สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศไทย - อิหร่าน ปี 2552 (ม.ค.—ส.ค.) สรุปจากสถิติ Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday October 6, 2009 14:36 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ข้อมูลทั่วไป:
เมืองหลวง        :  Tehran
พื้นที่             :  163.6 m ha
ภาษาราชการ      :  Persian (Farsi)
ประชากร         :  69.4 ล้านคน (2005)

(1) เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ

ปี 2551 ปี 2552

Real GDP growth (%)                                6.5         0.5
Consumer price inflation (av; %)                  25.5        19.1
Official net budget balance  (% of GDP)           -3.5        -4.7
Unofficial gross budget balance (% of  GDP)       13.3         2.1
Current-account balance (% of GDP)                 5.7         0.3
Commercial banks' lending rate                    12.0        12.0
Exchange rate IR:US$ (av)                      9,429.0     9,645.0

โครงสร้างสินค้าส่งออกของไทยกับอิหร่าน
                                   มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น                    488.51          100.00          26.00
สินค้าเกษตรกรรม                       23.60            4.83         -55.28
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร               20.58            4.21         -23.36
สินค้าอุตสาหกรรม                      444.18           90.93          44.29
สินค้าแร่และเชื้อเพลิง                     0.14            0.03         -39.44
สินค้าอื่นๆ                                 0               0        -100.00

โครงสร้างสินค้านำเข้าของไทยกับอิหร่าน
                                         มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

นำเข้าทั้งสิ้น                               175.68           100.00          14.41
สินค้าเชื้อเพลิง                              87.66            49.90       5,310.84
สินค้าทุน                                    0.46             0.26           6.33
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป                    86.79            49.40         -41.77
สินค้าบริโภค                                 0.77             0.44         -68.67
สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์                         0                0       7,154.76
สินค้าอื่นๆ                                      0                0
ข้อสังเกต : 1. สำหรับสินค้าเชื้อเพลิง ในปี 2552 (มค.- สค.) มีมูลค่าการนำเข้า  87.66 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน มีการนำเข้าเพียง 1.62 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จึงทำให้มีอัตรา

การขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 5,310.84

2. สำหรับสินค้ายานพาหนะฯ ในปี 2551 และ 2552 ไม่มีการนำเข้า ในขณะที่ปี 2550 มีมูลค่าการนำเข้า 0.39

ล้านเหรียญสหรัฐฯ จึงทำให้มีอัตรา การขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 7,154.76

1. มูลค่าการค้า
มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย - อิหร่าน
                           2551           2552           %

(ม.ค.—ส.ค.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการค้ารวม              541.26         664.18        22.71
การส่งออก                  387.71         488.51        26.00
การนำเข้า                  153.55         175.68        14.41
ดุลการค้า                   234.16         312.83        33.59

2. การนำเข้า อิหร่านเป็นตลาดนำเข้าอันดับที่ 40 ของไทย มูลค่า 175.68  ล้านเหรียญสหรัฐ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.41 สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                            มูลค่า :        สัดส่วน %       % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม                           175.68           100.00          14.41
1.เคมีภัณฑ์                                   59.77            34.02         -56.70
2.น้ำมันดิบ                                   35.31            20.10       5,095.79
3.ก๊าซธรรมชาติ                               26.69            15.19
4.น้ำมันสำเร็จรูป                              25.62            14.58
5.ปุ๋ย และยากำจัดศัตรูพืชและสัตว์                  12.60             7.17
       อื่น ๆ                                 0.03             0.02         -99.71

3. การส่งออกอิหร่านเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 30 ของไทย มูลค่า 488.51 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 26 สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                          มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการส่งออกรวม                          488.51           100.00          26.00
1.เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์                   152.27            31.17       1,046.85
2.เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์                        98.50            20.16          -4.91
3.เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์                   42.70             8.74          64.18
4.เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ               34.27             7.02         -42.68
5.เม็ดพลาสติก                               20.48             4.19          44.64
               อื่น ๆ                       22.97             4.70         -40.48
ข้อสังเกต : 1. สำหรับสินค้าคอมพิวเตอร์ ในปี 2552 (มค.- สค.) มีมูลค่าการส่งออก  152.27 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนมีการส่งออกเพียง 13.28 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จึงทำให้มีอัตรา

การขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 1,046.85

4. ข้อสังเกต
4.1 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปอิหร่าน ปี 2552 (มค.- สค.) ได้แก่

เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ : อิหร่านเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 11 ของไทย และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2549 — 2552 (ม.ค.- ส.ค.) พบว่าปี 2549 เป็นครั้งแรกที่มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 50.84 ในขณะที่ปี 2550 2551 และ 2552 (ม.ค.- ส.ค.) มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น 142.92 21.95 และ 1,046.85 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของ ปีก่อน

เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ : อิหร่านเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 4 ของไทย และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2549 — 2552 (ม.ค.- ส.ค.) พบว่า ปี 2552 (ม.ค.-ส.ค.) เป็นครั้งแรกที่มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 4.91 ในขณะที่ปี 2549 2550 และ2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 55.04 122.57 และ 4.18 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ : อิหร่านเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 18 ของไทย และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2549 — 2552 (ม.ค.- ส.ค.) พบว่าปี 2551 เป็นครั้งแรกที่มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 33.16 ในขณะที่ปี 2549 2550 และ 2552 (ม.ค.-ส.ค.) มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 45.71 111.25 และ 64.18 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ : อิหร่านเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 15 ของไทย และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2549 — 2552 (ม.ค.- สค.) พบว่าปี 2552 (มค.-สค.) เป็นครั้งแรกที่มีอัตราการขยายตัว ลดลงร้อยละ 6.91 ในขณะที่ปี 2549 2550 และ2551 มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 30.99 65.09 และ 0.14 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

เม็ดพลาสติก : อิหร่านเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 22 ของไทย และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2549 — 2552 (ม.ค.- ส.ค.) พบว่าปี 2549 เป็นครั้งแรกที่มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 14.48 ในขณะที่ปี 2550 2551 และ2552 (ม.ค.-ส.ค.) มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 80.58 93.08 และ 44.64 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

4.2 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดอิหร่าน ปี 2552 (ม.ค.-ส.ค.) 25 รายการแรก สินค้าที่มี
อัตราเพิ่มสูง มีรวม 14 รายการ คือ

2551 2552

       อันดับที่ / รายการ                       (ม.ค.- สค.)        อัตราการขยายตัว    หมายเหตุ
                                           ล้านเหรียญสหรัฐ              %
1.เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์                  13.28     152.27         1,046.85
3.เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์                 26.01      42.70            64.18
5.เม็ดพลาสติก                             14.16      20.48            44.64
6.ยางพารา                               14.25      14.29             0.25
7.ผลไม้กระป๋องและแปรรูป                     9.86      10.47             6.26
9.เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ                 1.57       8.56           444.73
10.ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ               5.36       7.67            42.96
12.ผลิตภัณฑ์ยาง                             2.32       6.92           198.64
13.ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์                     1.24       6.02           386.50
15.แก้วและกระจก                           3.57       5.54            55.05
19.เครื่องซักผ้าและเครื่องซักแห้ง                2.38       4.09            71.75
22.กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ                 2.65       2.84             7.53
23.รองเท้าและชิ้นส่วน                        0.52       2.32           344.21
24.ตาข่ายจับปลา                            1.00       2.30           131.02
25.ผักกระป๋องและแปรรูป                      1.56       2.29            47.13

4.3  ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดอิหร่าน ปี 2552 (ม.ค.-ส.ค.) 25 รายการแรก สินค้า
ที่มีอัตราลดลง รวม 10 รายการ คือ
     อันดับที่ / รายการ                              มูลค่า         อัตราการขยายตัว
                                             ล้านเหรียญสหรัฐ           %
2. เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ                  98.50            -4.91
4. เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ                     34.27           -42.68
8. เส้นใยประดิษฐ์                                   10.10           -28.55
11. ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้                                 7.47            -6.10
14. ข้าว                                           5.80           -83.85
16. เตาอบไมโครเวฟและเครื่องใช้ไฟฟ้า                   5.15           -12.88
17. รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ                       4.87            -4.03
18. น้ำตาลทราย                                     4.10           -56.14
20. ผลิตภัณฑ์พลาสติก                                  3.29            -4.76
21. เครื่องคอมเพรสเซอร์ของเครื่องทำความเย็น             3.23           -23.57

4.4  ข้อมูลเพิ่มเติม
โอกาสและอุปสรรคการส่งออกสินค้าอาหารในอิหร่าน

1. สินค้าข้าว ในปี 2551 อิหร่านได้เปลี่ยนกฎระเบียบการนำเข้าข้าวใหม่ โดยเปิดโอกาสให้เอกชนอิหร่านนำเข้าข้าวจากไทยแทน General Trade Corporation หรือ GTC ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐบาลอิหร่าน เพื่อนำไปขายให้ประชาชนอิหร่านที่มีรายได้น้อยในราคาพิเศษ สำหรับตลาดข้าวหอมมะลิไทยนั้น ยังไม่สามารถขยายตัวได้มากนัก เนื่องจากชาวอิหร่านนิยมข้าวเมล็ดยาวและร่วนซุย ไม่เหนียวติดกัน จึงนิยมบริโภคข้าวบาสมาติของอินเดียและปากีสถาน

2. อาหาร/ผักผลไม้กระป๋อง/อาหารสำเร็จรูป เมื่อพิจารณาจากจำนวนประชากรและกำลังการซื้อ รวมทั้งการที่บริษัทต่างชาติที่เข้าสู่ตลาดผลิตภัณฑ์อาหารในอิหร่านยังไม่มีสินค้าที่หลากหลายเท่ากับไทย จึงทำให้อิหร่านยังมีศักยภาพสูงในการพัฒนาและขยายตลาดสินค้าไทยได้อีกมาก แม้จะเริ่มมีคู่แข่งจากจีน แต่ผู้บริโภคอิหร่านมั่นใจในคุณภาพและความปลอดภัยของอาหารไทยมากกว่า

สินค้าปลาทูน่ากระป๋อง อิหร่านมีการบริโภคปลาทูน่ากระป๋องสูงมาก โดยมีจำนวนผู้บริโภคมากกว่ากำลังผลิต อีกทั้งผู้ผลิตปลาทูน่ากระป๋องของอิหร่านไม่สามารถผลิตสินค้าได้มาตรฐานสูงเท่ากับไทย

3. สินค้าผักและผลไม้ อิหร่านเป็นผู้ผลิตอาหาร สินค้าเกษตรและผักผลไม้ที่สำคัญในตะวันออกกลางและมีผลผลิตเพียงพอในการบริโภคภายในประเทศ จึงนำเข้าสินค้าเหล่านี้น้อย ดังนั้น การนำเข้าผลไม้ต่างชาติสู่ตลาดอิหร่านจึงมีอุปสรรคค่อนข้างมากในการขอใบอนุญาตยกเว้นผลไม้ต่างชาติที่ ติดตลาดอิหร่านแล้ว เช่น สับปะรด กีวี กล้วยหอม มะขาม และมะม่วง เป็นต้น

แม้ทั่วโลกจะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจแต่กลุ่มประเทศมุสลิมถือว่าเป็นกลุ่มที่ยังมีกำลังซื้ออยู่ ดังนั้นสินค้าอาหารที่ส่งเข้าไปจะต้องมีเครื่องหมาย "ฮาลาล" และต้องได้รับการรับรองว่าปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ทางศาสนา ที่ผ่านมาผู้ประกอบการไทยที่ได้รับตราฮาลาล มี 3,000 ราย แต่มีน้อยรายมากที่สามารถส่งออกเข้าไปในตลาดมุสลิมได้ อิหร่าน ถือเป็นประเทศที่มีความโดดเด่น น่าจะเป็นศูนย์กลางในการกระจายสินค้าจากไทยไปยังประเทศตะวันออกกลาง รวมถึงรัสเซีย ทั้งนี้ อิหร่านค่อนข้างมีทัศนคติที่ดีกับไทย มีร้านอาหารไทยในกรุงเตหะราน รวมทั้งยังชอบ "ต้มยำกุ้ง" แต่ปรากฏว่าผู้ส่งออกไทยมีน้อยรายที่สนใจส่งสินค้าไปอิหร่าน ที่ผ่านมามีสินค้าข้าว แต่ปัจจุบันถูกปากีสถาน และอินเดีย แย่งตลาดข้าวไปแล้ว ขณะนี้อิหร่านยังสนใจจะให้เปิดร้านอาหารไทยในเมืองเอสฟาฮาน ซึ่งเป็นเมืองท่องเที่ยวของอิหร่าน

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ