การส่งออกของไทย ในระยะ 4 เดือนแรกของปี 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday June 2, 2010 17:00 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. สถานการณ์การส่งออกของไทย
เมย. % เพิ่ม/ลด มค.-เมย. % เพิ่ม/ลด การส่งออกรวม 14,091.0 35.2 58,471.6 32.4
  • การส่งออกเดือนเมษายน มีมูลค่า 14,091.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นในอัตราสูงร้อยละ 35.2 เป็นการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่หก การส่งออกยังมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากช่วงปลายปี 2552 ในรูปเงินบาทการส่งออกมีมูลค่า 452,039.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.0
  • ในระยะ 4 เดือนแรกของปี 2553 การส่งออกมีมูลค่า 58,471.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.4 ในรูปเงินบาทการส่งออกมีมูลค่า 1,911,563.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.4
  • ปัจจัยที่ส่งผลทำให้การส่งออกขยายตัว ได้แก่

1) ความต้องการในตลาดโลกที่ฟื้นตัวมากขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการค้าของตลาดส่งออกสำคัญ โดยเฉพาะ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และประเทศในแถบเอเซีย คือ จีน อินเดีย เอเซียตะวันออกและอาเซียน

2) สต็อกของผู้นำเข้าในต่างประเทศที่ลดลง ทำให้ผู้ซื้อในต่างประเทศเริ่มกลับมาซื้อมากขึ้น ทั้งสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม

3) ผลสำเร็จจากข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศต่าง ๆ ทำให้การส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นในอัตราสูง โดยเฉพาะ จีน อินเดีย และ อาเซียน รวมทั้งความสำเร็จจากการดำเนินมาตรการเร่งรัดผลักดันการส่งออกร่วมกันระหว่างภาครัฐและ เอกชนที่ดำเนินการมาโดยตลอดและต่อเนื่อง

สินค้าส่งออกสำคัญ
เม.ย. % เพิ่ม/ลด มค.-เมย. % เพิ่ม/ลด สินค้าเกษตร/อุตสาหกรรมเกษตร 2,324 27.5 10,167 40.4 - อาหาร 1,012 8.8 4,180 14.3 - ข้าว 343 -9.6 1,662 9.4 - ยางพารา 440 87.9 2,366 99.3 - น้ำตาลทราย 282 66.2 1,095 111.3 สินค้าอุตสาหกรรม 9,251 37.1 39,037 28.7 - เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ 2,049 7.3 10,066 40.6 - เครื่องใช้ไฟฟ้า 1,404 23.5 5,889 36.3 - ยานยนต์ 1,543 91.1 6,699 71.1 - วัสดุก่อสร้าง 555 19.3 2,589 22.4 - เม็ดและผลิตภัณฑ์พลาสติก 713 38.9 2,647 38.7 - สิ่งทอ 496 3.2 2,257 13.8 - อัญมณี 1,212 305.9 2,832 -33.3 - ทองคำ 994 1,138 1,372 -54.7 - อัญมณีที่ไม่รวมทองคำ 218 -0.3 1,460 20.2
  • เดือนเมษายน ส่งออกเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในอัตราสูง ในทุกหมวดสินค้า
  • สินค้าเกษตร/อุตสาหกรรมเกษตรสำคัญ เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.5 เป็นการ ส่งออกเพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและมูลค่า โดยเฉพาะ มันสำปะหลัง น้ำตาล สินค้าอาหารประเภท อาหารทะเลแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป กุ้งแช่แข็งและแปรรูป และ ผักและผลไม้ รวมทั้ง ไก่แช่แข็งและแปรรูปที่ปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 แต่มูลค่าส่งออกลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.4 และ ยางพารา ที่มูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 87.9 แต่ปริมาณส่งออกลดลงร้อยละ 13.5 เนื่องจากผลผลิตน้ำยางลดลงจากปัญหาภัยแล้ง ขณะที่ความต้องการในตลาดโลกยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะจีน สำหรับ ข้าว ส่งออกลดลงทั้งปริมาณและมูลค่าร้อยละ 16.5 และ 9.6 ตามลำดับ เนื่องจากปัญหาการแข่งขันด้านราคากับเวียดนาม ปากีสถานและอินเดียและการแข็งค่าของเงินบาท
  • สินค้าอุตสาหกรรมสำคัญ ส่วนใหญ่ส่งออกเพิ่มขึ้น
  • สินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้นสูงกว่าร้อยละ 20 ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์ เม็ดและผลิตภัณฑ์พลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาง และ เครื่องสำอาง และ อัญมณี ที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 305.9 เนื่องจากการส่งออกทองคำเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 1,138
  • สินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้นน้อยกว่าร้อยละ 20 ได้แก่ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอ วัสดุก่อสร้าง เฟอร์นิเจอร์ เลนส์ เครื่องใช้เครื่องประดับตกแต่ง และ ของเล่น
  • สินค้าสำคัญที่ส่งออกลดลง ได้แก่ สิ่งพิมพ์ ลดลงร้อยละ 9.8 จากปัญหาการแข่งขันกับจีนในฮ่องกงและญี่ปุ่นที่จีนมีการเพิ่มกำลังการผลิตในประเทศ โดยสร้างโรงงานกระดาษที่ใหญ่ที่สุดในโลก และมีเทคโนโลยีในการผลิตที่สูงกว่า และเครื่องเดินทางและเครื่องหนัง ลดลงร้อยละ 12.5 เป็นการลดลงของการส่งออกรองเท้าและชิ้นส่วนที่ลดลงร้อยละ 27.8เนื่องจากมีการย้าย ฐานการผลิตรองเท้ากีฬาไปเวียดนาม
  • ในระยะ 4 เดือนแรกของปี 2553 ส่งออกเพิ่มขึ้นในอัตราสูง ทุกหมวดสินค้า
  • สินค้าเกษตร/อุตสาหกรรมเกษตรสำคัญส่งออกเพิ่มขึ้นทุกรายการ เป็นการเพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและมูลค่า โดยเฉพาะ ยางพารา มันสำปะหลัง น้ำตาล และสินค้าอาหาร ประเภท อาหารทะเลแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป กุ้งแช่แข็งและแปรรูป ผักและผลไม้ ไก่แช่แข็งและแปรรูป และ อาหารอื่น ๆ ยกเว้น ข้าวที่มูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 แต่ปริมาณส่งออกลดลงร้อยละ 1.3 เนื่องจากปัญหาการแข่งขันด้านราคากับเวียดนาม ปากีสถานและอินเดียและการแข็งค่าของเงินบาท
  • สินค้าอุตสาหกรรมสำคัญ ส่งออกเพิ่มขึ้นเกือบทุกรายการ
  • สินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้นสูงกว่าร้อยละ 20 ได้แก่ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์ วัสดุก่อสร้าง เม็ดและผลิตภัณฑ์พลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาง สิ่งพิมพ์ เครื่องสำอาง เลนส์ และเฟอร์นิเจอร์ รวมทั้งอัญมณีที่หักทองคำออกแล้วส่งออกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 20.2 (การส่งออกทองคำ ลดลงร้อยละ 54.7)
  • สินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้นน้อยกว่าร้อยละ 20 ได้แก่ สิ่งทอ เครื่องใช้เครื่องประดับตกแต่ง อาหารสัตว์เลี้ยง ผลิตภัณฑ์เภสัช/เครื่องมือแพทย์ นาฬิกา เครื่องกีฬา และ ของเล่น
  • สินค้าที่ส่งออกลดลงได้แก่ เครื่องเดินทางและ เครื่องหนังลดลงร้อยละ 3.4 เป็นการลดลงของการส่งออกรองเท้าที่ลดลงร้อยละ 16.8 เนื่องจากการย้ายฐานการผลิตรองเท้ากีฬาไปเวียดนามและอัญมณี ลดลงร้อยละ 33.3 เป็นการลดลงของการส่งออกทองคำที่ลดลงร้อยละ 54.7
ตลาดส่งออกสำคัญ
เม.ย. % เพิ่ม/ลด มค.-เมย. % เพิ่ม/ลด ตลาดหลัก 6,095 21.0 27,230 34.6 - อาเซียน 5 2,213 36.4 9,855 64.6 - ญี่ปุ่น 1,311 13.6 5,874 25.5 - สหภาพยุโรป 15 1,284 15.0 5,803 20.1 - สหรัฐฯ 1,286 12.5 5,698 20.3 ตลาดใหม่ 7,996 48.4 31,241 30.6 - จีน 1,551 26.9 6,601 57.4 - อินโดจีนและพม่า 1,035 53.8 3,915 50.8 - ฮ่องกง 893 47.0 3,643 27.8 - ทวีปออสเตรเลีย 1,115 148.3 3,551 29.0 - ตะวันออกกลาง 671 29.9 2,987 13.1 - แอฟริกา 511 10.4 2,001 1.4 - ลาตินอเมริกา 373 64.0 1,616 69.7 - อินเดีย 296 14.7 1,447 69.0
  • เดือนเมษายน ส่งออกเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในอัตราสูง ทั้งในตลาดหลักและตลาดใหม่
  • ตลาดหลัก ส่งออกเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่หก และขยายตัวในอัตราสูงต่อเนื่องถึงร้อยละ 21.0 เป็นการเพิ่มขึ้นในทุกตลาด โดยเฉพาะอาเซียน(5) ซึ่งเพิ่มขึ้นในอัตราสูงต่อเนื่องถึงร้อยละ 36.4 ขณะที่ ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป(15) และ สหรัฐฯ ก็ขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเช่นเดียวกัน
  • ตลาดใหม่ ส่งออกเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่แปด เป็นการเพิ่มขึ้นในทุกตลาด
  • ตลาดที่ส่งออกเพิ่มขึ้นสูงกว่าร้อยละ 20 ได้แก่ จีน อินโดจีนและพม่า ทวีปออสเตรเลีย ฮ่องกง ตะวันออกกลาง ลาตินอเมริกา เกาหลีใต้ และ ยุโรปตะวันออก
  • ตลาดที่ส่งออกเพิ่มขึ้นน้อยกว่าร้อยละ 20 ได้แก่ แอฟริกา อินเดีย ไต้หวัน และ แคนาดา
  • ในระยะ 4 เดือนแรกของปี 2553
  • ตลาดหลัก ส่งออกเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในอัตราสูงถึงร้อยละ 34.6 และเป็นการเพิ่มขึ้นในทุกตลาด โดยเฉพาะอาเซียน(5) เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 64.6 รองลงได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐฯ และสหภาพยุโรป(15) เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.5 , 20.3 และ 20.1 ตามลำดับ
  • ตลาดใหม่ ส่งออกเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และเป็นการเพิ่มขึ้นในทุกตลาด
  • ตลาดที่ส่งออกเพิ่มขึ้นสูงกว่าร้อยละ 20 ได้แก่ จีน อินโดจีนและพม่า ฮ่องกง ทวีปออสเตรเลีย ลาตินอเมริกา อินเดีย เกาหลีใต้ ยุโรปตะวันออก และ ไต้หวัน
  • ตลาดที่ส่งออกเพิ่มขึ้นน้อยกว่าร้อยละ 20 ได้แก่ ตะวันออกกลาง แอฟริกา และ แคนาดา
2. เปรียบเทียบอัตราการขยายตัวของการส่งออกของไทยกับประเทศคู่แข่ง ปี 2553
มค. 53 กพ. 53 มีค. 53 เมย. 53 ไทย 30.8 23.1 40.9 35.2 จีน 21.0 45.7 24.2 30.4 ไต้หวัน 75.8 32.6 50.1 47.8 เกาหลีใต้ 45.8 30.3 34.3 30.0 สิงคโปร์ 37.0 19.2 29.3 29.8 เวียดนาม 34.8 -25.6 5.3 33.2 มาเลเซีย 37.0 18.4 36.4 NA ฟิลิปปินส์ 42.4 42.5 43.7 NA

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ