัฒนาคุณภาพสินค้าทั้งด้านการออกแบบ และสร้างตราสินค้า นอกเหนือจากการมุ่งแข่งขันในด้านราคาซึ่งจะกลายเป็นคู่แข่งสำคัญของไทย แม้แนวโน้มตลาดสหรัฐฯ จะชะลอตัวลง และผู้บริโภคจะลดการใช้จ่ายเพื่อซื้อเครื่องประดับลง แต่หากผู้ผลิตส่งออกไทย สามารถปรับรูปแบบการผลิตและรู้เท่าทันพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ไทยก็จะสามารถยังคง รักษาส่วนแบ่งสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับในสหรัฐฯ ได้ โดยสินค้าที่มีโอกาส ก็คือ สินค้าที่มีราคาถูกลง แต่คุณภาพต้องใกล้เคียงของเดิม เช่น เครื่องประดับที่มีปริมาณเนื้อโลหะมีค่าต่ำลงจาก 14 กะรัต เหลือเพียง 10 กะรัต สินค้าที่ตัวเรือนทำด้วยโลหะสีขาวจะเปลี่ยนจากแพลตินั่ม ทองขาวไปสู่เครื่องประดับเงิน เครื่องประดับผู้ชายจากแพลตินัม เงินและทองขาว ไปสู่ สแตนเลส ไททาเนียม และทังสเตน สินค้าที่อิงกระแสอนุรักษ์ธรรมชาติและสภาพแวดล้อมจะมาแรง หากสามารถโฆษณาประชาสัมพันธ์ได้ว่า สินค้าที่ผลิตเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือ Green Jewelry ก็จะมีโอกาสขายได้สูง สินค้าที่มีจุดขายเน้นความรับผิดชอบต่อสังคมซึ่งหากสามารถแจกแจงแหล่งที่มาของวัตถุดิบและกระบวนการผลิตได้ทุขั้นตอนโดยผู้บริโภคสามารถสืบค้นหาแหล่งที่มาของการผลิตเครื่องประดับที่ซื้อได้ ก็จะทำให้โอกาสขายได้สูงขึ้น
ในช่วง 9 เดือนแรกปี 2551 ไทยมีสินค้าที่มีส่วนแบ่งตลาดในสหรัฐตั้งแต่ 50% ขึ้นไป แต่มูลค่านำเข้ารวมไปสหรัฐจากทั่วโลกต่ำกว่ามูลค่าขั้นต่ำ(De Minimis Value) ซึ่งปี2551 สหรัฐกำหนดไว้ที่ 19 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จำนวน 6 รายการ ได้แก่ ดอกกล้วยไม้สด ส่วนแบ่งตลาด 51.9% ทุเรียนสด ส่วนแบ่งตลาด 100% มะละกอตากแห้ง ส่วนแบ่งตลาด 86.93% มะขามตากแห้งส่วนแบ่งตลาด 71.49% มะละกอแปรรูป ส่วนแบ่งตลาด 68.18% และทองแดงบริสุทธิ์ ส่วนแบ่งตลาด 49.17% โดยกรมการค้าต่างประเทศจะยื่นคำร้องขอผ่อนผันไม่ให้ระงับสิทธิพิเศษ กรณี De Minimis Waiver ซึ่งเป็นหนึ่งในเงื่อนไขการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร(จีเอสพี) ให้สินค้าทั้ง 6 รายการประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2552 นอกจากนี้ในช่วงดังกล่าว สหรัฐให้สิทธิจีเอสพี แก่สินค้าไทย 3,400 รายการ โดยไทยใช้สิทธิจีเอสพี ส่งออกไปสหรัฐมูลค่า 2,690.28 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 87% ของมูลค่าส่งออกของสินค้าที่ได้สิทธิจีเอสพี ประกอบด้วยสินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าเกษตรบางรายการ โดยสินค้าที่ได้รับสิทธิจีเอสพี จะได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าสหรัฐ เป็นการเพิ่มโอกาสของสินค้าไทยให้แข่งขันในตลาดสหรัฐได้
ที่มา: http://www.depthai.go.th