ปี 2007 ปี 2008
Real GDP growth (%) 1.9 1.4 Consumer price inflation (av; %) 0.0 0.4 Budget balance (% of GDP) -2.6 -2.4 Current-account balance (% of GDP) 4.9 4.6 Commercial banks' prime rate (year-end; %) 1.8 2.1 Exchange rate ฅ:US$ (av) 117.4 105.0 โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับญี่ปุ่น มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลดล้านเหรียญสหรัฐฯ
สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น 20,090.28 100.00 10.88 สินค้าเกษตรกรรม 2,894.47 14.41 30.67 สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร 1,725.96 8.59 30.08 สินค้าอุตสาหกรรม 14,345.88 71.41 4.54 สินค้าแร่และเชื้อเพลิง 1,123.86 5.59 57.14 สินค้าอื่นๆ 0.12 0.0 -99.92 โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับญี่ปุ่น มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลดล้านเหรียญสหรัฐฯ
นำเข้าทั้งสิ้น 33,401.89 100.00 17.69 สินค้าเชื้อเพลิง 108.45 0.32 -12.06 สินค้าทุน 12,625.20 37.80 18.62 สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป 16,152.13 48.36 19.24 สินค้าบริโภค 1,524.61 4.56 11.50 สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง 2,987.01 8.94 13.96 สินค้าอื่นๆ 4.50 0.01 -94.40 1. มูลค่าการค้า มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย — ญี่ปุ่น 2550 2551 D/%(ม.ค. - ธ.ค.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการค้ารวม 46,500.58 53,492.18 15.04 การนำเข้า 28,381.53 33,401.89 17.69 การส่งออก 18,119.05 20,090.28 10.88 ดุลการค้า -10,262.48 -13,311.61 29.71 2. การนำเข้า ประเทศไทยนำเข้าจากญี่ปุ่น เป็นอันดับที่ 1 มูลค่า 33,401.89 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.69 สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลดล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการนำเข้ารวม 33,401.89 100.00 17.69 1.เครื่องจักรกล 6,541.17 19.58 23.76 2.เหล็ก เหล็กกล้า 5,361.40 16.05 44.74 3.เครื่องจักรไฟฟ้า 3,034.11 9.08 6.55 4.เคมีภัณฑ์ 2,764.42 8.28 22.95 5.แผงวงจรไฟฟ้า 2,618.53 7.84 -10.98 อื่น ๆ 1,742.21 5.22 -1.61 3. การส่งออก ประเทศไทยส่งออกไปญี่ปุ่น เป็นอันดับที่ 2 มูลค่า 20,090.28 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.88 สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลดล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการนำเข้ารวม 20,090.28 100.00 10.88 1. แผงวงจรไฟฟ้า 1,088.09 5.42 -12.64 2. เครื่องคอมพิวเตอร์ 1,085.11 5.40 -6.98 3. ยางพารา 1,013.39 5.04 17.40 4. รถยนต์ อุปกรณ์ 952.63 4.74 19.28 5. ไก่แปรรูป 672.56 3.35 94.11 อื่น ๆ 7,273.92 36.21 6.54 4. ข้อสังเกต 4.1 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปญี่ปุ่น ปี 2551 (ม.ค. - ธ.ค.) ได้แก่แผงวงจรไฟฟ้า : ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 2 ของไทยรองจากฮ่องกง โดยมีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 12.64 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ : ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 6 ของไทย โดยมีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 6.98 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
ยางพารา : ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 3 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่า ปี 2550 เป็นเพียงปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวลดลง (-13.29%) ในขณะที่ปี 2548 2549 2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.29 31.14 17.40 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อน
รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ : ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 4 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 -2551 พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 4.88 25.16 19.81 19.28 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อน
ไก่แปรรูป : ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทย และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 29.93 0.63 4.10 และ 94.11 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อน
ขณะนี้กระทรวงพาณิชย์กำลังเตรียมแนวทางผลักดันการส่งออกและช่วยเหลือภาคธุรกิจเพื่อการส่งออกที่กำลังประสบปัญหาสภาพคล่องตึงตัว โดยวันที่ 4-7 กุมภาพันธ์นี้ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ จะเป็นหัวหน้าคณะนำนักธุรกิจรายใหญ่เดินทางไปโรดโชว์ที่ประเทศญี่ปุ่น เพื่อพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็น พร้อมขยายโอกาสและทำความเข้าใจการค้าระหว่างการกันมากขึ้น
กระทรวงอุตสาหกรรมเตรียมลงนามบันทึกความเข้าใจ หรือ MOU กับองค์การส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศของญี่ปุ่น เพื่อร่วมกันพัฒนาโครงการยกระดับมาตรฐานการผลิตอาหาร ในการเดินทางไปโร้ดโชว์ที่ประเทศญี่ปุ่นของรัฐบาล โดยมี นายอภิสิทธิ์ เวชาชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้าคณะในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2552 ซึ่งขณะนี้มีบริษัทญี่ปุ่นหลายรายให้ความสนใจต้องการทำการค้ากับประเทศไทย การลงนามดังกล่าวจะสร้างความมั่นใจเรื่องคุณภาพสินค้าอาหารไทยในตลาดญี่ปุ่น ส่งผลให้สินค้าอาหารของไทยมีโอกาสเพิ่มสัดส่วนการนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่นได้มากขึ้น ทั้งนี้ญี่ปุ่นต้องนำเข้าอาหารจากต่างประเทศถึงกว่าร้อยละ 60 แต่ปัจจุบันไทยส่งออกสินค้าอาหารไปญี่ปุ่นเพียงร้อยละ 14.2 เท่านั้น
สถานการณ์ในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ผลิตในญี่ปุ่นที่ยังไม่ดีนัก ทำให้หลายค่ายต้องใช้มาตรการต่างๆเพื่อความอยู่รอด ล่าสุดหนังสือพิมพ์นิกเกอิของญี่ปุ่น รายงานว่า บริษัท นิสสัน มอเตอร์ มีแผนที่จะย้ายฐานการผลิตรถยนต์นั่งขนาดเล็ก หรือซับคอมแพ็ค รุ่นมาร์ช(March)มายังประเทศไทย โดยเป็นส่วนหนึ่งของแผนการปรับโครงสร้าง เพื่อรับมือกับเงินเยนที่แข็งค่าขึ้นและยอดขายที่ร่วงลงหนัก เศรษฐกิจที่ตกต่ำ ประกอบกับเงินเยนที่แข็งค่าที่ระดับ 90 เยนต่อดอลลาร์ ในปัจจุบัน ทำให้นิสสันต้องตัดสินใจย้ายฐานการผลิตดังกล่าว ซึ่งจะทำให้นิสสันเป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์รายแรกของญี่ปุ่นที่ย้ายฐานการผลิตรถยนต์รุ่นที่ขายดีติดอันดับไปยังต่างประเทศ สำหรับสาเหตุที่นิสสันเลือกประเทศไทยเป็นฐานการผลิตนั้น เป็นเพราะไทยมีการงดเว้นการเก็บภาษีสำหรับการผลิตรถยนต์ขนาดเล็กประหยัดพลังงาน ส่วนโรงงานเดิมใน จังหวัดคานากาว่าที่ญี่ปุ่นนั้น นิสสันตั้งใจที่จะใช้เป็นสถานที่ผลิตรถพลังงานไฟฟ้า และรถซับคอมแพ็ครุ่นใหม่ๆ ซึ่งจะเริ่มในปี 2553
ผลิตภัณฑ์จากถั่วถือว่าเป็นอาหารประเภทโปรตีนทดแทนที่ได้รับความนิยมบริโภคมากที่สุดในญี่ปุ่น จนกล่าวได้ว่า อาหารถั่วชนิดต่างๆ ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอาหารประจำชาติและวัฒนธรรมการบริโภคของชาวญี่ปุ่น ผลิตภัณฑ์จากถั่วที่ถือกันว่าเป็นอาหารประจำของทุกครัวเรือนคือ เต้าหู้ หรือ Tofu ซึ่งมีหลายรสชาด รวมทั้งมีการคิดค้นเมนูใหม่ๆ เช่น เต้าหู้ผสมงาขาว งาดำ ซึ่งล้วนมีคุณสมบัติพิเศษเช่นไม่มีคอเลสเตอร์รอล มีแคลอรี่ต่ำกว่าผลิตภัณฑ์จากนมถึงร้อยละ 20 และเป็นอาหารที่เหมาะสำหรับผู้ที่แพ้นม และไข่ ผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก เป็นต้น ชาวญี่ปุ่นจำนวนมากได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของตนไปสู่ New Japanese Style ที่เน้นการบริโภคอาหารย่อยง่าย และอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี ความนิยมบริโภคเต้าหู้และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองจึงเพิ่มปริมาณ และแพร่หลายมากยิ่งขึ้นในญี่ปุ่น บริษัทผู้ผลิตและแปรรูปอาหารและอาหารเสริมจึงหันมาเน้นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ จากถั่ว ตั้งแต่เดือนกันยายน ที่ผ่านมา เช่น - Kracie Food Co., Ltd. เริ่มวางขายไอสครีมถ้วยผลิตจากน้ำเต้าหู้ (ice soy milk) โดยมีจุดขายคือรสชาดเหมือนไอสครีมแต่ไม่มีคอเรสเตอรรอล บริษัทประมาณว่าตลาดสินค้ากลุ่มนี้มีมูลค่าถึง 2,000 ล้านเยนในปี 2551 และน่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 7,000 ล้านเยนภายในปี 2553 ผลิตภัณฑ์อาหารชนิดใหม่ๆ จากถั่วเหลืองข้างต้น เป็นเพียงตัวอย่างของอาหารที่ได้รับความนิยม ซึ่งต่างก็มีจุดขายที่เน้นการมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ ลดปริมาณไขมันที่เป็นโทษ ไม่เป็นเหตุให้เพิ่มน้ำหนักตัว โอกาสตลาดของสินค้าในกลุ่มนี้ยังมีลู่ทางขยายได้อีกมาก สิ่งสำคัญคือ การคิดค้นดัดแปลงทำเป็นอาหารชนิดใหม่ๆ รวมทั้งการดัดแปลงส่วนประกอบของอาหาร โดยนำสารอาหารที่เป็นประโยชน์เข้าไปทดแทน การผลิตอาหารสุขภาพ และอาหารบำรุงร่างกาย เช่น การใช้แป้งข้าวเจ้าทดแทนแป้งสาลี การใช้น้ำนมถั่วเหลืองแทนนมจากสัตว์ การเพิ่มสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายในส่วนผสมของอาหาร เป็นต้น จึงเป็นแนวโน้มใหม่ที่สามารถผู้ผลิตไทยสามารถประดิษฐ์คิดค้นขึ้น เพื่อการขยายตลาดส่งออก
ในขณะนี้มีกระแสความนิยมการบริโภคอาหารแปรรูปที่ทำจากผักในประเทศญี่ปุ่น อาหารหรือเครื่องดื่มที่ทำจากผักได้รับความนิยมในหมู่ผู้บริโภคชาวญี่ปุ่น ทั้งนี้ภายหลังจากที่บริษัท Asahi ได้ผลิตเครื่องดื่มค็อกเทลผสมมะเขือเทศยี่ห้อ “Tomate” ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบในหมู่ผู้รักสุขภาพแล้ว ยังเกิดกระแสความนิยมบริโภคน้ำผัก รวมทั้งขนม เช่น พุดดิ้ง หรือโยเกิร์ตที่มีส่วนผสมของผัก เช่น แครอต หรือฟักทองมากขึ้นตามไปด้วย ขณะนี้ได้มีสินค้าใหม่ของบริษัท Kimura ที่เพิ่งเปิดตัวคือน้ำโซดาที่ผสมผัก “Yasaider” ซึ่งมาจากคำว่า“Yasai” ผัก ผสมกับคำว่า “Cider” นั่นเอง และบริษัทฯ ยังได้ออกเครื่องดื่มเป็นรสทุเรียน และรสแกง (curry) มาพร้อมกันด้วย นอกจากนี้ บริษัทยักษ์ใหญ่อิโตเอนได้วางจำหน่ายอาหารเสริมที่ทำจากผักอบแห้ง เช่นมันหวาน และรากบัว โดยเสริมธาตุเหล็กและโฟลิคเข้าไป ทำให้เพิ่มความนิยมผักมากขึ้น และในร้านสะดวกซื้อขณะนี้จะมีขนม ของขบเคี้ยวที่ทำมาจากผักวางจำหน่ายอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น พุดดิ้งที่ทำจากฟักทองและคุ๊กกี้รสมันหวาน ทั้งนี้ของว่างที่ทำจากผักยี่ห้อ “vegips” ของบริษัทคาลบี้เป็นสินค้าหนึ่งที่ได้รับความนิยม ส่วนร้านเบเกอรี่ชื่อดังที่ขายขนมที่ทำจากผัก ได้แก่ร้าน “Potager” ในเขต Naka Meguro กรุงโตเกียว เจ้าของคือคุณ Kakisawa Aya ซึ่งเปิดร้านเมื่อปี 2006 มีลูกค้าแน่นตลอดวันโดยพวกผู้หญิงจะชอบซื้อชีสเค้กที่ทำจากมะเขือเทศ รวมทั้งเค้กม้วนทำมาจากหัวผักกาด จากกระแสความนิยมบริโภคสินค้าที่ทำจากผักนี้ จะเป็นโอกาสอันดีของบริษัทผู้ผลิต ผู้ส่งออกสินค้าอาหาร และเครื่องดื่มที่ทำจากผักของไทยในการที่จะขยายตลาดมายังประเทศญี่ปุ่นมากขึ้น ขนมของร้าน “Potager” ผสมถั่วแระญี่ปุ่น มันเทศ และแครอต
ที่มา: http://www.depthai.go.th