- ตัวเลขการขยายตัวของเศรษฐกิจ (GDP growth) ที่เป็นตัวเลขทางการ ยังคงเป็นตัวเลขของไตรมาสที่ 1 ของปี 2553 โดยเศรษฐกิจสหราชอาณาจักรมีอัตราการขยายตัวเป็นบวกที่ร้อยละ 0.3 โดยเป็นอัตราการขยายตัวที่เป็นบวกต่อเนื่องกันมา 2 ไตรมาสแล้ว สะท้อนให้เห็นว่า เศรษฐกิจสหราชอาณาจักรหลุดพ้นจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ (recession)
- อย่างไรก็ดี การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจยังคงเปราะบางและอาจกลับเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำได้ หากปัญหาหนี้สาธารณะของประเทศกรีซลุกลาม ไปสู่ปัญหาเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปผ่านความเชื่อมโยงด้านการค้าและด้านการเงินการธนาคาร อนึ่งในส่วนของ สหราชอาณาจักร แม้ว่าจะมี direct exposure ในหนี้สาธารณะของประเทศกรีซ และโปรตุเกส ค่อนข้างน้อย แต่มีมากกับประเทศสเปน โดยเฉพาะธนาคาร Barclays และ Royal Bank of Scotland (RBS) นอกจากนี้ แม้ว่า สหราชอาณาจักรอยู่นอกยูโรโซน และยังไม่ถูกปรับลดระดับความน่าเชื่อถือก็ตาม โดยบริษัทจัดเรดติ้งจะยังจัดอันดับความน่าเชื่อถือของ สหราชอาณาจักรที่ AAA แต่อยู่ใน ‘negative watch’ เนื่องจากสหราชอาณาจักรมีปัญหาหนี้สาธารณะสูงมาก เป็นการส่งสัญญาณเตือนว่า ในอนาคตอาจถูกปรับลดความน่าเชื่อถือลง ทำให้เป็นที่จับตามองของนักลงทุน ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริง ภาคการธนาคารของสหราชอาณาจักรจะได้รับผลกระทบอย่างมากเนื่องจากตุ้นทุนในการกู้ยืมเงินจะสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรในระยะสั้น-ระยะปานกลาง เนื่องจากภาคการธนาคารของสหราชอาณาจักรมีสัดส่วนในการสนับสนุนจีดีพีสูงมาก
- สำหรับอัตราการว่างงานในรอบสามเดือนสิ้นสุดเดือนเมษายน 2553 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 จากไตรมาสก่อนหน้าเป็นร้อยละ 7.9 และจำนวนผู้ว่างงานในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า 23,000 คน ทำให้มีจำนวนผู้ว่างงานทั้งสิ้น 2.47 ล้านคน
- อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 3.4 ในเดือนมิถุนายน 2553 เกินเป้าที่ร้อยละ 2 ที่ Bank of England ตั้งไว้
- งบประมาณ current budget ภาครัฐขาดดุล 14.1 พันล้านปอนด์ ณ เดือนพฤษภาคม 2010 หนี้สาธารณะสุทธิ (public sector net debt) ต่อ GDP อยู่ที่ร้อยละ 62.2 หรือ 903.0พันล้านปอนด์ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2553
รัฐบาลปัจจุบัน ซึ่งเป็นรัฐบาลผสม ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีนาย David Cameron ได้ประกาศ มาตรการปรับลดรายจ่ายภาครัฐและขึ้นภาษีครั้งใหญ่ เพื่อลดตัวเลขการขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลที่สูงมาก ทั้งนี้ เพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างมั่นคง/แข็งแรง โดยในการแถลงงบประมาณต่อรัฐสภาเป็นครั้งแรกของรัฐบาลผสมชุดใหม่นี้ (First Budget) เมื่อวันที่ 23มิถุนายน 2553สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
2.1 เป้าหมาย : รัฐบาลสหราชอาณาจักรได้ตั้งเป้าหมายบรรลุงบประมาณภาครัฐสมดุล โดยการลดภาวะงบประมาณขาดดุลให้เหลือศูนย์ภายในปี 2559
2.2 มาตรการ
2.2.1 มาตรการตัดรายจ่ายประจำของภาครัฐ (current spending) 32 พันล้านปอนด์ต่อปีภายในปี 2014-15 โดยจะมีการประกาศ Spending Review ในวันที่ 20 ตุลาคม 2553 อนึ่ง รัฐบาลเห็นว่า หากไม่เร่งลดตัวเลขการขาดดุลงบประมาณ ความเชื่อมั่นในตลาดทุนของอังกฤษจะได้รับผลกระทบ และจะก่อให้เกิดปัญหาทางการเงินที่ย่ำแย่กว่าเดิมในอนาคต ซึ่งขัดกับแนวนโยบายของรัฐบาลชุดเก่าที่กล่าวว่า เศรษฐกิจอังกฤษยังไม่ฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งเพียงพอที่จะรับมาตรการรัดเข็มขัดที่เข้มข้นเช่นนี้ ซึ่งอาจทำให้เศรษฐกิจอังกฤษกลับเข้าสู่ภาวะถดถอยอีกครั้ง
2.2.2 มาตรการด้านภาษี
- ปรับเพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จากร้อยละ 17.5 เป็นร้อยละ 20 ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2011 ซึ่งคาดว่า จะทำให้รัฐมีรายได้เข้าคลัง 13.5 พันล้านปอนด์ภายในสิ้นปี 2014/15
- ปฏิรูปโครงสร้างสวัสดิการสังคม โดยการระงับ/ไม่ปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์หลาย
- คงเงินเดือนข้าราชการเท่าเดิมเป็นเวลา 2 ปี
- พิจารณาทบทวนระบบเงินบำเหน็จบำนาญของพนักงานภาครัฐ
- ปฏิรูประบบธนาคารโดยการจัดเก็บภาษีจากการทำธุรกรรมของธนาคาร (bank levy) ยกเว้นธนาคารขนาดเล็ก
- ปรับลดภาษี corporate tax จากร้อยละ 28 เป็นร้อยละ 24 ตั้งแต่เดือนเมษายน 2011 โดยปรับลดปีละ 1% เพื่อส่งเสริมการทำธุรกิจในสหราชอาณาจักรและดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ
Office for Budget Responsibility ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ตั้งขึ้นใหม่โดยรัฐบาลชุดปัจจุบัน เพื่อเป็นอิสระในการเสนองบประมาณและจัดทำตัวเลขประมาณการเศรษฐกิจของ สหราชอาณาจักร ได้แถลงตัวเลขประมาณการเศรษฐกิจสหราชอาณาจักรใหม่ โดยย้ำว่า มาตรการ fiscal policy ที่เข้มงวดนี้จะไม่ทำให้สหราชอาณาจักรกลับเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ดังนี้
- รัฐบาลคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจสหราชอาณาจักรจะขยายตัวร้อยละ 1.2 ในปี 2010 และร้อยละ 2.3 ในปี 2011 (ซึ่งต่ำกว่าที่รัฐบาลอดีตนายกรัฐมนตรีกอร์ดอน บราวน์ได้ประเมินไว้) การขาดดุลงบประมาณภาครัฐต่อ GDP จะอยู่ที่ร้อยละ 10.1 ในปี 2010 และร้อยละ 7.6 ในปี 2011 หนี้สาธารณะต่อ GDP จะอยู่ที่ร้อยละ 78.9 ในปี 2010 และร้อยละ 83.6 ในปี 2011
4.1 สถานการณ์นำเข้าโดยรวม
จากตัวเลขทางการล่าสุด ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2553 สหราชอาณาจักรนำเข้าสินค้าจากทั่วโลกมูลค่ารวม 181,938.06 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.89 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยนำเข้าจากเยอรมันในอันดับ 1 ตามด้วยสหรัฐฯ จีน เนเธอร์แลนด์ และฝรั่งเศส ตามลำดับ
4.2 สถานการณ์การนำเข้าสินค้าไทย
- การนำเข้าจากไทยอยู่ในอันดับที่ 30 ด้วยมูลค่า 1,112.57 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.13 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า
- การนำเข้าจากไทยเพิ่มขึ้นเกือบทุกรายการสินค้า โดย สินค้านำเข้าสำคัญจากไทย ได้แก่(1) เนื้อไก่/เนื้อปลา/กุ้งปรุงแต่ง 213.78 ล้าน US$ (+9.57%) (2) เครื่องจักร/คอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ 130.39 ล้าน US$ (+14.66%) (3) เครื่องจักรไฟฟ้า 118.32 ล้าน US$ (+12.52%) (4) ยานยนต์ 114.89 ล้าน US$(+108.827%) (5) อัญมณีและเครื่องประดับ 56.09 ล้าน US$ (-13.04%) (6) เฟอร์นิเจอร์ 45.29 ล้าน US$ (+27.60%) เป็นต้น (7) เสื้อผ้าแบบถัก 43.61 ล้าน US$ (-6.06%)
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงลอนดอน
ที่มา: http://www.depthai.go.th