ปี 2008 ปี 2009
Real GDP growth (%) 2.2 0.5 Consumer price inflation (av; %) 4.7 3.1 Federal government budget balance (% of GDP) -0.3 -1.1 Current-account balance (% of GDP) -5.0 -4.8 US$ 3-month commercial paper rate (av; %) 5.0 3.1 Exchange rate ฅ:US$ (av) 1.2 1.6 โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับออสเตรเลีย มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลดล้านเหรียญสหรัฐฯ
สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น 7,982.49 100.00 34.44 สินค้าเกษตรกรรม 195.18 2.45 28.82 สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร 429.02 5.37 31.29 สินค้าอุตสาหกรรม 7,027.98 88.04 32.59 สินค้าแร่และเชื้อเพลิง 330.32 4.14 122.48 สินค้าอื่นๆ 0.00 0.00 -100.00 โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับออสเตรเลีย มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลดล้านเหรียญสหรัฐฯ
นำเข้าทั้งสิ้น 5,160.22 100.00 35.78 สินค้าเชื้อเพลิง 1,364.41 26.44 25.35 สินค้าทุน 173.09 3.35 23.20 สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป 3,303.29 64.01 41.66 สินค้าบริโภค 281.02 5.45 40.18 สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง 38.05 0.74 15.31 สินค้าอื่นๆ 0.36 0.01 -94.03 1. มูลค่าการค้า มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย - ออสเตรเลีย 2550 2551 D/%(ม.ค.- ธค.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการค้ารวม 9,737.85 13,142.71 34.97 การส่งออก 5,937.42 7,982.49 34.44 การนำเข้า 3,800.42 5,160.22 35.78 ดุลการค้า 2,137.00 2,822.28 32.07 2. การนำเข้า ประเทศไทยนำเข้าจากตลาดออสเตรเลียเป็นอันดับที่ 11 มูลค่า 5,160.22 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.78 สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลดล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการนำเข้ารวม 5,160.22 100.00 35.78 1. สินแร่โลหะอี่น ๆ เศษโลหะ 1,294.39 25.08 13.32 2. น้ำมันดิบ 1,176.09 22.79 30.83 3. เครื่องเพชรพลอย อัญมณี 993.85 19.26 97.23 4.เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ 422.16 8.18 79.24 5. พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช 221.63 4.30 129.29 อื่น ๆ 127.73 2.48 8.51 3. การส่งออก ประเทศไทยส่งออกไปตลาดออสเตรเลีย เป็นอันดับที่ 7 มูลค่า 7,982.49 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.44 สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลดล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการนำเข้ารวม 7,982.49 100.00 34.44 1.รถยนต์ อุปกรณ์ฯ 2,718.11 34.05 8.82 2. อัญมณีและเครื่องประดับ 1,431.64 17.93 137.22 3. เหล็ก เหล็กกล้าฯ 356.53 4.47 78.88 4. เครื่องปรับอากาศและส่วนฯ 297.02 3.72 -2.89 5.เม็ดพลาสติก 291.96 3.66 94.92 อื่น ๆ 861.97 10.80 14.58 4. ข้อสังเกต 4.1 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปออสเตรเลีย ได้แก่รถยนต์ อุปกรณ์ : ออสเตรเลียเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทยเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่ามีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปีร้อยละ 66.22 21.38 64.62 และ 8.82 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้สภาอุตสาหกรรมไทยคาดไว้ว่า ตลาดออสเตรเลียจะหด ตัวถึงร้อยละ 20 ถึง 25 ในปีนี้จะทำให้มูลค่าการส่งออกรถยนต์ ไทยปีนี้ลดลงถึงประมาณ 35,000 ถึง 48,000 ล้านเหรียญสหรัฐทีเดียว ทั้งนี้ยังไม่รวมตลาดนำเข้าอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น อาเซียน อเมริกากลางและใต้ ที่มีทิศทางหดตัวลงเช่นเดียวกัน
อัญมณีและเครื่องประดับ : ออสเตรเลียเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 2 ของไทยเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2549 - 2551 พบว่ามีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปีร้อยละ 415.94 110.57 และ 137.22 ตามลำดับมีเพียงปี 2548 เพียงปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 41.51
เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ : ออสเตรเลียเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 8 ของไทยเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่ามีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปีร้อยละ 50.58 31.36 และ 39.91 ตามลำดับ มีเพียงปี 2549 เพียงปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 23.59
เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ : ออสเตรเลียเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 13 ของไทยเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2549 - 2551 พบว่ามีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปีร้อยละ 34.35 12.49 และ 6.61 ตามลำดับ มีเพียงปี 2548 เพียงปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 12.27
เม็ดพลาสติก : ออสเตรเลียเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 6 ของไทยเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2549 - 2551 พบว่ามีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปีร้อยละ 57.25 65.70 และ 94.92 ตามลำดับ มีเพียงปี 2548 เพียงปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 1.86
อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์เปิดเผยว่า จากการที่ไทยได้จัดทำความตกลงเขตการค้าเสรี(เอฟทีเอ)และมีการลงนามความตกลงมีผลบังคับใช้แล้ว 5 ฉบับ ประกอบด้วย ไทย-จีน(ภายใต้กรอบอาเซียน-จีน) ไทย-ออสเตรเลีย ไทย-นิวซีแลนด์ ไทย-อินเดีย(82 รายการ) และไทย-ญี่ปุ่น(JTEPA)ในช่วงที่ผ่านมาถือเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการส่งออกของไทย ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด คือ การค้ากับทุกประเทศในปี 2550 มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นมาก โดยการค้าโดยรวม(ส่งออก-นำเข้า)กับจีน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย และญี่ปุ่น(มีผลบังคับใช้ 11 พ.ย.2550) มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น 11.15, 11.40, 10.37, 25.26 และ 0.24% ตามลำดับ ขณะเดียวกันในภาพรวมไทยเป็นฝ่ายเกินดุลการค้ากับออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย นอกจากนี้ ยังพบว่า การส่งออกสินค้าไปยังประเทศคู่เจรจาเอฟทีเอมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในตลาดออสเตรเลีย สินค้าไทยที่สามารถเข้าไปเพิ่มส่วนแบ่งตลาด และขยายตลาดได้มากขึ้น ได้แก่ รถปิกอัพ เครื่องปรับอากาศ ทูน่ากระป๋อง และเครื่องประดับต่างๆ ส่วนผลไม้ไทยที่เคยติดมาตรการสุขอนามัย(SPS)ที่เข้มงวด ขณะนี้สามารถส่งเข้าไปในออสเตรเลียได้แล้ว เช่น มังคุด ลิ้นจี่ ลำไย และผลไม้ที่แกะเปลือก เช่น สับปะรด ทุเรียน และส้มโอ
ออสเตรเลีย เป็นช่องทางส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของไทยโดยเฉพาะสินค้ากุ้ง และผลิตภัณฑ์มีโอกาสสูงมากที่จะเข้าไปตีตลาดในออสเตรเลีย ซึ่งอนาคตมีแนวโน้มค่อนข้างสดใส ถึงแม้ออสเตรเลีย จะมีกฎระเบียบ เงื่อนไขและมาตรการควบคุมการนำเข้าอย่างเข้มงวดจากกระบวนการผลิตสินค้ากุ้งไทยที่มีคุณภาพได้มาตรฐานและมีความปลอดภัยทางด้านอาหาร (Food Safety) เชื่อว่ากุ้งไทยจะได้รับยอมรับและสามารถเข้าไปในตลาดออสเตรเลียได้อย่างสง่างาม ผู้อำนวยการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) กล่าวว่า Sydney Fish Market เป็นตลาดค้าส่งสินค้าอาหารทะเลสำคัญที่สุดของนครซิดนีย์ รัฐนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย ตลาดดังกล่าวเป็นสถานที่จำหน่ายสินค้าทะเลที่มีความหลากหลายแหล่งใหญ่เป็นอันดับสองรองจากญี่ปุ่นซึ่งได้มาตรฐาน มีความสะอาด ปลอดภัยและถูกสุขอนามัย มีการบริหารจัดการซื้อขายสินค้าโดยใช้ระบบประมูล ซึ่งทำให้เกิดความรวดเร็ว โปร่งใส ได้ราคาที่เหมาะสมทั้งผู้ขายและผู้ซื้อการประมูลแต่ละครั้งใช้เวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมง มีปริมาณการประมูลมากกว่า 65ตัน/วัน หรือกว่า 13,000 ตัน/ปี ในจำนวนนี้มีสินค้ากุ้งที่นำเข้าจากประเทศไทยบางส่วนถูกประมูลผ่านตลาดแห่งนี้ด้วย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เข้าร่วมงาน Thai Food Festival ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีโดยสถานกงสุลใหญ่ซิดนีย์และสมาคมร้านอาหารไทย เพื่อประชาสัมพันธ์อาหารไทยและร้านอาหารไทย สำหรับปีนี้ใช้ชื่องานว่า "Thai Food Festival : Thai Prawn Showcase 2008" เนื่องจากเน้นเรื่องของการประชาสัมพันธ์กุ้งไทยโดยใช้กุ้งเป็นวัตถุดิบหลักในเมนูอาหารไทยพร้อมทั้งนำเสนอข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเลี้ยงกุ้ง และกระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์กุ้งของไทยให้ออสเตรเลียทราบว่า มีการระบบการรผลิตที่ถูกต้องตามสุขอนามัยและได้มาตรฐานระดับสากลขณะเดียวกัน ยังแสดงให้เห็นศักยภาพการผลิต การแปรรูปและกระบวนการตรวจสอบสินค้าก่อนส่งออก เพื่อให้สื่อมวลชนของออสเตรเลียเกิดความเชื่อมั่นในสินค้ากุ้งและผลิตภัณฑ์ของกุ้งไทยด้วย อนาคตคาดว่า จะสามารถช่วยผลักดันการส่งออกสินค้ากุ้งไทยไปยังออสเตรเลียได้เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังจะทำให้อาหารไทยและร้านอาหารไทยในออสเตรเลียเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้มีการนำเข้าวัตถุดิบ สินค้าเกษตรและอาหารจากไทยมากขึ้นด้วย เป็นผลให้ราคาพืชผลทางการเกษตรในประเทศขยับตัวสูงขึ้น และช่วยลดปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ทั้งนี้ ปีที่ผ่านมาไทยมีมูลค่าการส่งออกสินค้ากุ้งและผลิตภัณฑ์ไปออกเตรเลียประมาณ 1,600 ล้านบาท และตั้งแต่เดือนมกราคม-ตุลาคม 2551 ส่งออกแล้วประมาณ 5,225 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 1,260 ล้านบาบ จากการที่กระทรวงเกษตรฯ ได้หารือกับสมาคมและผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหารไทยในนครซิดนีย์ อาทิ ร้านเจ้าพระยา ร้านชาติไทย และร้าน Spice I am ได้ผลสรุปว่า ผู้ประกอบการต้องการให้กระทรวงเกษตรฯ ช่วยเจรจาเปิดตลาดสินค้าเกษตรชนิดใหม่ๆ เช่น หน่อไม้ฝรั่ง ข้าวโพดฝักอ่อน โดยเฉพาะข้าวกล้อง ซึ่งปัจจุบันออสเตรเลียยังไม่อนุญาตให้นำเข้า ทั้งนี้ มกอช. ได้ประกาศใช้มาตรฐานสินค้าหน่อไม้ฝรั่งและมาตรฐานสินค้าข้าวโพดฝักอ่อนไปแล้ว และจะได้ ดำเนินการส่งเสริมมาตรฐานดังกล่าว เพื่อให้เกษตรกรนำไปพัฒนาการผลิตหน่อไม้ฝรั่งและข้าวโพดฝักอ่อนให้ได้คุณภาพมาตรฐานและสามารถส่งออกไปยังออสเตรเลียได้ อันจะส่งผลให้ สามารถขยายช่องทางการตลาดสินค้าเกษตรไทยได้เพิ่มมากขึ้น
ที่มา: http://www.depthai.go.th