ไมอามี่ได้ชื่อว่าเป็น Capital of the Latin America เนื่องจากตั้งอยู่ในทำเลที่สะดวกสำหรับการไปมาหาสู่กับกลุ่มประเทศในอเมริกากลางและอเมริกาใต้ที่พูดภาษาสเปนเป็นภาษาประจำชาติและมีวัฒนธรรมที่ได้รับอิทธิพลมาจากการครอบครองของสเปนมาก่อน กลุ่มประชากรที่มาจากประเทศเหล่านี้หรือในปัจจุบันอาจสืบเชื้อสายมาถึงรุ่นที่3-4 มีชื่อเรียกตามกลุ่มวัฒนธรรมว่า Hispanic ซึ่งเป็นกลุ่มเชื้อสายต่างชาติหรือ “ชนกลุ่มน้อย” (Ethnic Minority) ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในอเมริกาและมีแนวโน้มว่าจะกลายเป็นชนกลุ่มหลักของอเมริกาในไม่ช้า เฉพาะในเขตเมืองไมอามี่ (Miami Dade County) มีประชากร Hispanic ซึ่งมีที่มาจากประเทศต่างๆรวมกันถึง 1.496 ล้านคนในปี 2008 นากจากนั้นยังมีแนวโน้มการโยกย้ายถิ่นฐานออกไปยังเมืองใกล้เคียงที่กำลังขยายตัวเพิ่มขึ้นอีก สภาพสังคมของไมอามี่จึงแตกต่างจากเมืองสำคัญอื่นๆในสหรัฐอเมริกาเป็นผลให้การบริโภคมีความแตกต่างไปด้วย
วัฒนธรรม Hispanic ทำให้เกิดตลาดเฉพาะกลุ่มเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการสินค้าเหมือนในถิ่นเดิมหรือตรงกับรสนิยมของตน หากเปรียบเทียบกับคนไทยในต่างแดนที่ยังต้องการอาหารเสื้อผ้าของใช้ของไทยอยู่ก็จะเข้าใจความรู้สึกของคน Hispanic ได้เช่นกัน
ในโอกาสนี้จะยกตัวอย่างถึงเฉพาะสินค้าอาหารซึ่งแต่ละชาติก็จะมีอาหารประจำชาติของตนเองที่รสชาดอาจแตกต่างหรือคล้ายคลึงกันไม่มากไม่น้อยขึ้นอยู่กับเครื่องเทศที่ใช้ อาหารแมกซิกันเป็นตัวอย่างหนึ่งของอาหาร Hispanic แต่ไม่สามารถเป็นตัวแทนของกลุ่ม Hispanic ทั้งหมดได้เพราะยังมีอีกหลายเชื้อชาติ
ไมอามี่เป็นศุนย์รวมของผู้บริโภค Hispanic และการสร้าง trend ของตลาด Hispanic ทั้งในและนอกสหรัฐฯ การศึกษาตลาดกลุ่มเชื้อชาติต่างๆได้แสดงให้เห็นว่าสินค้าอาหารที่ชาว Hispanic บริโภคโดยทั่วไปไม่แต่เพียงที่ไมอามี่ อาจจะจำแนกได้เป็น 2 ลักษณะใหญ่คือ กลุ่มอาหารที่อยู่ในตลาด Mainstream อยู่แล้วหรือไทยผลิตอยู่แล้ว เช่น สับปะรดกระป๋อง อาหารทะเลกระป๋อง กะทิ น้ำมะพร้าว อาหารทะเลแช่แข็ง เป็นต้น กับอีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มอาหารพื้นเมือง ซึ่งผู้ผลิตไทยอาจจะยังไม่คุ้นเคยนักแต่ก็ไม่เกินความสามารถที่จะผลิตได้เพราะขนาดขนมจีบหรือเทมปุระก็ยังผลิตส่งออกมาแล้ว อาหาร Hispanic บางอย่างคล้ายคลึงกับอาหารไทยผสมฝรั่ง เช่น กะหรี่ปั๊ปหรือพายต่างๆซึ่งสอดใส้ผลไม้กวนหรือเนื้อสัตว์ผสมมันฝรั่ง อาจเป็นเพราะได้รับอิทธิพลตะวันตกมาเหมือนกัน ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้มากที่ผู้ผลิตไทยจะผลิตอาหารสำหรับตลาด Hispanic ได้โดยเพียงการศึกษาและพัฒนาเพียงเล็กน้อยให้เข้ากับรสนิยมและวิถีชีวิตของผู้บริโภคที่มีอยู่ในทุกระดับราคาและกระจายไปในทุกภูมิภาคของสหรัฐฯ ที่สำคัญนั้นการไปมาหาสู่ของญาติมิตรจากบ้านเดิมยังเป็นสื่อโฆษณาที่ดีให้กับสินค้าไทยได้อีกด้วย
ข้อมูลต่อไปนี้จะให้ภาพของการผสมผสานของกลุ่มชนที่มีถิ่นฐานเดิมมาจากประเทศต่างๆมารวมกันเป็นความโดดเด่นของไมอามี่และพอจะบอกได้ว่ารัฐฟลอริด้าภาคใต้มีสภาพสังคมอย่างไร ในขณะที่ประชากรเชื้อสาย Hispanic ในไมอามี่มีมากถึงกว่าล้านคน (ประมาณ 62%) ส่วนกลุ่ม White non-Hispanic มีเพียง 18% และกลุ่มเชื้อสาย African American อีกประมาณ 19%
ผู้ส่งออกที่สนใจการเข้าตลาด Hispanic โปรดติดต่อสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองไมอามี่ ([email protected])
ที่มา: http://www.depthai.go.th