สรุปสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของสเปนช่วงครึ่งปีแรก 2552

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday August 18, 2009 14:40 —กรมส่งเสริมการส่งออก

หลังจากสเปนได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากวิกฤตเศรษฐกิจของโลกในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2551 ต่อเนื่องไปถึงไตรมาสแรกของปี 2552 ส่งผลให้ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจทุกตัวมีนัยเป็นผลด้านลบ โดยเฉพาะอัตราการว่างงานที่พุ่งสูงขึ้นอย่างเป็นประวัติการณ์ถึงร้อยละ 18-19 ที่ถือว่าสูงที่สุดในสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นที่คาดหมายว่าภาวะเศรษฐกิจของสเปนจะซบเซาไปตลอดปีโดยมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจร้อยละ -3.0 ในปี 2552 ลากยาวต่อเนื่องไปถึงปี 2553 อีกร้อยละ -0.3 ขณะที่องค์กรความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) กลับเชื่อว่าสถานการณ์จะย่ำแย่ไปกว่านั1นอีกกล่าวคือในปี 2552 จะมีอัตราเติบโตร้อยละ -4.2 และในปี 2553 ร้อยละ -0.97

อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่เดือนเมษายน 2552 เป็นต้นมา ถึงแม้ภาวะการถดถอยทางเศรษฐกิจจะยังคงเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง แต่ได้เริ่มเคลื่อนตัวในอัตราที่ช้าลง สถานการณ์ตลาดการเงินระหว่างประเทศก็มีแน้วโน้มดีขึ้น อันเป็นสัญญาณว่าช่วงเวลาแห่งความเลวร้ายทางเศรษฐกิจน่าจะผ่านจุดตำที่สุดไปแล้ว ถึงแม้จำนวนผู้ว่างงานจะเพิ่มขึ้นแต่ก็เพิ่มในอัตราต่ำกว่าช่วงที่ผ่านมา นอกจากนั้นยอดการค้าปลีกทั่วไปก็หดตัวในอัตราที่ต่ำลงขณะที่ผลผลิตอุตสาหกรรมเริ่มกระเตื้องขึ้น

ส่วนหนึ่งก็เนื่องมาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล (2000E Plan) ที่ให้เงินช่วยเหลือในกรณีที่ผู้บริโภคซื้อรถยนต์ใหม่จนได้เริ่มเห็นผลบ้างแล้ว สังเกตได้จากยอดจำหน่ายรถยนต์ใหม่ในเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ปรับตัวดีขึ้น ทั้งนี้ก็เพื่อพยุงฐานะอุตสาหกรรมยานยนต์ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการจ้างแรงงานและอุตสาหกรรมต่อเนื่องเป็นอย่างมาก

นอกจากนั้น รัฐบาลได้ใช้โอกาสนี้ปรับโครงสร้างธุรกิจบริการให้สอดคล้องยิ่งขึ้นกับ EC Regulations กฎระเบียบที่ว่าด้วยการเคลื่อนย้ายแรงงานในประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรปที่เกี่ยวข้อง อันจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ขณะเดียวกันก็พยายามขจัดความล่าช้าในการปฏิบัติงานของภาครัฐ พร้อมทั้งเพิ่มความเป็นอิสระในการดำเนินกิจกรรมมากยิ่งขึ้น โดยคาดว่าผลจากการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันจะช่วยเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตของ GDP ได้ร้อยละ 1.2 และจะเพิ่มการจ้างงานได้ 150,000-200,000 อัตรา

ผลจากแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจของรัฐบาล ส่งผลให้รัฐบาลมีรายได้ลดต่ำลงขณะที่รายจ่ายขยายตัวในทิศทางตรงกันข้าม โดยเฉพาะภาระจ่ายผลตอบแทนให้แก่คนว่างงานและการนำเงินไปอัดฉีดหล่อเลี1ยงระบบเศรษฐกิจไม่ให้หยุดชะงัก จนจำเป็นต้องตั้งงบประมาณขาดดุลสูงถึงร้อยละ 9.5 ในปี 2552 และร้อยละ 8.4 ในปีถัดไป ซึงแม้ว่าจะเกินกว่าระดับเพดานสหภาพยุโรปที่กำหนดไว้ไม่ให้เกินร้อยละ 3 ก็ตาม แต่ก็ได้รับยกเว้นในยามวิกฤติเช่นนี

สรุปสถานการณ์การค้าระหว่างไทย-สเปน ช่วงครึงปีแรกของปี 2552

ตารางเปรียบเทียบมูลค่าการค้าไทย-สเปน ระหว่างเดือน ม.ค.-มิ.ย. ปี 2551-2552

มูลค่า (Mil. US$) ม.ค.-มิ.ย. เพิ่ม/ลด (%)

                            ปี 2552        ปี 2551
ไทยส่งออก                     332.7         766.6           -56.60
ไทยนำเข้า                     174.3         243.0           -28.29
การค้ารวม                     507.0       1,009.6           -49.78
ไทยได้ดุลการค้า                 158.4         523.6           -69.75
ที่มา: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกาก

ช่วง 6 เดือนแรกของปี 2552 ประเทศไทยกับสเปนมีมูลค่าการค้ารวม 507 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยไทยส่งออกมายังสเปนเป็นมูลค่า 332.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ -56.60 ขณะที่ไทยนำเข้าจากสเปน 174.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ -28.29โดยไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้าสะสมมีมูลค่า 158.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 69.75 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งพอสรุปรายละเอียดการส่งออกสินค้า 5 อันดับแรกที่มีมูลค่าสูงสุด ได้ดังนี

ตารางแสดงมูลค่าการส่งออกสินค้าไทยมายังสเปน 5 อันดับแรก ช่วง ม.ค.- มิ.ย. 2552
ที่        สินค้า                      มูลค่า (Mil. USD)    สัดส่วน (%)     เปลี่ยนแปลง (%)
1. เสื้อผ้าสำเร็จรูป                        56.0            16.82           +37.99
2. เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ           40.5            12.18           -74.57
3. เคมีภัณฑ์                              17.2             5.16           -32.43
4. ข้าว                                 15.1             4.54           +36.90
5. เลนซ์                                13.7             4.12           +36.15
ทมา: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสอสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

จากภาวะเศรษฐกิจถดถอยของโลกอย่างต่อเนื่องมาจากช่วงปลายปี 2551 ทำให้มูลค่าการส่งออกรวมของไทยมายังสเปนมีมูลค่าลดลงกว่าครึ่งจากปีก่อน สินค้าส่งออกหลักของไทยแต่ดั้งเดิมในตลาดนี้ ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ รถยนต์และส่วนประกอบ ยางพารา และมันสำปะหลัง ยังคงประสบปัญหาจากความต้องการของตลาดที่ลดลงอย่างรุนแรงต่อเนื่อง ล้วนมีอัตราขยายตัวติดลบกว่าร้อยละ 70 ขณะที่สินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปและหมวดอาหารบางรายการซึ่งถือว่าเป็นหมวดสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ ได้แก่ ข้าวนึ่ง ข้าวหอมมะลิ ปลาทูน่าครีบเหลืองแช่เย็น/แช่แข็ง และปลาทูน่ากระป๋อง เป็นต้น มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นแต่มีสัดส่วนการส่งออกไม่มากนัก และเป็นที่คาดว่าการส่งออกของไทยยังคงได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาที่เหลือของปี 2552

ในชวงเดียวกนไทยนำเข้าสินค้าจากสเปน เป็นมูลค่า 174.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงจากปีทผ่านมาร้อยละ -28.29 โดยมีรายละเอียดการนำเข้าสินค้า 5 อันดับแรกทมีมูลค่าสูงสุด ดังนี

ตารางแสดงมูลค่าการนำเข้าสินค้าจากสเปน 5 อันดับแรก ช่วง ม.ค.- มิ.ย. 2552
  สินค้า                     มูลค่า (Mil. USD)        สัดส่วน (%)      เปลี่ยนแปลง (%)
เคมีภัณฑ์                           24.9               14.28           -27.24
ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม         21.3               12.23           -41.61
เครองจักรกลและส่วนประกอบ          20.0               11.49           -36.27
สัตว์น1สด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูป       15.5                8.92          +466.77
สินค้าทุนอื่นๆ                        13.8                7.89          +132.72
ทมา: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสอสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

โดยสรุป ไทยได้ดุลการค้ากับสเปนเป็นมูลค่า 158.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในอัตราที่ลดลงร้อยละ -69.75

บทสรุป

ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2552 มูลค่าการส่งออกของไทยยังคงมีอัตราการขยายตัวติดลบอยู่สูงถึงร้อยละ -56.60 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ตาม ในช่วงก้าวผ่านไปสู่ครึ่งปีหลังเริ่มมีสัญญาณการปรับตัวทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นบ้างแล้วอันเป็นผลมาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากรัฐบาลของสเปนเองและประเทศอื่นๆ ทั่วโลก แต่ก็ถือว่ายังไม่หลุดพ้นจากภาวะถดถอยโดยสิ้นเชิงและยังคงมีความอ่อนไหวและความเสียงอย่างต่อเนื่องไปจนถึงกลางปี 2553 รวมทั้งต้องอาศัยระยะเวลาเยียวยาและพักฟื้นจนกว่าจะมีสภาพปกติอีกอย่างน้อย 2-3 ปี

สินค้าหลักของไทยในตลาดสเปน อาทิ เครื่งปรับอากาศ ยานยนต์และชิ้นส่วนยางพารา และ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ล้วนเป็นสินค้าที่อ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจขณะที่สินค้าที่มีความจำเป็นในการดำรงชีวิต เช่น อาหารและเครืองนุ่งห่ม ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจต่ำกว่าและยังมีศักยภาพในการขยายตลาดได้แม้อยู่ในภาวะถดถอยกก็ตาม แต่ก็มีปริมาณและสัดส่วนการส่งออกของไทยในตลาดนี้น้อย ไม่สามารถชดเชยกับมูลค่าสินค้าหลักที่สูญเสียไปได้

เมื่อถึงสิ้นปี 2552 คาดว่ามูลค่าการส่งออกของไทยไปยังสเปนทั้งปีจะขยายตัวติดลบร้อยละ -35 ถึง -30

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงมาดริด

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ