รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจและภาวะการค้าสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 1-15 กุมภาพันธ์ 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday March 4, 2010 11:45 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ก. ภาวะเศรษฐกิจ/การค้าทั่วไป

1. รถยนต์ที่ผลิตจากไทยจะบุกตลาดสิงคโปร์เพิ่มขึ้นในปี 2553 ได้แก่ Mazda2, Nissan March, Ford Fiesta และ Toyota Camry โดยรถรุ่นแรกที่จะเข้าสู่ตลาดสิงคโปร์ คือ Mazda2 Sedan (เดือนมีนาคม 2553) ผลิตที่โรงงานในจังหวัดระยอง บริษัทร่วมลงทุนระหว่าง Mazda Motor และ Ford Motor สำหรับรุ่นต่อไปที่จะเข้าสิงคโปร์คือ Ford Fiesta (ไตรมาสที่ 3 ของปี 2553) และ Nissan March 1.2 ลิตร (ไตรมาสที่ 4) ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายในสิงคโปร์คือ Tan Chong Motor (Nissan), Borneo Motors (Toyota : Camry Hybrid-petrol-electric model, bi-fuel ทั้งนี้ ตลาดรถยนต์ที่ผลิตจากไทยในสิงคโปร์เริ่มดีขึ้นเมื่อปี 2548 มีประมาณร้อยละ 25 แต่เมื่อราคารถจากเกาหลีใต้ถูกกว่า จึงทำให้การจำหน่ายลดลงในปี 2552 รถยนต์จากไทยเป็นร้อยละ 16 หรือประมาณ 11,000 คัน จากจำนวนรวม 69,000 คันของรถใหม่

2. Economic Development Board and Department of Statistic ได้ทำการสำรวจความคาดหวังที่จะมีการเปลี่ยนแปลงดีขึ้นของธุรกิจในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2553 ปรากฎผลดังนี้ 1) Financial services ร้อยละ 53 2) Catering ร้อยละ 40 3) Wholesale Trade ร้อยละ 33 4) Hotels ร้อยละ 27 5) Precision engineering ร้อยละ 23 6) Transport engineering ร้อยละ 21 สำหรับการเปลี่ยนแปลงที่จะลดลง ได้แก่ Retail trade ลดลงร้อยละ 8 และ Information & Communications ลดลงร้อยละ 1

3. ตลาดแรงงานในสิงคโปร์ได้ฟื้นตัวขึ้นในช่วงเดือนมิถุนายน-กันยายนของปี 2552 ตำแหน่งงานในเดือนมิถุนายนซึ่งมี 24,500 อัตรา เพิ่มขึ้นเป็น 34,900 อัตราในเดือนกันยายน ซึ่งตำแหน่งพนักงานขายและในภาคธุรกิจบริการเป็นตำแหน่งที่ต้องการมากที่สุด เนื่องจากมีศูนย์การค้าเปิดใหม่ และ Integrated Resorts (IRs) โรงแรมและคาสิโนเริ่มที่จะเปิดดำเนินการ ทั้งนี้ ตำแหน่งงานที่ไม่มีคนสนใจสมัคร ได้แก่ 1) กลุ่มที่มีความชำนาญน้อย เช่น พนักงานรักษาความปลอดภัย พนักงานขาย บริกร และคนงานก่อสร้าง 2) กลุ่มผู้ชำนาญการ เช่น Computer Engineers, network and computer systems administrators and mechanical engineering technicians

4. อัตราเงินเฟ้อของสิงคโปร์ปี 2552 อยู่ที่ร้อยละ 0.2 (เทียบกับปี 2551) โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มๆ ดังนี้ อาหาร ร้อยละ 2.3, เสื้อผ้าและรองเท้า ร้อยละ 1.1, ที่พักอาศัย ร้อยละ -0.3, การคมนาคมและโทรคมนาคม ร้อยละ -2.4, การศึกษาและเครื่องเขียน ร้อยละ 0.3, สุขอนามัย ร้อยละ 2.9 และการพักผ่อนและอื่นๆ ร้อยละ -0.1 ทั้งนี้ หากไม่รวมที่พักอาศัย อัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ร้อยละ -0.5

5. The Economic Strategies Committee (ESC) ที่ร่วมด้วยเจ้าหน้าที่มากกว่า 1,100 คน ใช้เวลา 8 เดือนในการรวบรวมข้อแนะนำและแผนการในการปรับเปลี่ยนให้เศรษฐกิจสิงคโปร์มีการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้น โดยจะช่วยให้มีการเพิ่มผลผลิตและมีการเจริญอย่างต่อเนื่อง ข้อแนะนำของ ESC ในด้านต่างๆ ได้แก่

  • การเพิ่มผลผลิต : พึ่งแรงงงานต่างชาติน้อยลง, การฝึกอบรมยกระดับพนักงานปีละ 240,000 ราย, ให้เงินสนับสนุนแก่บริษัทที่เน้นการเพิ่มผลผลิต, ให้ลดอัตราภาษี, จ้างผู้มีความชำนาญแม้สูงอายุ
  • การให้เป็น Global-Asia Hub: ให้ประเทศเป็นศูนย์กลางสำหรับบริษัทต่างชาติขยายตลาดในเอเชีย และบริษัทในเอเชียขยายไปทั่วโลก, ให้ระดับการผลิตเป็นร้อยละ 20-25 ของ GDP, ทำให้สิงคโปร์เป็นศูนย์กลางธุรกิจค้าปลีกชั้นนำ, เชิญชวนบริษัทในสิงคโปร์ให้คิดสร้างสรรด้านการสร้างสภาวะความเป็นอยู่
  • การปรับเปลี่ยน/รวมลักษณะบริษัท: เพิ่มจำนวนบริษัท SMEs ที่มีรายได้ต่อปีมากกว่า 100 ล้านเหรียญสิงคโปร์ ให้เป็น 2 เท่า เป็นจำนวน 1,200 บริษัท ภายในปี 2563, ธนาคาร Exim ให้บริการด้านการเงินสำหรับการค้า, ภาครัฐและเอกชนร่วมทุนประมาณ 1.5 พันล้านเหรียญสิงคโปร์เพื่อลงทุนในบริษัท SMEs ที่มีความสามารถในช่วงระยะเวลา 10 ปีข้างหน้า, ให้มีการรวมตัวกันระหว่างบริษัท SMEs และบริษัทขนาดใหญ่ และบริษัทข้ามชาติ
  • การคิดสร้างสรร: จัดสรรเงินร้อยละ 3.5 ของ GDP ใช้ด้าน R&D ภายในปี 2558 (ปัจจุบันร้อยละ 3), สนับสนุนการออกแบบในสิงคโปร์, ตั้งศูนย์กลางนวัตกรรมในสถาบันการศึกษา, จัดหาเจ้าหน้าที่ที่มีความชำนาญเชิงพาณิชย์
  • เศรษฐกิจที่ประหยัดพลังงาน: พิจารณานำเข้าถ่านหินและพลังไฟฟ้า, ศึกษาพลังงานนิวเคลียร์, จัดให้มีพลังงานพอใช้และราคาเป็นไปตามค่าใช้จ่ายจริง, ศึกษาโปรแกรมการลดใช้คาร์บอน
  • การใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์เต็มที่: สร้างเขต Tanjong Pagar ให้เป็นน่านน้ำใหม่หลังปี 2570, ศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้ท่าเรือที่ Tuas , สร้างสถานที่ใต้ดินที่สามารถใช้ประโยชน์, ให้สามารถปรับเปลี่ยนการใช้สอยพื้นที่ของรัฐ
  • การให้เป็น Global City และประเทศที่เป็นที่รัก: สร้างให้มีสถาบันการศึกษาชั้นนำระดับนานาชาติอีก 5 แห่ง ภายในปี 2563 โดยมีสาขาใหม่ๆ เช่น ศิลปะ แฟชั่น และการกีฬา, พื้นที่ไม่แพงนักสำหรับศิลปะและการออกแบบ, เป็นเจ้าภาพจัดงานระดับนานาชาติเพิ่มขึ้น

6. ภาคการท่องเที่ยวทำเงินหมุนเวียนในประเทศ ซึ่งได้จากการไปท่องเที่ยวที่เกาะเซนโตซา ภายใต้ Theme “Staycations” ซึ่งในปี 2552 มีจำนวน 6.2 ล้านคนเยือนเกาะเซนโตซา เพิ่มขึ้นร้อยละ 50 นับตั้งแต่ปี 2003 และร้อยละ 50 เป็นชาวสิงคโปร์

7. สิงคโปร์จัดงาน Singapore Airshow 2010 ระหว่างวันที่ 2-7 กุมภาพันธ์ 2553 ณ Changi Exhibition Centre ซึ่งมีผู้เข้าชมงานประมาณ 43,000 ราย ทั้งที่เป็นผู้นำภาครัฐ ผู้บริหารสายการบิน เจ้าหน้าที่หน่วยงานทหาร และผู้ค้าในอุตสาหกรรมการบิน บริษัทจัดแสดงสินค้าจำนวนมากกว่า 800 ราย จาก 40 ประเทศ ในปี 2551 มีการซื้อขายมูลค่า 13 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (ไม่มีการจัดในปี 2552) ในปี 2553 เป็นการแสดงสินค้าเพื่อธุรกิจในระยะยาว ซึ่ง Airbus ได้จัดแสดงให้ชม A330-200F freighter ที่จะเข้าสู่ตลาดภายในปลายปี 2553 บริษัทยุโรปที่ผลิตเครื่องบิน แสดง A350 XWB mid-size widebody จะเข้าสู่ตลาดในปี 2556 แนวโน้มตลาดในเอเชียแปซิฟิคคาดว่า มีความต้องการเครื่องบินจำนวน 9,000 ลำ มูลค่า มากกว่า 1.1 trillion เหรียญสหรัฐฯ ภายใน 20 ปีข้างหน้า ซึ่งประมาณ 3,800 ลำ จะใช้สำหรับชาวจีน ส่วน South-west Asia ที่รวมอินเดีย จะมีความต้องการอีก 1,200 ลำ มูลค่าการค้าขายประมาณ 10 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเป็นสัญญาต่างๆจากการบินเชิงพาณิชย์สำหรับเครื่องบินและอุปกรณ์ส่วนประกอบ การให้บริการและการซ่อมบำรุงรักษา สัญญาที่มีมูลค่าใหญ่ที่สุดคือ 3.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ระหว่าง Jetstar Airways กับบริษัท International Aero Engines สำหรับเครื่องยนต์และการบริการหลังการขาย สำหรับด้านการรักษาความปลอดภัย มีสัญญาระหว่าง Indian Air Force ซึ่งมีมูลค่า 860 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซื้อ missiles จาก Bharat Electronics

ข. การลงทุนในสิงคโปร์

1. National Research Foundation (NRF) ได้ให้เงินสนับสนุน 50 ล้านเหรียญสิงคโปร์เพื่อช่วยโครงการค้นคว้าและพัฒนาลักษณะของเมือง 5 โครงการ ซึ่งจำนวน 4 โครงการมาจาก Nanyang Technological University และอีก 1 โครงการมาจาก National University of Singapore โดยจะมุ่งเน้นด้าน urban waste management, efficient sunlight havesting และ engineering biofuels

2. บริษัทการลงทุนของ Economic Development Board (EDB) คือ EDB Investments (EDBI) ได้ลงทุนในบริษัท CWT ให้บริการด้านโลจิสติกส์ มีหุ้นมูลค่า 16 ล้านเหรียญสิงคโปร์ ซึ่งเป็นราคาหุ้นละ 78.8 เซนต์ บริษัท CWT เป็นบริษัทโลจิสติกส์ที่ใหญ่ที่สุดในตลาดหุ้นของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้รับความสำเร็จจากการให้บริการโลจิสติกส์ที่ยอดเยี่ยม และมีระดับมาตรฐานในการขนส่งไปยังประเทศต่างๆทั่วโลก ส่วนใหญ่ให้บริการขนส่งสินค้าเกษตรและเคมีภัณฑ์ มีศูนย์บริการตู้ขนส่งสินค้า 4 แห่ง สามารถขยายตัวและวางแผนให้มีการเจริญเติบโตในระยะยาว ทั้งนี้ ภาคการขนส่งและคลังสินค้าเป็นตัวสนับสนุนเศรษฐกิจสิงคโปร์ถึงร้อยละ 9 ของ GDP และมีการจ้างงานประมาณ 182,000 อัตรา/ปี

3. บริษัท LANXESS ได้ประกาศการลงทุนสร้าง a new butyl rubber facility ในสิงคโปร์ โดยเริ่มในเดือนพฤษภาคม 2553 และการผลิตจะเริ่มต้นในไตรมาสแรกของปี 2013 สำหรับผลผลิตประมาณ 100,000 ตัน/ปี จากโรงงานที่เกาะจูร่งต้องมีเงินลงทุนถึง 400 ล้านเหรีญยูโร (ประมาณ 575 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โรงงานผลิตดังกล่าวจะช่วยให้มีปริมาณของยางรถยนต์เพิ่มขึ้นเพื่อสนองตลาดรายได้ระดับกลางในประเทศจีนและอินเดีย และที่สำคัญจะช่วยให้เป็นทางเลือกสำคัญของภาคอุตสาหกรรมเภสัชภัณฑ์โดยเฉพาะในเอเชีย

4. บริษัท Dorma (เยอรมนี) ได้จัดตั้งบริษัทในสิงคโปร์จำหน่าย door hardware and automatic doors มูลค่าการจำหน่ายในปี 2551 900 ล้านเหรียญยูโร (1.8 พันล้านเหรียญสิงคโปร์) มีการจ้างงานประมาณ 7,000 อัตรา ใน 46 ประเทศ ได้เลือกสิงคโปร์เป็นประเทศแรกนอกเยอรมนี (เทียบกับบราซิลและ สหรัฐฯ) เนื่องจากสิงคโปร์มีเสถียรภาพการเมืองที่มั่นคง ภาครัฐส่งเสริมธุรกิจ ความก้าวหน้าโครงสร้างพื้นฐานเศรษฐกิจและการโลจิสติกส์ การดำเนินกิจการในสิงคโปร์มีผลผลิตเกือบร้อยละ 50 ของผลผลิตสำหรับทั่วโลกสำหรับบางประเภทสินค้า และยังเป็นสำนักงานใหญ่ในภูมิภาคอาเซียน เกาหลีใต้ ไต้หวันและญี่ปุ่น ในสิงคโปร์มีการจ้างงาน 350 อัตรา

5. บริษัท JTC ลงทุนสร้างโรงงาน 7 แห่ง ณ Seletar บนพื้นที่แห่งละ 3,000 ตารางเมตร จะเล้วเสร็จในปี 2554 มูลค่าโครงการ 30 ล้านเหรียญสิงคโปร์ ได้รับการสนับสนุนจาก British power systems and engines giant , which will assemble and test engines , to make fan blades for large aircraft ธุรกิจด้านการซ่อมบำรุงรักษาคิดเป็นประมาณร้อยละ 90 ของภาคอุตสาหกรรมการบินที่ในปี 2552 มีมูลค่ามากกว่า 7 พันล้านเหรียญสิงคโปร์

ค. การลงทุนในต่างประเทศ

1. บริษัท SembMarine สิงคโปร์ลงทุนสร้างอู่ต่อเรือในเมือง Espirito Santo ประเทศบราซิล บนพื้นที่ 825,000 ตารางเมตร ประมาณมูลค่าการสร้างระหว่าง 100-150 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

2. บริษัท FloaTEC, Keppel Fels สิงคโปร์ ในเครือบริษัท Keppel Corp และบริษัทอเมริกา J.Ray ได้รับสัญญามูลค่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในการออกแบบ สร้าง ดำเนินการและบำรุงรักษา oil rig ในบราซิล ชื่อว่า P-61 tension Leg Well-head Platform (TLWP) ซึ่งจะแล้วเสร็จในปี 2556

3. สิงคโปร์สนใจตลาดซาอุดิอาระเบียเพื่อธุรกิจการให้บริการสุขอนามัย ซึ่ง International Enterprise Singapore ได้นำคณะผู้แทนการค้าสิงคโปร์ 9 ราย นำร่องเยือนซาอุดิอาระเบีย ตลาดที่มีการเจริญเติบโตในปี 2552 ร้อยละ 0.15 มีประชากร 29 ล้านคน คาดว่าจะมีการเจริญเติบโตในปี 2553 ร้อยละ 3 ในปี 2551 มูลค่าการใช้จ่ายด้านสุขอนามัย 16.7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 26.5 นอกจากนี้ภาครัฐยังเพิ่มเงินด้านการให้บริการสุขอนามัยและการพัฒนาสังคมเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 10 ของเงินงบประมาณ 126.7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ

ง. ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ

1. สิงคโปร์และ Costa Rica ได้ลงนาม Free Trade Agreement (FTA) ร่วมกัน โดยสิงคโปร์จะไม่เก็บภาษีสินค้าที่นำเข้าจาก Costa Rica ในขณะที่ Costa Rica จะลดการเก็บภาษีจากรายการสินค้าที่ต้องเสียภาษีร้อยละ 90.6 และส่วนที่เหลือจะค่อยๆหมดไปภายใน 10 ปีข้างหน้า ตลาด Costa Rica มีประชากร ประมาณ 4 ล้านคนและส่วนใหญ่ส่งออกผลผลิตทางการเกษตรรวมถึงกล้วยหอม กาแฟ และน้ำตาลในปี 2552 การค้ารวมระหว่างสองประเทศมีมูลค่า 413.7 ล้านเหรียญสิงคโปร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 40 จากปี 2547 สินค้าที่สิงคโปร์นำเข้าได้แก่ Electronic valves และ machine parts สินค้าที่ส่งออกได้แก่ measuring instruments and rubber นอกจากนี้ บริษัทสิงคโปร์สนใจเข้าไปลงทุนด้านการบริการโรงแรม/ภัตตาคาร การศึกษา และการก่อสร้าง

2. The Massachusetts Institute of Technology (MIT) ได้ทำความตกลงกับ The Singapore University of Technology and Design (SUTD) ให้ความร่วมมือระหว่างกันในด้านการศึกษา ซึ่งนักศึกษาและเจ้าหน้าที่ของทั้งสองสถาบันสามารถที่จะปฏิบัติงานโครงการต่างๆได้ที่ศูนย์ของทั้งสองแห่ง ทั้งนี้ โครงการจะมุ่งเน้นด้านพลังงาน และอุปกรณ์เทคโนโลยีด้านโทรคมนาคมและข่าวสาร

3. มหาวิทยาลัย Stanford, Biodesign Program ได้ร่วมมือกับ Agency for Science, Technology & Research (A*STAR) และ Singapore Economic Development Board (EDB) สร้างโปรแกรมฝึกอบรมใหม่ชื่อ Singapore-Stanford Biodesign สำหรับการฝึกอบรมนักศึกษา/นักวิทยาศาสตร์ของสิงคโปร์ที่สามารถพัฒนาและสร้างสรรอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อช่วยเหลือการสุขอนามัยในเอเชีย โดยจัดให้เงินทุนแก่นักศึกษา 4 ราย ไปศึกษาและอบรมที่มหาวิทยาลัย Stanford เป็นระยะเวลา 6 เดือน เพื่อจัดหาข้อสรุปด้านสุขอนามัยและยารักษาโรคสำหรับเอเชีย และมุ่งเน้นการสร้างสรรในเทคโนโลยียารักษาโรคในสิงคโปร์และ Silicon Valley

จ. อื่นๆ

1. สิงคโปร์ได้รับการจัดอันดับให้เป็นที่ 1 ของประเทศที่มีเครือข่ายการค้าทั่วโลก จากรายงาน The Globalisation Index 2009 สำรวจจาก 60 ประเทศ ซึ่งสิงคโปร์มีปัจจัยสำคัญ ได้แก่ ปริมาณการค้ารวมมากกว่าร้อยละ 300 โดยมีการขนส่งสินค้าและการบริการมากกว่าประเทศอื่นๆ, อัตราการค้าที่มีต่อ GDP อยู่ในระดับสูง, การค้าเปิดเสรีและมีมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีน้อยมาก รวมถึงการเคลื่อนไหวของหุ้น และการเงิน เป็นต้น สำหรับประเทศใน 10 อันดับแรกที่ได้อันดับรองลงมาจากสิงคโปร์ได้แก่ ฮ่องกง ไอร์แลนด์ เบลเยี่ยม สวีเดน เดนมาร์ค สวิสเซอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ อิสราเอล และฟินแลนด์

2. สถาบันการศึกษาในสิงคโปร์ 4 แห่ง ได้รับคัดเลือกจาก University of Pennsylvania ภายใต้ Think Tank and Civil Societies Programme ซึ่ง The S. Rajaratnam School of International Studies (RSIS) ได้รับอันดับที่ 3 ในกลุ่ม Asian think-tanks (มากกว่า 1,000 แห่ง) และสถาบันอีก 3 แห่ง ได้รับเลือกให้อยู่ในกลุ่ม 30 อันดับแรกของเอเชีย คือ Lee Kuan Yew School of Public Policy เป็นอันดับที่ 7, Singapore Institute of International Affairs เป็นอันดับที่ 15 และ Institute of Southeast Asian Studies เป็นอันดับที่ 29 ทั้งนี้ ในการจัดอันดับดังกล่าว ทำให้สิงคโปร์ได้รับชื่อเสียงด้านการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาที่มีระบบที่เข้มงวดอีกด้วย

3. Nanyang Business School (NBS) ของสิงคโปร์ ได้รับการจัดให้อยู่อันดับที่ 27 ของโลก โดยอันดับที่ 1 คือ London Business School (Britain) รองลงมาได้แก่ University of Pennsylvania: Wharton(US)} Harvard Business School (US), Stanford University GSB (US), Insead (Franc/Singapore), Columbia Business School (US), IE Business School (Spain), MIT Sloan School of Management (US), University of Chicago: Booth (US), Hong Kong UST Business School (China) ทั้งนี้ การสำรวจใช้พื้นฐาน 3 ประการ คือ ความก้าวหน้าด้านการศึกษา, ความหลากหลายของผู้เรียน และความคิดสร้างสรรที่ดีในการสร้างหลักสูตร

4. สิงคโปร์กำหนดเป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุม Global Tax Forum ระหว่างวันที่ 30 กันยายน — 1 ตุลาคม 2553 ซึ่งจะมีตัวแทนเข้าร่วประชุมจาก 90 กว่าประเทศ นับเป็นการประชุมครั้งแรกในสิงคโปร์ โดยจะมีการประชุมทบทวนผลขั้นต้นของแนวทางปฏิบัติ การพัฒนาต่อเนื่อง และความก้าวหน้าที่เกิดขึ้นในปีที่ผ่านมา การปฏิบัติด้วยความโปร่งใสและการแลกเปลี่ยนข้อมูลสำหรับจุดประสงค์ด้านภาษี การกำกับดูแล และการประเมินผลมาตรฐานนานาชาติในการนำข้อมูลภาษีไปใช้ร่วมกัน

กิจกรรมที่ดำเนินการระหว่างวันที่ 1-15 กุมภาพันธ์ 2553

1. จัดส่งรายชื่อคณะผู้แทนการค้าสิงคโปร์เข้าชมงาน Bangkok Gems & Jewelry Fair ระหว่างวันที่ 26 ก.พ. -2 มี.ค. 2553

2. ประสานงานเชิญชวนบริษัทสิงคโปร์สมัครเข้าร่วมงานแสดงสินค้าเฟอร์นิเจอร์ (TIFF 2010) ซึ่งกำหนดจัดระหว่างวันที่ 10-14 มีนาคม 2553

3. ประสานงานติดต่อสมาคม Singapore Industrial Automation Association (SIAA) และ TCEB เพื่อร่วมมือจัดหาสมาชิกเข้าร่วมแสดง สินค้าในงาน TAPA 2010

4. ประสานงานเชิญชวนนักธุรกิจสิงคโปร์เข้าชมงานแสดงสินค้า TAPA 2010

5. ประสานงานติดต่อสมาคมและนักธุรกิจสิงคโปร์เพื่อเข้าร่วมคณะผู้แทนการค้าสิงคโปร์เยือนประเทศไทย ในเดือนมีนาคมและมิถุนายน 2553

6. ประสานงานติดตามการอนุมัติดำเนินการงาน Thailand Trade Exhibition 2010 ในสิงคโปร์(ระหว่างวันที่ 19-23 พค.53)

7. ประสานงานงานต่อเนื่องเพื่อการประชาสัมพันธ์และการตลาดสินค้าของกลุ่มสหพัฒน์ในสิงคโปร์ ซึ่งจะเปิดตัวสินค้าในเครือฯ ที่ศูนย์การค้า ALT (Alternative Life Trand” ตั้งอยู่ที่ ถนนออชาร์ด ภายในเดือนพฤษภาคม 2553 มีสินค้า 11 แบรนด์ คือ 1.Arty Professional by BSC, 2.Panadda by BBC, 3.BSC Shoes & Bags, 4.Cindora, 5.Lemonade & Panadda by BSC, 6.BSC Lingerie, 7.Janjila, 8.Becky Russell, 9. St Andrews SPA and Body Care, 10.St Andrews Plush Toys, 11.BSC Towels อีกทั้งจะจัด outlet ที่ห้างฯ OG, Metro, Takashimaya, Tangs และ Orchard Centre และมีบริษัท SSJ Pte. Ltd. จัดจำหน่ายสินค้าของ BBC จำนวน 3 รายการ คือ Wienna Lingerie, Andrews Kids และ SHEENE Cosmetics

8. ประสานงานเพื่อการคัดเลือกภัตตาคารไทยในสิงคโปร์ให้ได้รับตราเครื่องหมาย Thai Select

9 .ติดต่อประสานงานเชิญผู้แทนจาก BOI และธนาคารกรุงไทย มหาชน จำกัด (สาขาสิงคโปร์) เข้าร่วมเป็นผู้บรรยายในการสัมมนาเรื่อง Doing Business in Thailand ณ ห้องประชุมของ Singapore Business Federation (SBF) สิงคโปร์ ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2553 ระหว่างเวลา 14.30-17.00 น.

10. ติดต่อประสานงานเพื่อคณะข้าราชการกรมพัฒนาธุรกิจการค้าศึกษาดูงานการบริการทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับธุรกิจการค้าในสิงคโปร์

11. ติดต่อประสานงานเพื่อคณะข้าราชการกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เข้าร่วมประชุมคณะทำงานด้านการค้าบริการ (AIFTA-WGS) ครั้งที่ 6 ภายใต้การจัดทำความตกลงการค้าเสรี-อาเซียน-อินเดีย ระหว่างวันที่ 22-24 กุมภาพันธ์ 2553

12. ติดต่อประสานงานให้คณะของคณะกรรมาธิการเกษตรและสหกรณ์ สภาผู้แทนราษฎรศึกษาดูงานเกี่ยวกับกระบวนการตรวจสอบสินค้าเกษตรในสิงคโปร์

13. ติดต่อประสานงานนายกสมาคมผู้นำเข้าข้าวสิงคโปร์เพื่อเยี่ยมชมข้าว พื้นเมืองพันธุ์สังข์หยดของจังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดพัทลุง ระหว่างวันที่ 27-30 มีนาคม 2553

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ สิงคโปร์

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ