ภาวะการค้าไทย—ลักเซมเบอร์ก 9 เดือน (มกราคม—กันยายน) ปี 2552 และการแข่งขันของสินค้าไทยบางรายการ

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday November 19, 2009 14:51 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ประเทศลักเซมเบอร์กเป็นประเทศเล็กที่สุดในสมาชิกกลุ่ม Benelux (มีพื้นที่ 2,586 ตารางกิโลเมตร)ในปี 2551 มีประชากร 4.8 แสนคน รายได้ประชากรต่อคนในปี 2551 ประมาณ 82,441 เหรียญสหัฐฯ

การค้าไทย — ลักเซมเบอร์ก มีมูลค่าการค้าระหว่างกันโดยตรงน้อย เนื่องจากลัมเซมเบอร์กเป็นประเทศ Landlocked และนำเข้าสินค้าจากประเทศนอกทวีปยุโรปผ่านประเทศใกล้เคียง ได้แก่ เบลเยี่ยม ฝรั่งเศส เยอรมนี และ เนเธอร์แลนด์

1. ภาวะการค้าไทย — ลักเซมเบอร์ก ในช่วง 9 เดือน (มกราคม — กันยายน) ปี 2552 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ปี 2551 ดังนี้

มูลค่าการค้ารวม 17.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.67 (ปี 2551 มูลค่ารวม 17.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

1) การส่งออกของไทย — มูลค่ารวม 5.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ —15.87 (ปี 2551 มูลค่ารวม 6.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

2) การนำเข้าของไทย - มูลค่ารวม 12.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ร้อยละ +16.67 (ปี 2551 มูลค่ารวม 10.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

3) ดุลการค้า — ไทยขาดดุลการค้ากับลักเซมเบอร์ก มูลค่ารวม — 7.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขาดดุลร้อยละ —62.22 (ปี 2551 ไทยขาดดุลการค้ามูลค่ารวม -4.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

ตารางที่ 1 : มูลค่าการค้าและดุลการค้าระหว่างไทย-ลักเซมเบอร์ก ในช่วง 9 เดือน (มกราคม-กันยายน) ปี 2552
(มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
                  2551           2552           %
               (ม.ค.-ก.ย.)    (ม.ค.-ก.ย.)     เพิ่ม/ลด
การค้ารวม          17.1           17.9           4.67
ไทยส่งออก           6.3            5.3         -15.87
ไทยนำเข้า          10.8           12.6          16.67
ดุลการค้า           -4.5           -7.3         -62.22

สินค้ารายการสำคัญที่ไทยส่งออก

1) ภาพรวมสินค้าที่ไทยส่งออกไปลักเซมเบอร์ก 5 รายการแรก ได้แก่ แก้วและกระจกเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เสื้อผ้าสำเร็จรูป อัญมณีและเครื่องประดับ หลอดไฟฟ้า (ไทยส่งออกรวม 7 รายการ)

ตารางที่ 2 : รายการสินค้าที่ไทยส่งออกไปลักเซมเบอร์ก ในช่วง 9 เดือน(มกราคม-กันยายน)ปี 2552

          ลำดับ          รายการสินค้า                                 มูลค่า            อัตรา

(ม.ค.-ก.ย.2552) การขยายตัว

                                                                 (ล้าน USD)          (%)
              1     แก้วและกระจก                                     3.5           -36.69
              2     เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ                0.8              -*
              3     เสื้อผ้าสำเร็จรูป                                    0.3           280.97
              4     อัญมณีและเครื่องประดับ                               0.2           -46.90
              5     หลอดไฟฟ้า                                        0.1            26.46
              6     ยางพารา                                         0.1               -*
              7     เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์                           0.1           -50.30
  • ไม่ปรากฏมูลค่าการนำเข้าในช่วงเดียวกันของปี 2551

สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร ไม่ปรากฏรายการและมูลค่าการส่งออก

สินค้าอุตสาหกรรม รายละเอียดดังตารางข้างต้น

สินค้าที่ไทยนำเข้าจากลักเซมเบอร์ก — ในช่วง 9 เดือน (มกราคม—กันยายน ปี 2552 มูลค่ารวม 12.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ +16.67 เมื่อเทียบกับการนำเข้าในช่วงเดียวกัน ปี 2551 (มูลค่ารวม 10.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ดังมีรายการสินค้า (ที่มีมูลค่าตั้งแต่ 0.1 ล้านเหรียญฯ ขึ้นไป 10 รายการแรก) ได้แก่ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์โลหะ เคมีภัณฑ์ (รายละเอียดดังตารางที่ 3 )

ตารางที่ 3 : รายการสินค้าที่ไทยนำเข้าจากลักเซมเบอร์ก ในช่วง 9 เดือน (มกราคม-กันยายน) ปี 2552 10 รายการ

  ลำดับ        รายการสินค้า                                มูลค่า             อัตรา

(ม.ค.-ก.ย.2552) การขยายตัว

                                                      (ล้าน USD)          (%)
    1    เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์                           9.3            371.10
    2    เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ                          1.3            -78.69
    3    สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์                   0.5             -2.86
    4    ผลิตภัณฑ์โลหะ                                      0.3            -64.59
    5    เคมีภัณฑ์                                          0.2            -37.45
    6    เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด                                  0.2            223.82
    7    สินค้าทุนอื่น ๆ                                      0.2             33.39
    8    รถไฟ อุปกรณ์และส่วนประกอบ                          0.1            124.00
    9    ผ้าผืน                                            0.1            -52.18
   10    ผลิตภัณฑ์ทำจากพลาสติก                               0.1            -49.72

2. ภาวะการค้าระหว่างประเทศของลักเซมเบอร์ก ช่วง 6 เดือน (มกราคม-มิถุนายน) ปี 2552

2.1 ลักเซมเบอร์กนำเข้ามูลค่ารวมทั้งโลก 12,189.87 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ -25.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี 2551

  • ประเทศที่เป็นแหล่งนำเข้าสำคัญ 5 ประเทศแรกตามลำดับ ได้แก่ จีน (ส่วนแบ่งการนำเข้า ร้อยละ 24.5 เบลเยี่ยม (ร้อยละ 23.93) เยอรมนี (ร้อยละ 19.74) ฝรั่งเศส (ร้อยละ8.36) เนเธอร์แลนด์ (ร้อยละ 4.62) ไทย (ร้อยละ 0.02 อันดับที่ 42)
  • ประเทศในทวีปเอเชียที่ลักเซมเบอร์กนำเข้ามากเรียงตามลำดับ ได้แก่ จีน (ส่วนแบ่งการนำเข้าร้อยละ 24.5) ฮ่องกง (ร้อยละ 3.21) ญี่ปุ่น (ร้อยละ 0.25) ไต้หวัน (ร้อยละ 0.12) อินเดีย (ร้อยละ 0.08) ไทย (ร้อยละ 0.02)

2.2 การส่งออกมูลค่ารวม 10,000.57 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ -23.15 ประเทศคู่ค้าสำคัญ 5 ประเทศแรก ได้แก่ เยอรมนี (ส่วนแบ่งการส่งออก ร้อยละ 19.8) ฝรั่งเศส (ร้อยละ 15.78) เบลเยี่ยม (ร้อยละ 10.71) อิตาลี (ร้อยละ 6.74) ไทย (ร้อยละ 0.08 อันดับที่ 49)

2.3 ภาวะการแข่งขันของสินค้าไทย 3 รายการแรก ช่วง 6 เดือน (มกราคม-มิถุนายน) ปี 2552 ดังต่อไปนี้

1) Glass& Glassware, Other Nonwired (รหัส 700529) มูลค่าการนำเข้ารวม ล้านเหรียญฯ (ลดลงร้อยละ -46.47) 5 ประเทศแรกที่นำเข้ามากได้แก่ ไทย (ส่วนแบ่งการนำเข้าร้อยละ 52.97) เยอรมนี (ร้อยละ 35.29) สหรัฐอเมริกา (ร้อยละ 4.36) เนเธอร์แลนด์ (ร้อยละ 3.79) เบลเยี่ยม (ร้อยละ 3.01)

2) Mixing, Kneading, Crushing, Et (รหัส 847982) มูลค่าการนำเข้ารวม 1.85 ล้านเหรียญฯ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.93) 5 ประเทศแรกที่นำเข้ามากได้แก่ เยอรมนี (ส่วนแบ่งการนำเข้าร้อยละ 55.79) เบลเยี่ยม (ร้อยละ 22.79) ไทย (ร้อยละ 19.3) ฝรั่งเศส (ร้อยละ 1.33) อิตาลี (ร้อยละ 0.59)

3) Tungsten Halogan EL Filament Lamp (รหัส 853921) มูลค่าการนำเข้ารวม 2.21 ล้านเหรียญฯ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.8) 5 ประเทศแรกที่นำเข้าได้แก่ เยอรมนี (ส่วนแบ่งการนำเข้าร้อยละ 39.74) ฝรั่งเศส (ร้อยละ 23.96) เบลเยี่ยม (ร้อยละ 13.51) อินเดีย (ร้อยละ 10.11) เนเธอร์แลนด์ (ร้อยละ 4.48) ไทย (ร้อยละ 4.01 อันดับ 6)

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเฮก

ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ