ปี 2551 ปี 2552
Real GDP growth (%) 6.2 3.0 Consumer price inflation (av; %) 23.1 5.1 Budget balance (% of GDP) -5.1 -7.3 Current-account balance (% of GDP) -11.4 -8.7 Commercial banks' prime rate (year-end; %) 16.4 12.6 Exchange rate ฅ:US$ (av) 16,358 17,461 โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับเวียดนาม มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลดล้านเหรียญสหรัฐฯ
สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น 3,660.15 100.0 -16.44 สินค้าเกษตรกรรม 205.91 5.63 -0.07 สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร 233.08 6.37 -1.29 สินค้าอุตสาหกรรม 2,854.79 78.00 -5.30 สินค้าแร่และเชื้อเพลิง 366.37 10.01 -60.33 สินค้าอื่นๆ 0.0 0.0 -200.00 โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับเวียดนาม มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลดล้านเหรียญสหรัฐฯ
นำเข้าทั้งสิ้น 1,154.79 100.0 -10.42 สินค้าเชื้อเพลิง 409.51 35.46 70.70 สินค้าทุน 325.28 28.17 -34.51 สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป 215.35 18.65 -41.13 สินค้าบริโภค 166.89 14.45 17.48 สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ 37.76 3.27 -15.59 สินค้าอื่นๆ 0.0 0.0 -74.97 1. มูลค่าการค้า มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย - เวียดนาม 2551 2552 %(ม.ค.-ตค.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการค้ารวม 5,669.56 4,814.94 -15.07 การส่งออก 4,380.39 3,660.15 -16.44 การนำเข้า 1,289.17 1,154.79 -10.42 ดุลการค้า 3,091.22 2,505.37 -18.95 2. การนำเข้า ประเทศไทยนำเข้าจากตลาดเวียดนาม เป็นอันดับที่ 25 มูลค่า 1,154.79 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 10.42 สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลดล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการนำเข้ารวม 1,154.79 100.0 -10.42 1.น้ำมันดิบ 356.23 30.85 70.41 2.เครื่องคอมพิวเตอร์ 174.38 15.10 -43.19 3.เครื่องจักรไฟฟ้า 88.39 7.65 -2.80 4.ถ่านหิน 53.14 4.60 72.27 5.ด้ายและเส้นใย 44.73 3.87 -22.42 อื่น ๆ 189.09 16.37 -23.26 3. การส่งออก ประเทศไทยส่งออกไปตลาดเวียดนาม เป็นอันดับที่ 9 มูลค่า 3,660.15 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.44 สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลดล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการส่งออกรวม 3,660.15 100.0 -16.40 1. น้ำมันสำเร็จรูป 307.86 8.41 -61.82 2. เม็ดพลาสติก 281.83 7.70 -21.61 3. เหล็ก เหล็กกล้า 244.41 6.68 -6.44 4. รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 182.96 5.00 41.29 5. เคมีภัณฑ์ 172.29 4.71 24.67 อื่น ๆ 873.02 23.85 -17.76 4. ข้อสังเกต 4.1 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปเวียดนาม ปี 2552 (มค.-ตค.) ได้แก่น้ำมันสำเร็จรูป : เวียดนามเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 5 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 (มค.-ตค) พบว่าปี 2552 (มค.-ตค.) มีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 61.82 ในขณะที่ ปี 2549 — 2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 25.32 9.11 และ 120.31 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
เม็ดพลาสติก : เวียดนามเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 3 ของไทย และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 (มค.-ตค) พบว่าปี 2552 (มค.-ตค.) มีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 21.61 ในขณะที่ ปี 2549 — 2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 15.11 16.11 และ 18.16 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ : เวียดนามเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 4 ของไทย และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 (มค.-ตค)พบว่าปี 2552 (มค.-ตค.) มีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 6.44 ในขณะที่ปี 2549 — 2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 49.97 30.69 และ 1.14 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ : เวียดนามเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 9 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 (มค.-ตค)พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 16.43 90.88 56.08 และ 22.21 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับ ช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อน
เคมีภัณฑ์ : เวียดนามเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 6 ของไทย และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 (มค.-ตค) พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 10.83 47.07 37.53 และ 24.67 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อน
- สินค้าส่งออกสำคัญซึ่งเวียดนามเป็นคู่แข่งขัน เช่น ข้าว อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ยางพารา ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง สิ่งทอ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เป็นต้น
- คู่แข่งในตลาดโลก ได้แก่
- ข้าว (เวียดนามเป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่อันดับ 2 ของโลก รองจากไทย)
- ยางพารา (เวียดนามเป็นประเทศผู้ส่งออกยางพาราเป็นอันดับที่ 8 และเป็นสินค้าส่งออกอันดับ 4 ของไทย)
- ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ (เป็นสินค้าส่งออกอันดับ 6 ของเวียดนาม และเป็นสินค้าส่งออกอันดับ 1 ของไทย)
- ผลิตภัณฑ์พลาสติก (เป็นสินค้าส่งออกอันดับ 13 ของเวียดนาม และเป็นสินค้าส่งออกอันดับ 18 ของไทย)
ธนาคารกลางเวียดนามประกาศลดค่าเงินด่องลงให้อ่อนค่าลง 5.2 % จาก 17,034 ด่องต่อดอลลาร์สหรัฐ เป็น 17,961 ด่องต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยมีผลทันทีในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2552 เพื่อแก้ไขปัญหาขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและปัญหาเงินเฟ้อระดับสูง และสกัดไม่ให้เงินทุนไหลออก และเพื่อสร้างเสถียรภาพในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตรา โดยในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2552 เวียดนามประสบภาวะวิกฤติเงินตราต่างประเทศอย่างรุนแรงปริมาณเงินดอลลาร์สหรัฐ (USD) ที่หมุนเวียนในตลาดขาดแคลนอย่างหนักจนทำให้ราคา USD ในตลาดมืดแตกต่างจากราคาที่ธนาคารพาณิชย์กำหนดไว้เป็นอย่างมาก นอกจากนี้ ธนาคารแห่งชาติของเวียดนามได้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยกลาง ( prime rate ) จาก 7% เป็น 8% ซึ่งจะมีผลให้ธนาคารพาณิชย์สามารถกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ได้สูงขึ้น 12% จากปัจจุบันที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากเป็น 9.5 — 10% และเพิ่มอัตราดอกเบี้ยส่วนลด ( discount rate ) จาก 5% เป็น 6% โดยเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2552
ผลกระทบต่อการส่งออกของไทย
- ผลกระทบด้านบวก
- ผู้นำเข้าเวียดนามสามารถนำเข้าสินค้าได้มากขึ้น เนื่องจากก่อนลดค่าเงินด่อง ส่วนต่างระหว่างอัตราแลกเปลี่ยนทางการใหม่กับตลาดมืดแตกต่างกันมาก ผู้นำเข้าชะลอการแลกเงินด่อง และซื้อ USD จากธนาคารพาณิชย์ทำให้การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ รวมทั้งการนำเข้าจากไทยลดลง เพราะต้องขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนสูง ทั้ง ๆ ที่อยู่ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี เป็นช่วง PEAK ของการสั่งซื้อสินค้าประเภทอุปโภคจากไทย
- การประกาศปรับอัตราแลกเปลี่ยน มีผลให้ตลาดเงินตราต่างประเทศเข้าสู่ภาวะปกติ ราคาสินค้านำเข้าแม้จะมีราคาสูงขึ้นข้าง แต่ก็จะมีเสถียรภาพมากขึ้น
- ผลกระทบด้านลบ
- อาจมีผลทางด้านจิตวิทยาต่อผู้บริโภคชาวเวียดนามว่าสินค้านำเข้ามีราคาสูงขึ้นและหัน ไปใช้สินค้าที่ผลิตในประเทศเพิ่มมากขึ้น
- เป็นภาระต่อผู้นำเข้าสินค้าในประเทศเวียดนาม เพราะต้องจ่ายเงินดอลลาร์ในการชำระค่าสินค้ามากขึ้น เนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนทางการปรับสูงขึ้น
อย่างไรก็ตาม แม้เวียดนามลดค่าเงินลงมาก คงยังไม่ทำให้ผู้นำเข้าทุ่มคำสั่งซื้อไปที่เวียดนามทั้งหมดทันที เนื่องจากจะมีความเสี่ยงโดยถ้าผู้นำเข้าทุ่มคำสั่งซื้อไปที่เวียดนามทั้งหมดอาจมีปัญหาได้ เพราะผู้ผลิตในเวียดนามมีปัญหา เรื่องการปล่อยเครดิตที่เข้มงวด เพราะมีเงินทุนไม่มาก รวมทั้งกำลังการผลิตของเวียดนามคงไม่สามารถเพิ่มขึ้นได้ทันที และแรงงานในเวียดนามมีแนวโน้มไปทำงานในอุตสาหกรรมประเภทอื่นมากขึ้น อาทิเช่น อิเล็กทรอนิกส์ และราคาสินค้าเกษตรที่มีแนวโน้มดี ก็ทำให้แรงงานยังคงอยู่ในภาคการเกษตร
ที่มา: http://www.depthai.go.th