สินค้าเครื่องปรับอากาศและชิ้นส่วนในซาอุดีอาระเบีย

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday August 18, 2010 16:39 —กรมส่งเสริมการส่งออก

สินค้าในกลุ่มนี้มีศักยภาพสูงในตลาดซาอุดีอาระเบีย ด้วยเหตุผลหลายประการ ได้แก่ 1) จำนวนประชากร ที่มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มมากขึ้น 2) การขยายตัวขององค์ทั้งภาครัฐบาลและเอกชน มีการก่อสร้างอาคารมากขึ้น 3) ราคาของสินค้าที่มีแนวโน้มปรับลดลง และ 4) อากาศที่ร้อนตลอดทั้งปี ผู้ส่งออกสินค้าเครื่องปรับอากาศและชิ้นส่วนของไทย ซึ่งมีความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก น่าที่จะมีโอกาสในการขยายส่วนแบ่งการตลาดในซาอุดีอาระเบียด้วยเช่นกัน

1. ข้อมูลทวั่ ไป

ซาอุฯ มีการตั้งโรงงานผลิตเครื่องปรับอากาศเป็นโรงงานแรกเมื่อปี 1967 (พ.ศ. 2510) ในปัจจุบันมีโรงงานผลิตประมาณ 15 โรง (ข้อมูลปี 2009) กระจายอยู่ทั่วประเทศ สามารถรองรับความต้องการตลาดภายในประเทศได้ถึงร้อยละ 65 อีกร้อยละ 35 เป็นเครื่องปรับอากาศที่นำเข้าจากต่างประเทศ

ผู้ผลิตรายสำคัญของซาอุฯ ได้แก่

1) Zamil Air Conditioners มีกำลังการผลิตปีละ 1.35 ล้านหน่วย ประมาณร้อยละ 42 ของกำลังการผลิตทั้งหมดภายในประเทศ บริษัทนี้เป็น OEM ให้หลายยี่ห้อ เช่น Sanyo, Friedrich, Philco, Admiral, Siemens, Bosch, Trane, Supra และมียี่ห้อของตนเอง คือ Classic และ Cooline

2) National Factory of Air Conditioners มีกำลังการผลิตปีละ 1.082 ล้านหน่วย ประมาณร้อยละ 35 ของกำลังการผลิตทั้งหมดภายในประเทศ มีการผลิตภายใต้ยหี่ อ Carrier, York, Gibson, Falcon เป็นต้น

3) Saudi Air Conditioners Factory มีกำลังการผลิตปีละ 0.484 ล้านหน่วย หรือประมาณร้อยละ 15 ของกำลังการผลิตทั้งหมดภายในประเทศ ภายใต้ยหี่ อ Carrier, Kelvinator, Electrolux เป็นต้น ในแต่ละปีซาอุฯ มีการส่งออกสินค้ากลุ่มนี้ไปต่างประเทศเช่นกัน ตลาดหลัก คือ ประเทศใน กลุ่ม GCC (the Cooperation Council for the Arab States of the Gulf) ได้แก่ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ บาห์เรน กาตาร์ คูเวต และโอมาน เนื่องจากได้เปรียบยกเว้นการเสียภาษีนำเข้าสินค้าระหว่างกัน

2. ลักษณะของตลาดสินค้า

จากข้อมูลข้างต้นอาจเห็นว่าตลาดซาอุฯ ครอบครองโดยผู้ผลิตซาอุฯ เอง แต่ในภาพรวมมิได้เป็นเช่นนั้นทั้งหมด แต่เดิมมาตลาดเครื่องปรับอากาศ เป็นของบริษัทจากอเมริกา และญี่ปุ่น แต่ในปัจจุบันตลาดใหญ่ครอบครองโดยบริษัทจากเกาหลี นั่นคือ แอลจี

โรงงานของซาอุฯ สวนใหญผลิตเครื่องปรับอากาศประเภท Window Type ซึ่งเป็นที่นิยมเนื่องจาก ราคาถูก ติดตั้งและบำรุงรักษาง่าย แอลจีมีสินค้าครบทุก Segment สินค้าที่ครองตลาดผู้บริโภคคือเครื่องปรับอากาศแบบ Split Type สำหรับโครงการขนาดใหญ่ ห้างสรรพสินค้า อาคารสำนักงาน ใช้แบบ Central Air Conditioning Unit ตลาดเป็นของผู้ผลิตจากอเมริกา

ในปี 2008 ข้อมูลระบุว่ามูลค่าตลาดเครื่องปรับอากาศของซาอุฯ สูงมาก ประมาณ 1,010.14 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จำแนกเป็นความต้องการจากที่อยู่อาศัย 170.14 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากสถานประกอบการ 65.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และจากการซื้อเพื่อทดแทนเครื่องเดิม 774.40 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ในด้านของจำนวนเครื่อง ปี 2008 ตลาดซาอุฯ มีความต้องการเครื่องปรับอากาศถึง 3.157 ล้านเครื่อง แยกเป็นความต้องการจากที่อยู่อาศัย 0.532 ล้านเครื่อง จากสถานประกอบการ 0.205 ล้านเครื่องและจากการซื้อเพื่อทดแทนเครื่องเดิม 2.42 ล้านเครื่อง

3. ราคาจำหน่าย

สินค้าในกลุ่มนี้มีราคาแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับขนาดความเย็น และฟังก์ชั่นพิเศษ เช่น เป็น Heater ได้ในช่วงฤดูหนาว มีเครื่องกรองอากาศ จากการสำรวจตลาดของสำนักงานฯ มีรายละเอียดดังนี้

1) เครื่องปรับอากาศ Window Type ขนาด 12,000 BTU ราคา 900-1,000 รียัล 18,000 BTU ราคาประมาณ 1,050-1,270 รียัล ขนาด 24,000 BTU ราคาประมาณ 1,250-2,300 รียัล

2) Split Type ขนาด 1,2000 BTU ราคา 1,600-2,000 รียัล ขนาด 18,000 BTU ราคา 1,800-3,450 รียัล ขนาด 24,000 BTU ราคา 2,300-4,300 รียัล ขนาด 30,000-38,000 BTU ราคา 4,750-6,600 รียัล ($US 1= 3.75 ซาอุดีรียัล)

4. กฏระเบียบการนำเข้าสินค้า

4.1 เครื่องปรับอากาศ (HS 8415) เสียภาษีนำเข้าร้อยละ 5 เครื่องปรับอากาศที่ใช้ฟรีออน เสียภาษีนำเข้าร้อยละ 12 ชิ้นส่วนเครื่องปรับอากาศเสียภาษีนำเข้าร้อยละ 5 เช่นกัน ในซาอุฯ ไม่มีภาษีขาย (www.customs.gov.sa)

4.2 Saudi Arabian Standards Organization (SASO) เป็นหน่วยงานที่ควบคุมการนำเข้าสินค้ากลุ่มนี้ โดยสินค้าที่นำเข้าจะต้องมีมาตรฐานตามที่กำหนดไว้ (www.saso.org.sa)

สินค้าที่จะเข้าซาอุฯ จะต้องมีเอกสาร Certificate of Conformity (CoC) ประกอบ ซึ่งจะออกโดยหน่วยงานตรวจสอบ (Laboratories) ที่ได้รับการรับรองล่าสุด ซาอุฯ ยังได้ออกระเบียบใหม่เกี่ยวกับ การติดฉลากประหยัดไฟ (the Regulations Applicable to Electrical Equipment Energy Efficiency Labels) สำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น ตู้แช่ เครื่องซักผ้า เครื่องทำความร้อน เครื่องทำน้ำอุ่น เป็นต้น โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 27 เมษายน 2553 สินค้าที่ไม่มีฉลากดังกล่าวจะไม่ให้นำเข้าประเทศ

4.3 กฎระเบียบของซาอุฯ บางครั้งมีการเปลี่ยนแปลง โดยไม่แจ้งล่วงหน้า/แจ้งไม่ทั่วถึง ผู้ส่งออกไทยควรจะประสานในรายละเอียดกับผู้นำเข้าซาอุฯ ก่อนการส่งออกสินค้า เพื่อป้องกันปัญหา ณ ท่าเรือปลายทาง

5. การเข้าสู่ตลาด

5.1 ช่องทางการจำหน่ายของผู้ประกอบการไทย หาโอกาสเข้ามาพบปะกับพ่อค้าชาวซาอุดีฯ เช่น เข้าร่วมงานแสดงสินค้า RHVAC ที่กรุงเทพฯ ซึ่งจัดทุก 2 ปี โดยสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เมืองเจดดาห์ ได้เชิญนักธุรกิจซาอุฯ เข้าร่วมงานทุกครั้ง หรือผู้ส่งออกไทย เดินทางเข้าซาอุฯ โดยให้ผู้นำเข้าซาอุฯ เป็นผู้ออกหนังสือเชิญ เพื่อใช้ประกอบการขอวีซ่าเดินทาง

5.2 ผู้ส่งออกไทยเข้าร่วมงานแสดงสินค้าเกี่ยวกับบ้าน การก่อสร้าง ที่จัดในประเทศซาอุดีอาระเบีย ปัจจุบันมีการจัดงานขึ้นที่เมืองริยาด และเจดดาห์

5.3 ผู้ส่งออกไทย เข้าร่วมงานแสดงสินค้าในประเทศที่ใกล้เคียงซาอุดีอาระเบีย เช่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และบาห์เรน เป็นต้น

6. แนวโน้มของตลาด/ข้อมูลเพมิ่ เติม

          6.1 ประมาณการความต้องการเครื่องปรับอากาศของซาอุฯ ในอนาคต          (หน่วย)
ประมาณการความต้องการเครื่องปรับอากาศของซาอุฯ ในอนาคต (หน่วย)
ประเภท/พ.ศ.                  2553            2558            2563
ที่อยู่อาศัย                    558,000         630,000         711,000
สถานประกอบการ              213,000         235,000         260,000
การซื้อเพื่อทดแทนเครื่องเดิม    2,540,000       2,870,000       3,240,000
    รวม                  3,311,000       3,735,000       4,211,000
Source: NCB, 2009


          6.2  ผู้บริโภคชาวซาอุฯ จะได้รับประโยชน์จากเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มขยายตัว มีรายได้เพิ่มขึ้นประกอบกับเทคโนโลยีในการผลิตที่สูงขึ้น ราคาเครื่องปรับอากาศมีแนวโน้มลดลง ในอนาคตผู้บริโภคชาวซาอุฯ จะนิยมเครื่องปรับอากาศแบบ Split Type เพิ่มมากขึ้น จากดีไซน์ที่สวยงามความเงียบของเครื่องฯ และฟังก์ชันอื่นๆ
          6.3  ผู้ส่งออกชินส่วนเครื่องปรับอากาศของไทยควรระมัดระวังถึงความต้องการของตลาดที่จะเปลี่ยนจาก Window Type ไปเป็น Split Type
          6.4  สถานประกอบการ หน่วยงาน ห้างสรรพสินค้า เหล่านี้จะให้ความสนใจกับ Central Air Conditioning Unit เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากประสิทธิภาพที่สูง ช่วยลดค่าใช้จ่ายในเรื่องค่าไฟฟ้าได้
ประกอบกับซาอุฯ มีการเพิ่มอัตราค่าไฟฟ้าสำหรับสถานประกอบการ เริ่มตั้งแต่ 1 กค. 2553 เป็นต้นไป
          6.5  แอลจี ได้เปิดโรงงานของตนเองที่ประเทศซาอุดีอาระเบีย (แห่งที่ 9 ในโลก) ใช้เงินลงทุนทั้งหมด 35 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แล้วเสร็จเมื่อ เดือนเมษายน 2010 มีเป้าหมายพัฒนากำลังการผลิตเป็น 1
ล้านหน่วย ในปี 2011 และมีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับที่ 1 ประมาณร้อยละ 34
          6.6  ซาอุดีอาระเบียอากาศร้อนตลอดทั้งปี ช่วงหน้าร้อนอุณหภูมิขึ้นสุงสุดเกินกว่า 50 องศาเซลเซียส ในหลายพื้นที่ ดังนั้นผู้ประกอบการไทยต้องพัฒนาสินค้าให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของซาอุฯ ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบระบายความร้อน เพื่อความคงทน และภาพพจน์ของสินค้า
          6.7  ข้อมูลจาก Euromonitor ระบุว่าอายุของเครื่องปรับอากาศในบ้าน (Replacement Cycles)ในซาอุฯ ประมาณ 5 ปี


          สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เมืองเจดดาห์

          ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ