แวะชมตลาดรถยนต์ในอิหร่าน

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday June 2, 2010 14:40 —กรมส่งเสริมการส่งออก

เมื่อมองดูรถยนต์ที่วิ่งไปมาบนท้องถนนในอิหร่าน จะพบว่าชาวอิหร่านส่วนใหญ่ใช้รถส่วนบุคคลมากกว่ารถปิกอัพ ซึ่งอาจเป็นเพราะในตลาดรถยนต์อิหร่านยังไม่มีรถปิกอัพจำหน่ายมากนัก ซึ่ง

รถส่วนบุคคลที่เป็นที่ชาวอิหร่านใช้ส่วนใหญ่ ได้แก่ รถยนต์ยี่ห้อเปอร์โยรุ่นต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเปอร์โย 206 เปอร์โย 207 เปอร์โย 405 หรือว่ารุ่น Roa ซ งเป็นรถยนต์เปอร์โยที่ผลิตภายในประเทศอิหร่านจากโรงงานผลิตรถยนต์อิหร่านโคดรู (Iran Khodro co.) ซึ่งเป็นบริษัทผลิตรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกกลาง ส่วนรถปิกอัพ(SUV) เพิ่งเริ่มมานิยมในช่วงประมาณ 2 ปีที่ผ่านมา แต่ก็เป็นรถยนต์ที่กำลังมาแรง คือรถยนต์ที่นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น เช่น รถยี่ห้อโตโยต้า รุ่น Prado, รถยี่ห้อฮอนด้า รุ่น Santafe และ Tuksan และรถยนต์ที่ประกอบในอิหร่านเอง เช่น รุ่น Morano, Roniz ของบริษัทนิสสัน ประกอบโดยโรงงาน Pars Khodro co. และรุ่น Vitrara ของบริษัทซูซูกิ ประกอบโดยบริษัทอิหร่านโคดรู ก็ได้ความนิยมเช่นกัน โดยมีราคาขายที่ประมาณ 350,000,000 - 400,000,000 เรียล (ประมาณ 35,000 - 40,000 เหรียญสหรัฐฯ)

สำหรับตลาดรถยนต์ของผู้บริโภคที่มีรายได้น้อยก็ไม่ถูกมองข้าม โดยบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ยักษ์ใหญ่ในอิหร่าน อาทิเช่น บริษัทอิหร่านโคดรูและบริษัทคู่แข่งที่สำคัญคือ บริษัทไซปา Saipa Co. ได้ให้ความสำคัญกับตลาดผู้มีรายได้น้อยเป็นอย่างยิ่ง ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาบริษัท อิหร่านโดครู เคยผลิตรถยนต์ยี่ห้อ Paykan ซึ่งเป็นรถยนต์ประจำชาติอิหร่านออกจำหน่าย และขายในราคาประมาณ 60,000,000 เรียล (ประมาณ 6,000 เหรียญสหรัฐฯ) เท่านั้น ส่วนบริษัท Saipa ได้ผลิตรถยนต์ยี่ห้อ Pride มีราคาขายประมาณ 80,000,000 เรียล (ประมาณ 8,000 เหรียญสหรัฐฯ)

หลังจากที่รัฐบาลอิหร่านมีการประกาศให้หยุดผลิตรถยนต์ยี่ห้อ Paykan ในปี 2548 ทำให้กลุ่มผู้บริโภคที่มีรายได้น้อยหรือผู้บริโภคที่ต้องการหาซื้อรถยนต์ในราคาถูกเหลือการตัดสินใจในเวลานั้นซึ่งมีเพียงยี่ห้อเดียวคือรถยนต์ยี่ห้อ Pride ของบริษัท Saipa ก่อนที่จะมีการผลิตรถยนต์ยี่ห้อ Logan ออกนำเสนอต่อผู้บริโภค

อย่างไรก็ดี ปัญหาจากระบบโครงสร้างและระบบบางส่วนของรถยนต์ยี่ห้อ Logan ทำให้ที่ประชุมของรัฐสภาในสมัยนั้น มีมติให้บริษัทผู้ผลิตต้องยื่นระยะเวลาการผลิตและจำหน่ายออกไป รวมทั้งเศรษฐกิจอิหร่านเผชิญกับภาวะเงินเฟ้ออย่างรุ่นแรง ทำให้การผลิตต้องใช้เงินลงทุนสูงเกินไป และที่สำคัญคือปัญหาการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจของประชาคมโลก ส่งผลให้ราคารถยนต์ยี่ห้อ Logan หรือรถยนต์ยี่ห้อ Tondar 90 ที่ออกสู่ตลาดในปี 2550 แทนการผลิตรถยนต์ยี่ห้อ Paykan เพิ่มขึ้นมาก จากเดิม ที่ตั้งราคาไว้ที่ 60,000,000 เรียล (ประมาณ 6,000 เหรียญสหรัฐฯ) ต้องเพิ่มราคาเป็น 100,000,000 เรียล (ประมาณ 10,000 gเหรียญสหรัฐฯ) ซึ่งรถยนต์ยี่ห้อ Logan ที่ผลิตนี้เป็นสินค้าของสองบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ ได้แก่ บริษัทอิหร่านโคดรู และบริษัทไซปา ขึ้นอยู่กับรุ่นรถยนต์ที่ผลิต

นอกจากนี้ รถยนต์ที่มีราคาถูกในอิหร่านได้แก่ รถยนต์ยี่ห้อแดวู ซึ่งเป็นรถยนต์ที่ผลิตโดยบริษัท Kerman Motor แม้ว่ารถยนต์ดังกล่าวนี้จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้ซื้อ แต่ทว่าทางบริษัทไม่มีนโยบายในการผลิตรถยนต์ในปริมาณสูง ผนวกกับการที่บริษัทของประเทศเกาหลีล้มละลาย ทำให้หุ้นส่วนการผลิตรถยนต์ของสองประเทศ (อิหร่าน-เกาหลี) ต้องหยุดชะงักลง ซึ่งหลังจากนั้น ทางบริษัท General Motor ได้เข้ามาบริหารงานแทน ส่วนรถยนต์ยี่ห้อ Reno ถือว่าเป็นรถยี่ห้อที่มีความปลอดภัยของรถยนต์ในระดับต่ำสุดของรถยนต์ทั้งหมดในอิหร่าน

ปัจจัยในการตัดสินใจชื้อรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นผู้มีรายได้น้อยหรือผู้ที่มีฐานะดี คือคุณภาพ ความปลอดภัย สิ่งอำนวยความสะดวกที่มีในรถยนต์และอุปกรณ์ที่รองรับความปลอดภัยเมื่อเกิดอุบัติเหตุ เช่น ถุงลมนิรภัย ระบบเบรก ABS และที่สำคัญเรื่องประหยัดน้ำมัน รถยนต์ที่ชาวอิหร่านซื้อต้องประหยัดการเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่จำกัดการจัดสรรน้ำมันเชื้อเพลิงที่ประชาชนสามารถบริโภค ซึ่งรัฐบาลได้ปรับอัตราการจัดสรรน้ำมันใหม่ และให้มีผลบังคับใช้ในปีงบประมาณปัจจุบัน (ตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม 2553) เป็นต้นไป โดยรถยนต์นั่งส่วนบุคคลจะได้รับการจัดสรรลดลงจากเดือนละ 100 ลิตร เป็น 80 ลิตร ต่อเดือน เท่านั้น

รายงานจาก สคร ณ กรุงเตหะราน

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ