ในไตรมาสแรกของปี 2551 เศรษฐกิจเวียดนามขยายตัว 3.1% (y-y) ต่ำกว่าเป้าหมายซึ่งตั้งไว้ 7.4% และนับว่าต่ำที่สุดในรอบหลายปีที่ผ่านมา ทำให้รัฐบาลเวียดนามต้องปรับเป้าหมายการขยายตัวทางเศรษฐกิจของปี 2552 ใหม่ จากเดิมที่ตั้งไว้ 6.5% ลดลงเหลือ 5% แม้จะมีเสียงติติงจากนักวิชาการว่ายากจะบรรลุเป้าหมายก็ตาม
สำหรับไตรมาสที่สองของปี 2552 นั้น สำนักงานข้อมูลและการวางแผนด้านเศรษฐกิจและสังคมชาติ (National Center for Socio - economic Information and Forecast : NCSIF ) กระทรวงวางแผนและการลงทุน(MoPI)เวียดนาม คาดว่าเศรษฐกิจเวียดนามจะขยายตัวประมาณ 3.5 — 3.8% ซึ่งสูงกว่าไตรมาสแรก 0.4 — 0.7% และคาดว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเวียดนามตลอดปี 2552 จะเป็น 4.5 — 5 %
อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนาม ปี 2552
ไตรมาสแรก ไตรมาสสอง ตลอดปี 2552 GDP growth (%) 3.1 3.5 — 3.8 4.5 - 5.0 - ภาคการเกษตร 0.4 2.1 — 2.5 3.4 — 3.7 - ภาคอุตสาหกรรม 1.1 3.8 — 4.1 4.6 — 5.1 - ภาคบริการ 5.4 4.0 — 4.2 4.9 — 5.5 ที่มา : NCSIF Vietnam GDP growth (%) 2534 — 2538 8.18 2539 — 2543 6.95 2544 — 2548 7.51 2549 — 2553 * 7.5 - 8 2554 — 2558 * 7 - 8- เป้าหมาย
นอกจากนี้ เมื่อต้นเดือนมิถุนายน 2552 รัฐบาลได้ตั้งเป้าหมายของการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามในระยะ 5 ปี ระหว่าง ปี 2549 — 2553 เป็น 7.5 — 8 % และระหว่างปี 2554 — 2558 เป็น 7 — 8%
ผลผลิตอุตสาหกรรมของเวียดนาม มค.-พค.2552
มูลค่าทั้งหมด 265.64 ล้านล้านด่อง( US$15.63 พันล้าน) เพิ่มขึ้น 4% (y-y)
ภาครัฐ - 0.1 % ภาคเอกชน 7.3 % ภาคการลงทุนของต่างประเทศ (FIEs) 3.7 %ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม
ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2552 ผลผลิตอุตสาหกรรมของเวียดนามส่งสัญญาณฟื้นตัวเช่นกัน โดยมีมูลค่า 15.63 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือขยายตัว 4% (y-y) ซึ่งเป็นการขยายตัวในภาคเอกชนถึง 7.3% และภาคการลงทุนของต่างประเทศ 3.7% กำไรจากการผลิตภาคอุตสาหกรรมคาดว่าเป็น 15.63 พันล้านเหรียญสหรัฐ
สาขาที่การผลิตขยายตัวสูง เช่น น้ำมันดิบ (19.9%) ซีเมนต์ (17.4%) เหล็กก่อสร้าง (13.2%) รองเท้า (10.2%) เครื่องซักผ้า ( 3.3%) เป็นต้น ส่วนสาขาที่การผลิตลดลงคือ ถ่านหิน( -7%) อาหารทะเล ( -8%) ปุ๋ย ( -13%) ผ้าฝ้าย ( -26%) กระเบื้องเซรามิค ( -23%) และรถยนต์นั่ง ( -31%)
ในปี 2551 ผลผลิตอุตสาหกรรมของเวียดนามขยายตัว 14.6% แต่ในปี 2552 ได้มีการปรับลดเป้าการขยายตัวลงเหลือ 7.4%
การขาดดุลการค้าได้เริ่มกลับมาตั้งแต่เดือนเมษายน 2552 ทำให้การขาดดุลในช่วงครึ่งแรกของปี 2552 เป็น 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ เวียดนามตั้งเป้าการขาดดุลการค้าของปีนี้ไว้ที่ 10 -12 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งคิดเป็นประมาณ 15.5 — 18.5% ของเป้าหมายรายได้จากการส่งออกของเวียดนามปี 2552
การส่งออก
รายได้จากการส่งออกของเวียดนามแต่ละปีโดยเฉลี่ยแล้วคิดเป็น 70% ของ GDP ตลาดหลักคือ สหรัฐฯ , สหภาพยุโรป อาเซียนและญี่ปุ่นในไตรมาสแรกเวียดนามส่งออกได้ 13.48 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเพิ่มขึ้นเพียง 2.4 % (y-y) และรายได้ส่วนใหญ่มาจากการส่งออกทองคำ ( 2.29 พันล้าน USD) หากไม่นับรวมรายได้จากการส่งออกจะลดลงถึง 14.8 % รัฐบาลเวียดนามจึงได้ปรับเป้าหมายการเติบโตของการส่งออกปี 2552 ใหม่ จาก 13% ลดลงเหลือเพียง 3%
มูลค่าการส่งออก-นำเข้าของเวียดนาม (พันล้าน USD) (มค.- มิย.2552)
เดือน การนำเข้า y-y (%) การส่งออก y-y (%) มค. 3.4 3.8 กพ. 4.2 5.0 มีค. 5.0 5.3 เมย. 5.5 4.3 พค. 5.9 4.4 มิย. 6.64 4.77 มค. — มิย. 30.64 (-31.6%) 27.57 (-10.0%) คาดทั้งปี 2552 72.60 (10.05%) 64.0 (+3.0%) ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนามในช่วงครึ่งแรกของปี 2552 การนำเข้าสินค้าเวียดนามของตลาดหลัก เช่นสหรัฐฯ ลดลง 7 % สหภาพยุโรปลดลง 10% และอาเซียนลดลง 6 % รวมทั้งราคาสินค้าส่งออกหลักหลายชนิดลดลง เช่น น้ำมันดิบ ถ่านหิน อาหารทะเล สิ่งทอ รองเท้าและผลิตภัณฑ์ไม้ มีเพียงข้าวที่สามารถส่งออกได้เพิ่มขึ้น จึงคาดว่าครึ่งแรกของปี 2552 เวียดนามจะมีรายได้จากการส่งออกเพียง 27.57 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 10 % (y-y) ซึ่งเท่ากับ 38.9% ของเป้าหมายการส่งออกทั้งปี ( 70.83 พันล้านUSD) และยังไม่มีสัญญาณว่าการส่งออกจะฟื้นตัวในอนาคตอันใกล้ ทำให้นักวิชาการเกรงว่าการตั้งเป้าการขยายตัวของการส่งออกเป็น 3% จะเป็นไปได้ยาก
การนำเข้า
การใช้จ่ายสำหรับการนำเข้าในช่วงครึ่งแรกของปี 2552 ได้ลดลงอย่างมากถึง 31.6% (y-y) เป็นมูลค่านำเข้า 30.64 พันล้านเหรียญสหรัฐ สินค้าส่วนใหญ่ที่นำเข้าลดลง เช่น เหล็กและเหล็กกล้า น้ำมันดิบ และรถยนต์ เป็นต้น ส่วนสินค้าที่นำเข้าเพิ่มขึ้น เช่น ผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม
อย่างไรก็ตาม นักวิชาการคาดว่าการขาดดุลการค้าของเวียดนามในปี 2552 จะเพิ่มขึ้นเป็น 4.69%
รัฐบาลจึงได้เสนอสภาแห่งชาติ ( National Assembly ) ขอขยายเพดานการขาดดุลงบประมาณ ( State Budget deficit ) จากเดิม ที่ตั้งไว้ 4.82 % ของ GDP เป็น 8% ของGDP เนื่องจากการขาดดุลการค้ามากขึ้น
การจัดเก็บรายได้จึงลดลง ขณะที่รัฐบาลต้องใช้จ่ายเงินมากขึ้นเพื่อกระตุ้นให้เกิดการผลิตเพิ่มขึ้นและสร้างความต้องการให้มากขึ้น แต่ทั้งนี้ สภาแห่งชาติได้อนุมัติให้ขยายเพดานการขาดดุลงบประมาณได้เพียงไม่เกิน 7 % ของ GDP โดยคาดว่า State Budget ในปี 2552 นี้ จะเป็น 60,000 ล้านล้านด่องหรือเท่ากับ 3.37 พันล้านเหรียญสหรัฐ
FDI ของเวียดนามในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2552 ลดลงอย่างมาก ถึงกว่า 3 ใน 4 คิดเป็นมูลค่า 6.68 พันล้านเหรียญสหรัฐโดยรวมทั้งทุนจดทะเบียนใหม่และการเพิ่มเงินทุนในโครงการที่ดำเนินการอยู่แล้ว
FDI Commitment
ในส่วนของ fresh FDI มีมูลค่าเพียง 2.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ที่ committed ไว้ในโครงการใหม่ที่ได้รับ licensed จำนวน 256 โครงการ ( มกราคม — พฤษภาคม) ลดลงถึง 89.2 % จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว อย่างไรก็ตามบริษัทที่มีต่างชาติร่วมทุนในการดำเนินการ (FIEs) ได้เพิ่มทุนจำนวน 3.96 พันล้านเหรียญสหรัฐ เข้ามาใน 40 โครงการที่ดำเนินการอยู่แล้วซึ่งเพิ่มขึ้น 27.8 % (y-y)
ในปี 2552 นี้ สหรัฐฯ กลายเป็นประเทศที่เข้ามาลงทุนรายใหญ่ที่สุดของเวียดนามโดยมีทุนจดทะเบียนมากกว่า 3.85 พันล้านเหรียญสหรัฐ ตามด้วยเกาหลีใต้ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ฮ่องกง 540 ล้านเหรียญสหรัฐ สิงคโปร์ 539 ล้านเหรียญสหรัฐ และไต้หวัน 306 ล้านเหรียญสหรัฐ
ประเทศผู้ลงทุน 10 อันดับแรกในเวียดนาม ปี 2552
ประเทศ จำนวนโครงการ มูลค่าการลงทุน(ล้าน USD)
มาเลเซีย 55 14,938.30 ไต้หวัน 132 8,643.50 ญี่ปุ่น 105 7,287.50 สิงคโปร์ 101 4,466.40 บรูไน 19 4,400.80 แคนาดา 9 4,237.70 ไทย 32 3,992.70 บริติชเวอร์จิน 49 3,940.80 ไซปรัส 3 2,200.10 เกาหลีใต้ 292 1,803.40 ประเทศอื่น ๆ 374 4,360.00 รวมทั้งสิ้น 1,171 60,271.20 ที่มา : กระทรวงวางแผนและการลงทุนเวียดนามการเพิ่มขึ้นใน FDI ของสหรัฐฯ ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนของ Winvest LLC ซึ่งเพิ่มทุนจาก 300 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็น 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ในโครงการก่อสร้าง Saigon Atlantis Hotel ในจังหวัดบาเรีย — หวุงเต่า ( Ba Ria — Vung Tau )
โดยข้อเท็จริงแล้วมูลค่า FDI ที่เข้ามาในเวียดนามในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ควรมากกว่าตัวเลขดังกล่าว แต่เนื่องจาก MoPI ไม่ได้คิดรวมการลงทุนในโครงการสร้างโรงงานเหล็กที่เพิ่งได้รับ licensed จาก Ba Ria — Vung Tau Industrial Zone Authority ( BIZA) มูลค่าถึง 1.14 พันล้านเหรียญสหรัฐ ดำเนินโครงการโดย China Steel Sumikin Vietnam Joint Company (บริษัทร่วมทุนระหว่างญี่ปุ่นกับไต้หวัน) ถือเป็นโครงการ FDI ที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัดบาเรีย — หวุงเต่า ณ ปัจจุบัน
FDI disbursement ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2552 มีมูลค่าเงินลงทุนที่เข้ามาดำเนินการจริงมีทั้งหมด 2.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 29.1% (y-y) ทั้งนี้ MoPI ได้คาดการณ์ตั้งแต่ต้นปี 2552 แล้วว่าจำนวนเงินลงทุนที่ต่างชาติจะนำมาดำเนินการจริงในปีนี้ คงเป็นเพียง 11 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งลดลงจากปี 2551 ( มูลค่า 11.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ) แต่เป้าหมายดังกล่าวคงยากที่จะบรรลุผลเพราะนักลงทุนบางรายขอชะลอโครงการเนื่องจากประสบภาวะเศรษฐกิจชงักงัน
โครงการลงทุน ณ สิ้นสุดเดือนพฤษภาคม 2552 เวียดนามมีโครงการ FDI ที่ยังมีผลอยู่จำนวน 10,192 โครงการซึ่งในจำนวนนี้เป็นสาขาอุตสาหกรรมการผลิตมากที่สุดจำนวน 6,457 โครงการรวมทุนจดทะเบียนเป็น 84 พันล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนที่เหลือเป็นสาขาเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ การสื่อสาร การเกษตร ก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ คลังสินค้า ที่พักอาศัย อาหารและเครื่องดื่ม การค้าและศิลป /บันเทิง
ภาวะเงินเฟ้อของเวียดนามได้พุ่งขึ้นสูงสุดเมื่อเดือนสิงหาคม 2551 ที่ผ่านมาโดยสูงถึง 28.3% รัฐบาลเวียดนามจึงตั้งเป้าที่จะควบคุมอัตราเงินเฟ้อในปี 2552 นี้ เป็นตัวเลขเพียงตัวเดียว โดยสภาแห่งชาติกำหนดเป้าหมายให้ดัชนีราคาผู้บริโภค ( Consumer Price Index : CPI) ซึ่งใช้เป็นเครื่องชี้วัดอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 10% ทั้งนี้ รัฐบาลได้ประกาศเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2552 ตั้งเป้าจะควบคุมอัตรา เงินเฟ้อไว้ที่ 6 — 7% โดยจะพยายามควบคุมปริมาณเงินในเศรษฐกิจอัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยน
แม้เวียดนามจะเป็นเพียงหนึ่งในไม่กี่ประเทศในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้และในเอเชียที่เศรษฐกิจยังคงขยายตัวท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจทั่วโลกเช่นนี้ แต่เวียดนามก็ยังมีปัญหาอีกหลายด้านที่ต้องเร่งแก้ไข เพราะเป็นปัญหาที่ส่งผลต่อการเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจของต่างชาติ และอาจทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจของเวียดนามไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ปัญหาดังกล่าว คือ
- โครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจต้องเร่งพัฒนา ปัจจุบันยังคงมีอุปสรรคและความล่าช้าในการดำเนินการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถนนระหว่างจังหวัด ทางด่วน ทางหลวง สะพานและท่าเรือยุทธศาสตร์ ซึ่งบางโครงการยังเป็น ‘พิมพ์เขียว’ เท่านั้น
- ปัญหาอัตราแลกเปลี่ยนที่ผันผวน การขาดดุลการค้าอย่างต่อเนื่องและเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกทำให้ FDI ที่หลั่งไหลเข้ามาในเวียดนามลดลงเวียดนามจึงเผชิญกับปัญหาอัตราแลกเปลี่ยนที่ผันผวนอย่างรุนแรง ขณะที่ธนาคารแห่งรัฐ ( State Bank of Vietnam ) แม้จะปฏิเสธว่าไม่มีนโยบายลดค่าเงินด่องแต่ก็แสดงท่าทีให้เห็นว่าจะปล่อยให้ค่าเงินด่องอ่อนตัวต่อไป โดยคาดว่าอาจจะลดลงถึง 5 — 6 % ในสิ้นปี 2552 นี้ ปัจจุบันอัตราแลกเปลี่ยนทางการอยู่ที่ 17,799 ด่องต่อดอลลาร์ แต่ในตลาดมืดช่วงกลางเดือนมิถุนายน ศกนี้ เคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับ 18,310 ด่องต่อดอลลาร์ และผู้ค้าในตลาดมืดหลายคนเชื่อว่าอัตราแลกเปลี่ยนอาจจะอ่อนลงเป็น 19,000 — 19,250 ด่องต่อดอลลาร์
- ขาดแคลนบุคลากรที่ได้รับการฝึกอบรมแล้ว มหาวิทยาลัยของเวียดนามยังไม่เตรียมความพร้อมสำหรับรองรับความต้องการทรัพยากรบุคคลของบริษัทที่ต่างชาติเข้ามาลงทุน ( FIEs) นักลงทุนต่างชาติพบว่าจำเป็นต้องให้การฝึกอบรมใหม่ ( re — train ) แก่พนักงานที่รับเข้าทำงาน ทั้ง ๆ ที่ควรได้รับการฝึกอบรมจากมหาวิทยาลัยแล้ว
- ปัญหาการบริหารงานของหน่วยงานรัฐ ขั้นตอนการขออนุญาตในการจัดตั้งนิติบุคคลยังมีความซับซ้อน ไม่โปร่งใส มีปัญหาในการตีความและมีเอกสาร (paperwork) ประกอบการพิจารณามากเกินไป
รัฐบาลเวียดนามตั้งใจแก้ไขปัญหาเหล่านี้ให้ได้ภายใน 3 — 5 ปีข้างหน้า ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นเวียดนามจะทะยานไปเร็วกว่าที่คิดและจะเป็นประเทศคู่แข่งที่สำคัญของไทยเพิ่มขึ้นอีกประเทศหนึ่ง
สคต.นครโฮจิมินห์
ที่มา: http://www.depthai.go.th