สวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศหนึ่ง ที่เศรษฐกิจมั่นคงและมีเสถียรภาพในลำดับต้นๆ ของโลกในช่วงปี 2005-2008 มีอัตราเฉลี่ยการขยายตัวของ GDP อยู่ระหว่างร้อยละ 2-4 ต่อปี แต่จากวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในตลาดการเงินสหรัฐฯ ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจต่างๆ ในยุโรป รวมทั้งเศรษฐกิจที่พึ่งพิงภาคบริการทางการเงินอย่างสวิตเซอร์แลนด์ ก็ได้รับผลกระทบด้วยเช่นเดียวกัน โดยภาวะเศรษฐกิจของสวิตเซอร์แลนด์ หดตัวถึงจุดต่ำสุดที่ ร้อยละ 2.9 ในช่วงกลางปี 2009 (เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปี 2008)
อย่างไรก็ตาม สถาบันวิจัยทางเศรษฐกิจแห่งประเทศสวิตเซอร์แลนด์ (KOF Swiss Economic Institute) ได้คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจของประเทศจะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 0.6 และร้อยละ 1.5 ในปี 2010 และ 2011 ตามลำดับ ทั้งนี้ เป็นผลสืบเนื่องมาจากภาคการส่งออกของสวิตเซอร์แลนด์ที่มี แนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น (ร้อยละ 2.2 ในปี 2010) และการบริโภคของภาคเอกชนที่ยังคงมีการขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพ อยู่ที่ร้อยละ 1.0 ในปี 2010
สวิตเซอร์แลนด์เป็นตลาด ที่มีขนาดประชากรจำนวน 7.7 ล้านคน ในจำนวนนี้ มีประชากรที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ (Economically Active Population) อยู่ถึงจำนวน 4.3 ล้านคน และคิดเป็นประชากรที่อยู่ในกำลังแรงงาน (อายุระหว่าง 15-64 ปี) สูงถึงร้อยละ 81.8 ในปี 2008
2.1 รายได้ของประชากร กับการใช้จ่ายเพื่อการบริโภค
ในด้านรายได้ของประชากร สวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศที่มีค่าจ้าง/เงินเดือนสูงสุดเป็นอันดับสองของภูมิภาคยุโรป รองมาจากกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย และจากงานวิจัยของธนาคาร UBS เมื่อปี 2007 พบว่า การเพิ่มขึ้นของรายได้ (เงินเดือน ค่าจ้าง) ของครัวเรือนในสวิตเซอร์แลนด์เพียงร้อยละ 1.0 ส่งผลให้ครัวเรือนดังกล่าวมีความต้องการจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้นอย่างมากด้วย
ดังที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น จากการคาดการณ์เศรษฐกิจของประเทศ พบว่าปัจจัยที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของสวิตเซอร์แลนด์ ที่สำคัญปัจจัยหนึ่ง คือ การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคของครัวเรือนในประเทศ ซึ่งจากผลการวิเคราะห์และประมาณการของสำนักงานสถิติแห่งชาติสวิตเซอร์แลนด์ (Swiss Federal Statistical Office) พบว่า ในช่วงปี 2010-2015 กลุ่มครัวเรือนสวิสมีการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคสูงที่สุดในกลุ่มสินค้าและบริการที่เกี่ยวกับที่อยู่อาศัยและของใช้/ของตกแต่งภายในบ้าน (Housing, Household Goods and Services) คิดเป็นสัดส่วนสูงถึงกว่าร้อยละ 28 ของการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคของครัวเรือนสวิสทั้งหมด
2.2 ความสำคัญของตลาดสวิตเซอร์แลนด์ ในด้านตำแหน่งที่ตั้งและความสัมพันธ์ด้านการค้ากับ EU
เนื่องจากสวิตเซอร์แลนด์ ตั้งอยู่ใจกลางทวีปยุโรปและมีความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจและการค้ากับสหภาพยุโรป (EU) อย่างเหนียวแน่น โดยอยู่บนพื้นฐานของผลประโยชน์ร่วมกัน ซึ่ง EU เป็นคู่ค้าที่สำคัญที่สุดของสวิตเซอร์แลนด์ การค้ากับสหภาพยุโรปคิดเป็นกว่าร้อยละ 60 ของการนำเข้า และกว่าร้อยละ 70 ของการส่งออกของสวิตเซอร์แลนด์ ขณะที่สวิตเซอร์แลนด์เป็นคู่ค้าสำคัญลำดับต้น ของ EU และมีความสำคัญใกล้เคียงกับคู่ค้าอันดับต้นอื่นๆ ของ EU อาทิ สหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น และรัสเซีย เป็นต้น นอกจากนี้สวิตเซอร์แลนด์ ยังมีความสำคัญในฐานะเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้า (Distribution/Redistribution Centre)สำหรับการค้าสินค้าระหว่างประเทศสมาชิก EU โดย สินค้าที่ผลิตใน EU สามารถขนส่งจากประเทศสมาชิก EU ผ่านทางสวิตเซอร์แลนด์ไปยังประเทศสมาชิก EU อื่นๆ ได้โดยไม่ต้องเสียภาษี (Corporate Tax) จึงเป็นการอำนวยความสะดวกทางการค้าระหว่างกันได้อย่างดีมาก
การระบุประเภทสินค้าของขวัญ ของชำร่วย และของตกแต่งบ้านของไทยที่ส่งออกไปยังตลาดสวิตเซอร์แลนด์นั้นสามารถดูได้จากสถิติการส่งออกของ World Trade Atlas ซึ่งสินค้าในกลุ่มนี้จะประกอบไปด้วยผลิตภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติก เทียนไข ไม้ กระดาษ ตะกร้าและเครื่องจักสาน ดอกไม้ประดิษฐ์ เครื่องเซรามิกส์ เครื่องแก้ว และรวมทั้งผลิตภัณฑ์ที่ทำจากโลหะ โดยการส่งออกสินค้าในกลุ่มนี้ของไทยมายังตลาดสวิสโดยรวมแล้วมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมาโดยตลอดในช่วงระยะเวลากว่าทศวรรษที่ผ่านมา (ระหว่างปี 1998-2009) ซึ่งดูได้จากตารางที่ 1 และการขยายตัวของมูลค่าการส่งออก ดังแสดงไว้ใน รูปที่ 2
คุณ Georg Simon เจ้าของและผู้ก่อตั้ง บริษัท Wilai GmbH ตั้งอยู่ที่เมือง Wiesenena ประเทศเยอรมนี (www.wilai.de) เป็นบริษัทผู้นำเข้าสินค้าไทยในกลุ่มดังกล่าวรายใหญ่ที่สุดรายหนึ่งของประเทศเยอรมนีและสวิตเซอร์แลนด์ กล่าวว่า สินค้าของไทยได้รับความนิยมอย่างมากในทั้งสองประเทศ โดยสินค้าที่ได้รับความนิยมสูงในสวิตเซอร์แลนด์ ได้แก่ ของตกแต่งบ้านและสวน ประเภทที่เป็นรูปปั้นจากหินทราย น้ำพุไม้แกะสลัก และรูปภาพวาดรูปแบบไทยๆสำหรับติดข้างฝาผนังแจกันไม้แกะสลัก โคมไฟตั้งโต๊ะ รวมทั้งประเภทของขวัญขนาดเล็กๆ อย่างเช่น กรอบรูปที่ทำจากไม้ และผ้าไหม ตะกร้าใส่ไวน์ และเครื่องจักสานใช้บนโต๊ะอาหาร เป็นต้น โดยในแต่ละสัปดาห์บริษัทฯ จะส่งสินค้าไทยที่นำ เข้ามาเหล่านี้ไปยังประเทศสวิตเซอร์แลนด์ผ่านทางบริษัท Karawane-Shop (www.karawane-shop.ch) ซึ่งเป็นบริษัทคู่ค้าของตน คิดเป็นมูลค่าประมาณกว่า 3,000 — 5,000 ยูโรต่อสัปดาห์
คุณ Simon ยังได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า เหตุผลสำคัญที่สินค้าดังกล่าวของไทยได้รับความนิยมในตลาดสวิตเซอร์แลนด์ คือ design และคุณภาพของสินค้าไทย ประกอบกับชาวสวิสนิยมเดินทางไปท่องเที่ยวในประเทศไทย เมื่อไปพบศิลปะการตกแต่งอาคารบ้านเรือนและร้านอาหาร ตลอดจนสถานบริการด้านสุขภาพและความงาม สปา ในรูปแบบไทยๆ ทำให้เกิดความนิยมชมชอบในสินค้าตกแต่งบ้านแบบไทยอย่างยิ่ง รวมทั้งคนสวิส ส่วนใหญ่จะใช้เวลาว่างในการจัดสวนและตกแต่งบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ประกอบกับคนสวิสมีระดับการศึกษาค่อนข้างสูง มีรายได้อยู่ในระดับสูง ผู้บริโภคส่วนใหญ่จึงนิยมเลือกซื้อสินค้าที่มีคุณภาพดี
นอกจากนี้ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าของชาวสวิส (รวมทั้งชาวเยอรมัน) มีการเปลี่ยนแปลงไป โดยผู้บริโภคนิยมเลือกและสั่งซื้อสินค้าทางออนไลน์มากขึ้น เนื่องจากเหตุผลของความสะดวกสบาย อีกทั้งประหยัดเวลาในการเดินทางและประกอบกับระบบ IT ในสวิตเซอร์แลนด์เอื้ออำนวยให้การทำธุรกรรมผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น บริษัทของคุณ Simon รวมทั้งบริษัท partner ในสวิตเซอร์แลนด์ จึงได้ปรับปรุงช่องทางการขายสินค้าของตนผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ตด้วยซึ่งผู้ซื้อชาวสวิสได้ให้การตอบรับเป็นอย่างดีทั้งๆที่จะต้องจ่ายค่าขนส่งเพิ่มขึ้นจากราคาสินค้าก็ตาม
เมื่อได้สอบถามถึงภาวะการแข่งขันที่รุนแรงในตลาด คุณ Simon ให้ความเห็นว่า เนื่องจากภาวะค่าครองชีพของชาวสวิสที่เพิ่มสูงขึ้นได้ทำให้ผู้บริโภคพิจารณาเลือกซื้อสินค้าราคาถูกกว่าจากประเทศจีนอินโดนีเซีย และเวียดนาม มากขึ้นด้วย
5. วิเคราะห์ จุดแข็ง-จุดอ่อน-โอกาส-อุปสรรค (S-W-O-T Analysis) ของสินค้าของขวัญ ของชำร่วย และของตกแต่งบ้านของไทย ในตลาดสวิตเซอร์แลนด์
- Design ของสินค้า และคุณภาพสินค้าตรงตามรสนิยม และความต้องการของผู้ซื้อ
- เอกลักษณ์ความเป็นไทยๆ ของสินค้า
- ค่าขนส่งสินค้า มีราคาสูง
- ระยะเวลาที่ล่าช้าในการส่งมอบสินค้าจากผู้ส่งออกไทย บางครั้งทำให้สูญเสียโอกาสทางการตลาด
- ภาวะเศรษฐกิจของสวิตเซอร์แลนด์มีแนวโน้มขยายตัว ในปี 2010-2011
- ผู้บริโภคชาวสวิสมีการจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้นและมีกำลังซื้อสูง
- ผู้บริโภคคำนึงถึงคุณภาพสินค้าประโยชน์การใช้สอยมากกว่าราคาของสินค้า
- ชาวสวิสนิยมใช้เวลาว่างในการจัดตกแต่งบ้านและสวน
- ผู้ซื้อนิยมสั่งซื้อสินค้าทางอินเตอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น
- การนำ เสนอสินค้าไทยในงานแสดงสินค้าทั้งในเยอรมนีและสวิตเซอร์แลนด์ทำให้ได้รับทราบสถานการณ์การตลาดในปัจจุบัน ทั้งของคู่ค้าและคู่แข่ง
- การแข่งขันด้านราคาจากสินค้าของประเทศคู่แข่งอย่างจีน เวียดนาม และอินโดนีเซีย เป็นต้น
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต
ที่มา: http://www.depthai.go.th