รายงานภาวะตลาดสินค้าเครื่องสำอางในรัฐดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday August 27, 2009 12:01 —กรมส่งเสริมการส่งออก

สินค้า : เครื่องสำอางสำหรับแต่งหน้า โลชั่นบำรุงรักษาผิว ครีมกันแสงแดดหรือทำให้ผิวคล้ำโลชั่นสำหรับมือและเท้า ครีมโกนนวด โลชั่นดับกลิ่นตัว สเปรย์ปรับอากาศ แชมพู ครีมนวดผม รักษาผม และสิ่งปรุงแต่งสำหรับใช้กับผม เอสเซนเชียลออยล์ สำหรับนวด ใช้ในสปาวัตถุดิบในอุตสาหกรรม รวมทั้งของปรุงแต่งอื่นๆ ที่มีสารที่มีกลิ่นหอมเป็นหลักชนิดที่ใช้สำหรับผลิตเครื่องดื่ม และหัวน้ำหอมและน้ำหอม

รหัสสินค้า : หมวด 33 (HS Code 3301,3302,3303,3304,3305,3306,3307)

ภาวะตลาดการบริโภค

สินค้าเครื่องสำอางกลุ่มนี้ที่รัฐดูไบนำเข้าแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทตามระดับราคาของสินค้า กล่าวคือ

  • ประเภทสินค้าราคาแพงที่มียี่ห้อดังเป็นที่รู้จักกันทั่วไป เช่น Estee Lauder, MAC
  • ประเภทราคาปานกลางเป็นเครื่องสำอางที่ผลิตจากประเทศอเมริกาและยุโรป สินค้าประกอบด้วยสมุนไพร บางสินค้าเน้นการโฆษณาว่าเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ
  • ประเภทสุดท้ายเป็นเครื่องสำอางสำหรับแต่งหน้าราคาถูก

เครื่องสำอางที่ไทยมีลู่ทางที่จะส่งไปจำหน่ายในรัฐดูไบจัดอยู่ในกลุ่มสินค้าคุณภาพปานกลาง มียี่ห้อที่ยังไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายนัก หรือสินค้าที่มีชื่อเสียงรู้จักกันดีแต่มีราคาไม่สูง สินค้ากลุ่มนี้ วางจำหน่ายตามร้านขายของใช้สตรี ร้านขายยา ตามซูเปอร์มาร์เกตขนาดใหญ่ ร้านHealth Store และร้าน จำหน่ายเฉพาะสินค้ภายใต้ยี่ห้อของตนเอง สินค้าที่วางจำหน่าย ได้แก่ เครื่องสำอางแต่งหน้า ครีมบำรุงผิว โลชั่นทาผิว แชมพู ยาทาเล็บ ซึ่งในขณะนี้สินค้ากลุ่มนี้ส่วนใหญ่นำเข้าจากอเมริกาและ กลุ่มประเทศยุโรป เช่น เยอรมัน อิตาลี สวิสเซอร์แลนด์ และอังกฤษเป็นต้น บรรจุภัณฑ์และการบรรจุ หีบห่อมีการออกแบบ รูปทรงทันสมัยและสีสันสวยงาม

เครื่องสำอางสำหรับแต่งหน้าจะเน้นสีและบรรจุภัณฑ์ที่สวยงามสะดุดตา เช่น ลิปสติก มาสคาร่า บรัชออน เป็นต้น

กลุ่มผู้ซื้อสินค้านี้ส่วนใหญ่เป็นผู้มีรายได้ระดับปานกลางถึงสูง เป็นกลุ่มผู้ซื้อ ที่ พิจารณาเห็นว่าสินค้าเครื่องสำอางนี้ผลิตจากประเทศที่พัฒนาแล้วแต่มีราคาถูกกว่าสินค้าที่มียี่ห้อดัง หรือเป็นสินค้าที่เป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติที่ไม่เป็นอันตรายต่อผิวพรรณ

สำหรับเครื่องสำอางราคาถูก ประกอบด้วยเครื่องสำอางสำหรับแต่งหน้า ยาทาเล็บ ส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศแถบเอเซีย สินค้าที่วางจำหน่ายกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ผลิตเป็นชุด ประกอบด้วย อายแชโดว์ บรัชออน มาสคาร่า ลิปสติก และยาทาเล็บ การวางจำหน่ายมีอยู่ในซูเปอร์มาร์เก็ต ตามตู้ขายสินค้ เครื่อง ประดับผม น้ำหอม และเครื่องสำอางที่ผู้ขายเช่าขายสินค้าในบริเวณห้างสรรพสินค้า ตามย่านขายเครื่องใช้ไฟฟ้าและเสื้อผ้า และในร้าน Discoutstore

สินค้าราคาถูกนี้มีการนำเข้าทั้งเพื่อจำหน่ายในประเทศและใช้เป็นสินค้าผ่านแดน สำหรับส่งออกต่อ (Re-Export)ไป อิหร่าน ลิเบีย กลุ่มประเทศอัฟริกา และกลุ่มประเทศซีไอเอส

ย่านตลาดขายส่งเครื่องสำอางของรัฐดูไบอยู่บริเวณ Fakree Market ซึ่งเป็น ส่วนหนึ่งของ Murshid Bazar ซึ่งเป็นย่านขายส่งสินค้าเสื้อผ้า รองเท้า เครื่องหนัง และอื่น ๆ ผู้ขายปลีกในประเทศ จะสั่งซื้อสินค้าเครื่องสำอาง เครื่องประดับเทียม และสินค้าจุกจิกอื่น ๆ จากย่านนี้เพื่อ ไปขายปลีกในร้านค้า

การวางจำหน่ายสินค้า

จะวางรวมกันเป็นจำนวนมากไม่มีการบรรจุกล่องแยกสินค้าเป็นชิ้นๆ เช่น วางลิปสติกหลายแท่งรวมในกล่องเป็นช่องเสียบลิปสติก ยาทาเล็บวางเป็นขวดๆ ในกล่อง ทั้งนี้ ผู้ส่งออกเครื่องสำอาง ราคาถูกจะจัดส่งมาพร้อมกล่องหรือถาดสำหรับ Display สินค้า เพื่อส้างภาพลักษณ์สินค้าให้ชวนซื้อ อีกทั้ง บรรจุภัณฑ์ออกแบบให้สีสด สวยงาม รูปแบบสะดุดตา

เครื่องสำอางสำหรับแต่งหน้าในกล่องใหญ่มีสินค้าเป็นชุดเป็นสินค้าที่มีจำหน่ายมากที่สุด มีการออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้มีหลายชั้นหลายช่อง บรรจุอายแชว์โดว์หลายโทนสี เช่น โทนส้ม/น้ำตาล โทนชมพู/แดง มีลิปสติกชนิดเป็นครีมบรรจุในช่อง พร้อมกับบรัชออนทาแก้มสีเข้าชุดกัน นอกจากนั้นมีมาสคาร่า แป้งแข็ง และอายไลน์เนอร์ สำหรับเครื่องสำอางชุดเล็กลงมามีเฉพาะอายแชโดว์ บรัชออน ลิปสติก จนถึงชุดเล็กมีเฉพาะอายแชว์โดว์หลายสี ลิปสติกหลายสี ในกล่องเดียวกัน สุดท้ายเป็นบรัชอออนสีเดียว/อายแชว์โดว์สีเดียวบรรจุในกล่องพลาสติกฝาใสมองเห็นสินค้าภายใน

บรรรจุภัณฑ์ของเครื่องสำอางราคาถูกชนิดชุดกล่องใหญ่นี้ มีการออกแบบสวยงาม ที่พบเห็นมาก ในตลาดแล้วส่วนใหญ่จะใช้กล่องสีดำ เครื่องสำอางจากไต้หวัน มีบรรจุภัณฑ์สวยงาม เลียนแบบสินค้ายี่ห้อดัง ทำให้ได้รับความนิยมซื้อหากันมาก นอกจากนี้ผู้ผลิตจีนได้เดิน ทางไปเปิดขาย ส่ง/ปลีกในย่านตลาดขายส่งรัฐดูไบ

สถิติการนำเข้า

จากสถิติ Dubai External Trade Statistics 2007 ฉบับปีล่าสุด ระบุการนำเข้าสินค้าเครื่องสำอางกลุ่มนี้ทั้งสิ้นมูลค่า 350 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยนำเข้าจากประเทศต่างๆและมีสัดส่วนตลาดมากน้อยนี้ดังนี้

การส่งออกของไทย

สถิติการการส่งออกของไทยปรากฏมูลค่าการส่งออกสินค้าเครื่องสำอางทั้งสิ้นของไทยไปยูเออีมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง กล่าวคือ ปี 2549 มูลค่า 19 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปี 2550 มูลค่า 22.8 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นอัตราการขยายตัวในเชิงมูลค่าร้อยละ 22 ปี 2551 ส่งออกเพิ่มเป็นมูลค่า 28 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 23

สำหรับส่งออกในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน 2552 มูลค่า 8.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อัตราการขยายตัวในเชิงมูลค่าร้อยละ 35 ชนิดของเครื่องสำอางค์ที่ยูเออีนำเข้าจากไทยเรียงตามสัดส่วนการนำเข้ามากน้อยได้แก่

  • เครื่องสำอางสำหรับแต่งหน้า โลชั่นบำรุงรักษาผิว ครีมกันแสงแดดหรือทำให้ผิวคล้ำโลชั่นสำหรับมือและเท้า คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 40
  • ครีมโกนหนวด โลชั่นดับกลิ่นตัว สเปรย์/น้ำหอมปรับอากาศ หรือร้อยละ 29
  • แชมพู ครีมนวดผม รักษาผม และสิ่งปรุงแต่งสำหรับใช้กับผม หรือร้อยละ 22
  • เอสเซนเชียลออยล์ สำหรับนวด ใช้ในสปา หรือร้อยละ 2.4
  • วัตถุดิบในอุตสาหกรรม รวมทั้งของปรุงแต่งอื่นๆ ที่มีสารที่มีกลิ่นหอมเป็นหลักชนิดที่ใช้สำหรับผลิตเครื่องสำอางและเครื่องดื่ม หรือร้อยละ 0.7
  • หัวเชื้อน้ำหอมและน้ำหอม หรือร้อยละ 0.2
การผลิต /การส่งออก และการส่งออกต่อ

มีโรงงานผลิตเครื่องสำอางในเขตอุตสาหกรรมเพิเศษจีเบลอาลีรัฐดูไบส่งออกไปประเทศในเขตอ่าวอาหรับ และอีกส่วนเพื่อสำหรับใช้จำหน่ายในประเทศ ปี 2550 มีมูลค่าการส่งออกปรมาณ 99 ล้านเหรียญสหรัฐ ประเทศที่ส่งออกได้แก่ อินเดีย อียิปต์ ซาอุดิอาระเบีย คูเวต ออสเตรเลีย ซูดาน เบลเยี่ยม โมรอคโค อังกฤษ และเบลเยียม เป็นต้น

สินค้าที่นำเข้าบางส่วนเพื่อสำหรับใช้ส่งออกต่อ (Re-export) โดยมีตลาดรองรับที่สำคัญคืออิหร่าน สหรัฐอเมริกา เขตอุตสาหกรรมพิเศษ Jebel Ali Free Zone, อินเดีย เบลเยี่ยม แคนาดา ฮ่องกง ออสเตรเลีย เยอรมัน สาธารณรัฐเชค ตามลำดับ

ช่องทางการนำเข้า

1. ผู้นำเข้า/ผู้ค้าส่ง ซึ่งนำเข้าสินค้าเวชภัณฑ์ สินค้าเพื่อสุขภาพและ เครื่องสำอางโดยเป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องสำอางเพื่อจำหน่ายให้กับร้านค้าทั่วไป

2. ผู้ค้าเครื่องสำอาง/เครื่องประดับ/เสื้อผ้านำเข้าเอง เป็นผู้นำเข้าสินค้า หลายชนิด เช่น เครื่องสำอาง เครื่องประดับเทียม จะนำเข้าสินค้าแต่ละครั้งมี จำนวนมากเพื่อจำหน่ายให้กับร้านค้าทั่วไป และส่งออกต่อ (Re-Export) ไปประเทศ ใกล้เคียงทั้งโดยการขายส่งให้กับพ่อค้าจากประเทศต่าง ๆ ที่เดินทางเข้ามาเลือกหา ซื้อสินค้าในรัฐดูไบและนำติดตัวกลับออกไป (Cash & Carry) ผู้ซื้อในรูปนักท่องเที่ยว 0กกลุ่มประเทศ CIS เป็นลูกค้ากลุ่มใหญ่ซื้อสินค้าจากผู้นำเข้ากลุ่มนี้

3. นายหน้าค้าต่าง (Commission Agent) เป็นผู้รวบรวมคำสั่งซื้อ จากผู้ซื้อรายย่อยหลายราย เพื่อสั่งซื้อกับผู้ผลิต โดยคิดค่านายหน้าประมาณร้อยละ 1-3

ผู้นำเข้านิยมให้เสนอราคา ซีไอเอฟดูไบ เป็นเงินเหรียญสหรัฐ ฯ

รายชื่อผู้นำเข้าเครื่องสำอางปรากฏตามเอกสารแนบ

กฏเกณฑ์และระเบียบการนำเข้า

1. รัฐบาลรัฐดูไบเรียกเก็บภาษีขาเข้าสินค้าเครื่องสำอางร้อยละ 5 จากราคาซีไอเอฟดูไบ มีเอกสารประกอบการนำเข้า ได้แก่ INVOICE, CERTIFICATE OF ORIGIN ประทับตรา รับรองจากหอการค้าไทย และจะต้องผ่านการ LEGALIZE จากสถานทูตประเทศสหรัฐอหารับ เอมิเรตส์ในประเทศไทย BILL OF LADING และ PACKING LIST

2. การให้สิทธิพิเศษทางศุลกากร : ไม่มี

การแข่งขัน

ราคาของเครื่องสำอางไทยสามารถแข่งขันได้ แต่ต้องพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้สวยงาม ทันสมัยโดยเฉพาะกล่องเครื่องสำอางแต่งหน้า เช่น แป้งผัดหน้า อายแชโดว์ และลิปสติก เพราะสินค้าของไต้หวัน และเกาหลีผลิตสินค้าคุณภาพเดียวกับไทย แต่ออกแบบบรรจุภัฑณ์ ได้สวยงาม ตัวหนังสือคมชัด อ่านง่าย หากเป็นสินค้าเครื่องสำอางสมุนไพรหรือสำหรับใช้ในสปา ส่วนใหญ่มีอายุการผลิตสั้น

ฤดูกาลจำหน่าย

ฤดูกาลที่ซื้อหาเครื่องสำอางมีเกือบตลอดปี แต่ช่วงที่จะซื้อกันมาก คือในช่วงระยะเวลา ดังต่อไปนี้

1. ช่วงเทศกาลหลังฤดูถือศีลอด (Eid Al Fitr) และช่วงหลังกลับจาก ประกอบพิธีฮัจจ์ (Eid Al Adha) ซึ่งเป็นเทศกาลที่สำคัญของชาวมุสลิม

2. ช่วงเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม ชาวต่างชาติจำนวนมากที่ ทำงานอยู่ในยูเออีมักจะเดินทางกลับไปเยี่ยมบ้านในช่วงเวลานี้ จะนิยมซื้อหาเครื่องสำอางเป็นของฝากของขวัญ

สรุป

1. มูลค่าการนำเข้าสินค้าจากไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ขณะนี้สินค้าไทย มีราคาถูกกว่าสินค้าจากไต้หวัน เกาหลี ซึ่งเคยนำเข้ามากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่สินค้าจากไทยจะต้องมีการปรับปรุงบรรจุ ภัณฑ์ให้สวยงามตรงกับความต้องการของตลาดมากขึ้น เพราะสินค้าจากประเทศยุโรป หรือจากเอเซียอื่นๆมีการปรับปรุงรูปแบบ กลิ่น สี ให้เหมาะสมกับความนิยมของตลาดอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นสินค้าของไทย ที่สามารถจะเข้าตลาดนี้ได้นั้น จัดอยู่ในระดับเดียวกับสินค้าจากไต้หวัน เกาหลี หรือสินค้าคุณภาพเดียวกับไทย ที่ต้องเน้นรูปแบบ บรรจุภัณฑ์ให้สวยงาม ตั้งราคาให้เหมาะสมแข่งขันกับสินค้าระดับเดียวกันได้ เพื่อให้ผู้นำเข้าสามารถนำไปใช้จำหน่ายและเป็นสินค้าส่งออกต่อได้ต่อไป

2. แผนการตลาดที่จะให้ผู้นำเข้ารู้จักสินค้าเครื่องสำอางมากขึ้นนั้น นอกจากการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์โดย ส่งเอกสารแคตาลอก ของบริษัทโดย ตรงถึงลูกค้าแล้ว การเผยแพร่สินค้าโดยเข้าร่วมงานแสดง สินค้าที่จัดขึ้นในตลาดต่างประเทศ เช่น งาน Gulf Beauty ในรัฐดูไบ ก็เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่จะแนะนำสินค้าให้รู้จักได้มากที่สุด ทั้งยังเป็นอีกโอกาสของ ผู้ผลิตผู้ส่งออกที่จะได้ทำการศึกษาตลาด สำรวจความนิยมความต้องการผู้บริโภค โดยตรง ได้สัมผัสทำความรู้จักกับผู้นำเข้าโดยตรงอันเป็นโอกาสที่จะสร้างความ สัมพันธ์ที่ดี ใน การการค้าต่อไป

3. สินค้าไทยที่มีแนวโน้มเจาะตลาดยูเออีได้มากขึ้น คือ เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสมุนไพร เนื่องจากมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวแตกต่างจากสินค้าของประเทศอื่นๆ นอกจากเครื่องสำอางค์สำหรับแต่งหน้าแล้ว เครื่องสำอางสปา และสมุนไพรหรือ ผลิตภัณฑ์จาก ธรรมชาตินั้นได้รับความนิยมในประเทศนี้เช่นกัน

4. เครื่องสำอางราคาแพงและเครื่องสำอางราคาถูก มักมียอดจำหน่ายดีกว่าเครื่องสำอางราคาปานกลางเนื่องจากมีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายชัดเจน

โดย สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองดูไบ

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ