สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศไทย - มาเลเซีย ปี 2551 (ม.ค.—ธ.ค.) สรุปจากสถิติ Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday February 25, 2009 12:47 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ข้อมูลทั่วไป:
เมืองหลวง              :   Kuala Lumpur
พื้นที่                   :   330,113 ตารางกิโลเมตร
ภาษาราชการ            :   Malay,Chinese,English
ประชากร               :   26.1 ล้าน คน
อัตราแลกเปลี่ยน          :   1 ริงกิต  มาเลเซีย = 9.3377 บาท (23/02/52)

(1) เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ

ปี 2008 ปี 2009

Real GDP growth (%)                               5.1        -1.8
Consumer price inflation (av; %)                  5.4        -0.7
Budget balance (% of GDP)                        -5.1        -7.4
Current-account balance (% of GDP)               10.8        11.3
Commercial banks' prime rate (year-end; %)        5.9         5.3
Exchange rate ฅ:US$ (av)                         3.33        3.63

โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับมาเลเซีย
                                   มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น                   9,917.55         100.00         26.84
สินค้าเกษตรกรรม                     1,695.81          17.10         35.33
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร               445.89           4.50         -1.13
สินค้าอุตสาหกรรม                     7,149.10          72.09         25.69
สินค้าแร่และเชื้อเพลิง                    626.75           6.32         62.20
สินค้าอื่นๆ                                  0              0        -99.99

โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับมาเลเซีย
                                         มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

นำเข้าทั้งสิ้น                               9,697.14         100.00         12.53
สินค้าเชื้อเพลิง                             1,737.09          17.91         22.47
สินค้าทุน                                  3,015.97          31.10         13.10
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป                   3,964.32          40.88         10.03
สินค้าบริโภค                                 790.98           8.16          2.04
สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง                  187.34           1.93         33.19
สินค้าอื่นๆ                                     1.44           0.01        -89.34

1. มูลค่าการค้า
มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย — มาเลเซีย
                           2550            2551         D/%

(ม.ค. - ธ.ค.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการค้ารวม            16,436.25        19,614.69     19.34
การส่งออก                 7,819.19         9,917.55     26.84
การนำเข้า                 8,617.06         9,697.14     12.53
ดุลการค้า                   -797.88           220.41        -

2. การนำเข้า
ประเทศไทยนำเข้าจากตลาดมาเลเซียเป็นอันดับที่ 5 มูลค่า 9,697.14 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.53 สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                               มูลค่า :          สัดส่วน %       % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม               9,697.14          100.00          12.53
1. น้ำมันดิบ                     1,422.36           14.67          40.19
2. เครื่องคอมพิวเตอร์             1,349.61           13.92           1.93
3. เครื่องจักรไฟฟ้า                 880.60            9.08          54.07
4. เคมีภัณฑ์                       820.73            8.46          16.52
5. สื่อบันทึกข้อมูล                   650.11            6.70         102.71
          อื่น ๆ                  704.78            7.27         -22.26

3. การส่งออก
ประเทศไทยส่งออกไปตลาดมาเลเซียเป็นอันดับที่  6 มูลค่า 9,917.55 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ  26.84 สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                               มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการส่งออกรวม               9,917.55         100.00         26.84
1. ยางพารา                    1,033.29          10.42         14.12
2. รถยนต์ อุปกรณ์                  961.69           9.70         47.18
3. เครื่องคอมพิวเตอร์               803.96           8.11          0.89
4. เครื่องสำอาง สบู่                697.71           7.04        487.12
5. แผงวงจรไฟฟ้า                  473.01           4.77        -26.02
          อื่น ๆ                1,920.06          19.36          9.95

4. ข้อสังเกต
4.1 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปมาเลเซีย  ปี 2551 (มค.-ธค.) ได้แก่

ยางพารา : มาเลเซียเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 2 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 10.11 44.75 46.32 และ 14.12 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ : มาเลเซีย เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 3 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 60.79 5.31 46.33 และ 47.18 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ : มาเลเซียเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 7 ของไทย โดยมีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 0.72 เมื่อเทียบกับช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อน

เครื่องสำอาง สบู่ : เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่า ปี 2550 เป็นเพียงปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวลดลง (-4.71%) ในขณะที่ปี 2548 2549 2551 มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น 46.35 10.68 และ 487.12 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

แผงวงจรไฟฟ้า : มาเลเซียเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 6 ของไทย โดยมีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 26.02 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

4.2 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดมาเลเซียปี 2551 (ม.ค.- ธ.ค.) 25 รายการแรกสินค้าที่มีอัตราเพิ่มสูงโดยสูงกว่าร้อยละ 40
มีรวม 11 รายการ คือ
   อันดับที่ / รายการ                                       มูลค่า         อัตราการขยายตัว     หมายเหตุ
                                                    ล้านเหรียญสหรัฐ           %
2. รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ                            961.69             47.18
4. เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว                       697.71            487.12
6. น้ำมันสำเร็จรูป                                         463.76            109.86
8. ข้าว                                                 372.48            130.60
10. ผลิตภัณฑ์ยาง                                          252.70             40.45
12. เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบ และส่วนประกอบ             217.61             47.30
14.3.4.7 เครื่องโทรศัพท์ เครื่องตอบรับโทรศัพท์                  179.59            270.11
17. มอเตอร์ และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า                           153.28            141.28
22. ข้าวโพด                                             116.16            291.98
24. เครื่องปรับอากาศ และส่วนประกอบ                         104.35             67.41
25. เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ และส่วนประกอบ                       95.25             63.50

4.3  ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดมาเลเซียปี 2551 (ม.ค. - ธ.ค.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราลดลง รวม 5 รายการ คือ
       อันดับที่ / รายการ                         มูลค่า           อัตราการขยายตัว
                                          ล้านเหรียญสหรัฐ             %
5. แผงวงจรไฟฟ้า                               473.01             -26.02
9. เหล็ก เหล็กกล้า                              271.77             -10.39
13.เครื่องจักรกล และส่วนประกอบของเครื่องจักรกล      197.98              -1.48
16.เครื่องใช้ไฟฟ้า และส่วนประกอบอื่นๆ               153.60             -17.37
21.ไขมัน และน้ำมันจากพืช และสัตว์                  121.17              -0.96

4.4  ข้อมูลเพิ่มเติม

มิตซูบิชิ และโปรตอน ผู้ผลิตรถยนต์จากมาเลเซีย หันมาจับมือกันอีกครั้งในการร่วมพัฒนารถยนต์รุ่นใหม่ เพื่อส่งขายในตลาด โดยแม้ว่าในตอนนี้จะยังไม่มีการเปิดเผยถึงรายละเอียดของความร่วมมือ แต่ก็มีการแย้มออกมาว่าจะเป็นรถยนต์แฮทช์แบ็กขนาดเล็กโฉมใหม่ และเตรียมเปิดตัวในปี 2010 นอกจากนั้น จากการเปิดเผยของ Perusahaan Otomobil Nasional หรือที่รู้จักกันในชื่อของโปรตอนมีการระบุถึงการได้รับสิทธิ์พิเศษในการได้รับใบอนุญาตในการนำพื้นตัวถังของรถยนต์มิตซูบิชิมาต่อยอดเพื่อพัฒนาเป็นรถยนต์รุ่นใหม่ ซึ่งรถยนต์ของโปรตอนที่ผ่านมาจะใช้พื้นฐานของรถยนต์จากมิตซูบิชิในการพัฒนา ยกเว้นรุ่น Gen-2 ที่เปิดตัวในปี 2004 ที่ถิอว่าเป็นรถยนต์รุ่นแรกของโปรตอนที่พัฒนาขึ้นมาเองทั้งหมด ในทศวรรษที่ 1980 มิตซูบิชถือเป็นหัวแรงใหญ่ที่ให้ความช่วยเหลือโปรตอนในการก่อร่างสร้างตัวและพัฒนาตัวเองขึ้นมาเป็นรถยนต์แห่งชาติของมาเลเซีย และเปิดตัวรุ่นซากาเป็นครั้งแรกในปี 1985 โดยใช้พื้นฐานของมิตซูบิชิ แลนเซอร์ แชมป์ ก่อนที่ทั้งคู่จะแยกกันในช่วงทศวรรษที่ 1990 ส่วนรถยนต์รุ่นแรกที่โปรตอนออกแบบเองคือ Waja ที่เปิดตัวในปี 2001 แต่ก็ยังใช้พื้นฐานรถยนต์ของมิตซูบิชิ มีการเปิดเผยว่าจากสัญญาในครั้งนี้ ทางโปรตอนตั้งเป้าไว้ว่าจะสามารถขยายไลน์อัพของรถยนต์เพื่อเพิ่มโอกาสในการทำตลาด ขณะเดียวกันทางด้านมิตซูบิชิก็จะเพิ่มศักยภาพในการส่งออกและขยายธุรกิจรถยนต์ของตัวเองในตลาดมาเลเซีย โดยที่รถยนต์ใหม่ของโปรตอนตามโปรเจ็กต์นี้จะได้รับการผลิตจากมิตซูบิชิ และมีการส่งออกมายังมาเลเซีย แต่ไม่มีการเปิดเผยว่าจะขึ้นไลน์ผลิตที่โรงงานในญี่ปุ่นหรือประเทศอื่น

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ