มาตรฐานสุขอนามัยและความปลอดภัยด้านอาหารของประเทศญี่ปุ่น เป็นที่ทราบกันดีว่ามีมาตรฐานสูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก และเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อราคาสินค้าอาหาร และค่าครองชีพของญี่ปุ่นให้สูงติดอันดับโลกเช่นกัน แม้ว่าในระยะหลาย ปีที่ผ่านมาญี่ปุ่นได้นำเข้าสินค้าอาหารจากจีนซึ่งมีต้นทุนการผลิตต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับที่ผลิตในญี่ปุ่นเองหรือกับประเทศอื่นๆ จนทำให้ ประเทศจีนเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ด้านอาหารของญี่ปุ่น และได้ช่วยบรรเทาภาระค่าครองชีพของประชาชน แต่ก็เป็นช่วงระยะเวลา อันสั้น ทั้งนี้เนื่องจากกรณีการตรวจพบสารปนเปื้อนในอาหารที่นำเข้าจากจีน คนญี่ปุ่นจึงยอมจ่ายแพงบริโภคอาหารที่ผลิตในประเทศ ที่ไม่สมารถผลิตได้พอเพียงกับความต้องการ และอาหารที่นำเข้าจากประเทศอื่นที่ราคาสูงกว่าอาหารที่นำเข้าจากจีน
อย่างไรก็ตาม จากภาวะเศรษฐกิจที่ชะงักงัน ซึ่งส่งผลต่อการจ้างงาน และรายได้ของประชาชน ทำให้คนญี่ปุ่นปรับ เปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค โดยจากผลการสำรวจของ JFC (Japan Finance Corporation) ซึ่งได้ทำการสำรวจแนวโน้ม การบริโภคของคนญี่ปุ่น ปี 2551 ในประเด็นต่างๆได้แก่ ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจ ทัศนคติต่อสินค้าอาหารนำเข้า และแนวโน้ม การซื้ออาหารสดและอาหารแช่แข็ง ดังนี้
จากผลการสำรวจเมื่อเดือนธันวาคม 2551 สินค้าราคาประหยัดเป็นปัจจัยสำคัญอันดับแรกที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ อาหารของคนญี่ปุ่น แทนที่ความสำคัญด้านความปลอดภัยของอาหารที่ครองอันดับ 1 จากผลสำรวจเมื่อเดือนพฤษภาคม 2551 ซึ่ง แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มในการประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้ออาหารในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ ปัจจัยในการตัดสินใจที่ครองอันดับต้นๆ ได้แก่ ปัจจัยด้านสุขภาพ และความปลอดภัย ตามลำดับ อย่างไรก็ตามต่อคำถามที่ว่าในอนาคตปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจซื้อจะ เป็นอย่างไรนั้น ผู้ตอบแบบสอบถามยังคงให้ความสำคัญต่อความปลอดภัยอันดับแรก รองลงมา คือ สินค้าที่ผลิตในประเทศ อาหาร สุขภาพ และอาหาร Hand-Made ตามลำดับ
นอกจากนี้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวสินค้าที่ผู้บริโภคให้ความสนใจ ในอันดับต้นคือราคา รองลงมาคือความปลอดภัย เช่น ความ สามารถตรวจสอบย้อนกลับ (traceability) แหล่งผลิต ส่วนประกอบของสารอาหาร และสุขภาพเป็นต้น
ในการสำรวจครั้งนี้ ได้สอบถามเกี่ยวกับทัศนคติของผู้บริโภคญี่ปุ่นต่อสินค้าอาหารนำเข้าจากตลาดหลัก ได้แก่ จีน เอเซีย(ยกเว้นจีน) สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ และสหภาพยุโรป ในเรื่องราคา ความปลอดภัย รสชาติ และ รูปแบบบรรจุภัณฑ์ ผลการสำรวจสรุปได้ว่า สินค้าอาหารจากประเทศ จีน เอเซีย(ยกเว้นจีน) และสหรัฐอเมริกา ถึงแม้จะมีจุดแข็ง ทางด้านราคาที่ถูกกว่าสินค้าที่ผลิตในญี่ปุ่นเอง หรือที่นำเข้าจากสหภาพยุโรป แต่ผู้บริโภคเห็นว่าสินค้าจากประเทศเหล่านี้ยังมีความ เสี่ยงด้านความปลอดภัยในอาหาร โดยจากจีนคิดเป็น 92.4% เอเซีย(ยกเว้นจีน) 46.9% และสหรัฐอเมริกา 36.5% รวมทั้งรสชาติ และรูปแบบบรรจุภัณฑ์ยังไม่เป็นที่ดึงดูดใจ
สินค้าจากสหภาพยุโรปได้รับการยอมรับด้านรสชาติและรูปแบบบรรจุภัณฑ์มากกว่า ในขณะที่เห็นว่าสินค้ามีราคาแพงกว่า ที่นำเข้าจากประเทศอื่น
ถึงแม้ว่าผู้บริโภคยังคงนิยมซื้ออาหารที่ผลิตในประเทศเป็นอันดับแรกก็ตาม แต่ในสภาวการณ์ที่ภาวะเศรษฐกิจยังคงซบเซา การตัดสินใจซื้ออาหารสด อาหารสำเร็จรูป และแช่แข็งที่นำเข้าจากต่างประเทศ ปัจจัยด้านราคาก็ยังคงมีอิทธิพลต่อแนวโน้มการ ตัดสินใจซื้อเช่นกัน
ในส่วนของอาหารสำเร็จรูปและผักผลไม้แช่แข็ง ผู้บริโภคที่แสดงความเห็นที่จะไม่ซื้อสินค้านำเข้าในกลุ่มนี้มีถึง 39% สาเหตุหนึ่งมาจากความกังวลด้านความปลอดภัยในอาหาร
ประเทศไทยส่งออกผักแช่แข็งไปยังประเทศญี่ปุ่นมีมูลค่าสูงเป็นอันดับ 3 ด้วยมูลค่า 79 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ในปี 2551) รองจากจีน และสหรัฐฯ และในปี 2552 ช่วงเดือน ม.ค.-พ.ค. การส่งออกมีมูลค่าประมาณ 13 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อัตราการ ขยายตัว 13.26 %
Statistics of Import frozen vegetables
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองฟูกูโอกะ
ที่มา: http://www.depthai.go.th