ปี 2551 ปี 2552
Real GDP growth (%) 1.9 1.4 Consumer price inflation (av; %) 0.0 0.4 Budget balance (% of GDP) -2.6 -2.4 Current-account balance (% of GDP) 4.9 4.6 Commercial banks' prime rate (year-end; %) 1.8 2.1 Exchange rate ฅ:US$ (av) 117.4 105.0 โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับญี่ปุ่น มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลดล้านเหรียญสหรัฐฯ
สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น 4,684.63 100.00 -27.01 สินค้าเกษตรกรรม 722.63 15.43 -15.49 สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร 531.48 11.35 6.52 สินค้าอุตสาหกรรม 3,409.72 72.79 -27.37 สินค้าแร่และเชื้อเพลิง 20.81 0.44 -94.37 สินค้าอื่นๆ 0.0 0.0 -100.00 โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับญี่ปุ่น มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลดล้านเหรียญสหรัฐฯ
นำเข้าทั้งสิ้น 6,672.09 100.00 -39.39 สินค้าเชื้อเพลิง 61.39 0.92 67.47 สินค้าทุน 2,952.77 44.26 -28.31 สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป 2,650.14 39.72 -50.34 สินค้าบริโภค 403.07 6.04 -20.10 สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง 604.33 9.06 -40.17 สินค้าอื่นๆ 0.38 0.01 -76.64 1. มูลค่าการค้า มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย — ญี่ปุ่น 2551 2552 D/%(ม.ค. — เม.ย.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการค้ารวม 17,426.93 11,356.73 -34.83 การส่งออก 6,418.43 4,684.63 -27.01 การนำเข้า 11,008.50 6,672.09 -39.39 ดุลการค้า -4,590.08 -1,987.46 -56.70 2. การนำเข้า ญี่ปุ่นเป็นตลาดนำเข้าอันดับที่ 1 ของไทย มูลค่า 6,672.09 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 39.39 สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลดล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการนำเข้ารวม 6,672.09 100.00 -39.39 1. เครื่องจักรกล 1,538.36 -21.89 -24.97 2. เหล็ก เหล็กกล้า 790.04 11.84 -45.02 3. เครื่องจักรไฟฟ้า 634.99 9.52 -42.60 4. แผงวงจรไฟฟ้า 487.95 7.31 -50.37 5. ส่วนประกอบและอุปกรณ์ 463.49 6.95 -43.44 อื่น ๆ 434.90 6.52 -35.84 3. การส่งออก ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 2 ของไทย มูลค่า 4,684.63 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 27.01 สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลดล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการส่งออกรวม 4,684.63 100.00 -27.01 1.เครื่องคอมพิวเตอร์ ฯ 300.89 6.42 -16.48 2.ไก่แปรรูป 220.94 4.72 41.21 3.แผงวงจรไฟฟ้า 208.23 4.45 -43.57 4.อาหารทะเลกระป๋องฯ 172.29 3.68 -3.90 5.ยางพารา 149.44 3.19 -52.38 อื่น ๆ 1,723.21 36.78 -38.63 4. ข้อสังเกต 4.1 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปญี่ปุ่น ปี 2552 (ม.ค. — เม.ย.) ได้แก่เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ : ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 4 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 - 2552 พบว่า ปี 2551 และ 2552 (มค.-เม.ย.) มีอัตราการขยายตัวลดลง (ร้อยละ 6.98 และ 16.48) ในขณะที่ปี 2549 และ 2550 มีอัตรา ขยายตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.40 และ 14.34 ตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
ไก่แปรรูป : ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทย และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 - 2552พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 0.63 4.10 94.11 และ 41.21 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
แผงวงจรไฟฟ้า : ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 2 ของไทยรองจากฮ่องกง และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 พบว่า ปี 2551 และ 2552 (มค.-เม.ย.) มีอัตราการขยายตัวลดลง (ร้อยละ 12.64 และ 43.57) ในขณะที่ปี 2549 และ 2550 มีอัตราขยายตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.49 และ 10.27 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
อาหารทะเลกระป๋องฯ : ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 2 ของไทยรองจากสหรัฐฯ และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 พบว่า ปี 2549 และ 2552 (มค.-เม.ย.) มีอัตราการขยายตัวลดลง (ร้อยละ 2.15 และ 3.90) ในขณะที่ปี 2550 และ 2551 มีอัตราขยายตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.58 และ 24.19 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
ยางพารา : ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 3 ของไทย และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 พบว่าปี 2550 และ 2552 (มค.-เม.ย.) มีอัตราการขยายตัวลดลง (ร้อยละ 13.29 และ 52.38) ในขณะที่ปี 2549 และ 2551 มีอัตราขยายตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.14 และ 17.40 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
เพื่อให้ขยายการส่งออกและเพิ่มปริมาณการจำหน่ายมังคุดในตลาดที่มีกำลังซื้อสูงบริษัท C.P. starlanes ได้เริ่มวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการขนส่งมังคุดทางเรือเมื่อประมาณ 2-3 ปีที่ผ่านมา และได้ควบคุมคุณภาพการขนส่งมังคุดที่มีคุณภาพและมาตรฐาน ซึ่งสามารถลดต้นทุนจากค่าขนส่งได้ถึง 60% จากที่เคยขนส่งทางอากาศเพียงอย่างเดียว โดยเชื่อว่าการส่งออกมังคุดไปยังญี่ปุ่น และออสเตรเลีย จะเพิ่มขึ้นเท่าตัวเป็น 150 ล้านตันหรือมีมูลค่าการส่งออกกว่า 250 ล้านบาท อย่างไรก็ดีสำหรับมังคุดที่ส่งออกนั้น ซี.พี.จะรับซื้อจากเกษตรในเครือข่ายกว่า 21 กลุ่มในลักษณะคอนแทรกฟาร์มมิ่งที่ผลิตมังคุดได้ทั้งในและนอกฤดูกาล โดยการผลิตทั้งหมดต้องถูกต้องตามสุขลักษณะของบริษัทที่กำหนดไว้ และต้องผ่านมามาตรฐานการผลิตที่เหมาะสม (GAP) ของกรมวิชาการเกษตร ซึ่งต้องตรวจสอบทั้งเรื่อง ขนาด ผิวของมังคุด ตรวจสอบเนื้อแก้วและยางไหลในเนื้อมังคุดด้วยวิธีแสกนเพื่อตรวจสอบภายในอย่างละเอียด ก่อนเข้าสู่กระบวนการสุดท้ายคือ อบไอน้ำก่อนส่งออกไปยังต่างประเทศ
ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.) กล่าวว่า ผลการประชุมคณะทำงานร่วมตามกรอบความร่วมมือด้านสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มภายใต้กรอบความร่วมมือหุ้นส่วนเศรษฐกิจระหว่างไทย-ญี่ปุ่น(JTEPA) ที่จัดขึ้นโดย Japan Textile Federation(JTF) ซึ่งเป็นองค์กรที่ดูแลการพัฒนาสิ่งทอของญี่ปุ่นอย่างครบวงจร ณ กรุงโตเกียว ถือเป็นแนวทางหนึ่งสำหรับการพัฒนาสิ่งทอที่ไทยให้สามารถแข่งขันได้มากขึ้น ทั้งนี้ ในการประชุมได้มีการหารือถึงแผนความร่วมมือในอนาคต โดยในส่วนของโครงการพัฒนาร่วมนั้นทางญี่ปุ่นพร้อมจะส่งผู้เชี่ยวชาญมาเป็นวิทยากรอบรมให้ผู้ประกอบการไทยคาดว่าจะเริ่มโครงการได้ในเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม ขณะที่โครงการ T3 Project Japanese Market Version ของสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอซึ่งจะเป็นการช่วยพัฒนาผ้าผืนไทย ฝ่ายญี่ปุ่นเห็นควรกำหนดแผนดำเนินการ 1 ปี เพื่อให้ไทยผลิตผ้าผืนรองรับตลาดญี่ปุ่นได้ในช่วงที่ต้องการสูง สำหรับความร่วมมือระดับภูมิภาคอาเซียน(AJCEP) ญี่ปุ่นเสนอให้ไทยเร่งรัดกระบวนการภายในเพื่อการบังคับใช้ตามข้อตกลง เพราะไทยยังดำเนินการไม่เสร็จ โดยญี่ปุ่นมีแผนลดการนำเข้าสิ่งทอจากจีนเพื่อหันมาร่วมมือกับอาเซียนมากขึ้น
แนวโน้มการผลิตและมูลค่าการส่งออกของอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนังในไตรมาสที่ 2/52 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันกับปีก่อนคาดว่าจะลดลงในทุกผลิตภัณฑ์ โดยในปี 2552 ทั้งปีคาดว่าอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนังจะทรงตัวหรือลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน เพราะปัญหาเศรษฐกิจโลกชะลอตัว แต่จากการเปิดตลาดกับประเทศใหม่ๆ มากขึ้นและประเทศไทยมีศักยภาพในด้านการออกแบบและเป็นที่ยอมรับจากลูกค้าในเรื่องของคุณภาพมากขึ้น อีกทั้งการที่ EU และสหรัฐอเมริกาต่ออายุมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (AD) รองเท้าจากประเทศจีนและเวียดนามอีก 2 ปี และเตรียมการตัดสิทธิพิเศษทางศุลกากร (GSP) สำหรับอุตสาหกรรมรองเท้าของประเทศเวียดนาม โดยจะเก็บภาษีนำเข้าในอัตราที่สูงขึ้น รวมทั้งการเปิดการค้าเสรีกับประเทศญี่ปุ่น ภายใต้กรอบ JTEPA จึงเป็นโอกาสที่ไทยจะแข่งขันกับประเทศคู่แข่งได้มากขึ้นในตลาดญี่ปุ่น
ประธานกรรมการบริหารและซีอีโอ บริษัท เอเชี่ยนฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด สำนักงานใหญ่ของฮอนด้าประจำภูมิภาคเอเชียและโอเชียเนีย เปิดเผยว่า บริษัทประสบความสำเร็จอีกขั้นของฮอนด้าประเทศไทย ในการส่งออกชิ้นส่วนและเครื่องยนต์ฮอนด้าระบบจ่ายน้ำมันแบบหัวฉีด PGM-FI ไปยังประเทศญี่ปุ่น โดยชิ้นส่วนและเครื่องยนต์ฮอนด้า ระบบจ่ายน้ำมันแบบหัวฉีด PGM-FI นี้ ผลิตโดยบริษัท ไทยฮอนด้า แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ซึ่งตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบังเขตลาดกระบัง โดยส่งออกไปยังโรงงานประกอบรถจักรยานยนต์ฮอนด้าที่จังหวัดคุมาโมโตะ ประเทศญี่ปุ่น เพื่อใช้ในการประกอบรถจักรยานยนต์ Super Cub 110 รุ่นใหม่ ซึ่งจะจำหน่ายที่ญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการในวันที่ 19 มิถุนายนนี้ จึงนับเป็นอีกหนึ่งความภาคภูมิใจของฮอนด้าประเทศไทยสำหรับเครื่องยนต์ 4 จังหวะ 110 ซีซี ระบายความร้อนด้วยอากาศที่มาพร้อมกับระบบจ่ายน้ำมันแบบหัวฉีด PGM-FI เป็นเทคโนโลยีล่าสุดเพื่อสิ่งแวดล้อมจากฮอนด้า ซึ่งให้สมรรถนะในการขับขี่เพิ่มมากขึ้น ค่าไอเสียสะอาดขึ้น และประหยัดน้ำมันยิ่งขึ้นในเวลาเดียวกัน ปัจจุบันเครื่องยนต์ดังกล่าวได้รับการ ติดตั้งและเป็นที่ยอมรับ ขึ้นแท่นรถจักรยานยนต์ยอดนิยมของคนไทยทั้งรุ่น CZ-i และ Wave 110i การที่ประเทศไทยได้รับความไว้วางใจให้เป็นผู้ส่งออกชิ้นส่วนที่สำคัญ โดยเฉพาะเครื่องยนต์ระบบจ่ายน้ำมันแบบหัวฉีด PGM-FI ไปยังประเทศญี่ปุ่นในครั้งนี้ เป็นการการันตีถึงคุณภาพของวัตถุดิบ ศักยภาพของผู้ผลิตชิ้นส่วนและฐานการผลิตในประเทศไทย
ที่มา: http://www.depthai.go.th