การค้าระหว่างประเทศ ไทย-แคนาดา มกราคม-เมษายน 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Friday June 4, 2010 17:13 —กรมส่งเสริมการส่งออก

มูลค่าการค้าระหว่างประเทศ
  • การค้าระหว่างไทย-แคนาดาในปี 2552 มีมูลค่า 1,985.16 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากปี 2551 ร้อยละ 16.57 การส่งออกเป็นสัดสวน่ร้อยละ 0.86 ของการส่งออกรวมของไทยโดยมีมูลค่า 1,311.81 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 8.11 การนำเข้ามีมูลค่า 673.35 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 29.25 ไทยได้ดุลการค้า 162.56 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.15
  • การค้าระหว่างไทย-แคนาดา ในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน 2553 มีมูลค่า 760.88 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.68 การส่งออกมีมูลค่า 428.51 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 18.57 การนำเข้ามีมูลค่า 332.37 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ไทยได้ดุลการค้าเป็นมูลค่า 96.14 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
การส่งออกของไทยไปแคนาดา
  • ระหว่างปี 2542-2552 การส่งออกของไทยไปแคนาดาขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นจากมูลค่าส่งออกในปี 2542 จำนวน 701.99 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็น 1,311.81 ล้านเหรียญสหรัฐฯในปี 2552 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละร้อยละ 8 โดยในปี 2551 มีมูลค่าสูงสุดที่ 1,427.68 ล้านเหรียญ สำหรับปี 2552 ที่การส่งออกลดลงเนื่องจากภาวะวิกฤตเศรษฐกจทั่วโลก
  • ในช่วงระหว่าง เมษายน 2553 ไทยมีการส่งออกมายังแคนาดามูลค่า 95.71 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากเมษายน ปี 2552 มูลค่า 84.03 ล้านเหรียญฯ
สินค้าส่งออกของไทยมาแคนาดา
  • ปี 2552 สินค้าส่งออกของไทยอันดับแรกเป็นสินค้าอาหาร ร้อยละ 41.13 รองลงมาเป็นสินค้าอีเล็กทรอนิกส์ ร้อยละ 20.31 อันดับสามเป็นสินค้าผลิตภัณฑ์ยาง ร้อยละ 7.45 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าร้อยละ 6.98 สินค้าเสือผ้า/สิ่งทอ ร้อยละ 5.21 สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับร้อยละ สินค้าอุปกรณ์ชิ้นส่วนรถยนต์ ร้อยละ 2.94 สินค้าอุปกรณ์วัสดุก่อสร้าง ร้อยละ 2.31
  • มกราคม-เมษายน 2553 สินค้าส่งออกของไทยอันดับแรก เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และสวนประกอบ รองลงมาเป็นสินค้า อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ข้าว ยางพารา กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผลไม้กระป๋องและแปรรูป เครื่องใช้ไฟฟ้า เหล็ก ผลิตภัณฑ์ยาง
ส่วนแบ่งตลาดสินค้าในแคนาดา

ไทยครองสวนแบ่งตลาดในแคนาดาที่ 0.57-0.63% เป็นอันดับที่ 19 โดยคู่แข่งขันของไทย ได้แก่ สหรัฐฯ ซึ่งครองส่วนแบงตลาดอันดับที่ 1 ที่ 51.11-54.17% จีน 9.43-10.88% เม็กซิโก 4.23-4.55% ญี่ปุ่น 3.38-3.79% เยอรมันนี 2.83-2.91% เกาหลีใต้ 1.32-1.63% มาเลเซีย 0.63-0.72%

ในช่วงที่ผ่านมาในปี 2550-2551 ไทยครองส่วนแบ่งตลาดแคนาดาเพิมขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเพิ่มขึ้น จาก 0.57% เป็น 0.63% สำหรับในช่วง มค-มีค 53 ครองส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 0.60 ลดลงจากช่วงเดียวกัน ร้อยละ -4.76 สาเหตุเนื่องจาก เนื่องจากราคาสินค้าไทยสูงกว่าคูแข่ง (เฟอร์นิเจอร์ เครื่องประดับตกแต่งบ้าน อัญมณีเครื่องประดับ) นวัตกรรมสินค้าไม่แปลกใหม่ (สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์) คูแข่งเลียนแบบ (เช่น ข้าว, กุ้ง, อาหารสำเร็จรูป) คูแข่งได้รับสิทธิประโยชน์ทางการค้าจาก FTA กับแคนาดา (เม็กซิโก สหรัฐฯ ชิลี เปรู อิสราเอล) ทั้งนี้ประเทศครองส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นได้แก่ เม็กซิโก เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์

สินค้านำเข้าจากแคนาดา

ไทยนำเข้าสินค้าจากแคนาดา ได้แก่ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ เยื่อกระดาษ ปุ๋ย ยากำจัดศัตรูพืชและสัตว์ แผงวงจรไฟฟ้า พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช เครื่องจักรกล สินแร เหล็่กกล้า เคมีภัณฑ์ ถานหิน

เศรษฐกิจแคนาดา
  • จากข้อมูลล่าสุด GDP ไตรมาสที่ 1 ของปี 53 ขยายตัวเพิ่มขึ้น 1.5% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2552 แสดงถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจแคนาดาในภาคการลงทุน เนื่องมาจากรัฐบาลแคนาดาได้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ อาทิโครงการก่อสร้างระบบสาธาณูปโภค โครงการสนับสนุนการก่อสร้างบ้านพักอาศัย โครงการพัฒนาขีดความสามารถของธุรกิจ
  • อัตราการว่างงานในเดือน เม.ย. 53 มีแนวโน้มดีขึ้น อยู่ที่ระดับ 8.1% ลดลง -0.1% เมื่อเปรียบเทียบ มี.ค. 53 ทำให้กำลังซื้อของประชาชนดีขึ้น
  • ค่าเงินสกุลดอลลาร์แคนาดาแข็งค่ามากขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลดอลล่าร์สหรัฐฯ โดยอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ย 1 เหรียญสหรัฐฯ = 1.005 เหรียญแคนาดา ที่จะส่งผลดีต่อการนำเข้าจากทั่วโลก รวมทั้งไทย
  • ธนาคารชาติแคนาดา ได้ส่งสัญญาณการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยจะเริ่มในช่วงกลางปี 53 ซึ่งจะส่งผลต่อ ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นของภาคธุรกิจ ผู้บริโภคชลอการจับจ่าย โดยปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยคงระดับอยู่ที่ร้อยละ 0.50 (ตั้งแต่ เม.ย. 52)
  • อัตราเงินเฟ้อในแคนาดา ธนาคารชาติแคนาดาตั้งเป้าอัตราเงินเฟ้อในปี 2553 ที่ร้อยละ 2 แต่ขณะนี้อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มสูงขึ้นมากกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ เนื่องจากราคาสินค้าอุปโภคบริโภคในแคนาดาปรับเพิ่มสูงขึ้น เช่น หมวดอาหาร ผัก ผลไม้ อาหารกระป๋อง เพิ่มสูงขึ้น 12.6% น้ำตาลและขนมปังและขนมขบเขี้ยว 8.6% อาหารสัตว์เลี้ยง 8.5% ค่าโดยสารรถยนต์ รถเมล์ ค่าทางด่วน 9.3% ค่าเล่าเรียน 4.1% ค่าประกันภัยทุกประเภท ค่าธรรมเนียมธนาคาร ค่านิตยสารและค่าเสื้อผ้า 10-15%
  • การส่งออกของแคนาดาในไตรมาสที่ 1 ของปี 2553 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2552 เนื่องจากราคาสินค้าส่งออกหลักของแคนาดามีแนวโน้มสูงขึ้น อาทิ พลังงาน สินแร่โลหะ ปุ๋ย เคมีภัณฑ์ ในขณะที่การส่งออกทั้งปี 2552 ลดลงจากปี 2551 = 14.0% แคนาดาตั้งเป้าหมายว่าการส่งออกในปี 2553 จะขยายตัวเพิ่มขึ้น 5.5%
  • การนำเข้าในไตรมาสที่ 1 ของปี2553 เพิ่มขึ้น 4.7 % เมื่อเทียบกับไตรมาสที่4 ของปี 2552 เนื่องจากค่าเงินแคนาดาแข็งค่าขึ้น สินค้านำเข้าจะมีราคาถูกกว่าสินค้าที่ผลิตในประเทศ การนำเข้าของแคนาดาในปี 2552 ลดลง 13.40 % เมื่อเทียบกับปี 2551 คาดว่าในปี 2553 จะมีการนำเข้าเพิ่มขึ้น 8.6 %

สำนักงานสงเสริมการค้าระหวางประเทศ ณ นคร โตรอนโต

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ