ปี 2551 ปี 2552
Real GDP growth (%) 1.6 -2.9 Consumer price inflation (av; %) 2.4 -0.9 Budget balance (% of GDP) 0.9 -2.0 Current-account balance (% of GDP) 8.0 8.2 Commercial banks' prime rate (year-end; %) 2.6 0.3 Exchange rate ฅ:US$ (av) 1.08 1.14 โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับสวิตเซอร์แลนด์ มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลดล้านเหรียญสหรัฐฯ
สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น 1,677.78 100.00 250.72 สินค้าเกษตรกรรม 6.61 0.39 -42.56 สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร 16.26 0.97 28.01 สินค้าอุตสาหกรรม 1,654.90 98.64 264.38 สินค้าแร่และเชื้อเพลิง 0.0 0.0 -100.00 สินค้าอื่นๆ 0.0 0.0 โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับสวิตเซอร์แลนด์ มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลดล้านเหรียญสหรัฐฯ
นำเข้าทั้งสิ้น 544.72 100.00 -39.81 สินค้าเชื้อเพลิง 0.19 0.03 -14.99 สินค้าทุน 76.38 14.02 -22.75 สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป 347.85 63.86 -45.40 สินค้าบริโภค 120.08 22.04 -28.57 สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง 0.21 0.04 -67.78 สินค้าอื่นๆ 0.01 0.0 319.06 1. มูลค่าการค้า มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย — สวิตเซอร์แลนด์ 2551 2552 D/%(ม.ค.-เม.ย.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการค้ารวม 1,383.40 2,222.50 60.65 การส่งออก 478.38 1,677.78 250.72 การนำเข้า 905.02 544.72 -39.81 ดุลการค้า -426.64 1,133.06 2. สวิตเซอร์แลนด์ เป็นตลาดนำเข้าอันดับที่ 16 มูลค่า 544.72 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 39.81 สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลดล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการนำเข้ารวม 544.72 100.00 -39.81 1.เครื่องเพชรพลอย อัญมณีฯ 291.15 53.45 -47.26 2.นาฬิกาและส่วนประกอบ 58.46 10.73 -41.84 3.เครื่องจักรกลส่วนประกอบ 49.74 9.13 39.51 5.ปุ๋ย และยากำจัดศัตรูพืช 10.92 2.00 60.36 อื่น ๆ 9.00 1.65 -62.10 3. สวิตเซอร์แลนด์ เป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 8 มูลค่า 1,677.78 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 250.72 สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลดล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการส่งออกรวม 1,677.78 100.00 250.72 1.อัญมณีและเครื่องประดับ 1,503.52 89.61 491.54 2.นาฬิกาและส่วนประกอบ 59.64 3.55 -29.04 3.เครื่องโทรศัพท์ เครื่องตอบฯ 16.83 1.00 206.20 4.อาหารทะเลกระป๋องและแปร 10.57 0.63 27.77 5.เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ฯ 8.99 0.54 23.06 อื่น ๆ 17.13 1.02 -51.07 4. ข้อสังเกต 4.1 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปสวิตเซอร์แลนด์ ปี 2552 (มค.- เม.ย.) ได้แก่อัญมณีและเครื่องประดับ : สวิตเซอร์แลนด์เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทย และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 (มค.-เม.ย.) พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 73.22 178.59 116.33 และ 491.54 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อน
นาฬิกาและส่วนประกอบ : สวิตเซอร์แลนด์ เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 - 2552 พบว่า ปี 2552 (มค.-กพ.) เป็นครั้งแรกที่มีอัตราการขยายตัวลดลง (29.04%) ในขณะที่ปี 2549-2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 7.81 28.01 และ 14.36 ตามลำดับเมื่อเทียบ กับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
เครื่องโทรศัพท์ เครื่องตอบรับ : สวิตเซอร์แลนด์ เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 5 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 (มค.-เม.ย.) พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 84.33 13.87 31.99 และ 206.20 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อน
อาหารทะเลกระป๋องฯ : สวิตเซอร์แลนด์เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 15 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 พบว่า ปี 2549 เป็นครั้งแรกที่มีอัตราการขยายตัวลดลง (7.36%) ในขณะที่ปี 2550 - 2552 (มค.-เม.ย.) มีอัตราขยายตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.58 27.42 และ 27.77 ตามลำดับ เมื่อเทียบ กับช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อน
เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ : เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 (มค.- เม.ย.) พบว่ามีอัตราขยายตัวอย่างต่อเนื่องเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.47 157.44 24.75 และ 23.06 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของ ปีก่อน
การลงทุนทองคำได้กลายมาเป็นอีกหนึ่งทางเลือกยอดนิยมสำหรับนักลงทุนในหลายกลุ่ม และหลายระดับที่มองว่าการลงทุนในทองคำแท่งมีความปลอดภัยค่อนข้างสูง และในขณะเดียวกันก็ให้ผลตอบแทนในระดับที่น่าพอใจ เมื่อเทียบกับการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทอื่น โดยเฉพาะในภาวะที่เศรษฐกิจโลกกำลังผันผวนอย่างรุนแรง ปัจจุบันความต้องการทองคำแท่งในประเทศมีปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากทองคำจัดเป็นสินทรัพย์ที่มีความคงทนไม่เสื่อมคุณภาพ และมีมูลค่าในตัวเองซึ่งมูลค่าของทองคำจะสูงขึ้นตามกาลเวลา และทองคำยังเป็นสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนที่น่าดึงดูดกับนักลงทุน เนื่องจากมีความเสี่ยงที่ค่อนข้างต่ำกลยุทธ์การลงทุนในทองคำภายในภาวการณ์ปัจจุบัน นักลงทุนควรที่จะศึกษาถึงปัจจัย และสถานการณ์ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อราคาทองคำ เช่น นโยบายทางเศรษฐกิจ การเงิน การคลังของภาครัฐ ดัชนีชี้วัดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และทิศทางของค่าเงินดอลลาร์ ค่าเงินบาท บริษัท ออสสิริส ผู้นำด้านลงทุนทองคำชั้นนำของไทย เปิดสาขาเชียงใหม่รองรับการขยายธุรกิจสู่ภาคเหนือ พร้อมเปิดตัวทองคำแท่ง “AUSIRIS Baht Gold Bar 96.5%” ผลิตโดยตรงจากสวิตเซอร์แลนด์เป็นรายแรกของประเทศไทย โดยภาคเหนือเป็นตลาดที่มีศักยภาพมาก เพราะเป็นภาคที่มีการออมมากที่สุด ดังนั้นจึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการเปิดตลาดทั้งเพื่อการลงทุน และการออม
สวิตเซอร์แลนด์เป็นอีกประเทศหนึ่งในบรรดาประเทศที่พัฒนาแล้วหลายประเทศที่ให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) กับประเทศไทย โดยสินค้าเกษตรส่วนใหญ่จะได้รับการลดหย่อนภาษีนำเข้า ส่วนสินค้าอุตสาหกรรมสวิตเซอร์แลนด์จะยกเว้นภาษีนำเข้า ยกเว้นสินค้ากลุ่มสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มจะได้รับการลดหย่อนภาษีนำเข้าร้อยละ 50-75 ของอัตราภาษีปกติ ทั้งนี้ เพื่อปกป้องสินค้ากลุ่มดังกล่าวภายในประเทศ สำหรับในปี 2552 (มค.-เม.ย.) ไทยกับสวิตเซอร์แลนด์มีมูลค่าการค้าระหว่างกันรวม 2,222.50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมูลค่าส่งออก 1,677.78 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมูลค่านำเข้า 544.72 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้ามูลค่า 1,133.06ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ทองคำ ส่วนประกอบของอากาศยาน ส่วนประกอบของนาฬิกา และ อัญมณีเครื่องประดับ เป็นต้น ด้านการใช้สิทธิพิเศษทางภาษี GSP ในปี 2551 กรมการค้าต่างประเทศได้ออกหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Form A) ไปสวิตเซอร์แลนด์ จำนวน 9,632 ฉบับ มีมูลค่า 315.52 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 15.95 ของมูลค่าการส่งออกรวม รายการสินค้าที่ไทยใช้สิทธิ GSP สูงได้แก่ ปลาทูน่ากระป๋อง ข้าวสาร หน้าปัดนาฬิกา และตัวเรือนนาฬิกา เป็นต้น สำหรับสินค้าที่มีศักยภาพในการส่งออกแต่ไม่ได้ใช้สิทธิหรือใช้สิทธิน้อย ได้แก่ เฟอร์นิเจอร์ไม้ฝังมุกหรือวัตถุอื่นๆ สายนาฬิกา/ส่วนประกอบของนาฬิกา กล่องพลาสติกหุ้มด้วยผ้าทอ และอัญมณีเครื่องประดับ เป็นต้น การใช้สิทธิฯ GSP สำหรับสินค้าเพชรพลอย/ส่วนประกอบทำด้วยโลหะมีค่าอื่นๆ จะช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าสู่ตลาดสวิตเซอร์แลนด์ได้ เนื่องจากสินค้าดังกล่าวได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าภายใต้ GSP จากภาษีนำเข้าปกติ (MFN) ซึ่งสูงถึง 3,999 Fr./100 kg. gross นอกจากนี้สินค้าในกลุ่มหัตถกรรมงานฝีมือ (Handicraft) เช่น กล่องใส่เครื่องประดับ เฟอร์นิเจอร์ไม้ที่ฝังมุก กระเป๋าที่คลุมด้วยผ้าทอ ก็เป็นสินค้าที่ได้สิทธิฯ GSP และมีศักยภาพและมูลค่าเพิ่มในตลาดสวิตเซอร์แลนด์สูง แต่ยังมีการใช้สิทธิฯ GSP เพื่อส่งออกไม่มากนัก
ธุรกิจร้านอาหารไทยเป็นธุรกิจหนึ่งที่น่าจะมีศักยภาพ โดยอาหารไทยได้รับความนิยมในตลาดสวิสเซอร์แลนด์มากยิ่งขึ้นในช่วง 5-6 ปี ที่ผ่านมา ผู้บริโภคชาวสวิสส่วนมากนิยมอาหารไทย เนื่องจากรสชาติกลมกล่อมและประกอบด้วย ผักและเครื่องเทศต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพร้านอาหารไทยที่ได้รับความนิยมมักมีการจัดตกแต่งร้านอย่างสวยงามเพื่อดึงดูดลูกค้าระดับกลาง-บน เนื่องจากชาวสวิสฯมีฐานะความเป็นอยู่ค่อนข้างดี อย่างไรก็ตามรัฐบาลของสวิสฯให้ความสำคัญกับการคุ้มครองผู้บริโภคอย่างมากและค่อนข้างเข้มงวดกับส่วนผสมของอาหารทุกประเภท เช่น ห้ามผสมสีหรือสารอื่นเจือปนในเส้นก๋วยเตี๋ยวอย่างเด็ดขาด ผู้ที่สนใจจะลงทุนในธุรกิจด้านนี้จึงควรศึกษารายละเอียดกฎข้อบังคับต่าง ๆ ให้รอบคอบ
ที่มา: http://www.depthai.go.th