รายงานสถานการณ์ส่งออกสินค้าไทยไปอิตาลี ประจำเดือนธันวาคม 2552

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday February 16, 2010 16:37 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. สถานการณ์ส่งออก

ในช่วง 12 เดือน (ม.ค.—ธ.ค.) ของปี 2552 ไทยส่งออกสินค้ามายังอิตาลีทั้งสิ้นมูลค่า 1,314.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งส่งออกมูลค่า 1,979.4 ล้านเหรียญสหรัฐคิดเป็นร้อยละ -33.58 โดยมีสินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรกได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ 155.3 ล้านเหรียญสหรัฐ (-14.89%) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ 96.2 ล้านเหรียญสหรัฐ (-47.24%) ปลาหมึกสดแช่เย็นแช่แข็ง 93.9 ล้านเหรียญสหรัฐ (-10.03%) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป 65.0 ล้านเหรียญสหรัฐ (-31.64%) และรถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ 56.6 ล้านเหรียญสหรัฐ (-43.88 %)

2. สาเหตุที่การส่งออกลดลง

เหตุผลที่การส่งออกมาอิตาลีในช่วง 12 เดือน (ม.ค.—ธ.ค.) ของปี 2552 ลดลงร้อยละ -33.58 เนื่องจาก

2.1 ผู้ประกอบการอิตาลีส่วนใหญ่หยุดการสั่งซื้อตั้งแต่เดือนก่อนหน้า เพื่อเตรียมขายสินค้าในช่วงเทสกาลคริสต์มาสและปีใหม่

2.2 แม้สภาวะเศรษฐกิจอิตาลีจะได้ผ่านพ้นจุดวิกฤตไปแล้วตั้งแต่เดือนกันยายน เป็นต้นมา และเริ่มฟื้นตัวขึ้นแต่ยังฟื้นตัวอย่างช้าๆ ประกอบกับปัญหาการว่างงานที่ยังคงค่อนข้างสูง ทำให้อิตาลียังคงมีความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ โดยหน่วยงานจัดอันดับทางเศรษฐกิจ (FITCH) คาดการณ์ว่าการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของอิตาลีจะเป็นไปอย่างช้าๆ และเห็นได้ชัดเจนน้อยกว่าประเทศในกลุ่มยูโรโซน 16 ประเทศ โดยใน คาดว่า GDP ในปี 2552 ของอิตาลีจะหดตัว 4.8% และในปี 2553 อิตาลีจะต้องเผชิญกับความท้าทายอย่างมากซึ่งรวมถึงอัตราการว่างงานที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 9% ในปี 52 และ 9.5% ในปี 53

2.3 นอกจากนี้ ISAE (Italian Institute of Economic Analysis) ยังได๎คาดการณ์การนำเข้าของอิตาลีว่าในปี 52 จะลดลงถึง -16% ในขณะที่ปี 2553 จะเพิ่มขึ้น +2% ในด้านการส่งออก คาดว่าในปี 52 อิตาลีจะส่งออกลดลงถึง -21% ในขณะที่ 2553 จะส่งออกได้เพิ่มขึ้น +1.5% ซึ่งมีผลให้การนาเข้าสินค้าที่ใช้เป็นวัตถุดิบหรือสินค้า semi — finished product ลดลงไปด้วย

2.4 ผลจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ทำให้การลงทุนในภาคการผลิตของอิตาลีในปี 2552 ลดลงถึง 26.1% และคาดวำในปี 2553 จะลดลง -13.7% โดยภาคอุตสาหกรรมที่มีการลงทุนการผลิตลดลงได้แก่ บริษัทขนาดเล็ก(-36.6%) และบริษัทผู้ผลิตสินค้าทุน(-32.5%) ในด๎านการจัดจาหน่าย ปรากฎว่าในปี 2553 ร้านค้าปลีกขนาดเล็กจะมีมูลค่าการค้าลดลง -8% เมื่อเทียบกับปี 2551 ในขณะที่ผู้จัดจาหน่ายรายใหญ่ (ซุปเปอร์มาร์เก็ตและไฮเปอร์มาร์เก็ต)จะมีมูลคำการค้าลดลงน้อยกว่า คือ -5.2%

2.5 อย่างไรก็ดี หากพิจารณาการส่งออกเฉพาะเดือนธันวาคม 2552 ปรากฎว่าไทยส่งออกมาอิตาลีในอัตราขยายตัว +18.58% เมื่อเทียบกับเดือน พ.ย.52 ซึ่งเป็นผลจากที่เศรษฐกิจอิตาลีได้เริ่มฟื้นตัวตั้งแตํ ก.ย.52 เป็นต้นมา

2.6. ในภาพรวมการนำเข้าของอิตาลี(ข้อมูลจาก World Trade Atlas) ในช่วง 10 เดือน (ม.ค.-ต.ค.) ของปี 2552 อิตาลีนำเข้าจากทั่วโลกมูลคำ 334,743 ล้านเหรียญสหรัฐฯลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ -30.90 ซึ่งนาเข้าลดลงจากแทบทุกประเทศ ยกเว้น รัสเซีย (+15.80% ครองตลาดอันดับที่ 7) และอัลจีเรีย (+375.88% ครองตลาดอันดับที่ 14) โดยประเทศคู่แข่งสาคัญที่อิตาลีนาเข้าลดลงได้แก่ อินเดีย (-25.39% อันดับที่ 22) เกาหลีใต๎(-41.54% อันดับที่ 30) อินโดนีเซีย (-17.85% อันดับที่ 35) ไต๎หวัน (-35.23% อันดับที่ 39) และไทย (-37.56% อันดับที่ 48)

2.7. ทั้งนี้ สามารถวิเคราะห์สาเหตุการนาเข้าที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญแยกรายสินค้าได้ดังนี้

2.7.1 เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ

การส่งออกในช่วง 12 เดือน (ม.ค.-ธ.ค.) ของปี 2552 มีมูลค่า 96.2 ล้านเหรียญสหรัฐลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งส่งออกมูลค่า 182.4 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ -47.24 เนื่องจาก

(1) ผู้บริโภคชะลอการซื้อเนื่องจากเป็นช่วงฤดูหนาว และคาดว่าความต้องการซื้อจะเริ่มกระเตื้องขึ้นในช่วงฤดูใบไม้ผลิ/ฤดูร้อน ในเดือนพฤษภาคม 2553 เป็นต๎นไป

(2) ตลาดค่อนข้างจากัดและเป็นสินค้าที่ผู้ซื้อชะลอการซื้อจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจผู้ประกอบการแจ้งว่ายังคงมีสินค้าค้างสต็อกอยู่ราว 16% นอกจากนี้สมาคมผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านของอิตาลีได้ประมาณการว่าการผลิตในปี 2553 จะลดลงถึงร้อยละ 40

(3) อย่างไรก็ดี หากพิจารณาการส่งออกเฉพาะเดือน ธ.ค. 52 จะเห็นมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าถึง +41.41% เนื่องจากผู้ประกอบการมีการออกโปรโมชั่นส่งเสริมการขายในช่วงเทศกาลได้แก่ การลดราคาสำหรับสินค้า “out of Season” การลดราคาการติดตั้งและการจัดเจ้าหน้าที่เทคนิคไว้บริการอย่างเต็มที่ซึ่งหากเป็นการซื้อในช่วงฤดูร้อนจะต้องมีการทานัดและใช้เวลารอนาน

(4) สมาคมผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบแห่งอิตาลี (ANIE) ให้ความเห็นว่าสินค้าเครื่องปรับอากาศที่จะมีศักยภาพและมีแนวโน้มตลาดที่ดีต้องเป็นเครื่องปรับอากาศ คุณภาพพรีเมียม(เกรด A) ที่ประหยัดพลังงานและใช้ได้ทั้งระบบความเย็น และความร้อนในตัวเดียวกันซึ่งสามารถขายได้ตลอดปี รวมทั้งต้องเป็นสินค้าที่ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมด้วย นอกจากนี้ สินค้าเครื่องปรับอากาศในรถยนต์ก็เป็นสินค้าที่มีศักยภาพเช่นกัน เนื่องจากรถยนต์เป็นภาคอุตสาหกรรมที่ได้รับมาตราการช่วยเหลือทางการเงินจากรัฐบาลและอยู่ระหว่างการพิจารณาต่ออายุมาตรการสำหรับปี 53 นี้

(5) ไทยครองตลาดเป็นอันดับ 3 โดยมีประเทศที่อิตาลีนำเข้า 5 อันดับแรก ได้แก่ จีน (สัดส่วนตลาด 29.76%) เบลเยี่ยม (10.82%) ไทย (10.38%) ญี่ปุ่น (9.54%) และเช็ครีพับบลิค (5.02%) ส่วนประเทศคู่แข่งสำคัญ ได้แก่ เกาหลีใต้ (2.84%) และ มาเลเซีย (2.82%)

2.7.2 อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป

การส่งออกในช่วง 12 เดือน (ม.ค.-ธ.ค.) ของปี 2552 มีมูลค่า 65 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งส่งออกมูลค่า 95.2 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ -31.64 เนื่องจาก

(1) ผู้บริโภคอิตาลีจะนิยมบริโภคอาหารทะเลแบบสดโดยเฉพาะการฉลองในช่วงเทศกาลคริสต์มาสและปีใหมํ

(2) ผู้นาเข้าได้มีการสั่งซื้อสินค้าก่อนหน้านี้และสต๊อกไว้เพียงพอเพื่อจาหน่ายในช่วงเทศกาลดังกล่าว

(3) สินค้าที่ยังคงมีศักยภาพคือสินค้าประเภทปลาเนื้อขาวและสินค้าประเภทหอย นอกจากนี้ ยังมีสินค้าที่มีการทำมูลค่าเพิ่ม เช่น อาหารพร้อมรับประทาน(ready meal) และอาหารทะเลพร้อมรับประทาน เช่น สลัดปลาทูนำหรือทูนำผสมข้าว ซึ่งค่อนข้างเป็นที่นิยมของคนอิตาลี ทั้งนี้ ช่องทางการจำหน่ายปลาในอิตาลีจะผ่านช่องทางการบริโภคตามบ้านถึง 70% ส่วนอีก 30% เป็นการจาหน่ายผ่านอุตสาหกรรมเคเทอริ่ง (Catering industry)

(4) จากข้อมูลการนาเข้าของอิตาลีในช่วง 10 เดือนแรก (ม.ค. —ต.ค.)ของปี 52 การนาเข้าจากทั่วโลกลดลง -11.86% และลดลงในเกือบทุกประเทศยกเว้นไทย เอควาดอร์ จีน อาร์เจนตินาและเวียดนาม ที่เพิ่มขึ้น ไทยครองตลาดอันดับที่ 4 โดยมีประเทศที่อิตาลีนำเข้า 5 อันดับแรกได้แก่ สเปน (สัดส่วนตลาด 21.72%) เยอรมัน (16.47%) เอควาดอร์ (6.83%) ไทย (5.72%) และฝรั่งเศส (5.12%)

ประเทศคูแข่งสาคัญได้แก่ จีน( สัดส่วนตลาด 1.66%) เวียดนาม (0.95%) และอินเดีย (0.27%)

2.7.3 รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ

การส่งออกในช่วง 12 เดือน (ม.ค.-ธ.ค.) ของปี 2552 มีมูลค่า 56.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งส่งออกมูลค่า 100.8 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ -43.88 เนื่องจาก

(1) เป็นสินค้าที่ได้รับผลกระทบวิกฤตเศรษฐกิจ ทาให้คนอิตาลีหันมาใช้รถจักรยานและระบบขนส่งสาธารณะแทน มีผลให้การใช้รถยนต์ลดลงถึงร้อยละ 6

(2) อย่างไรก็ดี ผลมาจากมาตรการช่วยเหลือทางการเงิน “cash for Clunker” ของรัฐบาลอิตาลีที่ออกมาตั้งแตํ พ.ย. 51 และจะหมดอายุในสิ้นปี 52 นี้ ทาให้การนาเข้าเฉพาะเดือน ธ.ค. 52 มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง +39.84%

(3) ข้อมูลจากสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอิตาลี (Italian Association of Automobile Industries —ANFIA) ปรากฎว่าในปี 2552 มียอดคำสั่งซื้อรถใหม่ 2,335,000 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 51 ถึง 15% ส่วนยอดการจดทะเบียนรถใหม่ในปี 52 มีจำนวน 2,158,010 คัน ลดลงจากปีก่อนหน้าเล็กน้อยคือ -0.13 % และเห็นว่าแนวโน้มของรถยนต์ที่มีศักยภาพในตลาดอิตาลีจะต้องเป็นรถแบบประหยัด (ecological cars) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมและใช้พลังงานทางเลือกอื่นๆ ส่วนรถที่ใช้น้ามันดีเซลจะลดลง

(4) ตลาดสำหรับรถยนต์ที่ใช้ในการพาณิชย์และอุตสาหกรรมซึ่งเป็นกลุ่มที่ไม่ได้รับความช่วยเหลือจากมาตรการของรัฐบาลดังกล่าวยังคงซบเซา โดยในปี 2552 มียอดการจดทะเบียนรถใหม่ลดลงถึงร้อยละ 50 และกลุ่มอุตสาหกรรมผู้ผลิตของอิตาลียังคงคาดหวังว่ามาตราการช่วยเหลือ “cash for Clunker” ของรัฐบาลที่จะต่ออายุสาหรับปี 2553 จะครอบคลุมถึงรถยนต์ที่ใช้ในการพาณิชย์และอุตสาหกรรมด้วยซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้ตลาดฟื้นตัวได้มากขึ้น

(5) ข้อมูลจากสมาคมยานยนต์ (The Italian Club —ACI) แจ้งว่าของตลาดรถยนต์นั่งส่วนบุคคลในอิตาลีในปี 2552 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น +2.7% โดยรถเฟี๊ยตแพนด้าและเฟี๊ยตปุนโต้ขายดีที่สุด รถยนต์ประเภท ecological cars ครองตลาดเพิ่มขึ้นจากเดิม (6.4 % ในปี 2551) เป็น 21.6 % ในปี 2552 และสัดสํวนตลาดของรถยนต์ชนิดเครื่องดีเซลลดลงจากเดิม (ในปี 2551 ครองตลาด 50.6%) เป็น 41.8% ในปี 2552 ส่วนรถยนต์ที่ใช้ในเชิงพาณิชย์ในปี 2552 ลดลง -28.2%

ทั้งนี้ คาดว่าตลาดรถยนต์ในอิตาลีจะสามารถกลับสูภาวะปกติก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจได้ในปี 2555 และมีความจำเป็นอย่างมากที่รัฐบาลจะต้องต่ออายุมาตรการช่วยเหลือทางการเงินต่อไปในปี 2553 ซึ่งจะช่วยใฟ้ตลาดรถยนต์ในปี 2553 ขยายตัวลดลงเล็กน้อยคือ -2.3% (หากไม่มีการขยายอายุมาตรการจะทำให้ตลาดหดตัวถึง -16.3% )

(6) ไทยครองตลาดอันดับที่ 23 (สัดส่วนตลาด 0.21%) โดยประเทศคูแข่งสำคัญได่แก่ ญี่ปุ่น (สัดส่วนตลาด 4.69%) จีน (1.81%) อินเดีย (1.41%) เกาหลีใต้ (1.38%) และไต้หวัน (0.69%)

2.7.4 ยางพารา

การส่งออกในช่วง 12 เดือน (ม.ค.-ธ.ค.) ของปี 2552 มีมูลค่า 55.8 ล้านเหรียญสหรัฐลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งส่งออกมูลคค่า 140.7 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ -60.34 เนื่องจาก

(1) ราคายางพาราธรรมชาติในตลาดโลกสูงขึ้น อันเนื่องมาจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ทำให้ผู้นำเข้าชะลอการสั่งซื้อและรอดูการกำหนดราคายางจากประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งยางพาราชนิด RSS 3 (Ribbed Smoked Sheet) ซึ่งใช้เป็นวัตถุดิบ การผลิตยางรถยนต์ซึ่งราคาเพิ่มสูงขึ้นถึง กิโลกรัมละ 3.20 เหรียญสหรัฐ (น้อยกว่าราคาในเดือน ก.ค. 51 ซึ่งถือว่าสูงสุดในรอบ 56 ปี เพียง 20 เซนต์)

(2) อย่างไรก็ดี หากพิจารณาข้อมูลการส่งออกเฉพาะเดือนธ.ค. 52 ปรากฎว่ามีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า (ซึ่งขยายตัว -30.28%) ถึง +122.16% อันเนื่องมาจากการซื้อเก็บ สต๊อกของผู้นาเข้าเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาราคาที่คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นต่อไปอีก

(3) อุตสาหกรรมที่คาดว่ามีแนวโน๎มความต้องการเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องมือและถุงมือยางที่ใช้ในการแพทย์และอุตสาหกรรมรถยนต์ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับมาตราการช่วยเหลือจากรัฐบาลและจะได้รับการต่ออายุสาหรับปี 2553 ต่อไปอีก

(4) จากข้อมูลการนาเข้าของอิตาลีในช่วง 10 เดือน(ม.ค. — ต.ค.)ของปี 52 จาก WTA อิตาลีนาเข้ายางพาราธรรมชาติจากทั่วโลก ลดลงร้อยละ -59.77 โดยไทยครองตลาดเป็นอันดับ 1 (สัดส่วนตลาด 31.73%) รองลงมาได้แก่ อินโดนีเซีย (15.20%) โคดิวัวร์ (15.12%) มาเลเซีย (11.45%) และเวียดนาม (7.11%)

2.7.5 เคมีภัณฑ์

การส่งออกในช่วง 12 เดือน (ม.ค.-ธ.ค.) ของปี 52 มีมูลค่า 49.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งส่งออก 103.4 ล้านเหรียญสหรัฐคิดเป็นร้อยละ -51.68 เนื่องจาก

(1) อุตสาหกรรมต่อเนื่องได้แก่ การก่อสร้างได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจค่อนข้างมากทำให้ความต้องการในประเทศลดลงส่งผลให้รัฐบาลต้องออกมาตรการ In House Plan รวมทั้งลงทุนในโครงการก่อสร้างสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ต่างๆ เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการซึ่งคาดว่าจะมีผลได้ในปี 2553 เป็นต้นไป นอกจากนี้ ยังมีปัญหาการเลิกจ้างคนงานที่สูงเป็นอันดับ 3 (รองจากอุตสาหกรรมเครื่องจักรและอุตสาหกรรมสิ่งทอ) ซึ่งมีอัตราการเลิกจ้างถึง 9 % ของจานวนคนงานทั้งหมด

(2) ผู้ประกอบการและผู้นำเข้าอิตาลียังคงมีความกังวลและไม่มั่นใจต่อภาวะตลาดและยังประสบปัญหาจากการชาระเงินล่าช้าของลูกค้ารวมทั้งข้อจำกัดในการขอรับสินเชื่อจากธนาคาร

(3) สมาพันธ์อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์แห่งอิตาลี (Italian Chemical Industries Federation-FEDERCHIMICA) ได้เปิดเผยว่าในปี 2552 สภาวะตลาดสินค้าเคมีภัณฑ์ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจอย่างมากโดยการผลิตลดลง -14% ความต้องการตลาดลดลง -14.1% การนำเข้าลดลง -15% และการส่งออกลดลง -15% ส่วนในปี 2553 คาดว่าตลาดเคมีภัณฑ์ของอิตาลีจะมีมูลค่า 5,500 ล้านยูโร ลดลงจากปีก่อน -16.4% การผลิตจะเพิ่มขึ้น +2.8% การนำเข้าเพิ่มขึ้น +3% และการส่งออกเพิ่มขึ้น +4%

(4) อย่างไรก็ดี หากพิจารณาการส่งออกเฉพาะเดือนธ.ค. 52 ปรากฎว่าไทยส่งออกมาอิตาลีเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าถึง +131.32% ซึ่งอาจเป็นการสั่งซื้อเพื่อเก็บสต๊อกสินค้าไว้โดยก่อนหน้าผู้นำเข้าจะสั่งซื้อในปริมาณครั้งละไม่มาก เนื่องจากไม่ต้องการเก็บสต๊อกสินค้าซึ่งจะทำให้ภาระต้นทุนสูง

(5) ไทยครองตลาดเป็นอันดับที่ 33 (สัดส่วนตลาด 0.13%) โดยมีประเทศที่อิตาลีนำเข้า 5 อันดับแรก ได้แก่ เยอรมัน (สัดส่วนตลาด 26.55%) ฝรั่งเศส (15.98%) เนเธอร์แลนด์ (10.22%) เบลเยี่ยม (7.26%) และสหรัฐอเมริกา (6.43%)

ประเทศคู่แข่งสาคัญได้แก่ อินโดนีเซีย (สัดส่วนตลาด 1.59%) ซึ่งอิตาลีนาเข้าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ถึง +317.07% ญี่ปุ่น (3.13%) จีน (1.32%) อินเดีย (0.51%) มาเลเซีย (0.29%)ไต๎หวัน (0.27%) และเกาหลีใต้ (0.15%)

2.7.6 เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์

การส่งออกในช่วง 12 เดือนแรก (ม.ค.-ธ.ค.) ของปี 2552 มีมูลค่า 36.0 ล้านเหรียญสหรัฐลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งส่งออกมูลค่า 90.7ล้านเหรียญสหรัฐคิดเป็นร้อยละ -60.26 เหตุผลเนื่องจาก

(1) อุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ใช้เหล็กและผลิตภัณฑ์ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจค่อนข้างมากโดยในปี 2552 การผลิตลดลงถึง -40 % (ปริมาณ 19.7 ล้านตัน) และมูลค่าการค้าลดลงถึงร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า นอกจากนี้ ผู้ประกอบการเหล็กและผลิตภัณฑ์ยังได้รับผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของต้นทุนด้านพลังงานที่มีราคาสูงขึ้นและต้องเปลี่ยนมาผลิตในช่วงเวลากลางคืนและวันหยุดซึ่งจะมีราคาคค่าพลังงานถูกกวำ

(2) ผู้นำเข้ายังคงรอดูผลจากมาตรการช่วยเหลือของรัฐบาลตามโครงการ In House Plan ซึ่งรัฐบาลได้จัดสรรเงินเพื่อช่วยเหลืออุตสาหกรรมก่อสร้างซึ่งได้แก่

  • กรณี Private house จะให๎เงินช่วยเหลือแก่ผู้ซื้อบ้านหลังใหม่ที่เป็นครอบครัวรายได้น้อย คู่แต่งงานใหม่ คนชราและนักเรียนนักศึกษาที่แยกจากครอบครัว โดยขยายจำนวนบ้านออกไปได้ถึงร้อยละ 20
  • กรณี Social House รัฐบาลจะจัดสรรเงินทุน 350 ล้านยูโรเพื่อสร้างบ้าน 100,000 หลัง ภายในเวลา 5 ปี เพื่อให้ประชาชนที่ยากจนเช่า
  • กรณีเมืองใหม่ (New town) มีโครงการสร้างอพาร์ตเม้นท์จำนวน 100 หลัง ในชานเมืองเพื่อขายให้คู่แต่งงานใหม่ในอัตราเงินกู้พิเศษ

(3) ข้อมูลจากสมาคมผู้ประกอบการก่อสร้าง (National Association of Building Companies-ANCE) แจ้งว่าในปี 2552 การลงทุนและการผลิตลดลง -9.4% และคาดว่าในปี 2553 จะลดลง -7.1% อย่างไรก็ดี คาดว่าหากมาตราการ In house Plan (ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนว่าวางทองที่หรือเมืองใดจะได้รับความช่วยเหลือ) มีผลชัดเจนได้ในปี 2553 ก็จะช่วยให้สภาวะตลาดดีขึ้นและขยายตัวลดลงเพียง -3.9% นอกจากนี้ ผลจากความต้องการที่ลดลงทำให้ราคาบ้านในปี 2552 ลดลง -3.5% และคาดว่าในปี 2553 จะลดลง -2 ถึง 3% รวมทั้งยังคงมีปัญหาในการเข้าถึงสินเชื่อเพื่อการซื้อบ้านของครอบครัวและการลงทุนในการกํอสร๎างของบริษัทผู้ประกอบการด๎วย

(4) คาดว่าในปี 2553 แนวโน้มของตลาดเหล็กและผลิตภัณฑ์น่าจะสดใสขึ้นหากโครงการก่อสร้างใหม่ๆ ของรัฐบาล เช่น โครงการก่อสร้างทางหลวงระหว่างซาเลอโนกับเรจจิโอ-คาลาเบรีย การก่อสร้างสะพานเชื่อมระหว่างคาลาเบรียกับเกาะซิซิลี การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงระหว่างเนเปิลกับบารีจะเริ่มดำเนินการได้ นอกจากนี้ สหภาพยุโรปยังให้เงินทุนในการก่อสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ เป็นวงเงิน 80 ล้านยูโร ได้แก่ การสร้างถนน GRA รอบเมืองโรม การสร้างสถานีรถไฟใต้ดิน การก่อสร้างทำเรือที่เวนิสและการสร้างระบบเครือข่ายทางหลวงของเมืองตูรินเป็นต้น

(5) ไทยครองตลาดเป็นอันดับที่ 43 (สัดส่วนตลาด 0.14%) โดยมีประเทศคูแข่งสาคัญได้แก่ รัสเซีย (6.74%) จีน (3.21%) เกาหลีใต้ (3.10%) อินเดีย (2.23%) และไต้หวัน (1.24%)

3. ข้อคิดเห็น

3.1. คาดว่าในปี 2553 เศรษฐกิจอิตาลีจะฟื้นตัวดีขึ้นจากปี 2552 แตํจะเป็นไปอย่างช้าๆ เนื่องจากยังคงมีความเสี่ยงในด้านความมั่นคงทางเศรษฐกิจจากปัญหาการว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้นและหนี้สาธารณะที่สูงเป็นอันดับ 3 รองจากสหรัฐและญี่ปุ่น อย่างไรก็ดี หากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่าง ๆ ของรัฐบาลทั้งมาตรการ In House Plan และโครงการก่อสร้างสาธารณูปโภคต่าง ๆและมาตรการช่วยเหลืออุตสาหกรรมรถยนต์ “cash for clunkers” ที่อยูระหว่างการพิจารณาต่ออายุสำหรับปี 53 สามารถมีผลในทางปฏิบัติได้เร็วในปี 2553 ก็จะมีผลช่วยให้ภาวะเศรษฐกิจของอิตาลีในปี 2553 ฟื้นตัวได้อย่างมั่นคงมากขึ้น

3.2. สมาพันธ์อุตสาหกรรม (CONFINDUSTRIA) ได้แถลงการคาดการณ์ทางเศรษฐกิจของอิตาลีในปี 2553 ดังนี้

          GDP Growth             = 1.1 %  (ปี 52 = -4.7%)
          Inflation              = 1.4 %  (ปี 52 =  0.8%)

Private consumption = 0.8% (ปี 52 = -1.7%)

          Invesment              = 1.4 %  (ปี 52 = -12.6%)

Unemployment rate = 8.7 % (ปี 52 = 7.6%)

          Imports                = 3.8 %  (ปี 52 = -14.7%)
          Exports                = 4.0 %  (ปี 52 = -19.0%)

3.3. สินค้าที่คาดว่ายังคงมีศักยภาพได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป, ปลาหมึกสดแช่เย็นแช่แข็ง, อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป, เครื่องโทรสารโทรศัพท์และอุปกรณ์ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ส่วนประกอบการและอาหารสัตว์เลี้ยง

3.4. อนึ่ง สคต.โรม มีข้อสังเกตว่าสินค้าอาหารสัตว์เลี้ยงเป็นสินค้าที่มีศักยภาพในตลาดอิตาลีค่อนข้างมากโดยในปี 2552 อิตาลีนำเข้าสินค้าอาหารสัตว์เลี้ยงจากไทยในอัตราที่เพิ่มขึ้นโดยตลอดและในชํวง 5 ปีที่ผำนมาตลาดอาหารสัตว์เลี้ยงของอิตาลีมีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยปีละ 5 % นอกจากนี้ สินค้าที่เกี่ยวเนื่องเช่น เครื่องประดับ เสื้อผ้า ของขบเคี้ยว ของเล่นสำหรับสัตว์เลี้ยงในตลาดอิตาลีซึ่งมีจำนวนประมาณ 60 ล้านนตัว (สุนัขและแมว) ก็ยังคงมีศักยภาพที่ดีเช่นกัน ทั้งนี้ สมาคมอาหารสัตว์เลี้ยงแห่งอิตาลี (Italian Association of petfood —ASSALCO) ว่าพบว่าแนวโน๎มตลาดที่ดีคืออาหารสัตว์แบบ Snack ซึ่งเป็น niche market และมีอัตราการขยายตัวถึง +12.4% อยำงไรก็ดี การแข่งขันในตลาดอิตาลีค่อนข้างสูง ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยงในอิตาลีจะเน้นสินค้าที่มีความหลากหลายและมีรสชาติที่สามารถสนองความต้องการได้ทั้งในด้านของขนาด ความหลากหลาย อายุและไลฟ์สไตล์ของสัตว์ชนิดนั้นๆ

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงโรม

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ