ภาวะการค้าไทย-เนเธอร์แลนด์ 12 เดือน ปี 2552 และ การแข่งขันของสินค้าไทย 3 รายการแรกในตลาดเนเธอร์แลนด์

ข่าวเศรษฐกิจ Friday February 5, 2010 15:50 —กรมส่งเสริมการส่งออก

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงเฮก ขอรายงานภาวะการค้าระหว่างไทย-เนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นประเทศหนึ่งในกลุ่มประเทศเบเนลักซ์ 1 และประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป (EU) ในช่วง 12 เดือน (มกราคม- ธันวาคม) ปี 2552 เนเธอร์แลนด์นำเข้าจากไทยมูลค่า 3,123.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ -25.20 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี 2551 (มูลค่า 4,175.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

1. เมื่อเปรียบเทียบการส่งออกระหว่างไทย-เนเธอร์แลนด์กับไทย-สหภาพยุโรป (25 ประเทศ)

ในช่วง 12 เดือน (มกราคม- ธันวาคม) ปี 2552 มีอัตราส่วนแบ่งตาม ตารางที่ 1 ดังนี้

         ลำดับ     ประเทศ              มูลค่า(ล้าน USD)      ส่วนแบ่ง (%)
                สหภาพยุโรป                18,154.5          100.00
          1.    อังกฤษ                     3,237.1           17.83
          2.    เนเธอร์แลนด์                3,123.8           17.20
          3.    เยอรมนี                    2,626.9           14.46
          4.    ฝรั่งเศส                    1,546.5            8.51
          5.    เบลเยี่ยม                   1,349.1            7.24

เนเธอร์แลนด์นำเข้าสินค้าไทยมาก (ในประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป 27 ประเทศ) อย่างต่อเนื่องมา ทั้งนี้ คาดว่าเป็นผลมาจากการที่

1) ผู้นำเข้าดัชท์มีความเชื่อมั่นในศักยภาพโดยรวมของสินค้าไทย ซึ่งมีสถานะเหนือคู่แข่งด้วย การเน้นผลิตสินค้ามีคุณภาพได้มาตรฐานสอดคล้องกับกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องของสหภาพยุโรป

2) สินค้าไทยมีการพัฒนารูปแบบ การออกแบบดีขึ้น มีศักยภาพในการผลิตสินค้าประเภท Tailor Made ผู้ผลิต/ส่งออกมีความซื่อสัตย์ ตรงต่อเวลา ฯลฯ ทำให้เป็นที่ยอมรับ สามารถจำหน่ายและกระจาย ไปได้ทั่วสหภาพฯ ดังนั้น สิ่งที่ผู้ผลิต/ส่งออกไทยต้องเน้นและให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ การพัฒนาอย่าง ต่อเนื่อง ในด้านคุณภาพสินค้า การออกแบบ การวิจัยและพัฒนาสินค้า(R&D) การฝึกอบรมบุคลากรให้มีความรู้และ เชี่ยวชาญ รวมทั้งระบบ Logistics ที่มีประสิทธิภาพและครบวงจร เพื่อนำเสนอสินค้ารูปแบบใหม่ ๆ รายการใหม่ ๆ ที่อนุรักษ์และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่มีการทำลายป่า (เช่น ป่าชายเลน) ไม่ใช้แรงงานเด็ก มีการดำเนินการด้านการ รับผิดชอบต่อสังคม (Corperate Social Responsibilty หรือ CSR) มีขบวนการผลิตที่มีผลกระทบต่อภาวะโลกร้อน น้อยที่สุด ซึ่งจะใช้เป็นจุดขายและประชาสัมพันธ์ได้อย่างดี ทั้งยังเป็นปัจจัยสำคัญดึงดูดให้ผู้นำเข้าดัชท์เพิ่มความ สนใจสั่งซื้อเพิ่มขึ้นเนื่องจากจุดขายดังกล่าว รวมทั้งเพื่อสร้างความแตกต่าง (Differentiation) และ Create Demand สินค้าไทยก็ยังมีชื่อเสียงอยู่ในเกณฑ์ดีกว่าด้านคุณภาพเมื่อเทียบกับสินค้าจากประเทศคู่แข่ง (เช่น จีน เวียดนาม)

สำนักงานฯ ณ กรุงเฮก ขอเรียนว่า ประเทศคู่แข่งอื่น ๆ ต่างปรับตัวตลอดเวลา เพื่อขยายการส่งออกและ ช่วงชิงส่วนแบ่งตลาด เช่น ราคาแข่งขันได้ ผลิตสินค้าคุณภาพสูง พัฒนาการออกแบบ มุ่งตลาดบน/ผู้มีฐานะดี ฯลฯ ทั้งนี้ เพื่อเอื้ออำนวยให้การส่งออกของไทยขยายตัวอย่างต่อเนื่องทุกปี หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องกำหนด ยุทธศาสตร์สินค้าอย่างครบวงจร ครอบคลุมการพัฒนาระบบ Logistics อย่างมีประสิทธิภาพ กระบวนการที่ เกี่ยวข้องดำเนินไปได้อย่างราบรื่น (เช่น ไม่มีเหตุการณ์ความไม่สงบต่าง ๆ การออกข่าวที่เป็นลบ ฯลฯ ซึ่งล้วน บั่นทอนเสถียรภาพ ความมั่นคง ความเชื่อมั่นของผู้นำเข้า และการส่งออก/การแข่งขันของสินค้าไทย ในที่สุด รายได้เงินตราต่างประเทศลดลง เกิดผลกระทบด้านปัญหาเศรษฐกิจ โดยที่ประเทศคู่แข่งขันไม่ต้องต่อสู้กับ สินค้าไทยแต่อย่างใด) การกำหนดแนวทางและดำเนินนโยบายอย่างต่อเนื่องและมีศักยภาพ การรักษาค่าเงินบาท ให้มีเสถียรภาพ อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเสริมการค้าระหว่างประเทศ

2. ภาวะการค้าไทย-เนเธอร์แลนด์ ในช่วง 12 เดือน (มกราคม-ธันวาคม) ปี 2552/2

ภาวะการค้าไทย-เนเธอร์แลนด์ในช่วง 12 เดือน (มกราคม-ธันวาคม) ปี 2552 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี 2551

2.1 มูลค่าการค้ารวม 3,949.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ -25.22 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี 2551 (มูลค่า 5,288.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

1) การส่งออกของไทย -ในช่วงดังกล่าวมีมูลค่ารวม 3,123.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ -25.20 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2551 (มูลค่า 4,175.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

2) การนำเข้าของไทย ไทยนำเข้าสินค้าจากเนเธอร์แลนด์ มูลค่ารวม 825.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ -25.80 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2551 (มูลค่า 1,112.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

3) ดุลการค้า - ไทยได้เปรียบดุลการค้ากับเนเธอร์แลนด์ในช่วง 12 เดือน ปี 2552 มูลค่า 2,298.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ -24.97 (ปี 2551 มูลค่า 3,063.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

        ตารางที่ 2 : มูลค่าการค้าแลัดุลการค้ารัหว่างไทย-เนเธอร์แลนด์ ในช่วง 12 เดือน
         (มกราคม-ธันวาคม) ปี 2552
                                          (มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
                            2551            2552           %
                        (ม.ค.-ธ.ค.)     (ม.ค.-ธ.ค.)*    เพิ่ม/ลด
          การค้ารวม        5,288.2         3,949.1       -25.32
          ไทยส่งออก        4,175.9         3,123.8       -25.20
          ไทยนำเข้า        1,112.3           825.3       -25.80
          ดุลการค้า         3,063.6         2,298.5       -24.97

2.2 สินค้ารายการสำคัญที่ไทยส่งออกและนำเข้า

1) ภาพรวมสินค้าที่ไทยส่งออกไปเนเธอร์แลนด์ 5 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ ผลไม้กระป๋องและแปรรูป เลนซ์

         ตารางที่ 3 : รายการสินค้าที่ไทยส่งออกไปเนเธอร์แลนด์ 10 อันดับแรกในช่วง 12  เดือน(มกราคม-ธันวาคม) ปี 2552
         ลำดับ        รายการสินค้า                            มูลค่า            อัตรา
                                                     (ม.ค.-ธ.ค.2552)*    การขยายตัว
                                                        (ล้าน USD)           (%)
          1.    เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ          841.5           -37.32
          2.    แผงวงจรไฟฟ้า                               363.5           -14.63
          3.    เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ                358.1            +7.58
          4.    ผลไม้กระป๋องและแปรรูป                        123.5           +11.05
          5.    เลนซ์                                      121.6            +4.30
          6.    ไก่แปรรูป                                   100.9           -29.74
          7.    เสื้อผ้าสำเร็จรูป                               96.9            -8.51
          8.    เคมีภัณฑ์                                     94.7            +2.15
          9.    ผลิตภัณฑ์ยาง                                  86.2           +15.24
         10.    รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ                    79.5            97.60

ข้อสังเกต/3 สศค. วิเคราะห์ กรุงเทพธุรกิจ CEOs Index ว่าในปี 2553 เศรษฐกิจไทยจะมีแรงขับเคลื่อนหลักคือ ภาคการส่งออกจาก ภาวะเศรษกิจโลกที่ฟื้นตัว ซึ่งสศค. คาดว่าเศรษฐกิจคู้ค้าหลักของไทย 14 ประเทศ จะขยายตัวร้อยละ 3.0 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ 2.5-3.5 ต่อปี) และราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงการลงทุนของภาครัฐตามแผนไทยเข้มแข็ง ที่จะช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจ ไทยในปี 53 อย่างไรก็ตาม ดัชนีราคาผู้ผลิตในเดือน ธ.ค. 52 ขยายตัวที่ร้อยละ 10.0 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 7.8 ต่อปี สะท้อนถึงต้นทุนของผู้ประกอบการที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่ท้าทายต่อการดำเนินธุรกิจในปี 53

สินค้ารายการสำคัญที่ไทยส่งออก

เพิ่มขึ้น 10 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ (ร้อยละ 7.58) ผลไม้กระป๋องและ แปรรูป (ร้อยละ 11.05) เลนซ์ (ร้อยละ 4.30) เคมีภัณฑ์ (ร้อยละ 2.15) ผลิตภัณฑ์ยาง (ร้อยละ 15.24) รถจักรยานยนต์ และส่วนประกอบ (ร้อยละ 1.77) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป (ร้อยละ 21.75) เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารในครัว และบ้านเรือน (ร้อยละ 5.01) สิ่งปรุงรสอาหาร (ร้อยละ 3.89) ส่วนประกอบอากาศยานและอุปกรณ์การบิน (ร้อยละ 108.08)

ลดลง 10 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (ร้อยละ -37.32) แผงวงจรไฟฟ้า (ร้อยละ -14.63) ไก่แปรรูป (ร้อยละ -29.74) เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ (ร้อยละ -39.90) ข้าว (ร้อยละ -47.41) ผ้าผืน (ร้อยละ -20.53) เครื่องโทรสารและโทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบอื่น ๆ (ร้อยละ -2.64) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ (ร้อยละ 55.13) หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ (ร้อยละ 38.62) รองเท้าและชิ้นส่วน(ร้อยละ -17.76)

           2) รายการสินค้าที่ไทยส่งออกใน 3 หมวดสำคัญ
          ตารางที่ 4 : การส่งออกสินค้าใน 3 หมวดสำคะญช่วง 12 เดือน ปี 2552
          ลำดับ          รายการสินค้า           มูลค่า (ม.ค.-ธ.ค.52)*    อัตราการ
                                                  (ล้าน USD)         ขยายตัว (%)
          1.  หมวดสินค้าแร่ธาตุและสินค้าเกษตร
               ข้าว                                  41.8            -47.41
               ยางพารา                              17.6            -30.79
               กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง                 9.4            +22.77
               ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง               6.2            -13.65
               ดีบุก                                   3.7            -84.95
          2. หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร
               ผลไม้กระป๋องและแปรรูป                  123.5            +11.05
               ไก่แปรรูป                             100.9            -29.74
               ผลิตภัณฑ์ยาง                            86.2            +15.24
               เนื้อสัตว์และของปรุงแต่งที่ทำจากเนื้อสัตว์       25.1            -16.23
               ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง                      17.1            -84.06
          3. หมวดสินค้าอุตสาหกรรม
               เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ    841.5            -37.32
               แผงวงจรไฟฟ้า                         363.5            -14.63
               เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ          358.1             +7.58
               เลนซ์                                121.6             +4.30
               เสื้อผ้าสำเร็จรูป                         96.9             -8.51
รายละเอียดสินค้าโดยสรุป 5 รายการแรก

หมวดสินค้าแร่ธาตุและเกษตรที่ส่งออก

เพิ่มขึ้น เช่น กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง (ร้อยละ 22.77) เมล็ดผักและสปอร์ที่ใช้สำหรับการ เพาะปลูก (ร้อยละ 131.32) ใบยาสูบ (ร้อยละ 24.92) ปลาแห้ง (ร้อยละ 4.20) สินค้าปศุสัตว์อื่น ๆ (ร้อยละ 817.10)

ลดลง เช่น ข้าว (ร้อยละ -47.41) ยางพารา (ร้อยละ 30.79) ผลไม้แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง (ร้อยละ 13.65) ผักสดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง (ร้อยละ 23.97) ดีบุก (ร้อยละ 84.95)

หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรที่ส่งออก

เพิ่มขึ้น เช่น ผลไม้กระป๋องและแปรรูป (ร้อยละ 11.05) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป (ร้อยละ 21.75) สิ่งปรุงรสอาหาร (ร้อยละ 3.89) นมและผลิตภัณฑ์นม (ร้อยละ 5,742.31) อาหารสัตว์เลี้ยง (ร้อยละ 35.72)

ลดลง เช่น ไก่แปรรูป (ร้อยละ -29.74) เนื้อสัตว์และของปรุงแต่งที่ทำจากเนื้อสัตว์ (ร้อยละ -16.23) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง (ร้อยละ -84.06) ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่น ๆ (ร้อยละ 2.80) ผักกระป๋องและแปรรูป (ร้อยละ 52.52)

หมวดสินค้าอุตสาหกรรมที่ส่งออก

เพิ่มขึ้น เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ (ร้อยละ 7.58) เลนซ์ (ร้อยละ 4.30) เคมีภัณฑ์ (ร้อยละ 2.15) รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ (ร้อยละ 1.77) เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารในครัวและบ้านเรือน (ร้อยละ 5.01)

ลดลง เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (ร้อยละ -37.32) แผงวงจรไฟฟ้า (ร้อยละ -14.63) เสื้อผ้าสำเร็จรูป (ร้อยละ -8.51) เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ (ร้อยละ 39.90) ผ้าผืน (ร้อยละ 20.53)

3) สินค้ารายการสำคัญที่ไทยนำเข้าจากเนเธอร์แลนด์ ในช่วง 12 เดือน (มกราคม-ธันวาคม) ปี 2552 ไทยนำเข้าจากเนเธอร์แลนด์มูลค่า 825.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ -25.80 เมื่อเทียบกับการนำเข้าในช่วงเดียว กันปี 2551 (มูลค่า 1,112.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

สินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์

ตารางที่ 5 : รายการสินค้าที่ไทยนำเข้าจากเนเธอร์แลนด์ 10 อันดับแรก
ลำดับ     รายการสินค้า                         มูลค่า           อัตราการ
                                      (ม.ค.-ธ.ค.2552)*     ขยายตัว(%)
                                         (ล้าน USD)
 1.   แผงวงจรไฟฟ้า                           177.4           -9.63
 2.   เคมีภัณฑ์                                 96.8          -36.79
 3.   เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ                 95.7            1.30
 4.   เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์                  49.1          -62.63
 5.   สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์                     41.8           34.75
 6.   ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม               37.8          -12.83
 7.   กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ                  36.0          115.15
 8.   ผลิตภัณฑ์อาหารอื่น ๆ                        35.3          -13.88
 9.   เครื่องมือเครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์     35.2           11.50
10.   เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ               22.5          -78.59
3. ภาวะการแข่งขันของสินค้าไทย 3 รายการแรก ในตลาดเนเธอร์แลนด์ ช่วง 10 เดือน(มกราคม ตุลาคม) ปี 25524

3.1 Automatic Data Processing Storage Unit (รหัส 847170) มูลค่าการนำเข้ารวม 3,294.62 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ (ลดลงร้อยละ -25.75) แหล่งที่นำเข้าจาก 5 อันดับแรก ได้แก่ ไทย (ส่วนแบ่งการนำเข้าร้อยละ 24.15) จีน(ร้อยละ 14.31) อังกฤษ (ร้อยละ 10.78) สิงคโปร์ (ร้อยละ 6.84) เยอรมนี (ร้อยละ 6.48)

3.2 Machine F R/C/T or Rage of Vo (รหัส 851762) มูลค่าการนำเข้ารวม 6,595.75 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ลดลงร้อยละ -17.77) แหล่งที่นำเข้าจาก 5 อันดับแรก ได้แก่ มาเลเซีย (ส่วนแบ่งการนำเข้าร้อยละ 18.0) สาธารณรัฐเชค (ร้อยละ 15.53) จีน (ร้อยละ 12.49) สหรัฐอเมริกา (ร้อยละ 11.48) ฮ่องกง (ร้อยละ 11.09) ไทย (ร้อยละ 3.23 อันดับ 9)

3.3 Prepared Preserved Chicken Meat (รหัส 160232) มูลค่าการนำเข้ารวม 420.82 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ลดลงร้อยละ -6.93) แหล่งที่นำเข้าจาก 5 อันดับแรก ได้แก่ บราซิล (ส่วนแบ่งการนำเข้าร้อยละ 45.32) ไทย (ร้อยละ 24.86) เบลเยี่ยม (ร้อยละ 9.56) เยอรมนี (ร้อยละ 8.2) ฝรั่งเศส (ร้อยละ 5.03)

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงเฮก

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ