ปี 2007 ปี 2008
Real GDP growth (%) 7.70 4.00 Consumer price inflation (av; %) 2.10 6.50 Budget balance (% of GDP) 3.40 1.00 Current-account balance (% of GDP) 28.80 20.30 Commercial banks' prime rate (year-end; %) 5.30 5.20 Exchange rate ฅ:US$ (av) 1.51 1.36 โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับสิงคโปร์ มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลดล้านเหรียญสหรัฐฯ
สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น 10,114.67 100.00 5.15 สินค้าเกษตรกรรม 381.61 3.77 42.90 สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร 224.54 2.22 6.62 สินค้าอุตสาหกรรม 6,804.99 67.28 -6.48 สินค้าแร่และเชื้อเพลิง 2,703.46 26.73 51.98 สินค้าอื่นๆ 0.06 0.0 -99.93 โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับสิงคโปร์ มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลดล้านเหรียญสหรัฐฯ
นำเข้าทั้งสิ้น 7,080.28 100.00 12.73 สินค้าเชื้อเพลิง 590.54 8.34 -18.27 สินค้าทุน 2,037.27 28.77 19.81 สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป 3,955.71 55.87 17.32 สินค้าบริโภค 445.39 6.29 -0.79 สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง 50.35 0.71 138.68 สินค้าอื่นๆ 1.03 0.01 -93.54 1. มูลค่าการค้า มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย — สิงคโปร์ 2550 2551 D/%(ม.ค. - ธ.ค.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการค้ารวม 15,900.38 17,194.95 8.14 การส่งออก 9,619.69 10,114.67 5.15 การนำเข้า 6,280.69 7,080.28 12.73 ดุลการค้า 3,339.00 3,034.38 -9.12 2. การนำเข้า ประเทศไทยนำเข้าจากสิงคโปร์เป็นอันดับที่ 7 มูลค่า 7,080.28 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.73 สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลดล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการนำเข้ารวม 7,080.28 100.00 12.73 1.เคมีภัณฑ์ 1,230.07 17.37 10.25 2.แผงวงจรไฟฟ้า 952.35 13.45 27.16 3.สื่อบันทึกข้อมูล 765.74 10.82 23.32 4.เครื่องคอมพิวเตอร์ 606.65 8.57 -9.85 5.เครื่องจักรไฟฟ้า 544.26 7.69 13.66 อื่น ๆ 375.44 5.30 17.84 3. การส่งออก ประเทศไทยส่งออกไปสิงคโปร์เป็นอันดับที่ 4 มูลค่า 10,114.67 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.15 สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลดล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการนำเข้ารวม 10,114.67 100.00 5.15 1.น้ำมันสำเร็จรูป 1,912.90 18.91 50.72 2.เครื่องคอมพิวเตอร์ 1,216.11 12.02 -0.15 3.แผงวงจรไฟฟ้า 828.65 8.19 6.96 4.เครื่องจักรกล 549.08 5.43 -54.83 5.ส่วนประกอบอากาศยาน 513.63 5.08 -25.15 อื่น ๆ 2,217.10 21.92 19.34 4. ข้อสังเกต 4.1 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปสิงคโปร์ ปี 2551 (มค.-ธค.) ได้แก่น้ำมันสำเร็จรูป : สิงคโปร์เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่า ปี 2550 เป็นเพียงปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวลดลง (-22.32%) ในขณะที่ปี 2548 2549 2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 44.82 39.28 และ 50.72 ตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ : สิงคโปร์เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 5 ของไทย โดยมีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 0.15 เมื่อเทียบกับช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อน
แผงวงจรไฟฟ้า : สิงคโปร์เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 3 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่า ปี 2549 เป็นเพียงปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวลดลง (-11.23%) ในขณะที่ปี 2548 2550 2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 57.86 14.06 6.96 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
เครื่องจักรกลฯ : สิงคโปร์เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทยโดยมีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 54.83 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
ส่วนประกอบและอากาศยาน : และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่าปี 2551 เป็นเพียงปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวลดลง (-25.15% ) ในขณะที่ปี 2548 2549 2550 มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น 34.59 18.58 26.73 ตามลำดับ
จากเหตุการณ์สินค้านมเนยและผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในจีน ซึ่งมีส่วนผสมของสารพิษ melamine เจือปน ส่งผลให้เด็กเสียชีวิต 4 ราย และเข้ารักษา ณ โรงพยาบาลอีกมากมายทำให้หน่วยงาน Agri-Food and Veterinary Authority (AVA) สิงคโปร์เพิ่มการตรวจสอบสินค้าที่นำเข้าจากจีนอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะสินค้านมเนยและผลิตภัณฑ์ และได้ออกประกาศห้ามนำเข้าและจำหน่ายสินค้าฯ ตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน2551 เป็นต้นไป เนื่องจากมีสารพิษ melamine เจือปนอยู่ในระดับที่สามารถทำลายการทำงานของไตได้ถ้าบริโภคเป็นจำนวนมากหากผู้ใดฝ่าฝืน จะถูกลงโทษให้ปิดการดำเนินกิจการทางการค้าระยะหนึ่ง
ข้อสังเกต
1. เดิมชาวสิงคโปร์นิยมสินค้าอาหารและอื่นๆ เกือบทุกชนิดที่นำเข้าจากจีนมากกว่าจากประเทศอื่นๆ แต่เมื่อมีเหตุการณ์สารพิษ melamine เจือปนในสินค้านมเนยและผลิตภัณฑ์ผู้บริโภคขาดความเชื่อมั่นในสินค้านมเนยและผลิตภัณฑ์จากจีน และส่งผลต่อไปยังสินค้าอื่นๆ แม้ว่า ไม่มีส่วนผสมของสาร melamine ก็ตาม เช่น ผัก ผลไม้ เครื่องดื่ม ขนมปังกรอบ เกลือ และไข่เยี่ยวม้า ซึ่งผู้บริโภคจะเลือกซื้อจากแหล่งนำเข้าอื่นๆ แทนจีน ได้แก่ มาเลเซีย และ อินโดนีเซีย
2. AVA จะเฝ้าระวังสุ่มตรวจสอบสินค้าอาหารนำเข้าเป็นประจำและอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่วนใหญ่ตรวจสอบสารประเภท microbial toxins, chemical residue และ veterinary drugs ที่ผ่านมาสินค้าจากไทยที่มีปัญหาซึ่ง AVA ตรวจสอบพบสารตกค้างเกินระดับที่กำหนดในสินค้า คือ พริก และผักชี เป็นประจำทุกเดือนที่สินค้าฯ ถูกทำลาย และผู้นำเข้าสิงคโปร์ถูกปรับ ส่งผลให้ผู้นำเข้าขยาดในการนำเข้าจากไทย ทำให้เสียส่วนแบ่งตลาดสินค้านี้แก่มาเลเซียและอินโดนีเซีย
3. ในช่วงนี้ นับเป็นโอกาสของผู้ผลิต/ผู้ส่งออกไทย ไม่เฉพาะสินค้านมเนยและผลิตภัณฑ์เท่านั้น ที่จะเพิ่มมูลค่าการส่งออกสินค้าสู่ตลาดสิงคโปร์ ยังสามารถส่งสินค้าอื่นๆ เช่น ผัก ผลไม้ ขนมปังกรอบและเกลือ เพียงถือปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านสุขอนามัยสินค้าไม่ให้มีสารพิษใดๆ เจือปน
ปัจจุบันสิงคโปร์มีจำนวนรถยนต์เพิ่มขึ้นมาก โดยระหว่างปี 2548 ถึงเดือนกันยายน 2551 จำนวนรวมของรถยนต์ทุกประเภทมีการขยายตัว 3.8-6.5% เพิ่มขึ้นจากระหว่างปี 2541-2547 ที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเพียง -0.3-2.3% ทั้งนี้นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าจากการที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลก รวมถึงสิงคโปร์ต้องประสบปัญหาวิกฤตการณ์การเงิน จะส่งผลให้เศรษฐกิจสิงคโปร์ชะลอตัวลง และอาจถึงขั้นถดถอยในระยะอันใกล้นี้ ซึ่งทำให้ผู้บริโภคพึงระวังอย่างมากในการใช้จ่ายสิ่งที่ฟุ่มเฟือย ดังนั้นผู้บริโภคจะไม่สามารถเปลี่ยนรถยนต์คันใหม่ได้ทุกๆ 2-3 ปี ทำให้ตลาดสิงคโปร์จะมีความต้องการอุปกรณ์และส่วนประกอบรถยนต์เพิ่มขึ้น เพื่อรองรับรถให้มีประสิทธิภาพดี
นอกจากนี้สิงคโปร์ไม่ได้เป็นประเทศผู้ผลิตอุปกรณ์ส่วนประกอบรถยนต์ จึงต้องนำเข้าเพื่อการพาณิชย์จากประเทศผู้ผลิตทั่วโลก รวมทั้งไทย โดยช่วง 9 เดือนแรก ปี 2551 มีการนำเข้ามูลค่า 1,845.9 ล้านเหรียญสิงคโปร์ โดยเป็นการนำเข้าจากไทยมูลค่า 115.2 ล้านเหรียญสิงคโปร์ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 22.2% จึงทำให้ผู้ผลิตไทยมีโอกาสขยายมูลค่าการส่งออกสินค้าอุปกรณ์ส่วนประกอบรถยนต์สู่ตลาดสิงคโปร์เพิ่มขึ้น โดยรถยนต์ที่สิงคโปร์นำเข้าจากไทย ได้แก่ โตโยต้า ฮอนด้า โอเปิล เชฟโรเลต และอีซูซุ อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตไทยต้องระวังการแข่งขันกับผลิตภัณฑ์ของบริษัทสิงคโปร์ที่ไปลงทุนสร้างโรงงานผลิตในจีนและนำเข้าสิงคโปร์ รวมถึงการที่บริษัทสิงคโปร์ประสบความสำเร็จในการจับคู่ธุรกิจการค้ากับบริษัทอเมริกาและยุโรปที่ผลิตรถยนต์ในประเทศจีนแล้ว โดยบริษัทสิงคโปร์สามารถที่จะร่วมลงทุนกับบริษัทต่างชาติ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มได้ในจีน เนื่องจากมีชื่อเสียงด้านการจัดหาสินค้าที่วางใจได้ในคุณภาพ และยังมีโรงงานผลิตในจีนด้วย ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ผลิตไทยแข่งขันได้ยากขึ้น
ที่มา: http://www.depthai.go.th