รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจและภาวะการค้าสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 1 - 15 ธันวาคม 2552

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday December 22, 2009 12:15 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ก. ภาวะเศรษฐกิจ/การค้าทั่วไป

1. เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2552 นักเศรษฐศาสตร์ภาคเอกชนในสิงคโปร์ได้คาดหวังว่า การเจริญเติบโตเศรษฐกิจสิงคโปร์จะเป็นไปอย่างรวดเร็วในปี 2553 เนื่องจากมีสัญญาณแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจจะกลับฟื้นตัวสู่ปกติ ในปี 2553 การเจริญเติบโตจะเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 5.5 หลังจากที่คาดว่า ปี 2552 ลดลงร้อยละ 2 (MAS ทำการสำรวจความคิดเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ 20 ราย) ในปี 2553 Integrated Resorts 2 แห่งจะเปิดดำเนินกิจการ ซึ่งจะส่งผลส่งเสริมภาคการท่องเที่ยว รวมถึงด้านการเงิน/การคลังและการค้าขายให้เจริญเติบโต และทำให้ธุรกิจบริการกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ การคาดการณ์การเจริญเติบโตเศรษฐกิจของ Monetary Authority of Singapore (MAS) ในแต่ละภาคอุตสาหกรรม ปี 2552/2553 ดังนี้

2. จากการสำรวจของ Hay Group ปรากฎว่า กำลังการใช้จ่ายของระดับผู้จัดการในสิงคโปร์ปี 2552 อยู่อันดับที่ 3 ของภูมิภาคเอเชีย (รองจากญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ส่วนประเทศที่รองจากสิงคโปร์ได้แก่ มาเลเซีย ฮ่องกง อินเดีย เวียดนาม ไทย-อันดับที่ 8 อินโดนีเซีย และ จีน) และเป็นอันดับที่ 27 ของโลก โดยอันดับที่ 1 คือ กาตาร์ รองลงมา ได้แก่ คูเวต สหรัฐอาหรับอิมิเรทส์ โอมาน บาห์เรน ซาอุดิอาระเบีย ชิลี ปานามา โรมาเนีย ตุรกี ฮ่องกง ไทย-อันดับที่ 26 และสิงคโปร์ ทั้งนี้ สาเหตุที่กำลังการใช้จ่ายในสิงคโปร์อยู่ระดับต่ำกว่าญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ เป็นเพราะอัตราภาษีของสิงคโปร์สูงกว่า (ร้อยละ 20) โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นระยะเวลานานแล้ว หากเปรียบเทียบกับฮ่องกงที่ ภาษีสูงสุดในปัจจุบันคือร้อยละ 15 แม้ว่าผู้จัดการในสิงคโปร์จะได้รับเงินเดือนสูงกว่า แต่เมื่อตัดจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีออกแล้ว จะมีเงินรายได้คงเหลือสำหรับค่าใช้จ่ายน้อยกว่า

3. หน่วยงานสิงคโปร์ Spring Singapore ได้จัดให้มีโปรแกรมสนับสนุนบริษัท SMEs ที่มีแผนการด้านการสร้างสรรและเทคโนโลยี โดยเป็นตัวประสานงานให้เกิดการรวมตัวระหว่างบริษัท SMEs และนักค้นคว้าวิจัย เพื่อค้นคว้าและผลิตสินค้าที่ส่งผลให้เป็นจุดขายสำคัญในการเชิญชวนลูกค้าต่างประเทศให้ซื้อสินค้าหรือเข้ามาลงทุนในสิงคโปร์ ซึ่งบริษัทที่ได้รับผลสำเร็จจากโปรแกรมดังกล่าว ได้แก่ Aeromobile ผลิตอุปกรณ์ใช้ซ่อมบำรุงเครื่องบิน, Pamarine ผลิตอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยในการเดินเรือ, Creative Technology Manufactured ผลิต sound card เป็นต้น

4. นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า สิงคโปร์ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาการส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐฯเพื่อให้เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากในปัจจุบัน สิงคโปร์ได้ปรับกลยุทธ์หันมาพึ่งพาความต้องการภายในประเทศ และจากเงินงบประมาณการใช้จ่ายของภาครัฐ เมื่อความต้องการของตลาดภายในประเทศเพิ่มสูงขึ้น จะทำให้เกิดการนำเข้าเพิ่มขึ้นและอย่างต่อเนื่อง เป็นการสร้างรายได้และผลกำไรให้ขยายไปสู่การบริโภคและการลงทุน และหากสถานะเศรษฐกิจของสหรัฐฯดีขึ้น จะเป็น Bonus เสริมให้เศรษฐกิจสิงคโปร์เจริญเติบโตเพิ่มขึ้นในระดับสูง ทั้งนี้ ธนาคารแห่งชาติในภูมิภาคเอเชียจะต้องพึงระวังถึงปัญหา asset bubbles ในเศรษฐกิจเอเชียที่จะทำให้เกิดอัตราเงินเฟ้อต่ำ เนื่องจากอัตราการว่างงานในสหรัฐฯสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และการออกเงินกู้ที่มีดอกเบี้ยต่ำ จะทำให้เงินไหลออกจากสหรัฐฯสู่เอเชียเพิ่มขึ้น

5. ภาครัฐสิงคโปร์ Agri-Food and Veterinary Authority (AVA) ให้เงินสนับสนุน 5 ล้านเหรียญสิงคโปร์ สำหรับการจัดการ Food-capability Development และ Food Diversification มุ่งเน้นในการจัดหาแหล่งนำเข้าใหม่ๆ สำหรับสินค้าอาหาร ได้แก่ ข้าว เนื้อสุกร ไก่ ปลา ไข่ไก่ และผักใบเขียว และจัดสรรเงินทุนให้แก่การลงทุนในต่างประเทศเพื่อจัดทำเขตผลิตอาหารและ contract farming เงินสนับสนุนจะให้ใช้เป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องต่างๆ ได้แก่ ค่าเดินทาง ค่าบุคคลากร ค่าการบริการธุรกิจ ค่าการค้นคว้าวิจัยเพื่อให้เกิดผลผลิตเพิ่มขึ้นจากฟาร์ม 266 แห่งในสิงคโปร์ โดยมีจุดประสงค์ที่จะเพิ่มผลผลิตในประเทศภายใน 5 ปีข้างหน้า ได่แก่ (1) ไข่ไก่ จากร้อยละ 23 เพิ่มเป็นร้อยละ 30 (2) ปลา จากร้อยละ 4 เพิ่มเป็นร้อยละ 15 และ (3) ผักใบเขียว จากร้อยละ 7 เพิ่มเป็นร้อยละ 10 ทั้งนี้ โครงการค้นคว้าวิจัยและพัฒนาจะเน้นโปรแกรมสำหรับปลาที่เป็นอาหาร พัฒนาให้เกิดผลผลิตของผักเพิ่มขึ้น และพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับฟาร์มเลี้ยงไก่เพื่อไข่

6. ภาครัฐได้ให้การสนับสนุนในด้าน branding and design โดยผ่านหน่วยงาน Spring และ IE Singapore คือ BrandPact Programme และ Get Singapore ซึ่งทุกปีจะมีการมอบรางวัล Prestige Brand Award สำหรับในปี 2552 เป็นปีที่ 8 บริษัทส่วนใหญ่จาก 52 บริษัทที่ได้รับรางวัลเป็นบริษัท SMEs แบ่งออกเป็นรางวัลสำคัญๆ และผู้ได้รับรางวัล ได้แก่

  • Promising Brands (ดำเนินธุรกิจ 3-8 ปี) : Toast Box (a Coffee-toast chain by BreadTalk Group)
  • Established Brands (ดำเนินธุรกิจ 6-30 ปี) : Xpress Holdings (a printing services supplier), Wan Yang Health Product & Foot Reflexology Centre
  • Heritage Brands & Hall of Fame (ดำเนินธุรกิจมากกว่า 30 ปี) : Thomson Medical Centre (a health-care provider)
  • CitiBusiness Regional Brands (ดำเนินธุรกิจอย่างน้อย 3 ปี และมีกิจการในต่างประเทศอย่างน้อย 5 ประเทศ) : Best World Lifestyle (a direct seller of lifestyle products)
  • Most Popular Brand : Bee Cheng Hiang (a barbecued meat —bak kwa- supplier)
  • Special Merit เป็นรางวัลใหม่เริ่มในปี 2552 ให้แก่หน่วยงานภาครัฐ หรือหน่วยงานที่ไม่มีผลกำไร ดำเนินกิจการมาแล้ว 3 ปี : Children’s Society, SHRI, Powering Human Capital, Singapore Kindness Movement, Society for the Physically Disabled

7. กลุ่มอุตสาหกรรม Mice (Meetings, incentives, conventions and exhibitions) คาดว่า จะมีความเจริญเติบโตมากในปี 2553 เมื่อ Integrated Resort จำนวน 2 แห่งเปิดกิจการ ซึ่งจะมีกิจกรรมสำคัญๆที่ดึงดูดชาวต่างชาติได้กว่า 5,000 รายต่องานแสดงสินค้าในปี 2553 ได้แก่ Singapore Airshow (Feb), International Furniture Fair, Singapore, in conjunction with the 27th ASEAN Furniture Show (Mar), Food and Hotel Asia (Apr), CommunicAsia (June), Youth Olympic Games (Aug), ITB Asia (Oct), Ufi Congress (Nov), 18th International Oil and Gas Industry Exhibition and Conference —Osea (Nov) สำหรับงานในปี 2554 (ยังไม่กำหนดเวลาแน่นอน) ได้แก่ International Congress on Aviation and Space Medicine, The third World Congress of the International Academy of Oral Oncology

8. หน่วยงาน Economic Development Board (EDB) สิงคโปร์ มีนโยบายส่งเสริมให้เพิ่มการผลิตจากร้อยละ 10 ให้เป็นร้อยละ 30 ภายในปี 2563 ใน 4 สาขา คือ 1) Green Electronics ได้แก่ solar panels และ energy-efficient computer chips 2) Plastic Electronics ได้แก่ flexible displays และ batteries 3) Bioelectronics ได้แก่ artificial hearts และ chips that can detect viruses of diseases 4) Security Products ได้แก่ retinal และ facial recognition products ทั้งนี้ ภาครัฐจะให้ความช่วยเหลือ tax breaks และเงินทุนด้านการค้นคว้าวิจัย อนึ่ง ในช่วงไตรมาสที่ 1-3 ของปี 2552 ภาคอุตสาหกรรมอิเล็คทรอนิกส์ของสิงคโปร์ถดถอย แต่เริ่มฟื้นตัวเมื่อเดือนตุลาคม 2552 และคาดหวังว่า ในปี 2553 จะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น

9. ผลผลิตจากโรงงานในสิงคโปร์เพิ่มขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2552 จากรายงาน Purchasing Managers’ Index (PMI) ของ Singapore Institute of Purchasing and Materials Management (SIPMM) ดังนี้

Selected Induces               November reading       Difference from October
Overall PMI                         52.0                       +1.8
New Orders                          52.6                       +2.3
New Export Orders                   53.6                       +2.3
Production                          52.9                       +2.7
Stock of Finished Goods             50.6                       +0.9
Employment                          52.5                       +1.9
Electronics Sector PMI              51.3                       +1.7

10. การดำเนินธุรกิจในสิงคโปร์เริ่มประสบปัญหาด้านค่าเช่าสำนักงาน ซึ่งในปัจจุบันค่าเช่าในสิงคโปร์มีอัตราสูงอยู่อันดับ 32 ของโลก โดยอันดับ 1 คือ ลอนดอน (ด้านตะวันตก 184.85 เหรียญสหรัฐต่อตารางฟุต) รองลงมาได้แก่ โตเกียว(ในเมือง) โตเกียว (นอกเมือง) ฮ่องกง มอสโคว ปารีส มุมไบ ดูไบ ลอนดอน (ในเมือง) สำหรับอัตราค่าเช่าในสิงคโปร์อัตราเฉลี่ยเป็นเงิน 88.92 เหรียญสหรัฐฯต่อตารางฟุต

11. การจัดตั้ง Sustainable Manufacturing Centre (SMC) ในสิงคโปร์ โดยความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐ และสมาคมอุตสาหกรรม หน่วยงานค้นคว้าด้านการชุมชน และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการค้นคว้าและวิจัย เพื่อวางนโยบายและเทคโนโลยีการผลิตที่มีประสิทธิภาพและรักษาธรรมชาติ รวมถึงให้ความร่วมมือด้านผู้ชำนาญการ การถ่ายทอดความรู้ไปสู่เชิงพาณิชย์ ซึ่งหน่วยงานผู้นำร่องคือ Singapore Institute of Manufacturing Technology (SIMTech) มุ่งเน้นจะทำให้ สภาวะธรรมชาติดีขึ้นโดยการพัฒนาสร้างสรรเทคโนโลยีที่ส่งผลให้อากาศเสียและสิ่งปฏิกูลอยู่ในระดับต่ำที่สุด รวมถึงให้ใช้ระบบ recycle และให้สิงคโปร์สามารถส่งออกเจ้าหน้าที่ชำนาญการเพื่อเป็นปัจจัยหนึ่งในการส่งเสริมให้เศรษฐกิจดี ขึ้น

12. Quintiles ได้เปิดสำนักงานใหญ่ในสิงคโปร์เพื่อขยายธุรกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ณ Science Park 1 , Cintech IV Building บนพื้นที่ 7,300 ตารางเมตร มีพนักงาน 550 คน ทำการค้นคว้าวิจัย มีห้องแล็บที่มีเทคโนโลยีสูง เพื่อขยายธุรกิจการตรวจสอบในห้องแล็บสำหรับด้านสุขอนามัย

13. ภาคอุตสาหกรรมการเดินเรือทะเลของสิงคโปร์ได้ประกาศการสร้างอู่เรือที่พัฒนาโดย Sembcorp Marine สร้างให้ สิงคโปร์เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมการเดินเรือทะเล สถานที่มีพื้นที่ 206 เฮกตาร์ จะทำการก่อสร้างเป็น 3 ส่วน ซึ่งส่วนแรก บนพื้นดิน 74 เฮกตาร์ และส่วนที่ 2-3 ออกแบบอู่ต่อเรือพร้อมด้วยเทคโนโลยี และมีรูปแบบที่ทันสมัย มีระบบสำหรับการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความสามารถของพนักงาน และใช้พลังงานน้อย ซึ่งเป็นแผนการของสิงคโปร์ที่จะทำให้ประเทศอยู่ในแนวหน้าด้านการเดินเรือด้วยการสร้างสรรทางเทคโนโลยี ให้สิงคโปร์มีความสามารถในการแข่งขัน

ข. ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ

1. บาห์เรน ได้มีข้อตกลงในการส่งเสริมการขยายตัวของ Islamic banking ระหว่างสิงคโปร์กับบาห์เรน โดยลงนาม MOU ระหว่าง Monetary Authority of Singapore (MAS) และ The Central Bank of Bahrain เพื่อการพัฒนาความร่วมมือและการใช้ข้อมูลร่วมกัน ซึ่งจะทำให้เกิดการขยายธุรกิจด้านการธนาคารในสิงคโปร์และในภูมิภาค ทั้งนี้ ในปัจจุบัน อุตสาหกรรมการเงินของอิสลามมีมูลค่าประมาณ 1.4 ล้านล้านเหรียญสิงคโปร์

2. สหรัฐฯ เจ้าหน้าที่ของสิงคโปร์ Ms. Koh Lin-Net, Deputy Secretary for Trade at the Ministry of Trade and Investment (MTI) และกับสหรัฐฯ Ms. Barbara Weisel, the assistant US Trade Representative ได้ร่วมกันทบทวนข้อตกลง Free Trade Agreement (FTA) และให้การยืนยันในการทำให้ข้อตกลงมีผลบังคับใช้อย่างมีศักยภาพ นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายได้ปรึกษาหารือในหัวข้อต่างๆ ได้แก่ การเปิดตลาดสินค้า ระบบศุลกากร สภาวะในความร่วมมือ และปัญหาทรัพย์สินทางปัญญา ทั้งนี้ สหรัฐฯ เป็นประเทศคู่ค้าสำคัญของสิงคโปร์ ส่วนใหญ่นำเข้าสินค้าอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ และเภสัชภัณฑ์ และการค้าระหว่างสิงคโปร์กับสหรัฐฯ ในปี 2551 เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 มูลค่า 86.3 พันล้านเหรียญสิงคโปร์

3. คิวบา นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์เยือนคิวบาอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 1-3 ธันวาคม 2552 และได้ปรึกษาหารือกับประธานาธิบดีคิวบาเกี่ยวกับการพัฒนาของโลกกับคาริบเบียน และทำอย่างไรจะพัฒนาความร่วมมือทวิภาคี ทั้งนี้ คิวบาสนใจที่จะให้บริษัทสิงคโปร์เข้าไปสร้างท่าเรือใหม่

ค. การลงทุนในสิงคโปร์

1. บริษัท Shell เปิดตัวโรงงานผลิตเคมีภัณฑ์ ณ เกาะจูร่ง ผลิต mono-ethylene glycol (MEG) เป็นโรงงานที่ใหญ่ที่สุดของบริษัท มีกำลังการผลิต 750,000 ตันต่อปี และเป็นครั้งแรกที่ใช้วิธีการผลิตที่เปลี่ยน ethylene เป็น MEG ในระบบที่ไม่เป็นพิษต่อธรรมชาติ ประหยัดพลังงานและมี carbon dioxide และสารตกค้างน้อย นับเป็นวิธีการที่เข้าตามระบบการลดควันพิษที่มีการจัดประชุมขึ้น ณ Copenhagen ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ใช้ในภาคอุตสาหกรรมการผลิต เช่น ผลิต polyester ที่ใช้ในการทำเสื้อผ้า หรือการผลิตขวดพลาสติก บริษัทมุ่งเน้นการส่งออกไปยังภูมิภาคซึ่งใช้ประมาณร้อยละ 70 และมีการเจริญเติบโตร้อยละ 6 ต่อปี ในปี 2551 ความต้องการทั่วโลก 18 ล้านตัน

2. การลงทุนในการทำฟาร์มปลาในสิงคโปร์เพิ่มขึ้นทางใต้ของเกาะ Pulau Semakau ซึ่งเลี้ยงปลาจาก Super Fry ของ AVA’s Marine Aquaculture Centre ได้แก่ Grouper, Seabass, Snapper นอกจากนี้ มีการเลี้ยงปู กุ้ง และ Mussels ซึ่งมีฟาร์มจำนวน 106 แห่งที่เป็น floating netcage fish farm ในปี 2551 ผลิตได้ 3,235 ตัน มูลค่า 11.4 ล้านเหรียญสิงคโปร์ ซึ่งสินค้าส่งไปจำหน่ายที่ Jurong Fishery Port หรือส่งตรงไปยังภัตตาคารและซุปเปอร์มาร์เก็ต ฟาร์มปลาตัวอย่างคือ Barramundi Asia ของชาวดัชที่ลงทุนในสิงคโปร์ ผลิตใน 14 sea cages ช่วงระยะเวลา 3 เดือนเลี้ยง Seabass จาก Super Fry ได้น้ำหนัก 1 กิโลกรัม จำนวน 80 ตัน บริษัทฯคาดว่า ภายในปี 2555 จะสามารถผลิตได้ 3,000 ตัน ซึ่งเท่ากับร้อยละ 86 ของการผลิตในประเทศ และเป็นร้อยละ 3 ของปริมาณการบริโภครวมในประเทศ ทั้งนี้ ภาครัฐโดย Ministry of National Development มุ่งที่จะเพิ่มการผลิตผลาในประเทศจากร้อยละ 4 ให้เป็นร้อยละ 15 ของปริมาณการบริโภครวมภายในประเทศ (ประมาณ 15,000 ตัน)

3. ธนาคาร ICICI Bank จากอินเดียได้ยื่นขอใบอนุญาตเปิดกิจการ Qualifying Full Bank (QFB) ในสิงคโปร์ หากได้รับอนุญาต จะเป็นธนาคารจากอินเดียแห่งที่ 2 แข่งกับธนาคาร The State Bank of India (SBI) (ได้รับอนุญาตเมื่อปี 2551) และจะเป็นธนาคารต่างชาติอันดับที่ 8 ที่เป็น QFB ทั้งนี้ ธนาคาร ICICI มีสาขา 950 แห่ง และ ATMs 3,300 แห่งในอินเดีย และได้เปิดสาขาใน 17 ประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐฯ ดูไบ จีน และ อัฟริกาใต้ มี asset รวมมูลค่า 138 พันล้านเหรียญสิงคโปร์

4. Huaneng Power International Inc และ Tuas Power ได้ลงทุนสร้าง Tembusu Multi-Utilities Complex (TMRC) มูลค่า 2 พันล้านเหรียญสิงคโปร์ ณ เกาะจูร่ง ซึ่งมี cogeneration plant ที่จะทำให้ได้ clean coal technology ใช้ Biomass and Clean Coal (BMCC) ผสมในการผลิตไฟฟ้า และสามารถบำบัดน้ำเสียได้ โรงงานใหม่นี้จะมีผลผลิต steam, chilled water and electricity และบำบัดของเสียสำหรับบริษัท petrochemical ที่จะจัดตั้งในบริเวณเดียวกัน เพื่อให้ลดค่าใช้จ่ายค่าน้ำ-ไฟ ของแต่ละบริษัทได้ประมาณร้อยละ 10

ง. การลงทุนในต่างประเทศ

1. บริษัท Tan Chong International ดำเนินกิจการจำหน่ายรถยนต์ในสิงคโปร์ ได้ลงทุนซื้อ Mitsubishi Fuso’s truck assembly and distribution ในประเทศไทย ด้วยมูลค่า 41.7 ล้านเหรียญสิงคโปร์ ทั้งนี้ บริษัท ได้มี truck outfit ในประเทศไทยเมื่อปี 2545 มูลค่า 35 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งได้ส่งผลกำไรให้แก่บริษัทและเพิ่มรายได้จากต่างประเทศซึ่งคิดเป็นร้อยละ 3 ในปี 2542 เป็นร้อยละ 10 ในปี 2552 เพราะตลาด heavy truck ในประเทศไทยมีความต้องการสูง

จ. อื่นๆ

1. จากการสำรวจของ Urban Land Institute and PricewaterhouseCoopers (PwC) ในปี 2551 สิงคโปร์เป็นประเทศอันดับที่ 2 ของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิคที่นักลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์นิยมเข้ามาลงทุน แต่ในปี 2552 นักลงทุนหันไปลงทุนในจีนแทน สิงคโปร์ จึงตกอยู่ในอันดับที่ 5 ประเทศที่เป็นอันดับ 1 คือ เซี่ยงไฮ้ รองลงมาได้แก่ ฮ่องกง ปักกิ่ง และเกาหลีใต้ สิงคโปร์ อนึ่ง คาดว่า ในอีก 2 ปีข้างหน้า อสังหาริมทรัพย์ในสิงคโปร์จะมีมากเกินความต้องการ อย่างไรก็ตาม สิงคโปร์ยังได้รับความสนใจในฐานะเป็น Property Investment Hub

2. บริษัทผู้ผลิตเสื้อผ้าแฟชั่นของสิงคโปร์ได้ทำชื่อเสียงให้สิงคโปร์โด่งดังในระดับนานาชาติคือ ยี่ห้อ alldressup ซึ่งเจ้าของได้เปิดตัวยี่ห้อของตนเองเมื่อปี 2548 (หลังจากการผลิตสำหรับยี่ห้อดังอื่นๆมาเป็นระยะเวลา 30 ปี และเข้าสู่ตลาดโดย The Link Group) และเมื่อปี 2550 ได้นำสินค้าเข้าร่วมแสดงในงาน New York and Paris Fashion Week ซึ่งได้รับความสนใจและทำให้สินค้าอยู่ในแนวหน้า มีจำหน่ายใน 20 ประเทศทั่วโลก ได้แก่ Saks Fifth Avenue (US), Lane Crawford (HK) และได้ลงพิมพ์ในนิตยสาร Harper’s Bazaar เป็นต้น ทั้งนี้ รายได้ของบริษัทในปี 2551 มูลค่า 10 ล้านเหรียญสิงคโปร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 30 จากปี 2550 และบริษัทมีแผนการจะทำธุรกิจแฟรนไชส์ซึ่งมีคู่ค้าที่สนใจในญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ในอนาคตบริษัทจะขยายตัวสินค้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ กระเป๋าและเครื่องประดับแฟชั่น

3. ซุปเปอร์มาร์เก็ต FairPrice ได้เปิดตัว eco-mart (eco-friendly supermarket) แห่งแรกในสิงคโปร์ ณ City Square Mall ที่ถนน Kitchener ซุปเปอร์มาร์เก็ตจัดจำหน่ายสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ช้อนส้อมทำจากข้าวโพด เครื่องเขียนทำจาก recycle กระดาษหนังสือพิมพ์ หากผู้ซื้อนำถุงมาใส่สินค้าเอง จะได้รับการบริการที่รวดเร็วและได้รับส่วนลด 10 เซนต์ต่อมูลค่าการซื้อสินค้าทุก 10 เหรียญสิงคโปร์ นอกจากนี้ ยังมีจุดรวมสิ่งของที่ส่งไป recycle เช่น กระป๋องเครื่องดื่ม ขวด และกล่อง แม้ว่า ขณะนี้ จะไม่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคมากนัก แต่คาดว่า ในอนาคตอันใกล้ ชาวสิงคโปร์คงจะเปลี่ยนอุปนิสัยและเน้นการใช้สินค้าที่รักษาธรรมชาติเพิ่มมากขึ้น

4. จากรายงานของ ECA International ปรากฎว่า สิงคโปร์อยู่อันดับที่ 9 ของเมืองที่มีค่าใช้จ่ายแพงที่สุดในเอเชีย รองจาก โตเกียว (อันดับ 1) โยโกฮามา นาโกยา โกเบ ฮ่องกง เซี่ยงไฮ้ โซล ปักกิ่ง สิงคโปร์ และ ไทเป เนื่องจากค่าเงินสิงคโปร์สูงขึ้นร้อยละ 10 ต่อเหรียญสหรัฐฯ และอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูง ทำให้บริษัทต่างๆไม่สามารถคาดการณ์ค่าใช้จ่ายและวางแผนการค้าได้ ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของสิงคโปร์ โดยเฉพาะบริษัทขนาดเล็ก

กิจกรรมที่ดำเนินการระหว่างวันที่ 1 — 15 ธันวาคม 2552

1. รายงานผลผู้ประกอบการไทยและภัตตาคารไทย รวม 4 รายเข้าร่วมงานแสดงสินค้า Asia Pacific Food Expo 2009 ณ SingaporeExpo

2. ประสานงานเชิญนักธุรกิจสิงคโปร์เข้าชมงาน Bangkok Gems & Jewelry Fair ซึ่งกำหนดจัดระหว่างวันที่ 26 กพ. -2 มีค.53

3. ประสานงานเชิญชวนบริษัทสิงคโปร์สมัครเข้าร่วมงานแสดงสินค้าเฟอร์นิเจอร์ (TIFF 2010) ซึ่งกำหนดจัดระหว่างวันที่ 10-14 มีนาคม 2553

4. ประสานงานติดต่อสมาคม Specta และ Singapore Business Federation เพื่อร่วมมือจัดหาสมาชิกเข้าร่วมแสดง สินค้าในงาน TAPA 2010

5. ประสานงานติดต่อสมาคมและ นักธุรกิจสิงคโปร์เพื่อเข้าร่วมคณะผู้แทนการค้าสิงคโปร์เยือนประเทศไทย ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2553

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ สิงคโปร์

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ