สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศไทย - สหภาพยุโรป (15) ปี 2551 (ม.ค.—ธ.ค.) สรุปจากสถิติ Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก

ข่าวเศรษฐกิจ Monday March 23, 2009 11:00 —กรมส่งเสริมการส่งออก

โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับสหภาพยุโรป (15)
                                      มูลค่า :         สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น                      21,269.44       100.00          7.16
สินค้าเกษตรกรรม                         2,528.23        11.89         28.68
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร                 1,560.02         7.33         25.53
สินค้าอุตสาหกรรม                        16,884.92        79.39          3.18
สินค้าแร่และเชื้อเพลิง                        296.23         1.39        306.23
สินค้าอื่นๆ                                   0.04          0.0        -99.98

โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับสหภาพยุโรป (15)
                                         มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

นำเข้าทั้งสิ้น                              13,835.82         100.00          19.43
สินค้าเชื้อเพลิง                                48.12           0.35          36.98
สินค้าทุน                                  5,296.83          38.28          17.13
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป                   5,806.30          41.97          24.62
สินค้าบริโภค                               2,181.73          15.77          19.63
สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง                  472.28           3.41          37.17
สินค้าอื่นๆ                                    30.57           0.22         -84.73

1. มูลค่าการค้า
มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย - สหภาพยุโรป (15)
                           2550            2551        D/%

(ม.ค. - ธค.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการค้ารวม             31,432.61      35,105.25     11.68
การส่งออก                 19,848.06      21,269.44      7.16
การนำเข้า                 11,584.55      13,835.82     19.43
ดุลการค้า                   8,263.50       7,433.62    -10.04

2. การนำเข้า
ประเทศไทยนำเข้าจากตลาดสหภาพยุโรป (15) มูลค่า 13,835.82 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.43 สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                     มูลค่า :         สัดส่วน %       % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม                    13,835.82         100.00         19.43
1.เครื่องจักรกลและส่วนฯ                 2,381.27          17.21         23.18
2.เคมีภัณฑ์                            1,607.62          11.62         27.93
3.เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วน                1,002.09           7.24          2.20
4.ผลิตภัณฑ์เวชกรรม                       755.96           5.46         20.63
5.เครื่องบิน เครื่องร่อน ฯ                  300.95           2.18        -18.39
             อื่น ๆ                   1,876.01          13.56         10.87

3. การส่งออก
ประเทศไทยส่งออกไปตลาดสหภาพยุโรป (15) มูลค่า 21,269.44  ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.16 สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                     มูลค่า :          สัดส่วน %       % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการส่งออกรวม                     21,269.44         100.00          7.16
1. เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ฯ             2,770.06          13.02         -1.35
2. อัญมณีและเครื่องประดับ                 1,473.18           6.93         29.96
3. รถยนต์ อุปกรณ์ฯ                      1,180.22           5.55        -18.41
4. เครื่องปรับอากาศและฯ                   931.92           4.38        -10.76
5. เสื้อผ้าสำเร็จรูป                        925.76           4.35         12.79
           อื่น ๆ                      5,357.21          25.19          4.57

4. ข้อสังเกต

4.1 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปสหภาพยุโรป (15) ปี 2551 (มค.-ธค.) ได้แก่

เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ : เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่า ปี 2551 เป็นเพียงปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวลดลง (-1.35 %) ในขณะที่ปี 2548 2549 2550 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.03 28.99 และ 11.87 ตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อน

อัญมณีและเครื่องประดับ : เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 4.77 15.12 9.14 และ 29.96 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ : เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่าปี 2550 และ 2551 มีอัตราการขยายตัวลดลง (-3.68 % และ -18.41 %) ในขณะที่ปี 2548 2549 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.85 และ 54.03 ตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อน

เครื่องปรับอากาศฯ : เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่าปี 2550 เป็นเพียงปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น (74.53 %) ในขณะที่ปี 2548 2549 2551 มีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ -19.13 -13.27 และ -10.76 ตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อน

เสื้อผ้าสำเร็จรูป : เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่า ปี 2548 และ 2550 มีอัตราการขยายตัวลดลง (-0.72 %และ -2.43 %) ในขณะที่ปี 2549 2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.03 และ 12.79 ตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อน

4.2 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดสหภาพยุโรป (15) ปี 2551 (ม.ค.- ธค.) 25 รายการแรกสินค้าที่มีอัตราเพิ่มสูงโดยสูงกว่าร้อยละ 25 มีรวม 9 รายการ คือ
   อันดับที่ / รายการ                             มูลค่า          อัตราการขยายตัว       หมายเหตุ
                                          ล้านเหรียญสหรัฐ           %
2. อัญมณีและเครื่องประดับ                       1,473.18            29.96
6. ไก่แปรรูป                                   758.40            54.12
10.เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ                    594.56            44.29
14.เลนซ์                                      369.14            29.51
15.เคมีภัณฑ์                                    364.31            70.34
17.ผลไม้กระป๋องและแปรรูป                        360.77            28.91
18.ข้าว                                       356.43            74.44
22.รถจักรยานยนต์และส่วนฯ                        254.38            73.37
23.น้ำมันสำเร็จรูป                               240.45         5,058.45

4.3   ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดสหภาพยุโรป (15) ปี 2551 (ม.ค. — ธค.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราลดลง รวม  10 รายการ คือ
    อันดับที่ / รายการ                              มูลค่า          อัตราการขยายตัว
                                            ล้านเหรียญสหรัฐ            %
1. เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ฯ                      2,770.06            -1.35
3. รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ                    1,180.22           -18.41
4. เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ                    931.92           -10.76
8. แผงวงจรไฟฟ้า                                  703.12           -18.17
13.รองเท้าและชิ้นส่วน                               375.06            -4.85
16.เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ                 361.47           -19.39
19.เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์                        329.22           -26.53
20.เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน                            303.68            -3.10
24.เม็ดพลาสติก                                    238.14            -8.87
25.ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง                              237.95           -10.48

4.4  ข้อมูลเพิ่มเติม

ขณะนี้ อียูได้เตรียมจัดทำร่างระเบียบเพื่อออกมาตรการเสริมในการควบคุมการตรวจสอบสินค้าผักผลไม้สดนำเข้า โดยจะตรวจเข้มทันที 50% ณ ด่านนำเข้า จากเดิมตรวจเพียง 10% ของปริมาณการนำเข้า และสัดส่วนการตรวจสอบอาจมีความเข้มงวดเพิ่มขึ้นได้ตามผลการตรวจสอบที่พบ ซึ่งจะมีการทบทวนทุก 3 เดือน โดยคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ปลายปี 2552 นี้ สำหรับสินค้าผักของไทยที่จะถูกตรวจสอบยาฆ่าแมลงตกค้างอย่างเข้มงวดเพิ่มขึ้น ขณะนี้มี 3 รายการ ได้แก่ ถั่วฝักยาว มะเขือ และกะหล่ำปลี การดำเนินการของอียูดังกล่าวสืบเนื่องมาจากการตรวจพบยาฆ่าแมลงตกค้างในสินค้าผักผลไม้ และได้มีการแจ้งเตือนประเทศสมาชิกผ่านระบบเตือนภัยเร่งด่วนสำหรับอาหารมนุษย์และอาหารสัตว์ (Rapid Alert System for Food and Feed : RASFF) รวมทั้งผลการประเมินของคณะตรวจสอบของอียูที่เดินทางมาตรวจประเมินการควบคุมยาฆ่าแมลงตกค้างในประเทศผู้ส่งออก รวมทั้งประเทศไทย สำหรับไทยในปีที่ผ่านมามีสินค้าผักที่ถูกแจ้งเตือนผ่านระบบดังกล่าวจำนวนมาก เช่น โหระพา กระถิน กะเพรา กะหล่ำปลี ถั่วฝักยาว ผักชี และมะเขือม่วง เป็นต้น อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวเพิ่มเติมว่า การนำเข้าสินค้าผักสดหรือแช่เย็น แช่แข็งจากไทย ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าเพื่อบริโภคของชุมชนคนเอเชียในยุโรปเป็นหลัก การที่ไทยจะสามารถรักษาตลาดสหภาพยุโรปไว้ได้จำเป็นต้องดำเนินการตามระเบียบความปลอดภัยด้านอาหารที่เข้มงวดของสหภาพยุโรป ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยจึงควรเร่งปรับปรุงมาตรฐานสินค้า และระมัดระวังในการใช้ยาฆ่าแมลงให้มากยิ่งขึ้น เพื่อ มิให้เกิดผลกระทบต่อการส่งสินค้าผักผลไม้ของไทยโดยรวม

เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยหลังร่วมในพิธีปล่อยเรือ Halul 40 (ฮาลูล โฟร์ตี้) ซึ่งเป็นเรือเอนกประสงค์ซึ่งเป็นของบริษัทอิตัลไทยมารีน จำกัด ผลิตให้แก่ บริษัทฮาบูล ออฟชอร์ เซอร์วิสคอมปานี จากประเทศกาตาร์ ว่าอุตสาหกรรมการต่อเรือและซ่อมเรือของไทยในปัจจุบันมีศักยภาพในด้านคุณภาพการผลิต และได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ ทำให้ทิศทางของอุตสาหกรรมต่อเรือของไทยมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องและความต้องการของเรือคอนเทนเนอร์หรือเรือบรรทุกสินค้าของตลาดโลกก็มีความต้องการเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ไทยได้รับคำสั่งให้ต่อเรือมากขึ้นตามไปด้วย โดยปี 2551 มีมูลค่าการขอรับส่งเสริมการลงทุนในการดำเนินการกิจการต่อเรือหรือซ่อมเรือขนาดตั้งแต่ 500 ตัน รวม 460 ล้านบาท โดยภาครัฐมีนโยบายชัดเจนในการส่งเสริมอุตสาหกรรมอู่ต่อเรือและซ่อมเรือในไทย ตั้งเป้าจะเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางน้ำในภูมิภาค บริษัท อิตัลไทยมารีน จำกัด กล่าวว่า กิจการอู่ต่อเรือของบริษัทมีแนวโน้มที่ดี โดยปีนี้คาดว่าจะมีอัตราเติบโต 30% เนื่องจากภายหลังการปรับราคาน้ำมันทั่วโลกเพิ่มขึ้นในช่วงนี้ผ่านมา ส่งผลให้ต้องมีการลงทุนผลิตน้ำมันมากขึ้น ทำให้เรือเอนกประสงค์เพื่อให้บริการสำหรับแท่นเจาะน้ำมันในทะเลมีความจำเป็นเพิ่มตามไปด้วย บริษัทวางแผนที่จะลงทุนเพิ่มขึ้นอีกไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท เพื่อขยายกำลังการผลิตในอนาคต โดยเฉพาะใน กล่มลูกคาจากตะวันออกกลางและสหภาพยุโรปซึ่งให้ความสนใจในการต่อเรือในไทย เนื่องจากเชื่อมั่นในคุณภาพและแรงงานที่มีฝีมือในการต่อเรือสูงเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งในภูมิภาคแม้ว่าการผลิตเรือในไทยจะมีต้นทุนสูงกว่าประเทศอื่น เช่น จีน เวียดนาม สิงคโปร์ถึง 40% แต่ไทยได้เปรียบที่แรงงานมีฝีมือและคุณภาพการผลิต ทำให้ลูกค้ายังให้ความสนใจที่จะผลิตเรือที่เมืองไทย

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้จัดทำระเบียบ RoHS ของประเทศไทย (ThaiRoHS) โดยสมอ.จะจัดทำแผนหลักว่าด้วยกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่จะบังคับตามระเบียบดังกล่าว ซึ่งในเดือนเม.ย.จะประชุมระดมความคิดเห็น จากกลุ่มผู้ประกอบการ ภาคนโยบายและนักวิชาการที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ข้อสรุปและออกเป็นคู่มือสำหรับผู้ประกอบการเตรียมตัวรับระเบียบใหม่ ก่อนที่จะประกาศเป็นระเบียบบังคับใช้เฟสแรกในอีก 2 ปีถัดไป RoHS หรือระเบียบการว่าด้วยการจำกัดสารที่เป็นอันตรายบางประเภทในผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สหภาพยุโรปบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ก.ค.2549 ระบุห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ปนเปื้อนสารอันตราย 6 ชนิดคือ ตะกั่ว, ปรอท, แคดเมียม, เฮกซาวาเลนต์, โครเมียม พอลิโบรมิเนต ไบฟีนิลส์ (PBB) และพอลิโบรมิเนต ไดฟีนิลส์ อีเทอร์ (PBDE) ขณะที่ไทยส่งออกผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไปอียูกว่าปีละ 1.5 ล้านล้านบาท จึงจำเป็นต้องเดินตามกฎข้อบังคับเพื่อเพิ่มหรือคงปริมาณการส่งออกสินค้า ซึ่งจำเป็นต้องกำหนดกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่เข้าข่ายบังคับใช้ RoHS ให้ชัดเจน เพราะผลิตภัณฑ์บางชนิดอย่างอุปกรณ์การแพทย์และเครื่องควบคุม รวมถึงผลิตภัณฑ์กลุ่มส่องสว่าง สำหรับระเบียบของไทยแล้วไม่รวมอยู่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ การบังคับใช้ RoHS ของสหราชอาณาจักร จะพิจารณาจากเอกสารการรับรอง ระบบข้อมูลย้อนหลังและประวัติบริษัท หากพบผลิตภัณฑ์ไม่ผ่าน ก็จะนำเสนอเรื่องสู่สาธารณะ เพื่อเป็นตัวอย่างให้ผู้ประกอบการรายอื่นได้เรียนรู้ และไม่เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก สหราชอาณาจักรยังมีข้อยกเว้นเฉพาะกรณีตรวจพบสารอันตรายในผลิตภัณฑ์โดยเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการพิสูจน์แก้ข้อกล่าวหา อย่างไรก็ตามกลไกลักษณะนี้มีใช้ในบางประเทศสมาชิกเท่านั้น เนื่องจากข้อจำกัดทางกฎหมายฉะนั้น ผู้ส่งออกจำเป็นต้องศึกษาข้อมูลของประเทศคู่ค้าให้ชัดเจน คณะกรรมาธิการยุโรป กล่าวว่า แม้ว่า RoHS ได้รับการตอบรับที่ดีจากประเทศต่างๆ แต่ยังต้องทบทวนกฎหมายโดยคณะกรรมาธิการสภาพยุโรป ที่อาจจะเพิ่มชนิดสารต้องห้ามรวมถึงปรับปรุงรายการข้อยกเว้น ด้วยเหตุนี้ การประกาศใช้ ThaiRoHS ควรจะรอผลการทบทวนดังกล่าวก่อน

อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) เปิดเผยว่าผู้ประกอบการไทยที่ส่งสินค้าสิ่งทอไปจำหน่ายในยุโรป (อียู) ควรใช้ชื่อและติดฉลากสินค้าสิ่งทอให้ถูกต้องตามประกาศกฎระเบียบว่าด้วยชื่อของสิ่งทอและการติดฉลากสินค้าสิ่งทอก่อนส่งออกต่อไปเพราะขณะนี้คณะกรรมาธิการยุโรปได้ประกาศระเบียบว่าด้วยชื่อของสิ่งทอและการติดฉลากสินค้าสิ่งทอเพิ่มเติมโดยให้รายละเอียดเกี่ยวกับชือ่และคำบรรยายประเภทของเส้นใย ตามส่วนผสมของวัตถุดิบที่ใช้ในสินค้า และตามลักษณะของสินค้า รวมทั้งการให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิตที่นำเส้นใยเป็นวัตถุดิบในการผลิต นอกจากนั้นเพื่อเป็นการจัดระเบียบการวางจำหน่ายสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศในตลาดอียูทั้งหมด ยังมีการกำหนดการให้ข้อมูลสัดส่วนของส่วนผสมเส้นใยในฉลากที่ติดกับสินค้า ต้องสามารถวิเคราะห์และตรวจสอบส่วนผสมของเส้นใยได้ ซึ่งการประกาศกฎระเบียบดังกล่าวเพื่อให้สอดคล้องกับนวัตกรรมการผลิตและการพัฒนาเส้นใย มีผลใช้บังคับในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ทั้งนี้ที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2549-2551 ประเทศไทยส่งออกสินค้าสิ่งทอไปสหภาพยุโรปมีมูลค่าเฉลี่ยปีละ 47,017 ล้านบาท แต่ในปี 2551 ที่ผ่านมาไทยส่งออกสินค้าไปอียูมูลคท่า 45,122 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 1.3% จากภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อที่ลดลงทั่วโลกรวมทั้งตลาดยุโรปด้วย การปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างเข้มงวดจะช่วยให้สินค้าที่ส่งออกไปไม่เกิดปัญหา และกระทบต่อการส่งออกสินค้าในกลุ่มสิ่งทอในภาพรวมให้ปรับลดลงต่อเนื่องอีกในปีนี้

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ