Canada's Recession Is Over: แคนาดาเริ่มฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจแล้ว

ข่าวเศรษฐกิจ Friday December 18, 2009 14:43 —กรมส่งเสริมการส่งออก

* ความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ต่อเศรษฐกิจแคนาดา

นักเศรษฐศาสตร์จากหน่วยงาน Financial Post มีความเห็น(30 พ.ย. 2552) ว่าแคนาดาผ่านวิกฤตเศรษฐกิจ อันเป็นผลกระทบจากวิกฤต Subprime ในสหรัฐฯ และสภาพเศรษฐกิจโลก (Global Economy) ที่เกิดขึ้นในปี 2551 ปัจจุบัน เศรษฐกิจแคนาดากำลังปรับสภาพดีขึ้น โดยเห็นได้จากสถิติทางเศรษฐกิจต่างๆ อาทิ มูลค่าการนำเข้า/ ส่งออก และสถิติ GDP ที่แสดงถึงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจแบบค่อยเป็นค่อยไป (ตามกระแสฟื้นตัวทางเศรษฐกิจโลก) อย่างไรก็ตาม เนื่องจากประเทศแคนาดามีระบบการค้า และเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงอย่างมาก (Deeply inter-related economies) กับเศรษฐกิจสหรัฐฯ (ในปัจจุบัน สหรัฐฯ นำเข้าสินค้าจากแคนาดากว่าร้อยละ 70 ของมูลค่าการส่งออกรวม) นักเศรษฐศาสตร์จากหน่วยวิเคราะห์ข่าว Globe and Mail News มีความเห็น (ณ 1 ธ.ค. 2552) ว่าสภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯ (ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะฟื้นตัวช้ากว่ากระแสเศรษฐกิจโลก) อาจจะส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจแคนาดาพลอยฟื้นตัวช้าตามไปด้วย

* ภาพรวมด้านเศรษฐกิจ

นักเศรษฐศาสตร์เชื่อว่า แคนาดาสามารถฟื้นฟูเศรษฐกิจได้รวดเร็วกว่าสหรัฐฯ เนื่องจากแคนาดามีโครงสร้างธุรกิจด้านการเงินที่มั่นคงกว่ามาก ประชาชนโดยทั่วไป จะมีปัญหาด้านเครดิต น้อยกว่าประชากรในสหรัฐฯ ส่งผลให้กู้ยืมจากธนาคารได้ในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ เพื่อประคับประคองธุรกิจผ่านวิกฤตดังกล่าวไปได้

สถานการณ์ทางเศรษฐกิจแคนาดาในภาพรวมล่าสุด

1. Real GDP : 0.4% (ก.ย. 2552) - เทียบกับ -0.1% ในเดือน ส.ค. 2552

2. Unemployment Rate : 8.5% (พ.ย. 2552) เทียบกับ 8.6% ในเดือนต.ค. 2552

3. Export : +3.6% (ไตรมาส 3 ปี 2552)- เทียบกับ (-5.3)% ในไตรมาส 2 ปี 2552

4. Import : +8.0% (ไตรมาส 3 ปี 2552)- เทียบกับ (-1.8)% ในไตรมาส 2 ปี 2552

5. Inflation Rate : +0.1% (ต.ค. 2552) เทียบกับ (-0.9) % ในเดือนกย. 2552

* อัตราการล้มลัลายลดน้อยลง

Bankruptcy Rate ในแคนาดาในเดือน ต.ค. 2552 ลดลงร้อยละ 27.7 เมื่อเทียบกับ ก.ย. 2552 โดยมีจำนวนผู้ประกอบการที่ประกาศล้มละลายทั้งสิ้นเพียง 9,245 รายในเดือน ต.ค. 2552 เมื่อเทียบกับ 12,792 รายในเดือน ก.ย. 2552

* ธุรกิจก่อสร้างฟื้นตัว

ข้อมูลจากหน่วยงาน Canada Mortgage and Housing Corporation (CMHC) ประเทศแคนาดามีการก่อสร้างในเดือน พ.ย. 2552 ทั้งสิ้น 158,500 ยูนิต เมื่อเทียบกับ 157,400 ยูนิตในเดือน ต.ค. 2552 ทั้งนี้ สถิติดังกล่าวที่เพิ่มขึ้น สะท้อนให้เห็นถึงสภาพเศรษฐกิจ และความเชื่อมั่นของนักลงทุนในแคนาดาที่ประบสภาพดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

* ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ฟื้นตัวดีขึ้น
  • หน่วยงาน Greater Vancouver Real Estate Board รายงานยอดการซื้อ-ขาย (Sales Activity) อสังหาริมทรัพย์ในเขต Greater Vancouver (นครแวนคูเวอร์และเมืองใกล้เคียง) ในเดือน พ.ย. 2552 ขยายตัวสูงขึ้นถึง 3,083 ยูนิต ร้อยละ 252.7 เมื่อเทียบกับ 874 ยูนิต ในเดือน พ.ย. 2551 (ขยายตัวร้อยละ 252.7)
  • ราคาเฉลี่ยอสังหาริมทรัพย์ (Average home sale price) ในนครแวนคูเวอร์ เดือนพ.ย. 2552 ราคาประมาณ 557,384 เหรียญแคนาดา (ประมาณ 17.8 ล้านบาท) ซึ่งยังคงขยายตัวร้อยละ 12.4 เมื่อเทียบกับเดือน พ.ย. 2551
  • หน่วยงาน Toronto Real Estate Board รายงานยอดการซื้อ-ขาย (Sales Activity) อสังหาริมทรัพย์ในนครโตรอนโตเดือน พ.ย. 2552 ขยายตัวสูงขึ้นถึง 7,446 ยูนิต ร้อยละ 252.7 ซึ่งขายตัวประมาณ 2 เท่าเมื่อเทียบกับสถิติในเดือน พ.ย. 2551
  • ราคาเฉลี่ยอสังหาริมทรัพย์ (Average home sale price) ในนครโตรอนโต เดือนต.ค. 2552 ประมาณ 423,559 เหรียญแคนาดา (ประมาณ 13.55 ล้านบาท) ซึ่งสูงเป็นประวัติการณ์ อย่างไรก็ตามในเดือนพ.ย. 2552 ราคาเฉลี่ยดังกล่าวปรับลดลงเป็นประมาณ 418,460 เหรียญแคนาดา (ประมาณ 13.4 ล้านบาท) ซึ่งยังคงขยายตัวร้อยละ 14 เมื่อเทียบกับเดือน พ.ย. 2551
  • บริษัท REMAX (ผู้ประกอบการซื้อ-ขายอสังหาริมทรัพย์รายสำคัญในแคนาดา) คาดการณ์ภาพรวมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในแคนาดาในปี 2553 ว่ายังคงขยายตัวประมาณร้อยละ 2 โดยราคาเฉลี่ยอสังหาริมทรัพย์ (Average home sale price) ในแคนาดาจะอยู่ที่ประมาณ 325,000 เหรียญแคนาดา (ประมาณ 10.4 ล้านบาท) หรือขยายตัวประมาณร้อยละ 2
* การจ้างงานเพิ่มขึ้น

หน่วยงานรัฐฯ Statistic Canada รายงานสถานการณ์ตลาดแรงงานล่าสุด ณ วันที่ 4 ธ.ค. 2552 สรุปภาพรวมดังนี้

  • จำนวนการจ้างงานในเดือน พ.ย. 2552 เพิ่มขึ้นประมาณ 79,000 ตำแหน่ง ส่งผลให้อัตราการว่างงานของประเทศแคนาดาลดลง เหลือร้อยละ 8.5 เมื่อเทียบกับ ร้อลยะ 8.6 ในเดือนต.ค. 2552
  • จำนวนการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นในเดือน พ.ย. 2552 นั้น โดยมากเป็นการจ้างงานในธุรกิจบริการ (Service Sector) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานบริการด้านการศึกษา (Educational services sector)
  • จำนวนการจ้างงานในเดือน พ.ย. 2552 ที่เพิ่มขึ้นนั้น โดยมากเป็นการจ้างงานในมณฑล Ontario/ Quebec และ Alberta
ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของไทย-แคนาดา: ตัวเลขฝ่ายไทย
          มูลค่า(ล้านเหรียญสหรัฐ)                มูลค่า(ล้านเหรียญสหรัฐ)               อัตราการขยายตัว(%)
                                   2551(ม.ค.-ต.ค.)     2552(ม.ค.-ต.ค.)       51/52 (ม.ค.-ต.ค.)
          มูลค่าการค้า                    2,015.40            1,580.83              -21.56
          ไทยส่งออก                     1,201.65            1,033.94              -13.96
          ไทยนำเข้า                       813.75              546.89              -32.79
          ดุลการค้า                        387.89              487.05

ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

สินค้าส่งออกไทยไปแคนาดาที่มีมูลค่าสำคัญ 10 อันดับแรก (ม.ค.-ต.ค. 2552) ได้แก่ (1) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป มูลค่า 170.5 ล้านเหรียญฯ (เพิ่มขึ้น 2.41%) (2) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ มูลค่า 159.2 ล้านเหรียญฯ (ลดลง 23.44%) (3) กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง มูลค่า 58.4 ล้านเหรียญฯ (ลดลง 7.39%) (4) ข้าว มูลค่า 55.8 ล้านเหรียญฯ (ลดลง 8.05%) (5) เสื้อผ้าสำเร็จรูป มูลค่า 42.3 ล้านเหรียญฯ (ลดลง 4.44%) (6) แผงวงจรไฟฟ้า มูลค่า 39.0 ล้านเหรียญฯ (เพิ่มขึ้น 388.88%) (7) ผลไม้กระป๋องและแปรรูป มูลค่า 35.8 ล้านเหรียญฯ (เพิ่มขึ้น 1.11%) (7) (8) เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ มูลค่า 34.3 ล้านเหรียญฯ (เพิ่มขึ้น 5.37%) (9) อัญมณีและเครื่องประดับ มูลค่า 29.9 ล้านเหรียญฯ (ลดลง 16.87%) และ (10) ยางพารา มูลค่า 28.1 ล้านเหรียญฯ (ลดลง 53.70%)

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครแวนคูเวอร์

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ