ข้อมูลสินค้ามันฝรั่งในตลาดอิตาลี

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday February 16, 2010 16:42 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. พิกัดสินค้า 0701

2. การผลิต

2.1 อิตาลีเป็นผู้ผลิตและส่งออกมันฝรั่งรายสาคัญรายหนึ่งในสหภาพยุโรป มีผลผลิตเฉลี่ยปีละประมาณเกือบ 2 ล้านตัน(ปี 2552 ปริมาณ 1,995,843 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2551 ร้อยละ 9.5) แหล่งผลิตสาคัญได้แก่ ตอนเหนือ (แคว้นเปียมองเต, Valle D’Aosta ลอมบาร์เดีย, ลิกูเลีย และเทรนติโน) ตอนกลาง(แคว้นทัสคานี มาร์เคและลาซิโอ) และทางตอนใต้(แคว้นปูเกลีย คาลาเบีย และซิซิลี) ซึ่งเป็นแหล่งผลิตหลัก

2.2 มันฝรั่งที่อิตาลีผลิตได้มี 2 ชนิด คือ “patate novella (new potatoes) ซึ่งมีลักษณะผลกลมและขนาดเล็กนิยมนามาทอดและอบทานเป็นอาหารซึ่งจะฤดูเพาะปลูกในช่วงมี.ค. — พ.ค. และ “patate comuni” (old potatoes) ซึ่งมีลักษณะผลยาวรีและขนาดใหญ่นิยมนาไปใช้ในอุตสาหกรรมแปรรูปเช่น chip ซึ่งจะมีฤดูเพาะปลูกในช่วง มิ.ย. — ต.ค.

3. การบริโภค

อิตาลีมีปริมาณการบริโภคเฉลี่ยปีละกว่า 2 ล้านตัน โดยมีปริมาณบริโภคเฉลี่ยรายหัว 30-35 กิโลกรัม/ปี ซึ่งยังค่อนข้างน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในยุโรปทางตอนเหนือ เช่น เนเธอร์แลนด์ เยอรมัน และฝรั่งเศส (ปริมาณการบริโภคเฉลี่ยรายหัว 90 กิโลกรัม/ปี) อย่างไรก็ดี ปริมาณการผลิตก็ยังไม่เพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศที่มีประชากรถึง 58.6 ล้านคน

4. ภาษีนาเข้า ร้อยละ 4.5

5. การนาเข้า

อิตาลีนาเข้ามันฝรั่งจากทั่วโลกเฉลี่ยปีละประมาณ 560,000 ตัน โดยในปี 2552(ม.ค. — ต.ค.) นาเข้าปริมาณ 493,669 ตัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน — 1.08% มูลค่านาเข้า 157.78 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน — 16.40%

ประเทศที่อิตาลีนาเข้าส่วนใหญ่เป็นประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปและยุโรปตะวันออกโดยมีประเทศ 5 อันดับแรกได้แก่ ฝรั่งเศส (สัดส่วน 33.63%) อียิปต์(สัดส่วน 27.99%) เนเธอร์แลนด์(17.77%) เยอรมัน(9.20%) และอิสราเอล(6.52%) ส่วนการนาเข้าจากประเทศในแถบเอเซีย ได้แก่ เวียดนาม จีน และศรีลังกามีน้อยมาก

6. การส่งออก

อิตาลีส่งออกมันฝรั่งไปทั่วโลกเฉลี่ยปีละกว่า 200,000 ตัน มูลค่าส่งออกเฉลี่ยปีละกว่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยในปี 2552 (ม.ค. —ต.ค.) ส่งออกปริมาณ 145,131 ตันลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน -33.04% มูลค่า 76.83 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน -38.50%

อิตาลีส่งออกมันฝรั่งไปประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปและยุโรปตะวันออกเป็นหลักโดยมี 5 อันดับแรก ได้แก่ เยอรมัน(สัดส่วน 64.84%) ฝรั่งเศส(5.53%) โปแลนด์(5.14%) เนเธอร์แลนด์(4.09%) และสโลวีเนีย(3.03%)

7. ราคาจาหน่ายในประเทศ

7.1 ชนิด patate comuni (ใช้ในอุตสาหกรรมแปรรูป) ราคา กก.ละ 60 -90 เซ็นต์

7.2 ชนิด patate novella (ใช้ทอดและทาเป็นอาหารรับประทาน) ราคา กก. ละ 1-1.40 ยูโร

สำนักส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงโรม

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ