ปี 2008 ปี 2009
Real GDP growth (%) 1.2 -2.0 Consumer price inflation (av; %) 3.8 -0.6 Budget balance (% of GDP) -3.2 -11.5 Current-account balance (% of GDP) -4.8 -3.5 Commercial banks' prime rate (year-end; %) 2.2 0.3 Exchange rate ฅ:US$ (av) 103.4 93.0 โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับสหรัฐอเมริกา มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลดล้านเหรียญสหรัฐฯ
สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น 13,598.07 100.0 -22.09 สินค้าเกษตรกรรม 1,228.85 9.04 -22.76 สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร 1,679.10 12.35 -0.23 สินค้าอุตสาหกรรม 10,283.16 75.62 -24.87 สินค้าแร่และเชื้อเพลิง 406.94 2.99 -17.25 สินค้าอื่นๆ 0.01 0.0 โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับสหรัฐอเมริกา มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลดล้านเหรียญสหรัฐฯ
นำเข้าทั้งสิ้น 6,788.37 100.0 -29.72 สินค้าเชื้อเพลิง 153.09 2.26 -37.67 สินค้าทุน 2,447.09 36.05 -24.60 สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป 3,205.82 47.23 -35.96 สินค้าบริโภค 856.46 12.62 -18.87 สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง 86.88 1.28 2.22 สินค้าอื่นๆ 39.03 0.57 77.11 1. มูลค่าการค้า มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย - สหรัฐอเมริกา 2551 2552 %(ม.ค.-ต.ค.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการค้ารวม 27,112.52 20,386.44 -24.81 การส่งออก 17,453.20 13,598.07 -22.09 การนำเข้า 9,659.33 6,788.37 -29.72 ดุลการค้า 7,793.87 6,809.70 -12.63 2. การนำเข้า ประเทศไทยนำเข้าจากสหรัฐอเมริกาเป็นอันดับที่ 4 มูลค่า 6,788.37 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 29.72 สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลดล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการนำเข้ารวม 6,788.37 100.0 -29.72 1.เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 825.60 12.16 -11.26 2.แผงวงจรไฟฟ้า 781.97 11.52 -24.06 3.เคมีภัณฑ์ 638.98 9.41 -36.51 4.เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ 490.14 7.22 1.04 5.เครื่องคอมพิวเตอร์ 463.94 6.83 -39.03 อื่น ๆ 733.31 10.80 -34.14 3. การส่งออก ประเทศไทยส่งออกไปสหรัฐอเมริกา เป็นอันดับที่ 1 มูลค่า 13,598.07 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ 22.09 สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลดล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการส่งออกรวม 13,598.07 100.0 -22.09 1.เครื่องคอมพิวเตอร์ 2,342.65 17.23 -20.75 2.อาหารทะเลกระป๋อง 1,000.56 7.36 3.15 3.เสื้อผ้าสำเร็จรูป 849.87 6.25 -29.18 4.ผลิตภัณฑ์ยาง 693.01 5.10 -14.14 5.อัญมณีและเครื่องประดับ 677.87 4.99 -28.03 อื่น ๆ 2,596.09 19.09 -23.80 4. ข้อสังเกต 4.1 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปสหรัฐอเมริกา ปี 2552 (มค.- ตค.) ได้แก่เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ : สหรัฐอเมริกา เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 2 ของไทย รองจากจีนและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2549 — 2552 (มค.- ตค.) พบว่าปี 2552 (มค.- ตค.) มีอัตราการขยายตัวลดลง 20.75 ในขณะที่ปี 2549 2550 2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ44.83 17.40 และ 1.13 ตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อน
อาหารทะเลกระป๋องฯ : สหรัฐอเมริกา เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทย และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2549 — 2552 (มค.- ตค.) พบว่า ปี 2549 2551 และ 2552 (มค.- ตค.)มีอัตราการขยายตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.25 14.18 และ 3.15 ในขณะที่ปี 2550 มีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 6.04 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อน
เสื้อผ้าสำเร็จรูป : สหรัฐอเมริกา เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทย และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2549 — 2552 (มค.- ตค.) พบว่ามีอัตราการขยายตัวลดลงอย่างต่อเนื่องร้อยละ 2.26 5.81 8.09 และ 29.18 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อน
ผลิตภัณฑ์ยาง : สหรัฐอเมริกา เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2549 — 2552 (มค.- ตค.) พบว่า ปี 2552 (มค.- ตค.) มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 14.14 ในขณะที่ปี 2549 - 2551 มีอัตราขยายตัว เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 23.36 11.87 และ 11.22 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
อัญมณีและเครื่องประดับ : สหรัฐอเมริกา เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 4 ของไทย และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2549-2552 (มค.-ค.)พบว่า ปี 2549 และปี 2552(มค.-ตค.) ที่มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 1.84 และ 28.03 ในขณะที่ปี 2550 และ 2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.37 และ 4.78 ตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อนขณะเดียวกันมีการยกเลิกภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% สำหรับพลอยดิบนำเข้าซึ่งผ่านมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) แล้ว ขณะนี้อยู่ ระหว่างดำเนินการในพระราชกฤษฎีกา และแก้กฎกระทรวงการคลัง ที่นอกจากเป็นการลดต้นทุนวัตถุดิบแล้วยังเป็นการสร้างบรรยากาศให้ผู้ค้าพลอยต่างชาติจากทั่วโลกโดยเฉพาะอินเดียและแอฟริกานำวัตถุดิบมาค้าในไทยเพิ่มขึ้นเพื่อช่วยให้ไทยสามารถเป็นศูนย์กลางการค้าอัญมณีและเครื่องประดับของโลกได้
ผลสำรวจของหอการค้าอเมริกัน (AmCham) เผยแพร่ว่าบริษัทอเมริกันกว่า 90% จากบริษัททั้งหมด 369 แห่งที่ทำการสำรวจความเห็น มีมุมมองบวกต่อแนวโน้มธุรกิจในจีน เพิ่มขึ้นจาก 80.7% เมื่อปีที่แล้ว AmCham พบว่าบริษัทอเมริกันมากถึง 64.5% มีแผนจะเพิ่มการลงทุนในจีนปีหน้า ปรับเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับตัวเลขของปีนี้ที่ 58.6% โดยเห็นโอกาสทางธุรกิจที่รุ่งโรจน์ในตลาดจีนแม้เศรษฐกิจโลกในภาพรวมยังคงไม่ชัดเจนนัก ปีนี้มีบริษัทอเมริกันทำธุรกิจผลิตสินค้าและบริการป้อนตลาดจีนมากถึง 59% เพิ่มขึ้นอย่างมากจากปีที่แล้วที่ 39% แต่ยอดการส่งออกสินค้าของบริษัทเหล่านี้กลับไปยังตลาดสหรัฐลดลงจาก 21% ในปีที่แล้วมาอยู่ที่ 16% ในปีนี้ แม้จีนตั้งเป้าการเติบโตของเศรษฐกิจปีนี้ไว้ที่ระดับปลอดภัยที่ 8% แต่บริษัทจำนวนมากที่รับการสำรวจของ AmCham คาดว่ารายได้ในปีนี้น่าจะเพิ่มขึ้นเพียง 47% ลดลงจากปีก่อนที่เพิ่มขึ้นถึง 77% ขณะที่อีก 36% ประเมินว่ารายได้ของบริษัทในปีนี้อาจแทบไม่กระเตื้องหรือไม่ผลกำไรก็อาจลดลง
การส่งออกผลไม้ฉายรังสีไปยังสหรัฐอเมริกา มีแนวโน้มค่อนข้างดีและตลาดกำลังขยายตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามการส่งออกผลไม้ฉายรังสีไปสหรัฐ ในช่วงแรก ๆ พบว่าสินค้าบางส่วนเกิดความเสียหายโดยเฉพาะผลไม้เปลือกบาง จึงได้ร่วมมือกับคณาจารย์และนักวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ดำเนินโครงการศึกษาการลดความเสียหายของมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้เบอร์ 4 และมังคุดที่ฉายรังสีแกมมาเพื่อการส่งออกไปตลาดสหรัฐ เพื่อศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการฉายรังสี ผลการศึกษาพบว่า มะม่วงและมังคุดที่ได้รับการดูแลขั้นตอนต่างๆ อย่างถูกต้อง ตั้งแต่เก็บเกี่ยวที่ความสุกตามมาตรฐาน และได้รับการฉายรังสีอย่างเหมาะสม คัดบรรจุและขนส่งอย่างถูกวิธี โดยเฉพาะอุณหภูมิการเก็บรักษาสินค้า ควรอยู่ ที่ 13-15 องศาเซลเซียส สินค้าจะยังมีคุณภาพดีเมื่อไปถึงปลายทาง ทำให้ลูกค้ามีความพึงพอใจในทั้งรูปลักษณ์และรสชาติ และมีอายุการวางจำหน่ายประมาณ 1-2 สัปดาห์ ซึ่งจะช่วยให้ผลไม้เมืองร้อนของไทยสามารถแข่งขันได้มากขึ้น ที่สำคัญยังเป็นช่องทางช่วยลดต้นทุนค่าขนส่งให้ผู้ประกอบการได้ จากเดิมที่ขนส่งสินค้าทางเครื่องบินทำให้มีต้นทุนสูง ในอนาคตผลการศึกษานี้จะเป็นพื้นฐานในการพัฒนากระบวนการส่งออกทางเรือ ช่วยให้ต้นทุนค่าขนส่งต่ำลงได้ ซึ่งจะช่วยผลักดันการส่งออกผลไม้ฉายรังสีไปสหรัฐได้เพิ่มมากขึ้น
ภายหลังเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน (อาฟตา) ในวันที่ 1 ม.ค. 2553 โดยจะมีการลดภาษีสินค้ากุ้งเหลือ 0% ทำให้ผู้ส่งออกกังวลว่าจะมีกุ้งราคาด้อยคุณภาพและราคาต่ำ จากประเทศในอาเซียนเข้ามาตีตลาดไทยและอาจมีการปลอมปนกับกุ้งไทยเพื่อการส่งออกไปประเทศที่สาม ส่งผลกระทบภาพลักษณ์กุ้งไทยได้ โดยระบบการค้ากุ้งขณะนี้ ผู้นำเข้าให้ความสำคัญต่อการปนเปื้อนสารตกค้าง ระบบการเลี้ยงที่ต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาก มีการออกมาตรการตรวจสอบอย่างเข้มงวด ที่ผ่านมากุ้งไทยได้รับการยอมรับจากตลาดโลกในด้านมาตรฐาน คุณภาพ ผู้ประกอบการต้องการให้รัฐบาลวางมาตรการตรวจสอบการนำเข้าอย่างเข้มงวด เพื่อป้องกันการนำกุ้งเข้ามาปลอมปนเพื่อการส่งออก ปีนี้แม้ตลาดหลักของไทย เช่น ญี่ปุ่น สหรัฐจะนำเข้ากุ้งลดลง เนื่องจากปัญหาสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ แต่ยังสามารถส่งออกในตลาดเหล่านี้ได้มากขึ้น เพราะกุ้งไทยมีคุณภาพ ประกอบกับกุ้งของอินโดนีเซียเสียหายมากถึง 20% ทำให้ทุกตลาดหันมาซื้อจากไทย จึงดึงราคากุ้งในประเทศให้สูงขึ้น
ที่มา: http://www.depthai.go.th