ข้อมูลการลงทุนในสาขาเดิม

ข่าวเศรษฐกิจ Friday April 23, 2010 16:30 —กรมส่งเสริมการส่งออก

การลงทุนของนักลงทุนชาวต่างชาติในประเทศอิตาลีส่วนใหญ่จะเข้ามาลงทุนในเขตพื้นที่ทางตอนเหนือ-ตอนกลาง โดยเฉพาะในแคว้นลอมบาร์เดีย โดยทางตอนใต้มีเพียงเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม อิตาลีไม่ใช่เป็นประเทศที่ดึงดูดความสนใจของนักลงทุนชาวต่างชาติมากนักเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในยุโรป ซึ่งประเทศพัฒนาส่วนใหญ่จะหันไปให้ความสนใจลงทุนในประเทศที่กาลังพัฒนาแทนคือ แอฟริกา 63% (ปี 2008) โดยประเทศที่ได้รับการลงทุนจากนักลงทุนชาวต่างชาติได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส จีน แมกซิโก ไนจีเรีย และตุรกีเป็นต้น

ในปี 2008 นักลงทุนชาวต่างชาติได้ลงทุนในอิตาลีเพียงร้อยละ 3.5 โดยการลงทุนดังกล่าวมีมูลค่าลดลงร้อยละ 57 เปรียบเทียบจากปี 2007 สาเหตุที่นักลงทุนลงทุนในอิตาลีลดลงได้แก่

  • แรงงานอิตาลียังมีความรู้ไม่เพียงพอในแต่ละสาขาการทางาน
  • การทางานด้านกฎหมายอิตาลีมีกระบวนการทางานล่าช้า
  • การขออนุญาตมีขั้นตอนที่ซับซ้อน
  • ตลาดลงทุนอิตาลีค่อนข้างปิดตัวเพื่อป้องกันนักลงทุนรายใหญ่เข้ามาซื้อ/ลงทุน
  • พลังงานมีราคาแพง เนื่องจากอิตาลีนาเข้าจากแหล่งภายนอก
  • ความน่าเชื่อถือของภาครัฐบาล

1. ในปี 2008 ประเทศที่เข้ามาลงทุนในอิตาลี 5 อันดับแรก แบ่งได้ดังนี้

อันดับ 1 สหรัฐอเมริกา จำนวน 1,791 บริษัท มูลค่าการค้า 119,033 ล้านยูโร

อันดับ 2 เยอรมัน จำนวน 1,235 บริษัท มูลค่าการค้า 77,455 ล้านยูโร

อันดับ 3 ฝรั่งเศส จำนวน 1,045 บริษัท มูลค่าการค้า 86,233 ล้านยูโร

อันดับ 4 อังกฤษ จำนวน 684 บริษัท มูลค่าการค้า 41,024 ล้านยูโร

อันดับ 5 สวิตเซอร์แลนด์ จำนวน 424 บริษัท มูลค่าการค้า 26,754 ล้านยูโร

2. ภูมิภาคที่เข้ามาลงทุนในอิตาลี 3 อันดับแรก แบ่งได้ดังนี้

อันดับ 1 สหภาพยุโรป มูลค่าการค้า 294,419 ล้านยูโร

อันดับ 2 อเมริกาเหนือ มูลค่าการค้า 120,558 ล้านยูโร

อันดับ 3 เอเชียตะวันออก มูลค่าการค้า 30,100 ล้านยูโร

3. สาขาที่มีการลงทุนจากต่างชาติในอิตาลี 5 อันดับแรก แบ่งได้ดังนี้

          อันดับ 1 การค้า/ขายส่ง                มูลค่าการค้า 144,336 ล้านยูโร

อันดับ 2 สาขาการบริการและการสื่อสาร มูลค่าการค้า 56,340 ล้านยูโร

          อันดับ 3 สาขาพลังงาน                 มูลค่าการค้า 46,980 ล้านยูโร

อันดับ 4 สาขาทางการแพทย์/เคมีภัณฑ์ มูลค่าการค้า 41,419 ล้านยูโร

อันดับ 5 สาขารถยนต์และส่วนประกอบ มูลค่าการค้า 32,527 ล้านยูโร

สำหรับการลงทุนจากประเทศไทยจนถึงปัจจุบันพบว่ามีการลงทุนน้อยมากไม่ปรากฎตัวเลขสถิติและส่วนใหญ่เป็นการลงทุนของคนไทยที่ย้ายเข้ามาอาศัยในประเทศอิตาลี สาขาที่มีการลงทุนมากที่สุดได้แก่ การค้า/ขายส่งสินค้าไทย นวดแผนไทย และร้านอาหารไทย

1. สาขาการลงทุนของไทยและมูลค่าการลงทุนในปัจจุบัน

สาขาธุรกิจที่ไทยเข้ามาลงทุนในประเทศอิตาลี และยังเป็นสาขาที่มีคนไทยมีส่วนเป็นเจ้าของกิจการ/ถือหุ้นส่วน จนถึงปัจจุบัน และยังมีแนวโน้มการขยายตัวที่ดี แม้ในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ ได้แก่ ร้านนวดแผนไทย ร้านอาหารไทย และอาหารไทย

สาขาธุรกิจดังกล่าวกระจุกตัวอยู่ทางตอนเหนือของอิตาลี เนื่องจากประกอบด้วยเมืองใหญ่ มีคนต่างชาติอาศัยอยู่มาก มีชายแดนติดกับหลายประเทศ และยังเป็นพื้นที่ที่ประชาชนมีความสามารถในการใช้จ่ายสูง

ปัจจุบันร้านนวดแผนไทยภายใต้เขตพื้นที่รับผิดชอบของสคร.มิลาน จากการสารวจปี 2010 มีจานวนกว่า 20 ร้าน ส่วนใหญ่เป็นร้านขนาดเล็กขนาด 60-90 ตารางเมตร และมีหุ้นส่วนเป็นชาวอิตาเลียน (ส่วนสปาไทยระดับไฮเอ็น มีจานวน 6 แห่ง มีเจ้าของเป็นชาวอิตาเลียน/หุ้นส่วนต่างชาติ และอีก 1 แห่ง) ส่วนร้านอาหารไทยปัจจุบันมีจานวน 6 ร้าน โดยในจานวนดังกล่าว มีคนไทยเป็นเจ้าของจานวน 2 ร้าน

2. เหตุผลหรือปัจจัยที่ส่งเสริมและสนับสนุนการลงทุนของไทยในสาขาดังกล่าว

เหตุผลหรือปัจจัยส่งเสริม

2.1 เขตตอนเหนือของอิตาลี เป็นเขตพื้นที่ที่มีศักยภาพเหมาะกับการลงทุน เนื่องจากมีเมืองใหญ่โดยเฉพาะ เมืองมิลาน เบรช่า แบร์กาโม ตูริน โบโลญญ่า ประชากรมีรายได้สูง รวมทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีคนเดินทางเข้าออกจานวนมาก ร้านนวดแผนไทยและร้านอาหารไทยจึงเป็นที่รู้จักกันดี

2.2 คนอิตาเลียนให้ความสาคัญกับสุขภาพและการหันมาใช้สินค้าและบริการทางธรรมชาติมากขึ้น ด้วยภาพลักษณ์และประโยชน์ของการนวดไทย/อาหารไทย/การใช้สมุนไพรธรรมชาติ ทาให้ธุรกิจดังกล่าวได้รับความสนใจ

2.3 คนอิตาเลียนส่วนใหญ่จะให้ความสาคัญกับสินค้า Hand Made พวกสินค้าหัตกรรม ของตกแต่งบ้าน ผ้าผืน และเสื้อผ้า เพราะมีความสวยงาม ปราณีต และเอกลักษณ์ ที่แตกต่างไปจากสินค้าที่ผลิตจากโรงงาน

2.4 นอกจากนี้ การจัดกิจกรรมส่งเสริมสินค้าและบริการของไทย ได้แก่

  • จัดแสดงสินค้าอาหารไทย/สินค้าสปาไทยในงานแสดงสินค้า
  • สนับสนุนการจัดงานเปิดตัวร้านอาหารไทย/ร้านนวดไทยทั่วอิตาลี
  • จัดกิจกรรมให้ความรู้พ่อครัว/แม่ครัวไทย และให้ความรู้พนักงานนวดไทยในอิตาลี
  • การจัดโปรโมทการท่องเที่ยวเมืองไทย

ซึ่งการส่งเสริมดังกล่าวส่งผลให้คนอิตาเลียนได้รู้จักประเทศไทย การนวดไทย และอาหารไทย ทั้งยังสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพ/ภาพลักษณ์ในสินค้าและบริการของไทย ส่งผลให้คนอิตาเลียนหันมาบริโภคสินค้าไทยและใช้บริการกันมากขึ้นด้วย

3. มูลค่าและอัตราการเติบโตของการลงทุนรวมและไทยในสาขาดังกล่าว

ร้านอาหาร ในปี 2008 ประเทศไทยมีบริษัทเข้ามาลงทุนในอิตาลีจานวน 1 บริษัท มูลค่าการค้า 17 ล้านยูโร

4.บริษัทต่างชาติที่ปัจจุบันไทยเป็นพันธมิตรร่วมลงทุนในสาขาดังกล่าว

4.1 ร้านอาหารไทย พบว่าทั้งหมดเป็นการดาเนินกิจการส่วนตัวของคนไทยที่พานักอาศัยในอิตาลี ร่วมกับคนอิตาเลียน ทั้งนี้มีเพียง 1 บริษัท

4.2 ร้านนวดแผนไทย ขนาดเล็กเป็นการดาเนินกิจการส่วนตัวของคนไทยที่พานักอาศัยในอิตาลี แต่สปาไทยเปิดโดยคนอิตาเลียน

5.ประเทศคู่แข่งของไทยในการลงทุนในสาขาดังกล่าว
ประเทศคู่แข่ง

5.1 ร้านอาหารไทย

  • ร้านอาหาร Ethnic ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น อินเดีย โมรอคโค อาร์เจนติน่า เม็กซิกัน ไอร์แลนด์ และอาหรับ ซึ่งมีรวมแล้วกว่า 3,000 ร้านในอิตาลีในขณะที่ร้านอาหารไทยมีประมาณ 10 ร้านเท่านั้น
  • ร้านอาหารอิตาเลียนทั้งแบบดั้งเดิม ร้านพิซซ่า และฟิวชั่น ซึ่งเป็นที่นิยมของชาวอิตาเลียนส่วนใหญ่

5.2 ร้านนวดไทย

  • จีน(พบว่ามีการเปิดร้านนวดซึ่งมีทั้งนวดแบบจีน ไทย ญี่ปุ่น ฯลฯ และราคาถูกกว่าร้านไทยสปาครึ่งหนึ่ง)
  • ฝรั่งเศส สวิสเซอร์แลนด์ เยอรมัน สหรัฐอเมริกา อิตาลี(สินค้าเสริมความงาม/สปาจากประเทศดังกล่าวได้รับความเชื่อถือจากชาวอิตาเลียนและสถานเสริมความงามในอิตาลี ซึ่งผ่านการตรวจสอบมาตรฐานคุณภาพและความปลอดภัยที่ค่อนข้างซับซ้อน)

5.3 การค้าขายสินค้าไทย

  • อินเดีย จีน อินโดเนเซีย ถือเป็นประเทศคู่แข่งที่สาคัญ เนื่องจากราคาสินค้าที่ถูกกว่า และคุณภาพก็ไม่แตกต่างจากสินค้าไทยมากนัก
6. การพัฒนาและการปรับตัวของนักลงทุนไทยในการเพิ่มขีดความสามารถในการลงทุนในสาขาดังกล่าว
การพัฒนาและการปรับตัว

6.1 ร้านอาหารไทย

  • ปรับรสชาติอาหารไทยแบบดั้งเดิมให้ถูกปากชาวอิตาเลียน ได้แก่ ปรับให้มีรสเผ็ดน้อยลง เป็นต้น
  • หาผู้ร่วมทุนท้องถิ่นที่มีความรู้ด้านกฎระเบียบ การก่อตั้งร้าน ภาษี และอื่นๆ
  • พัฒนาฝีมือพ่อครัวแม่ครัวที่มีอยู่ แทนการนาเข้าคนงานซึ่งมีความยุ่งยาก
  • ปรับใช้ ingredients ที่หาได้ในประเทศเพื่อลดต้นทุน
  • จัดโปรโมชั่นการบริการตามโอกาส/เทศกาลต่างๆ เพื่อดึงดูดลูกค้า เช่น การใช้คูปองส่วนลด การนาเสนอเมนูอาหารกลางวันราคาย่อมเยาว์ เพื่อให้ลูกค้ามาทานได้บ่อย เป็นต้น
  • วัตถุดิบและเครื่องปรุงอาหารไทย และอาหารเอเชียส่วนใหญ่นิยมนาเข้าจากฝรั่งเศส เนื่องจากมีราคาถูกกว่าการนาเข้าจากประเทศไทยโดยตรง

6.2 ร้านนวดไทย

  • พัฒนาฝีมือแรงงานที่มีอยู่ แทนการนาเข้าพนักงานนวดซึ่งมีความยุ่งยากมาก
  • หาผู้ร่วมทุนท้องถิ่นที่มีความรู้ด้านกฎระเบียบ การก่อตั้งร้าน ภาษี และอื่นๆ
  • จัดโปรโมชั่นการบริการตามโอกาส/เทศกาลต่างๆ เพื่อดึงดูดลูกค้า
  • ใช้สินค้าท้องถิ่นที่หาได้ในประเทศแทนสินค้าไทย เนื่องจากความยุ่งยากซับซ้อนของกระบวนการนาเข้า
  • นักลงทุนไทยควรมีความรู้/ความเข้าใจในการนวดไทยอย่างแท้จริง
  • ควรมีทนายความส่วนตัว และนักบัญชี
7. อุปสรรคและข้อจากัดทางกฎหมายในการลงทุนสาขาดังกล่าว
อุปสรรคและข้อจากัดทางกฎหมาย

7.1 ร้านอาหารไทย

  • ขั้นตอนในการเปิดกิจการที่ใช้เวลานานและซับซ้อน เช่น ผู้บริหารร้านอาหารต้องผ่านการฝึกอบรมวิธีการบริหารภัตตาคารจากหน่วยงานของอิตาลี การตรวจสอบสถานที่ที่จะเปิดร้านต้องเป็นไปตามกฏระเบียบของเมืองนั้นๆ ไม่ใช่ทุกพื้นที่จะสามารถเปิดได้ พ่อครัวและแม่ครัวรวมทั้งพนักงานบริการต้องมีใบอนุญาตทางานในร้านอาหาร ทั้งนี้ การนาเข้าพ่อครัวและแม่ครัวจากต่างประเทศจะต้องได้รับอนุญาตจากรัฐบาลอิตาลีก่อน เป็นต้น
  • ขั้นตอนการนาเข้าสินค้าในหมวดอาหาร เพื่อเป็น ingredients อาหารไทย ก็มีความซับซ้อน รวมทั้งสินค้าอาหารเป็นสินค้าที่เน่าเสียง่าย หากเกิดกรณีกักกันสินค้าผักเพื่อตรวจสอบดังต้นปีที่ผ่านมา ก็จะยังความเสียหายให้กับทั้งผู้นาเข้าอิตาเลียนและส่งออกไทยได้
  • พนักงานคนไทย โดยเฉพาะขั้นตอนการนาเข้าพ่อครัวแม่ครัวไทยที่มีความสามารถต้องผ่านขั้นตอนที่ซับซ้อนและใช้เวลานาน
  • ปัญหาที่พบ คือ ร้านอาหารไทยที่เจ้าของไม่ใช่คนไทย มักใช้พ่อครัวแม่ครัวต่างชาติ ซึ่งทาให้รสชาดอาหารผิดเพี้ยนไป

7.2 ร้านนวดไทย

  • ขั้นตอนในการเปิดกิจการ และภาษี ซึ่งขั้นตอนการเปิดกิจการมีความซับซ้อนในเรื่องของกฎหมายต่าง ๆ การอนุญาตจากอาเภอจะใช้เวลาประมาณ 40 วัน นอกจากนี้ การก่อสร้างต้องเป็นไปตามกฎระเบียบของ ASL (Azienda Sanitaria Locale)
  • ขั้นตอนการนาเข้าสินค้าในหมวดเครื่องสาอาง กรณีใช้สินค้าไทย เนื่องจากการนาเข้าสินค้าต่าง ๆ จะต้องปฎิบัติตามกฎหมายของยุโรป
  • แรงงานไทย กรณีที่นาเข้าแรงงานไทย มีขั้นตอนที่ค่อนข้างยุ่งยาก โดยผู้จ้างควรรับรองที่พัก และชั่วโมงการทางาน
  • พนักงานนวด จะต้องมีใบประกาศนียบัตรรับรองด้านสุขภาพและความงาม (3 ปี)จากอิตาลีหรือยุโรป
8. กลยุทธ์และข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในการส่งเสริมการลงทุนไทยในสาขาดังกล่าว
กลยุทธ์และข้อเสนอแนะ

8.1 ร้านอาหารไทย

  • อำนวยความสะดวกในการนาเข้าสินค้าและแรงงานไทย
  • ส่งเสริมการขายร่วมกับร้านอาหารไทย เพื่อแนะนำร้านอาหารไทยอย่างต่อเนื่อง ทั่วอิตาลี เช่น จัดทาคูปองส่วนลดร่วมรายการ ลงโฆษณาในนิตยสารช่วงงานแสดงสินค้าเพื่อเชิญชวนและแนะนาร้านอาหารไทย จัดกิจกรรมส่งเสริมสินค้าไทยในห้างสรรพสินค้า เป็นต้น
  • จัดโครงการให้ความรู้ ด้านการทาอาหาร เมนูใหม่ๆ และความรู้ด้านสุขอนามัยแก่พ่อครัว แม่ครัวไทย
  • จัดโครงการ หลักสูตรสอนทาอาหารไทย แก่ชาวอิตาเลียนและผู้สนใจทั่วไป เพื่อแนะนาและขยายโอกาสสินค้าอาหารไทย

8.2 ร้านนวดไทย

  • อำนวยความสะดวก ในการนาเข้าสินค้าและแรงงานไทย
  • จัดทาหลักสูตรสอนนวดไทย แก่ชาวอิตาเลียนและผู้สนใจทั่วไป เพื่อเผยแพร่ศาสตร์การนวดที่ถูกวิธี
  • จัดกิจกรรม เพิ่มความรู้ความสามารถและเทคนิคในการนวดแก่พนักงานนวดไทยอย่างต่อเนื่องทั่วอิตาลี
  • สำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องสาอาง ผู้ผลิตไทยจะต้องศึกษาและพัฒนาสินค้าให้ได้มาตราฐานตามกฎหมายของยุโรป เพื่อเป็นการขยายตลาดเครื่องสาอางไทยให้เป็นที่รู้จักเพิ่มเติม
8.3 การค้าขายสินค้าไทย
  • พัฒนาด้านรูปแบบดีไซน์ เพื่อเป็นการยกระดับไม่ให้สินค้าเป็นสินค้าเกรดเดียวกันกับประเทศคู่แข่ง โดยไทยสามารถขายสินค้าได้ในราคาที่สูงกว่า นอกจากนี้ สินค้าไทยที่มีดีไซน์จะสามารถเข้ากับสินค้าของอิตาลีได้อย่างลงตัว

1. สาขาการลงทุนใหม่ ๆ ที่ไทยควรเข้าไปลงทุน

1.1 สาขาอาหาร

1.2 สาขาบริการ

  • สปาและความสวยงาม
  • โรงแรม-ที่พัก (Bed & Breakfast)
  • ศูนย์ดูแลคนชรา

1.3 สาขาแฟชั่น

2. เหตุผลหรือปัจจัยที่ส่งเสริมและสนับสนุนการลงทุนของไทยในสาขาดังกล่าว

เหตุผลหรือปัจจัยส่งเสริม

อาหาร

  • เนื่องจากอิตาลีเป็นผู้ผลิตสินค้าเกษตรที่ใหญ่ที่สุดในสหภาพยุโรป และเป็น supplier ที่สาคัญของสหภาพยุโรปโดยเฉพาะสินค้าผักและผลไม้
  • ปี 2015 มิลานจะเป็นเจ้าภาพจัดงาน Expo 2015 โดยเน้นภาคอุตสาหกรรมการเกษตร ซึ่งงานนี้จะมีประเทศจากทั่วโลกเข้าร่วมฯ งาน ร่วมทั้งประเทศไทย ซึ่งจะทาให้ไทยมีโอกาสประชาสัมพันธ์อาหารไทยให้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลกด้วย

สาขาบริการ

สปาและความสวยงาม

  • อิตาลีถือเป็นประเทศที่มีระบบการดูแลสุขภาพดีติดอันดับ 2 ของโลก (รองจากฝรั่งเศส) ปัจจุบันชาวอิตาเลียนส่วนใหญ่จะให้ความสาคัญเป็นอย่างมากในเรื่องการดูแลสุขภาพและความสวยงาม
  • ในปัจจุบันตามเมืองใหญ่ ๆ ของอิตาลี เช่น มิลาน ตูริน เวนิส โบโลญญ่า เจนัว เป็นต้น มีการเปิดให้บริการสปาเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะตั้งอยู่ในศูนย์ออกกาลังกาย โรงแรม หรือตามแหล่งที่มีนักท่องเที่ยว

โรงแรม-ที่พัก

  • ลักษณะทั่วไป ทุก ๆ ปี อิตาลีจะมีชาวต่างชาติเดินทางมาเที่ยว เข้าชมงานแสดงติดต่อธุรกิจเป็นต้นในปี 2008 ชาวต่างชาติเดินทางมาอิตาลีจานวน 42,7 ล้านคน ซึ่งพบว่าโรงแรม-ที่พัก มีจานวนจากัดและหายากในช่วงงานแสดง หรือเทศกาลสำคัญ ๆ กอปรกับมีราคาสูง

ศูนย์ดูแลคนชรา

  • อายุ สืบเนื่องจากประเทศอิตาลีมีระบบการดูแลสุขภาพดี ส่งผลให้ประชาชนมีอายุยืนยาวมากขึ้น โดยปี 2010 และ 2020 คาดการณ์ว่าคนชราอายุตั้งแต่ 65 ปี ขึ้นไปจะมีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.34 และ 22.68 ตามลาดับ ในส่วนคนชราอายุตั้งแต่ 80 ปี ขึ้นไปจะมีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.85 และ 7.32 ตามลาดับ
  • การอยู่อาศัย ครอบครัวชาวอิตาเลียนส่วนใหญ่จะมีขนาดเล็ก และแยกกันอยู่ ดังนั้น คนชราส่วนใหญ่จะพักอาศัยอยู่ตามลำพังโดยมีคนคอยดูแล หรือทางบุตร หลาน อาจส่งให้ไปอยู่ตามบ้านพักคนชรา ซึ่งศูนย์บริการดังกล่าวยังมีจำนวนจากัด และมีราคาค่อนข้างสูง

แฟชั่น

  • ที่ตั้ง อุตสาหกรรมแฟชั่นในอิตาลีส่วนใหญ่จะอยู่ทางตอนกลางและตอนเหนือของประเทศ และยังถือเป็นหนึ่งในประเทศที่เป็นผู้สร้างกระแสแฟชั่นโลก
  • จำนวนอุตสาหกรรมแฟชั่นอิตาลี มี 60,000 บริษัท และมีการจ้างประมาณ 510,000 คนสินค้าแฟชั่นที่ได้รับความนิยมในอิตาลี ได้แก่ เสื้อผ้า สิ่งทอ ผ้าไหม สินค้าเครื่องหนัง รองเท้า กระเป๋า เครื่องประดับ และเครื่องสำอาง เป็นต้น
  • ศูนย์กลางแฟชั่น อิตาลีถือเป็นศูนย์กลาง/ศูนย์รวมแฟชั่นโชว์ที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเยี่ยมชม ช้อปปิ้ง ในแต่ละปีเป็นจานวนมาก

ปัจจัยส่งเสริมฯ

  • เข้าร่วมแสดงสินค้าที่จัดขึ้นตามงานต่างๆ ในอิตาลี เช่น งาน TuttoFood, Wellness Spa, Mipel, Micam, Expo Riva Schuh และ Pitti Imagine เป็นต้น
  • สนับสนุนให้มีการจัดประชาสัมพันธ์/โปรโมทตัวสินค้า ลงในนิตยสารอิตาเลียน และเวปไซด์ของสานักงานฯ มิลาน
  • สนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทย ที่มีศักยภาพในสาขานั้น ๆ มาดูงาน/เข้าอบรมและแลกเปลี่ยนความรู้กับนักธุรกิจอิตาเลียน เพื่อให้นักธุรกิจอิตาเลียนได้เห็นภาพและเข้าใจถึงศักยภาพของผู้ประกอบการไทย
3. มูลค่าและอัตราการเติบโตของการลงทุนในสาขาดังกล่าว
        มูลค่าการค้า (ล้านยูโร)        2004        2005        2006        2007        2008      %08/07
3.1   อาหาร                     16,856      19,213      19,168      20,287      20,829        2.8
3.2   สาขาการบริการ              17,175      17,911      18,917      20,691      25,407       22.8
3.3   แฟชั่น - สิ่งทอและเสื้อถัก        1,146       1,025         999         898       1,119       24.6
           - เสื้อผ้า                 917         865         798         982       1,519       54.7
4. บริษัทต่างชาติที่ไทยควรติดต่อเข้าร่วมเป็นพันธมิตรการลงทุนในสาขาดังกล่าว

4.1 อาหาร ส่วนใหญ่ตามเมืองสาคัญจะมีร้านขายของเอเชีย โดยจาหน่ายอาหารไทยแต่ไม่หลากหลายมากนัก ซึ่งร้านจาหน่ายอาหารส่วนใหญ่เจ้าของจะไม่ใช่คนไทย ปัจจุบันมีร้านจาหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารทั่วโลกร้านแรกในอิตาลีที่คนไทยเป็นเจ้าของ (ร้าน Wok) ทิ่เปิดบริการจาหน่ายอาหาร/เครื่องปรุงไทย ผ่านอินเตอร์เน็ต และทาการจัดส่งตามบ้าน ร้านอาหารไทยและโรงแรม

4.2 สาขาบริการ

สปา พบว่าตามเมืองใหญ่ ๆ ที่สาคัญ มีการเปิดให้บริการสปาตามศูนย์ออกกาลังกาย ศูนย์สุขภาพ และโรงแรม เพื่อเป็นการดึงดูดและอานวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการมากขึ้น โดยกิจการสปาส่วนใหญ่ในอิตาลีจะมีหลากหลายระดับตั้งแต่ระดับธรรมดาไปจนถึง High end โดยเจ้าของกิจการส่วนใหญ่จะเป็นชาวอิตาเลียนเองดังนั้น จึงเป็นการดีที่นักลงทุนไทยทาการลงทุนกับนักลงทุนชาวอิตาเลียน ซึ่งจะส่งเสริมให้ภาพลักษณ์สปาไทยเป็นที่ยอมมากขึ้น

โรงแรม-ที่พัก ส่วนใหญ่เจ้าของเป็นชาวอิตาเลียน โดยกิจการนี้ยังมีคนไทยลงทุนไม่มากนัก จึงเป็นการดีที่ไทยจะทาการลงทุนรวมกับชาวอิตาเลียนที่มีศักยภาพและมีสถานที่

ศูนย์ดูแลคนชรา ส่วนใหญ่เป็นการดูแลของชาวอิตาเลียน แต่ในส่วนของบุคคลากรที่ดูแลจะมีทั้งชาวอิตาเลียนและชาวต่างชาติ รวมถึงอาสาสมัคร ดังนั้น นักลงทุนไทยอาจเข้าร่วมเป็นบุคคลากรให้การดูแลร่วมกับชาวอิตาเลียน

4.3 แฟชั่น อิตาลีได้ชื่อว่าเป็นผู้นาด้านแฟชั่นโลก โดยเฉพาะเมืองมิลานมีแบรนด์สินค้าที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักทั่วโลก ดังนั้น นักลงทุนไทยควรเข้าร่วมลงทุนกับชาวอิตาเลียนโดยใช้ไทยเป็นฐานผลิตสินค้า เพราะชาวอิตาเลียนจะเข้าใจตลาดและความต้องการของรูปแบบดีไซน์ได้อย่างลึกซึ้ง และอิตาลียังถือเป็นชาตินิยมจึงทาให้เป็นข้อดีของการร่วมลงทุน

5.ประเทศคู่แข่งของไทยในการลงทุนในสาขาดังกล่าว
ประเทศคู่แข่ง

5.1 อาหาร

  • จีน ถือเป็นประเทศคู่แข่งของไทยที่สำคัญ เนื่องจากร้านค้าอาหารเอเชียส่วนใหญ่ จีนเป็นผู้นำเข้า โดยนำเข้าในปริมาณมากจึงทำให้มีราคาถูก
  • สวิสเซอร์แลนด์ คนไทยส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ทางตอนเหนือของอิตาลี จึงสะดวกในการเดินทางไปซื้อสินค้าในสวิสเซอร์แลนด์ เนื่องจากมีสินค้าไทยที่หลากหลาย สด และราคาถูก โดยสวิสเซอร์แลนด์จะมีเครื่องบินตรงมาลงทุกวันจึงทาให้สินค้าสดและใหม่อยู่เสมอ

5.2 สาขาบริการ

  • อิตาลี ถือเป็นผู้นาทางด้านสุขภาพและความสวยงาม จึงทาให้มีผู้ใช้บริการให้ความยอมรับมาก
  • ฝรั่งเศส สวิสเซอร์แลนด์ เยอรมัน สหรัฐอเมริกา (สินค้าเสริมความงาม/สปาจากประเทศดังกล่าวได้รับความเชื่อถือจากชาวอิตาเลียนและสถานเสริมความงามในอิตาลี ซึ่งผ่านการตรวจสอบมาตรฐานคุณภาพและความปลอดภัยที่ค่อนข้างซับซ้อน)
  • อิตาลี มีระบบการดูแลสุขภาพที่ดี ส่งผลให้การพัฒนาในด้านสุขภาพก้าวหน้ามากกว่าไทย อีกทั้งไทยยังมีศูนย์ดูแลคนชราจานวนน้อยมาก

5.3 แฟชั่น

  • จีน เนื่องจากจีนเป็นฐานผลิตที่สำคัญของหลายประเทศรวมทั้งอิตาลี เนื่องจากต้นทุนแรงงานที่ถูก ทำให้หลายประเทศสนใจทาการลงทุนกับจีน และสินค้าตามร้านค้าส่วนใหญ่ในอิตาลี(ระดับล่าง/ปานกลาง)เป็นสินค้าจากจีน
6. การเตรียมตัวของนักลงทุนไทยในการลงทุนในสาขาดังกล่าว
การพัฒนาและการปรับตัว

6.1 อาหาร

  • ควรศึกษาถึงตลาดในอิตาลี ถึงความต้องการในการบริโภคอาหารไทย โดยการเข้าชมงานฯ อาหารที่สำคัญในอิตาลี
  • ศึกษากฎระเบียบการนาเข้าอย่างดี
  • คัดเลือกผลิตภัณฑ์ เน้นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการยอมรับและมีคุณภาพดี
  • หาผู้ร่วมทุนท้องถิ่น ที่มีความรู้ด้านกฎระเบียบ การก่อตั้งร้าน ภาษี และอื่นๆ

6.2 สาขาบริการ

  • พัฒนาฝีมือแรงงานที่มีอยู่ แทนการนาเข้าพนักงานสปาซึ่งมีความยุ่งยากมาก
  • หาผู้ร่วมทุนท้องถิ่น ที่มีความรู้ด้านกฎระเบียบ การก่อตั้งร้าน ภาษี และอื่นๆ
  • จัดโปรโมชั่น การบริการตามโอกาส/เทศกาลต่างๆ เพื่อดึงดูดลูกค้า
  • ควรศึกษาถึงตลาดอิตาลี ถึงความต้องการและแน้วโน้มของตลาด

6.3 แฟชั่น

  • ควรศึกษาในด้านรูปแบบดีไซน์ ที่เหมาะสมกับตลาดเป้าหมาย เพื่อเป็นการยกระดับตัวเองให้เทียบเท่าผู้ผลิตอิตาเลียน ซึ่งจะช่วยให้สามารถแข่งขันและทำให้เบรนด์ไทยเป็นที่ยอมรับมากขึ้น
  • เดินทางเข้าชมงานแสดงฯ หรือเข้าร่วมงานแสดงฯที่สาคัญในอิตาลี เพื่อเป็นการศึกษาตลาดเบื้องต้น
  • หาผู้ร่วมทุนท้องถิ่น ที่มีความรู้ด้านกฎระเบียบ การก่อตั้งร้าน ภาษี และอื่นๆ
  • การเปิดร้านที่อิตาลี ควรลงทุนเปิดร้านแฟชั่นที่อิตาลีเพื่อเป็นการสร้างแบรนด์ให้กับสินค้าไทยให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขว้าง
7. อุปสรรคและข้อจากัดทางกฎหมายในการลงทุนสาขาดังกล่าว
อุปสรรคและข้อจากัดทางกฎหมาย

7.1 อาหาร

  • การตรวจสอบ ทางด้านคุณภาพและมาตราฐานอย่างเคร่งครัดก่อนที่สินค้าจะส่งผ่านถึงผู้รับ ซึ่งบางครั้งมีการกักอาหารสด ทาให้ผู้ลงทุนเสียโอกาสในด้านการค้าและขาดทุน
  • การคมนาคม ที่ยังไม่สะดวกและมีขั้นตอนรับของที่ซับซ้อน
  • ปฎิบัติตามกฎหมาย สินค้าอาหารต้องปฎิบัติตามกฎหมายของสหภาพยุโรปอย่างเคร่งครัดก่อนนาขายสู่ประชาชน
  • ความนิยม ผลไม้บางประเภท เช่น ทุเรียน ชาวอิตาเลียนส่วนใหญ่จะไม่นิยมบริโภค
  • สินค้าเกิดความเสียหาย เกิดขึ้นระหว่างการขนส่ง

7.2 สาขาบริการ

  • ขั้นตอนในการเปิดกิจการ และภาษี ซึ่งขั้นตอนการเปิดกิจการมีความซับซ้อนในเรื่องของกฎหมายต่าง ๆ การอนุญาตจากอาเภอจะใช้เวลาประมาณ 40 วัน นอกจากนี้ การก่อสร้างต้องเป็นไปตามกฎระเบียบของ ASL (Azienda Sanitaria Locale)
  • ขั้นตอนการนาเข้าสินค้า/อุปกรณ์สปา เนื่องจากการนาเข้าสินค้าต่าง ๆ จะต้องปฎิบัติตามกฎหมายของยุโรป
  • แรงงานไทย กรณีที่นาเข้าแรงงานไทย มีขั้นตอนที่ค่อนข้างยุ่งยาก โดยผู้จ้างควรรับรองที่พัก มีใบอนุญาตการทางานในอิตาลี และชั่วโมงการทางานอย่างถูกต้อง
  • พนักงาน พนักงานสปาจะต้องมีใบประกาศนียบัตรรับรองด้านสุขภาพและความงาม (3 ปี)จากอิตาลีหรือยุโรป รวมถึงการเปิดศูนย์ดูแลคนชราพนักงานจะต้องมีใบอนุญาต/มีความรู้
  • สถานที่ ส่วนใหญ่การเช่าสถานที่นักลงทุนต้องมีหลักทรัพย์ค้าประกันในจานวนสูง

7.3 แฟชั่น

  • ขั้นตอนในการเปิดกิจการ และภาษี ซึ่งมีขั้นตอนที่ยุ่งยากและล่าช้า
  • ความนิยม ชาวอิตาเลียนส่วนใหญ่จะนิยมสินค้า Made in Italy ดังนั้นสินค้าแฟชั่นไทยจะจัดให้อยู่ในระดับค่อนข้างต่า
  • ความเคยชิน ชาวอิตาเลียนเปิดรับแฟชั่นจากต่างประเทศค่อนข้างช้า เพราะมีความเคยชินกับสินค้า Made in Italy
8. กลยุทธ์และข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในการส่งเสริมการลงทุนไทยในสาขาดังกล่าว
กลยุทธ์และข้อเสนอแนะ

8.1 อาหาร

  • เจาะกลุ่มเป้าหมาย เน้นตั้งร้านขายอาหารตามแหล่งที่มีชาวต่างชาติพักอาศัย
  • เน้นความหลากหลาย ควรนำเข้าสินค้าอาหารให้หลากหลาย
  • การบริการจัดส่ง ควรจัดบริการจัดส่งตามบ้าน ร้านอาหาร โรงแรม และงานเลี้ยงต่าง ๆ
  • การโฆษณา ตามหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น นิตยสารอาหาร อินเตอร์เน็ต
  • การสาธิต ควรทำการสาธิตและให้คำปรึกษาในการปรุงอาหารไทยโดยให้ผลิตภัณฑ์ไทย

8.2 สาขาบริการ

  • อานวยความสะดวก ในการนำเข้าสินค้าและแรงงานไทย
  • จัดทาหลักสูตรสปาไทย แก่ชาวอิตาเลียนและผู้สนใจทั่วไปเพื่อเผยแพร่ศาสตร์การนวดสปาที่ถูกวิธี
  • จัดกิจกรรม เพิ่มความรู้ความสามารถและเทคนิคสปาแก่พนักงานสปาไทยอย่างต่อเนื่องทั่วอิตาลี
  • สถานที่ ควรเน้นสถานที่ที่มีนักท่องเที่ยวพรุกพร่านหรือตามแหล่งท่องเที่ยวที่สาคัญ
  • เรียนรู้ทักษะ เน้นการเรียนรู้ทักษะในการดูแลคนชรา การพูดคุย

8.3 แฟชั่น

  • ศึกษาข้อมูล ควรศึกษาข้อมูล รูปแบบดีไซน์อยู่ตลอดเวลาจากสื่อต่างๆ
  • ความคิดสร้างสรรค์ ควรพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ที่แปลกใหม่อยู่ตลอดเวลา เพื่อเป็นการพัฒนารูปแบบสินค้า
  • เข้าร่วมงานแสดงฯต่าง ๆ ถือเป็นการเรียนรู้และศึกษาตลาดของคู่แข่ง
9. ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้ามาเปิดธุรกิจในอิตาลี สามารถเข้าไปดูได้ที่

http://www.depthai.go.th/Default.aspx?tabid=134&qCategoryID=65&qKeyword=75

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เมืองมิลาน

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ