สิงคโปร์ผลักดันให้ประเทศเป็นศูนย์กลางแห่งแฟชั่น

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday March 4, 2010 15:11 —กรมส่งเสริมการส่งออก

สืบเนื่องมาจากเมื่อปี 2544 ด้วยการประชาสัมพันธ์ของ Singapore Tourism Board (STB) ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเชิญชวนให้ชาวต่างชาติเดินทางมาท่องเที่ยวสิงคโปร์เพิ่มมากขึ้น จึงได้จัดให้มีงานเกี่ยวกับแฟชั่นภายใต้ชื่องาน Singapore Fashion Festival พร้อมได้ช่วยส่งเสริมงาน Singapore Fashion Week ที่จัดโดย Textile and Fashion Federation (Taff) ด้วยวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมให้สิงคโปร์เป็นประเทศแห่งแฟชั่นและการช๊อปปิ้ง รวมถึงมุ่งเน้นในการพัฒนาความสามารถของนักออกแบบท้องถิ่น และช่วยสร้างให้นักออกแบบมีพื้นฐานที่ดีและมั่นคงในการเข้าสู่ธุรกิจในตลาด โลกต่อไป

ต่อมาเมื่อปี 2551 STB และ Taff ได้ประกาศงดการจัดงานดังกล่าว เนื่องจากงานทั้งสองเป็นไปอย่างไร้ทิศทาง มีการขัดแย้งกันเอง ไม่ได้รับความสนใจจากนักออกแบบในเอเชียและเป็น การแข่งขันกันเองภายในวงการอุตสาหกรรมแฟชั่นในประเทศเท่านั้น ไม่เกิดผลดีต่อการสร้างประเทศให้เป็นศูนย์กลางแห่งแฟชั่น ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้เกิดการรวมตัวกันขึ้นเป็น The Asian Fashion Exchange (AFX) ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยความร่วมมือกันระหว่างภาคอุตสาหกรรมท้องถิ่นและหน่วยงานภาครัฐ 3 แห่ง ประกอบ ด้วย Singapore Tourism Board (STB), International Enterprise (IE) Singapore และ SPRING Singapore โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งเน้นการขยายตลาดแฟชั่นเสื้อผ้าของสิงคโปร์ไปยังตลาดในภูมิภาคและระดับนานาชาติ รวมถึงให้มีการพัฒนาความสามารถของนักออกแบบสิงคโปร์ และที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ ให้เป็นการดึงดูดนักท่องเที่ยวเยือนสิงคโปร์ให้เพิ่มมากขึ้นด้วย การสนับสนุนดังกล่าวมีเงินกองทุนร่วมกัน เพื่อใช้ประชาสัมพันธ์ข่าวสารของงานแก่ลูกค้าด้านแฟชั่นระดับนานาชาติ, นักออกแบบ และบุคคลชั้นนำต่างๆ ของวงการอุตสาหกรรมแฟชั่น ทั้งนี้ AFX ได้กำหนดการจัดงานที่เกี่ยวข้องกับแฟชั่น 4 งาน ในเดือนเมษายน 2553 ในสิงคโปร์ คือ

1. Blueprint (ระหว่างวันที่ 29 เมษายน - 1 พฤษภาคม 2553) ซึ่งจะมีการประสานงานร่วมกับนักออกแบบท้องถิ่นและในภูมิภาคมืออาชีพ คาดว่าจะมีผู้จัดแสดงสินค้าจำนวน 50 ราย และผู้ซื้อจากทั่วโลกมากกว่า 1,000 ราย โดยเฉพาะจากยุโรปและสหรัฐฯ โดยในงานจะจัดแสดงชุดใส่งานกลางคืน, ชุดทำงาน, ชุดร่วมสมัย, ชุดสวมใส่สบายๆ และอัญมณีและเครื่องประดับระดับกลางถึงระดับสูง งานนี้จัดโดย Mercury Marketing and Communications และได้รับการสนับสนุนจาก Textile and Fashion Federation (TaFf) ณ Pit Building โดยจะเปิดให้สาธารณชนได้เข้าชมในวันที่ 1 พฤษภาคม 2553 ภายใต้ชื่อ Blueprint Emporium สินค้าที่จำหน่ายจะเป็นสินค้าที่ไม่วางจำหน่ายทั่วไปในสิงคโปร์ คาดว่าจะมีผู้เข้าชมประมาณ 3,000 คน

2. Asia Fashion Summit (ระหว่างวันที่ 28-30 เมษายน 2553) เป็นการนำมืออาชีพด้านอุตสาหกรรมแฟชั่นในเอเชียมารวมกันและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น, สร้างเครือข่าย, กำหนดการจัดการ และสร้างแนวโน้มให้ธุรกิจขยายตลาดในเอเชีย โดยผู้เข้าร่วมงานสามารถปรึกษาหารือและประชุมฝึกอบรมในหัวข้อเกี่ยวกับแฟชั่นต่างๆ ได้แก่ การสร้างแบรนด์ การคาดการณ์แนวโน้ม แฟชั่นที่สนับ สนุนภาวะโลกร้อน และการค้าปลีก เป็นต้น งานนี้จัดโดย TaFf คาดว่า จะมีผู้เข้าร่วมประมาณ 200 คน

3. Audi Fashion Festival (ระหว่างวันที่ 28 เมษายน — 2 พฤษภาคม 2553) ในปีนี้เป็นการจัดครั้งที่ 2 โดย Mercury Marketing and Communications ณ Ngee Ann City ซึ่งจะจัดแสดงผลงานเด่นๆของนักออกแบบชั้นนำและแบรนด์ระดับนานาชาติ ผู้เข้าร่วมงานจะรวมถึงนางแบบชื่อดังและสมาชิกวงการแฟชั่นระดับสูง

4. Fashion Design Competition (วันที่ 29 เมษายน 2553) เป็นงานการแข่งขันการออกแบบ ซึ่งได้รับการผลักดันจาก TaFf และสนับสนุนจาดภาคเอชน เพื่อค้นหานักออกแบบใหม่ที่มีความสามารถในเอเชีย และมุ่งเน้นที่จะค้นหาบุคคลที่มีพรสวรรค์ในภูมิภาคให้เข้ามาจัดตั้งสำนักงานในสิงคโปร์ ซึ่งผู้ชนะการประกวดจะได้รับรางวัลการฝึกงาน 1 ปี ในศูนย์แฟชั่นชั้นนำในเอเชีย และได้รับการแนะนำรวมถึงให้วัสดุในการออกแบบและผลิตชุดเสื้อผ้าแฟชั่นเพื่อจัดแสดงในงาน AFX ในปีต่อไป

ข้อมูลตลาดเสื้อผ้าในสิงคโปร์

ภาวะทั่วไป

1. นอกจากสิงคโปร์จะนำเข้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปของแบรนด์ต่างๆที่มีชื่อเสียงจากทั่วโลกแล้ว ยังเป็นผู้ผลิตเสื้อผ้าที่ไทยพึงจับตามอง เนื่องจากภาครัฐให้ความสำคัญและส่งเสริมให้สิงคโปร์เป็น Textile and Apparel Hub โดยมี Textile and Fashion Federation (Singapore) : TaFf เป็นแกนกลางในการส่งเสริมด้านต่างๆ อาทิ การออกแบบ การจัดตั้งแบรนด์ การตลาด การจัดหาวัสดุ การจัดทำเครือข่าย เป็นต้น และในปัจจุบันหน่วยงานภาครัฐ 3 แห่ง คือ Singapore Tourism Board (STB), International Enterprise (IE) Singapore และ SPRING Singapore มีแผนการส่งเสริมให้สิงคโปร์เป็น Fashion Hub

2. TaFf มีสมาชิก 204 ราย แบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม คือ Textile & Fabric Mill(36), Apparel Makers(65), Retailers(62), Buying Agent(10), Logistics & Support Industries(22) และ Associate Member (design/merchandising/ oversea) (10)

3. โอกาสของนักออกแบบและผู้ผลิตสิงคโปร์ โดยเข้าร่วมงานที่ TaFf ร่วมกับหน่วย- งานต่างๆ และภาคเอกชน โดยในปี 2553 มีจำนวน 4 งาน คือ Blueprint, Asia Fashion Summit, Audi Fashion Festival และ Fashion Design Competition

4. อุตสาหกรรมเสื้อผ้าภายในสิงคโปร์ ได้เปลี่ยนรูปแบบจากการผลิตสินค้าอย่างครบวงจรไปเป็นศูนย์แฟชั่นภูมิภาคและศูนย์กลางจัดหา/จัดซื้อและการพัฒนาสินค้า เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการผลิตและค่าจ้างแรงงานสูงมาก ทำให้โรงงานผลิตย้ายฐานการผลิตไปอยู่นอกสิงคโปร์ เช่น อินโดนีเซีย อัฟริกาใต้ เขมร ลาว และพม่า เป็นต้น

พฤติกรรมของผู้บริโภค/ราคา

เนื่องจากอากาศในสิงคโปร์ร้อน-ชื้น พฤติกรรมของผู้บริโภคสรุปได้ดังนี้

1. นิยมเสื้อผ้าที่ผลิตจากผ้าฝ้ายหรือผ้าชนิดบางที่ง่ายต่อการดูแลรักษา

2. รูปแบบตามสมัยนิยม สมาร์ท ดูเด่น สวยงาม

3. สีอยู่ในระดับอ่อนโยนสำหรับผู้ชาย และสีต่างๆ จากระดับอ่อนโยนจนถึงสีฉูดฉาดสำหรับผู้หญิง

4. ราคา : เสื้อ 29-150 เหรียญสิงคโปร์, เสื้อยืด 19-85 เหรียญฯ, กระโปรง 39-150 เหรียญฯ, กางเกง 69-190 เหรียญฯ และแจ๊คเก็ต 90-500 เหรียญฯ

โอกาส/แนวโน้มช่องทางการจำหน่าย

ผู้นำเข้าเสื้อผ้ารายใหญ่ เช่น AMC (S) Pte.Ltd., GAP International Sourcing Pte. Ltd., Li & Fung (Singapore) Pte. Ltd., WMGS Singapore Pte. Ltd., D Chow Trading Corporation, Kaye Agencies Pte.Ltd. เป็นต้น จะนำเข้าสินค้าและส่งจำหน่ายในห้างสรรพสินค้า และร้านเสื้อผ้าตามศูนย์การค้าทั่วไปนอกจากนี้ ยังมีเจ้าของร้านบางรายที่เดินทางไปจัดซื้อและถือสินค้าเข้ามาจำหน่ายเอง ซึ่งส่วนใหญ่สินค้าจากฮ่องกง ไต้หวัน และไทย

ช่องทางการกระจายสินค้า

ผู้ผลิต/ผู้ส่งออกไทยสามารถส่งสินค้าสินค้าเสื้อผ้าเข้าไปจำหน่ายในตลาดสิงคโปร์ โดยการนำเข้าของผู้นำเข้า/ผู้ค้าส่งและส่งต่อไปยังห้างสรรพสินค้าและร้านเสื้อผ้า หรือจำหน่ายให้ผู้ซื้อที่เดิน ทางไปเลือกซื้อในไทยโดยตรง ทั้งนี้ ผู้ซื้อจากสิงคโปร์ได้เปรียบ เนื่องจากผู้ขายไทยมีการแข่งขันสูงในด้านราคาระหว่างร้านจำหน่ายเสื้อผ้าด้วยกันเอง

ความต้องการสินค้าเสื้อผ้าของสิงคโปร์

ประมาณมูลค่าปีละ 3,400 ล้านเหรียญสิงคโปร์ โดยที่ผู้หญิงจะซื้อเสื้อผ้าบ่อยครั้งกว่าผู้ชาย นอกจากจะหาซื้อเป็นประจำเกือบทุกเดือนแล้ว ยังมีการซื้อสำหรับใส่ไปงานปาร์ตี้ต่างๆด้วย และต้องการสินค้าที่มีรูปแบบสวยงามตามสมัยนิยม มีการตัดเย็บปราณีต และราคาพอสมควร สำหรับผู้ชาย จะซื้อเสื้อผ้าปีละประมาณ 2-3 ครั้ง ได้แก่ ในช่วงก่อนปีใหม่ หรือก่อนการเดินทางไปต่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่จะซื้อสินค้าที่สามารถใส่ได้บ่อยครั้งและใส่ได้เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1 ปี

การนำเข้าสินค้าเสื้อผ้า

1. การนำเข้าจำแนกตามประเภทสินค้า ดังนี้

1. เสื้อโอเวอร์โค้ท แจ๊กเก็ต

2. สูท เครื่องแต่งตัวเป็นชุด

3. เชิ้ตของบุรุษ

4. เสื้อเบลาส์ เชิ้ตของสตรี

5. เสื้อยืด

6. เจอร์ซี่ พูลโอเวอร์ เสื้อกั๊ก

7. ชุดวอร์ม ชุดว่ายน้ำ

2. สิงคโปร์นำเข้าเสื้อผ้าภายใต้รหัสศุลกากร HS 61 : Articles of Apparel & Accessories Knitted Etc จากต่างประเทศทั่วโลก โดยในปี 2552 นำเข้ารวมมูลค่า 1,303.56 ล้านเหรียญสิงคโปร์ ลดลงจากปีก่อนหน้าร้อยละ 25.04 ซึ่งประเทศคู่ค้านำเข้าสำคัญ 10 อันดับแรก ได้แก่ จีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฮ่องกง สเปน อินเดีย บรูไน อิตาลี ไทย(อันดับ 9 มูลค่า 27.05 ล้านเหรียญฯ ลดลงจากปีก่อนหน้าร้อยละ 2.56 ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 2.08 ) และสหรัฐฯ

มูลค่า : พันเหรียญสิงคโปร์ ที่ ประเทศ 2550 2551 2552 เพิ่ม/ลด (%) 2551/2552 ส่วนแบ่งตลาด (%) 2552 นำเข้ามูลค่ารวม 2,031,836 1,739,038 1,303,560 -25.04% 100.00% 1 จีน 500,133 424,369 296,278 -30.18% 22.73% 2 มาเลเซีย 512,897 430,233 282,429 -34.35% 21.67% 3 อินโดนีเซีย 320,820 265,262 229,911 -13.33% 17.64% 4 ฮ่องกง 191,597 147,508 100,767 -31.69% 7.73% 5 สเปน 52,194 83,753 92,264 10.16% 7.08% 6 อินเดีย 48,422 43,978 38,191 -13.16% 2.93% 7 บรูไน 100,437 47,865 28,034 -41.43% 2.15% 8 อิตาลี 29,926 28,348 27,694 -2.31% 2.12% 9 ไทย 38,918 27,766 27,055 -2.56% 2.08% 10 สหรัฐฯ 18,741 24,122 21,845 -9.44% 1.68% ที่มาสถิติ : International Enterprise Singapore

3. สิงคโปร์นำเข้าเสื้อผ้าภายใต้รหัสศุลกากร HS 62 : Articles of Apparel & Accessories Not Knitted Etc จากต่างประเทศทั่วโลก โดยในปี 2552 นำเข้ารวมมูลค่า 1,010.87 ล้านเหรียญสิงคโปร์ ลดลงจากปีก่อนหน้าร้อยละ 19.76 ซึ่งประเทศคู่ค้านำเข้าสำคัญ 10 อันดับแรก ได้แก่ จีน ฮ่องกง อินเดีย มาเลเซีย อิตาลี อินโดนีเซีย สหราชอาณาจักร ไทย(อันดับ 8 มูลค่า 34.37 ล้านเหรียญฯ ลดลงจากปีก่อนหน้าร้อยละ 2.71 ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 3.40) ฝรั่งเศส และสหรัฐฯ

สถิติการนำเข้าสินค้ารหัส HS 62 ปี 2550-2552 มูลค่า : พันเหรียญสิงคโปร์ ที่ ประเทศ 2550 2551 2552 เพิ่ม/ลด (%) 2551/2552 ส่วนแบ่งตลาด (%) 2552 นำเข้ามูลค่ารวม 1,501,613 1,259,768 1,010,875 -19.76% 100.00% 1 จีน 560,792 475,490 373,920 -21.36% 36.99% 2 ฮ่องกง 223,082 191,424 133,458 -30.28% 13.20% 3 อินเดีย 93,063 60,299 66,065 9.56% 6.54% 4 มาเลเซีย 81,341 79,965 58,631 -26.68% 5.80% 5 อิตาลี 69,897 74,931 56,265 -24.91% 5.57% 6 อินโดนีเซีย 150,499 77,671 54,779 -29.47% 5.42% 7 สหราชอาณาจักร 30,020 47,191 52,525 11.31% 5.20% 8 ไทย 40,139 35,329 34,371 -2.71% 3.40% 9 ฝรั่งเศส 34,806 38,041 22,945 -39.68% 2.27% 10 สหรัฐฯ 27,354 24,049 22,147 -7.91% 2.19% ที่มาสถิติ : International Enterprise Singapore
การส่งออก

1. สิงคโปร์ส่งออกเสื้อผ้าภายใต้รหัสศุลกากร HS 61 : Articles of Apparel & Accessories Knitted Etc ไปยังประเทศต่างๆทั่วโลก โดยในปี 2552 ส่งออกรวมมูลค่า 1,063.92 ล้านเหรียญสิงคโปร์ ลดลงจากปีก่อนหน้าร้อยละ 30.27 ซึ่งประเทศคู่ค้าส่งออกสำคัญ 10 อันดับแรก ได้แก่ สหรัฐฯ มาเลเซีย อินโดนีเซีย สหราชอาณาจักร บราซิล เม็กซิโก เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม ฟิลิปปินส์ และรัสเซีย ทั้งนี้ มีการส่งออกไปยังไทย(อันดับที่ 21) มีมูลค่า 7.53 ล้านเหรียญสิงค-โปค์ ลดลงจากปีก่อนหน้าร้อยละ 23.54 ส่วนแบ่งตลาดเพียงร้อยละ 0.71

สถิติการส่งออกสินค้ารหัส HS 61 ปี 2550-2552 มูลค่า : พันเหรียญสิงคโปร์ ที่ ประเทศ 2550 2551 2552 เพิ่ม/ลด (%) 2551/2552 ส่วนแบ่งตลาด (%) 2552 ส่งออกมูลค่ารวม 1,855,422 1,525,788 1,063,923 -30.27% 100.00% 1 สหรัฐฯ 940,899 773,496 522,632 -32.43% 49.12% 2 มาเลเซีย 108,825 136,370 103,239 -24.29% 9.70% 3 อินโดนีเซีย 102,387 126,495 78,494 -37.95% 7.38% 4 สหราชอาณาจักร 191,694 76,592 45,187 -41.00% 4.25% 5 บราซิล 15,869 59,780 43,196 -27.74% 4.06% 6 เม็กซิโก 27,605 49,180 25,800 -47.54% 2.42% 7 เนเธอรณแลนด์ 41,850 21,213 22,908 7.99% 2.15% 8 เบลเยี่ยม 37,178 24,065 20,309 -15.61% 1.91% 9 ฟิลิปปินส์ 12,720 15,640 16,077 2.79% 1.51% 10 รัสเซีย 12,782 12,062 14,925 23.74% 1.40% ที่มาสถิติ : International Enterprise Singapore

2. สิงคโปร์ส่งออกเสื้อผ้าภายใต้รหัสศุลกากร HS 62 : Articles of Apparel & Accessories Not Knitted Etc จากต่างประเทศทั่วโลก โดยในปี 2552 ส่งออกรวมมูลค่า 383.36 ล้านเหรียญสิงคโปร์ ลดลงจากปีก่อนหน้าร้อยละ 36.08 ซึ่งประเทศคู่ค้าส่งออกสำคัญ 10 อันดับแรก ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สหรัฐฯ บราซิล สหราชอาณาจักร เม็กซิโก ออสเตรเลีย ไทย(อันดับ 8 มูลค่า 15.38 ล้านเหรียญฯ ลดลงจากปีก่อนหน้าร้อยละ 13.75 ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 4.01) สหรัฐอาหรับอิมิเรทส์ และบังคลาเทศ

สถิติการส่งออกสินค้ารหัส HS 62 ปี 2550-2552 มูลค่า : พันเหรียญสิงคโปร์ ที่ ประเทศ 2550 2551 2552 เพิ่ม/ลด (%) 2551/2552 ส่วนแบ่งตลาด (%) 2552 ส่งออกมูลค่ารวม 770,839 599,733 383,368 -36.08% 100.00% 1 อินโดนีเซีย 208,029 188,590 83,673 -55.63% 21.83% 2 มาเลเซีย 54,631 66,389 57,015 -14.12% 14.87% 3 สหรัฐฯ 95,117 70,584 32,082 -54.55% 8.37% 4 บราซิล 78,254 51,541 30,176 -41.45% 7.87% 5 สหราชอาณาจักร 124,211 41,561 21,239 -48.90% 5.54% 6 เม็กซิโก 14,090 32,187 20,975 -34.83% 5.47% 7 ออสเตรเลีย 7,529 12,012 17,469 45.43% 4.56% 8 ไทย 16,597 17,841 15,388 -13.75% 4.01% 9 สหรัฐอาหรับอิมิเรทส์ 4,568 5,173 13,526 161.48% 3.53% 10 บังคลาเทศ 170 3,513 10,293 193.03% 2.68% ที่มาสถิติ: International Enterprise Singapore
ระเบียบการนำเข้า

สิงคโปร์เป็นประเทศการค้าเปิดเสรี ผู้นำเข้าขออนุญาตการนำเข้าและสามารถนำเข้าได้โดยบ่งบอกวัสดุที่ใช้ในการผลิตและคุณสมบัติตามรหัสศุลกากร

ภาษีนำเข้า
  • การนำเข้าไม่มีการเรียกเก็บภาษีขาเข้า
  • ภาษีที่เรียกเก็บคือ ภาษีสินค้าและบริการ (Goods & Services Tax : GST) ร้อยละ 7 (บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2550)
แบรนด์เสื้อผ้าต่างๆที่จำหน่ายในสิงคโปร์

จากการสำรวจ ณ ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า และร้านเสื้อผ้าต่างๆ ในสิงคโปร์ ปรากฎแบรนด์เสื้อผ้า ดังนี้

1. แบรนด์ของสิงคโปร์ ได้แก่ ALLURE, Celia Loe, Circa1972, Flower Power, Kooshi Koncepts, POM POM, Regional Flemings, Sobha Cashmere, Space, Nina, DaneilYam, The Clothes Publisher, Abyzz, Alfie Leong, Angelynn Tan, Benno LaMode, By Ice, Fresh Imp, Frederick Lee, GG


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ