อุตสาหกรรมและตลาดเครื่องหนังสหรัฐฯ

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday August 19, 2010 15:23 —กรมส่งเสริมการส่งออก

สรุปสภาวะตลาดสินค้าเครื่องหนังสหรัฐ

สินค้าเครื่องหนังในตลาดสหรัฐฯมาจากหลายๆแหล่งผลิตด้วยกัน แหล่งผลิตที่แตกต่างกันมีผลต่อระดับราคาสินค้าที่แตกต่างกันอย่างมาก ยกตัวอย่างเช่นสินค้ากระเป๋าถือทำด้วยหนังที่ผลิตในประเทศจีนอาจจะมีระดับราคาขายปลีกในตลาดสหรัฐฯระหว่าง 20 - 300 เหรียญสหรัฐฯขึ้นอยู่กับคุณภาพสินค้าและยี่ห้อ สินค้าจากอิตาลีอาจจะมีราคาตั้งแต่ 600 เหรียญฯขึ้นไปจนถึงหมื่นเหรียญฯ สินค้าที่ผลิตในประเทศสหรัฐฯจะมีราคาตั้งแต่ 200 เหรียญฯขึ้นไป

สินค้าเครื่องหนังในสหรัฐฯแบ่งตามระดับราคาขายปลีก คือ

1. สินค้าสำหรับตลาดล่างสุดเป็นสินค้าที่ผลิตโดยวัถตุดิบหนังชนิดเลวที่มีขบวนการ ฟอกหนังที่ไม่ได้มาตรฐานที่รวมถึงการแช่หนังในน้ำปัสสะวะของสัตว์หรือแม้ กระทั่งของมนุษย์ ใช้วัสดุตกแต่งคุณภาพต่ำทั้งที่เป็นโลหะด้อยคุณภาพหรือขนสัตว์ ที่เป็นขนแมวหรือขนสุนัขซึ่งผิดกฏหมายสหรัฐฯ ฝีมือการผลิตไม่ปราณีตและไม่ได้ มาตรฐาน สินค้าในกลุ่มนี้จะไม่มียี่ห้อหรือมียี่ห้อที่ไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย มีราคา จำหน่ายปลีกต่ำมาก มาจากแหล่งผลิตหลายๆประเทศในประเทศเอเซีย เงื่อนไข สำคัญสูงสุดในการตัดสินใจซื้อสินค้าในตลาดนี้คือราคา สินค้าในตลาดนี้ราคาสูงสุด ไม่เกินหนึ่งร้อยเหรียญฯ

2. สินค้าระดับที่มีการออกแบบและฝีมือการผลิตปราณีตมากขึ้น ใช้วัตถุดิบหนัง และส่วนประกอบอื่นๆที่เป็น hardware ที่มีคุณภาพ มีการออกแบบทันสมัยสวยงาม ส่วนใหญ่เป็นยี่ห้อของโรงงานผลิตหรือนักออกแบบแฟชั่นที่มีชื่อเสียงระดับโลก หรือระดับประเทศ สินค้าในกลุ่มนี้มีหลากหลายยี่ห้อมากที่สุด เช่น Fossil, Lucky Brand, Anne Klein, Cole Haan, Etienne Aigner, Nine West, Samsonite, Aerosoles, Clarks, DKNY, Naturalizer หรือ Tignanello เป็นต้น เงื่อนไขสำคัญสูงสุดในการตัดสินใจซื้อสินค้าในตลาดนี้คือราคา สไตล์ และคุณภาพสินค้า

3. สินค้าสำหรับตลาดราคาแพงมากซึ่งจะเป็นสินค้าที่มีการผลิตอย่างปราณีตพิถีพิถันใช้วัตถุดิบหนังชั้นดีมาก มีการเลือกสรรประเภทของหนังและน้ำหนักของหนังที่ เหมาะสมกับสินค้า มีการออกแบบสวยงาม ส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าที่ผลิตในประเทศ ยุโรปหรือผลิตตามสั่งโดยผู้ผลิตในประเทศสหรัฐฯ ยี่ห้อสินค้าในกลุ่มนี้เช่น Dooney & Bourke, Gucci, Coach, Prada หรือ Tummi เป็นต้น เงื่อนไขสำคัญสูงสุด ในการตัดสินใจซื้อสินค้ากลุ่มนี้ของผู้บริโภคทั่วไปที่ไม่ใช่ผู้บริโภครายได้สูงมากๆ คือ "value" ของสินค้าและระดับการลดราคาสินค้าในระหว่างการทำการส่งเสริม การขาย เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีราคาแพงมากจึงถูกจัดเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย ในสภาวะ เศรษฐกิจปัจจุบันสินค้ากลุ่มนี้จึงเป็นสินค้าที่ประสบปัญหามากที่สุดในตลาดการค้า ในสหรัฐฯ สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำของสหรัฐฯยืดนานออกไปมากเท่าไรก็จะส่งผล กระทบต่อโอกาสการเติบโตของตลาดสินค้ากลุ่มนี้เพิ่มมากขึ้นๆ

เนื่องจาก "value" เป็นเงื่อนไขสำคัญสูงสุดในการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคทั่วไป ดังนั้นการแข่งขันในตลาดระดับปานกลางถึงราคาแพงมากจะเน้นที่การผลิตสินค้าที่มีคุณภาพดีเลิศและมีการออกแบบโดยมืออาชีพ แต่ให้มีค่าใช้จ่ายในการผลิตต่ำมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ผู้ผลิตในตลาดนี้แบ่งออกได้คร่าวๆเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มหนึ่งจะทำการผลิตในประเทศสหรัฐฯหรือในประเทศยุโรปที่มีชื่อเสียงว่าเป็นแหล่งผลิตสินค้าเครื่องหนังชั้นเลิศและจะควบคุมค่าใช้จ่ายในการผลิตทุกขั้นตอนอย่างเข้มงวดเพื่อให้ได้สินค้าที่มีราคาย่อมเยาว์ที่สุดเท่าที่จะทำได้ อีกกลุ่มหนึ่งจะหาแหล่งผลิตในต่างประเทศเช่น จีน อินเดีย หรือบราซิล ที่สามารถผลิตสินค้าคุณภาพสูงได้โดยใช้ต้นทุนต่ำ

สภาวะตลาดแบ่งตามกลุ่มสินค้าสำคัญ

1. กลุ่มสินค้า "Travel Goods" รวมกระเป๋าเดินทาง เป้สะพายหลัง กระเป๋ากีฬา กระเป๋าสำหรับนักธุรกิจ กระเป๋าสำหรับใส่คอมพิวเตอร์ กระเป๋าถือ และสินค้าเครื่องหนังที่เป็นของใช้ส่วนตัวอื่นๆ มีรายงานว่าในระยะ 9 เดือนแรกของปี 2009 การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคสินค้าในกลุ่มนี้ในสหรัฐฯมีมูลค่ารวมทั้งสิ้นประมาณ 12.8 พันล้านเหรียญฯลดลงจากระยะเวลาเดียวกันของปี 2008 ร้อยละ 17 การลดลงเป็นผลมาจากสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำของสหรัฐฯ สินค้าบางรายการในกลุ่มนี้ เช่น

ก. กระเป๋าใส่เอกสาร/กระเป๋าใส่คอมพิวเตอร์ มีปริมาณการจำหน่ายเพิ่ม ขึ้นร้อยละ 21.3 แต่ยอดการจำหน่ายลดลงร้อยละ 23.3 หรือราคาขายปลีกเฉลี่ยต่อ หน่วยลดลงถึงร้อยละ 36.8

ข. กระเป๋าถือ ยอดจำหน่ายประมาณ 189.9 ล้านเหรียญฯ ลดลงร้อยละ 18.6 และมีปริมาณการจำหน่ายลดลงร้อยละ 23.1 อย่างไรก็ดี มีแนวโน้มว่าผู้บริโภคยินดีจ่ายเงินเพื่อซื้อกระเป๋ายี่ห้อหรือรูปแบบที่กำลัง "ฮิต" ในตลาด และเป็นเงื่อนไข ที่ทำให้ราคาขายปลีกเฉลี่ยต่อหน่วยเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9

ค. เครื่องหนังที่เป็นของใช้ส่วนตัว เช่น ซองใส่อุปกรณ์อิเลคโทรนิกส์ ต่างๆซองใส่นามบัตร และกระเป๋าใส่สตางค์ เป็นต้น ยอดจำหน่ายและปริมาณการ จำหน่ายในปี 2009 ลดลงร้อยละ 16.5 และ 17.1 ตามลำดับ ราคาขายปลีกเฉลี่ยต่อ หน่วยยังคงทรงตัว

2. กลุ่มสินค้ารองเท้าหนัง ราคาขายปลีกสินค้ารองเท้าในตลาดสหรัฐฯเรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อยแยกตามประเภทของสินค้าคือ รองเท้ากีฬา (ครองส่วนใหญ่ของตลาด) รองเท้าสำหรับใส่กับเสื้อผ้าอย่างเป็นทางการ (dress shoes) รองเท้าใส่ลำลอง (casual shoes) รองเท้าใส่ทำงาน (work shoes) รองเท้าแตะ รองเท้าบูทสำหรับเล่นกีฬา/เดินป่า และ รองเท้าที่เป็นสไตล์แบบลูกทุ่งตะวันตก (western boots/cowboys shoes) ยอดจำหน่ายสินค้ารองเท้าโดยรวมลดลงร้อยละ 2.9 จากปีก่อนหน้านี้ รายได้จากการจำหน่ายลดลงร้อยละ 7.4

ก. รองเท้าหนังสำหรับใส่ทำงาน (dress shoes) ลักษณะการดำรงชีวิต ของผู้บริโภคสหรัฐฯที่เปลี่ยนไปเป็นการเข้าถึงธรรมชาติเพิ่มมาก การใช้ชีวิตที่มี พิธีรีตองลดน้อยลง และสถานที่ประกอบธุรกิจในสหรัฐฯทั้งที่เป็นภาคเอกชนและ ภาครัฐมีบรรยากาศการทำงานที่ลดความเป็นพิธีรีตองลงและมีนโยบายยอมรับให้ พนักงานแต่งกายแบบ "casual dress" เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆส่งผลทำให้ความต้องการ บริโภครองเท้าแบบ dress shoes ลดลง และมีส่วนทำให้อิทธิพลของแนวโน้มแฟชั่น รองเท้าที่มีต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคลดลงตามไปด้วย ดังนั้น เงื่อนไขที่ สำคัญสูงสุดต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคในปัจจุบันคือราคา

ข. ความนิยมใช้รองเท้ากีฬา(sport shoes) เป็นรองเท้าสำหรับใส่ ลำลองมีแนวโน้มลดลง ปัจจุบันผู้บริโภคสหรัฐฯนิยมใช้รองเท้าประเภท "brown shoes" หรือรองเท้าใส่ลำลองทำด้วยหนังที่มีความทนทานและใส่สบาย แทนที่การ ใช้รองเท้ากีฬาเป็นรองเท้าใส่ลำลองที่เคยเป็นที่นิยมกระทำกันมาก่อน

3. กลุ่มเสื้อผ้าทำด้วยหนัง

ก. สำหรับผู้บริโภคเพศชาย เสื้อแจ๊คเก็ตหนังเป็นสินค้าที่ได้รับความ นิยมมากที่สุด สไตล์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ

  • สไตล์เสื้อนักบินหรือที่เรียกว่า Bomber Jacket ที่มีรูปแบบ classic ที่เข้ากับทุกยุคสมัยและสามารถใส่ได้ทั้งในโอกาสที่ เป็นทางการและไม่เป็นทางการ สีที่เป็นที่นิยมคือ black, dark seal brown หรือ russet brown
  • เสื้อหนังสำหรับใส่ในการขับขี่รถมอเตอร์ไซด์ เกือบจะทั้งสิ้นมีการออกแบบและลวดลายฉูดฉาดหรือมีการปักโลหะแวว วาวที่เป็นสัญญลักษณ์ของแก๊งมอเตอร์ไซด์แต่ละแก๊ง

ราคาเสื้อแจ็คเก็ตหนังสำหรับผู้ชายในตลาดสหรัฐฯแบ่งตามระดับ ตลาดการบริโภคเช่นกัน สินค้าระดับดีมากราคาจะเริ่มต้นที่ 350 เหรียญฯไป จนถึงพันกว่าเหรียญฯ สินค้าระดับดีราคาจะอยู่ระหว่าง 250 - 350 เหรียญฯ สินค้า ระดับปานกลางราคาจะอยู่ระหว่าง 150 - 250 เหรียญฯ และสินค้า ระดับล่างสุดราคาจะอยู่ระหว่าง 75 - 100 เหรียญฯ

ข. เสื้อหนังสำหรับสตรี รูปแบบเสื้อที่นิยมในตลาดคือเสื้อโค๊ตตัวยาว Trench Coat (สไตล์เข้ารูป เสื้อที่เป็น double breasted และที่เป็น walking coat) เสื้อโค๊ตสั้นสามส่วนหรือ Pea Coat และ เสื้อหนังแบบมีหมวกคลุมศรีษะ หรือ Hooded Parka

รูปแบบกางเกงหนังสำหรับสตรีที่กำลังเป็นที่นิยมคือกางเกงขายาว ลีบแนบตัวที่เหมือน legging

รูปแบบสินค้าเครื่องหนังในตลาดสหรัฐฯ

แฟชั่นในสหรัฐฯรวมถึงแฟชั่นสินค้าเครื่องหนังได้รับอิทธิพลจากนักออกแบบแฟชั่นจากทั่วโลก เครื่องหนังจากอิตาลีได้รับการยอมรับสูงสุดในสหรัฐฯในเรื่องของคุณภาพและความทนทาน

แนวโน้มแฟชั่นสินค้าเครื่องหนังในปัจจุบันจะใช้โทนสีเขียว แดงเข้ม หรือสีในกลุ่ม earth tones ประดับตกแต่งด้วยเงิน (silver hardware)

ข้อแนะนำในการออกแบบและผลิตสินค้าเครื่องหนังเพื่อให้ได้สินค้าที่มีโอกาสของตลาดสูงสุดคือ

1. การออกแบบที่เรียบง่ายบนหลักการ "minimal approach" พยายามหลีกเลี่ยงการออก แบบที่มีองค์ประกอบและการประดับประดามากมายเกินจำเป็น เน้นการออกแบบที่ดูไม่ซ้ำกับรูปแบบเดิมๆที่มีวางจำหน่ายแล้วในตลาด และเป็นรูปแบบที่เข้ากับยุคสมัย สินค้าที่ออกแบบในลักษณะนี้จะอยู่ในตลาดได้นานกว่าสินค้าที่มีการออกแบบฉูดฉาดล้ำสมัย

2. ในกรณีที่เป็นสินค้ากระเป๋าประเภทต่างๆ การออกแบบจะต้องพิจารณาถึงปฏิบัติการ "functionality" ที่เหมาะสมกับวิถีการดำเนินชีวิตของผู้บริโภค เช่น มีขนาดเหมาะสมหรือไม่ มีช่องหรือซองใส่สิ่งของที่ผู้บริโภคทั่วไปในปัจจุบันมักมีและนำติดตัวไปด้วยหรือไม่ เป็นต้น การออกแบบช่องสำหรับใส่สิ่งของเหล่านี้กระทำโดยพิจารณาถึงความปลอดภัยของทรัพย์สินและความสะดวกสะบายของผู้ใช้เป็นหลัก

3. ออกแบบสินค้าที่มีโครงสร้างที่มั่นคงแข็งแรง ทนทานต่อการใช้งาน ที่ผู้บริโภคสามารถมองเห็นได้ก่อนการตัดสินใจซื้อไปใช้

4. เข้าใจลักษณะและคุณสมบัติของวัตถุดิบหนังแต่ละชนิดและสามารถเลือกใช้วัตถุดิบให้เหมาะสมกับประเภทของสินค้า เลือกวัตถุดิบหนังที่สวยงามดูมีราคา

5. มีหลักเกณฑ์แนวคิดที่ชัดเจนในเรื่องรูปแบบสินค้า เพื่อให้การเปลี่ยนจากสไตล์หนึ่งไปยังอีกสไตล์หนึ่งสามารถดำเนินไปได้อย่างสวยงามและอย่างต่อเนื่อง

6. เข้าใจวิถีชีวิตของผู้บริโภคสหรัฐฯที่เปลี่ยนไป เช่น

6.1 ผู้บริโภคสหรัฐฯนิยมใช้โทรศัพท์มือถือ การออกแบบกระเป๋าถือสตรีควรมีที่สำหรับใส่โทรศัพท์มือถือที่มีขนาดเหมาะกับขนาดมือถือที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในตลาดสหรัฐฯ

6.2 กฎระเบียบใหม่ๆสำหรับผู้ที่เดินทางโดยเครื่องบินในประเทศสหรัฐฯส่งผลกระทบต่อความจำเป็นต้องใช้และลักษณะและรูปแบบของกระเป๋าเดินทาง และ/หรือกระเป๋าถือติดขึ้นเครื่องบิน

6.3 สินค้าเทคโนโลยี่ใหม่ๆที่ออกสู่ตลาดสหรัฐฯอยู่เรื่อยๆและกำลังเป็นที่นิยมของผู้บริโภค และจำเป็นต้องมีกระเป๋าหรือซองใส่เพื่อป้องกันสินค้านั้นๆใน ระหว่างการนำติดตัวไปใช้งาน

7. ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการวางตลาดครั้งแรก เพื่อสร้างภาพพจน์ยี่ห้อสินค้า การเริ่มวางตลาดด้วยสินค้าคุณภาพต่ำจะก่อให้เกิดความยากลำบากอย่างมากในอนาคตเมื่อต้องการทำการตลาดสินค้าตัวใหม่ของโรงงานที่ถูกพัฒนายกระดับสินค้าให้มีคุณภาพสูงมากขึ้น เนื่องจากภาพพจน์ของสินค้าตัวแรกของโรงงานในสายของผู้บริโภคไม่เป็นที่ประทับใจเสียแล้ว

8. ปัจจุบันผู้บริโภคสหรัฐฯให้ความสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อม การรักษาธรรมชาติและการโทษของการใช้สารเคมีต่างๆ ดังนั้น วิธีการผลิตที่อิงธรรมชาติ เช่น การยอมสีโดยใช้สีที่มาจากพืชแทนสารเคมีซึ่งเป็นวิธีการโบราณ จะช่วยสร้างและยกระดับภาพพจน์สินค้าให้สูงขึ้นและแปลกแยกออกไปจากสินค้าทั่วไปในตลาด

ลักษณะการทำธุรกิจและช่องทางการกระจายสินค้าสินค้าเครื่องหนัง

สินค้าเครื่องหนังที่วางจำหน่ายในตลาดสหรัฐฯมาจากการทำธุรกิจ 4 ลักษณะด้วยกันดังนี้คือ

1. ร้านค้าปลีกรายใหญ่ไปตั้งสำนักงานซื้อหรือตัวแทนซื้ออยู่ในต่างประเทศ เพื่อหาสินค้าส่งไปจำหน่ายในตลาดสหรัฐฯภายใต้ยี่ห้อของร้านค้าปลีกนั้นๆ

ตัวแทนซื้อของบริษัทนอกจากจะทำหน้าที่เป็นผู้แสวงหาแหล่งผลิต ต่อรอง ตรวจสอบคุณภาพสินค้า แจ้งให้โรงงานผลิตทราบถึงมาตรฐานสินค้าและ กฎระเบียบต่างๆของประเทศผู้นำเข้าแล้ว ยังทำหน้าที่ให้คำปรึกษาเรื่องการ ออกแบบและเรื่องแฟชั่นด้วย

2. บริษัทเจ้าของสินค้าที่มียี่ห้อของสหรัฐฯ ประกอบธุรกิจในลักษณะเป็น บริษัทออกแบบและทำการตลาด กล่าวคือ จะทำการออกแบบสินค้า สร้างแบรนด์และเครื่องหมายการค้า ทำการตลาดและการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ แต่จะไม่ผลิตสินค้าเอง จะจ้างโรงงานในต่างประเทศเป็นผู้ผลิต บริษัท เจ้าของยี่ห้อสินค้าจะสร้างความสัมพันธ์ที่แนบแน่นกับบริษัทผู้ผลิตสินค้า เพื่อให้ผู้ผลิตสินค้าสามารถเข้าใจความต้องการของผู้บริโภค บริษัทเจ้าของ สินค้าจะตั้งสำนักงานซื้อและ/หรือตัวแทนซื้อไว้ในต่างประเทศเพื่อทำหน้าที่ สื่อสารกับโรงงานผลิตในลักษณะเดียวกันกับข้อ 1. ข้างต้น บริษัทเหล่านี้จะ ขายสินค้าทั้งในลักษณะที่เป็นการค้าส่งให้แก่ผู้กระจายสินค้าที่เ ป็นร้านค้า ปลีกทั่วไปที่โดยปกติแล้วบริษัทจะให้ผู้เชี่ยวชาญด้านแฟชั่นทำหน้าที่แนะนำ ร้านค้าปลีกที่ตนต้องการวางจำหน่ายสินค้าถึงแนวโน้มแฟชั่นเครื่องหนังใน อนาคต และจะจัดหาเครื่องมือสำหรับการทำการส่งเสริมสินค้าและส่ง ตัวอย่างสินค้าให้แก่ร้านค้าปลีกที่เป็นลูกค้าของตนล่วงหน้าเป็นระยะเวลา นานพอสมควรก่อนที่สินค้านั้นๆจะออกสู่ท้องตลาด นอกจากนี้บริษัทเจ้า ของยังเปิดร้านขายปลีกที่ใช้ชื่อยี่ห้อของตนเป็นชื่อร้านและขายตรงให้แก่ ผู้บริโภค เพื่อสร้างความมั่นคงของยี่ห้อสินค้าในตลาดและช่วยให้สามารถ ระบายสินค้าได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น

3. ผู้ผลิตรายย่อยในประเทศสหรัฐฯ ส่วนใหญ่จะเป็นนักออกแบบสินค้าที่จะ ออกแบบสินค้า ผลิตและวางจำหน่ายสินค้าในร้านค้าปลีกของตนเอง หรือ ขายผ่านทางระบบออนไลน์ หรือวางจำหน่ายในร้านค้าปลีกทั่วไป สินค้า ประเภทนี้จะมีจำนวนวางตลาดไม่มากนัก ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นสินค้า คุณภาพดี ราคาแพง สำหรับผู้บริโภคเฉพาะตลาด ผู้ผลิตรายย่อยในประเทศสหรัฐฯบางรายจะทำการผลิตสินค้าตามสั่ง (custom made) โดยเป็นการ ออกแบบร่วมกับลูกค้า ลูกค้ากลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มลูกค้าที่มีรายได้สูงหรืออยู่ใน วงการแฟชั่นหรือวงการบันเทิง ตัวอย่างของผู้ผลิตในกลุ่มนี้เช่น

3.1 Carla Dawn Behrle (www.behrlenyc.com), P.O. Box 816 Jaf Station, New York, NY 10116, Tel: 212 279-5626 เป็นนักออกแบบ เสื้อผ้าทำจากหนังให้ดาราภาพยนต์ฮอลลิวูดและบุคคลที่มีชื่อเสียง หลายคนๆเช่น Bono, Sarah Michelle Gellar, Gwyneth Paltrow และ Angelina Jolie เป็นต้น

3.2 Jutta Neumann บริษัท Jutta Neumann New York Inc., 355 East 4 th Street, New York, NY 10009, Tel: 212 982-7048, Fax: 212 353- 8606 (www.juttaneumann-newyork.com) ออกแบบกระเป๋าถือ กระเป๋าใส่เศษสตางค์ รองเท้า เข็มขัด สายรัด ข้อมือ และ เครื่องประดับต่างๆจากหนัง

3.3 Leylani Cardoso, Bolzano Handbags 12901 NW 113 Court, Medley, FL 33178, Tel: 800 471-7020 (www.bolzanohandbags.com) , ออกแบบและจำหน่ายกระเป๋าถือและเครื่องประดับทำจากหนังสำหรับตลาดระดับบน

4. ผู้ค้าส่งนำเข้าสินค้าเพื่อขายต่อให้แก่ผู้ค้าปลีกสำหรับนำไปขายต่อให้แก่ ผู้บริโภค หรือ สำหรับสินค้าบางชนิด เพื่อนำไปแจกฟรีหรือขายต่อในราคา ถูกในรูปของ Promotional material

สถานะการณ์ตลาดนำเข้า

ปัจจุบันสหรัฐฯเป็นประเทศผู้นำเข้าสินค้าเครื่องหนังอย่างแท้จริงเนื่องการผลิตในประเทศมีค่าใช้จ่ายสูงไม่คุ้มทุน การผลิตในประเทศจึงมีจำนวนน้อยไม่พอเพียงต่อการบริโภค สินค้านำเข้าคิดเป็นร้อยละ 99 ของตลาดกระเป๋าถือ และของตลาดกระเป๋าใส่เอกสาร/กระเป๋าคอมพิวเตอร์ และคิดเป็นร้อยละ 90 ของตลาดสินค้าเครื่องหนังที่เป็นของใช้ส่วนตัวอื่น ๆ

รองเท้าหนัง

การนำเข้าเป็นไปในทางลดลงต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2006 ในปี 2009 สหรัฐฯนำเข้ารองเท้าหนังรวมทั้งสิ้นประมาณ 612 ล้านคู่ ลดลงร้อยละ 17.70 การนำเข้าจากประเทศคู่ค้าสำคัญลดลงทั้งสิ้น ยกเว้นการนำเข้าจากอินโดนิเซียและเม็กซิโกที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.68 และ 14.27 ตามลำดับ เกินกว่าครึ่ง (4.69 ร้อยล้านคู่) ของการนำเข้าในปี 2009 เป็นการนำเข้าจากจีน รองลงมาเป็นการนำเข้าจากเวียดนาม (53.9 ล้านคู่) อินโดนิเซีย (28.98 ล้านคู่) บราซิล (14 ล้านคู่) เม็กซิโก (8.2 ล้านคู่) และไทย (8 ล้านคู่)

กระเป๋าถือทำด้วยหนัง

การนำเข้าเป็นไปในทางลดลงต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2005 ในปี 2009 สหรัฐฯนำเข้ากระเป๋าถือทำด้วยหนังประมาณ 24.5 ล้านใบ ลดลงร้อยละ 19.65 การนำเข้าจากประเทศคู่ค้าสำคัญๆเป็นไปในทางลดลงยกเว้นการนำเข้าจากอินเดียที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.24 และการนำเข้าจากเวียดนามที่เพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 1,890.47

เกือบจะทั้งสิ้น (20.9 ล้านใบ) ของการนำเข้ากระเป๋าถือเป็นการนำเข้าจากจีน ลดลงร้อยละ 19.42 รองลงมาเป็นการนำเข้าจากอิตาลี 1 ล้านใบ ลดลงร้อยละ 39.83 อินเดีย 9.73 แสนใบ อินโดนิเซีย 4.62 แสนใบ เวียดนาม 2.5 แสนใบ สหรัฐฯนำเข้าจากไทย 1.85 หมื่นใบลดลงร้อยละ 33.14

สินค้ากระเป๋าอื่นๆ (container bags, cases, etc.) ที่ทำด้วยหนัง

การนำเข้ามีแนวโน้มลดลงมาตั้งแต่ปี 2006 ในปี 2009 สหรัฐฯนำเข้ารวมทั้งสิ้นประมาณ 41.9 ล้านชิ้น ลดลงร้อยละ 29.63 การนำเข้าจากประเทศคู่ค้าสำคัญๆเป็นไปในทางลดลงทั้งสิ้น ยกเว้นการนำเข้าจากเวียดนามที่มีอัตราขยายตัวสูงถึงร้อยละ 828.23

ส่วนใหญ่ (35.87 ล้านชิ้น) เป็นการนำเข้าจากจีนลดลงร้อยละ 26.78 รองลงมาเป็นการนำเข้าจากเม็กซิโก 1.45 ล้านชิ้น ลดลงร้อยละ 31.11 อินเดีย 1.08 ล้านชิ้นลดลงร้อยละ 19.24 ไต้หวัน 6.12 แสนชิ้น ลดลงร้อยละ 74.04 และตุรกี 3.91 แสนชิ้นลดลงร้อยละ 9.78 สหรัฐฯนำเข้าจากไทย 1.19 แสนชิ้น ลดลงร้อยละ 63.61

สินค้ากระเป๋าเดินทางทำด้วยหนัง

ในปี 2009 สหรัฐฯนำเข้า 2.4 ล้านชิ้น ลดลงจากปี 2008 ร้อยละ 37.93 การนำเข้าจากประเทศเทศคู่ค้าสำคัญเป็นไปในทางลดลงทั้งสิ้น ประมาณครึ่งหนึ่งหรือ 1.8 ล้านชิ้นเป็นการนำเข้าจากจีน ลดลงร้อยละ 36.22 รองลงมาเป็นการนำเข้าจากเกาหลีใต้ 1.25 แสนชิ้น เพิ่มขึ้นร้อยละ 307.52 นำเข้าจากอินเดีย 9.3 หมื่นชิ้น ลดลงร้อยละ 46.33 นำเข้าจากประเทศไทย 6 หมื่นชิ้น ลดลงร้อยละ 62.81 และนำเข้าจากเม็กซิโก 4.7 หมื่นชิ้น ลดลงร้อยละ 20.03

เสื้อผ้าและเครื่องแต่งตัวทำด้วยหนังรวมเสื้อผ้า เข็มขัด และถุงมือทุกชนิด

มูลค่านำเข้ารวมมีแนวโน้มลดลงมาตั้งแต่ปี 2006 มูลค่านำเข้ารวมในปี 2009 สหรัฐฯประมาณ 1.3 พันล้านเหรียญฯ ลดลงร้อยละ 24.01

ในปี 2009 สหรัฐฯนำเข้าเสื้อผ้าทำด้วยหนังประมาณ 7.87 ล้านตัว ลดลงร้อยละ 23.43 ส่วนใหญ่หรือ 5.7 ล้านตัวเป็นการนำเข้าจากจีน ลดลงร้อยละ 28.42 รองลงมาเป็นการนำเข้าจากปากีสถาน 1.36 ล้านตัว ลดลงร้อยละ 1.04 นำเข้าจากอินเดีย 3.3 แสนตัวลดลงร้อยละ 27.70 นำเข้าจากอิตาลี 1.72 แสนตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.67 และนำเข้าจากตุรกี 5.99 หมื่นตัว ลดลงร้อยละ 23.69 สหรัฐฯนำเข้าจากไทย 2.76 พันตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 107.05

มูลค่าการนำเข้าเข็มขัดหนังในปี 2009 ลดลงร้อยละ 11.98 มูลค่าการนำเข้าจากประเทศคู่ค้าสำคัญลดลงทั้งสิ้นยกเว้นมูลค่าการนำเข้าจากอินเดียและกัวเตมาลาที่ขยายตัวร้อยละ 7.68 และ 28.89 ตามลำดับ ประมาณร้อยละ 70.41 ของมูลค่าการนำเข้ามาจากการนำเข้าจากจีน รองลงมาร้อยละ 8.26 เป็นการนำเข้าจากอิตาลี การนำเข้าจากไทยเท่ากับ 2.27 แสนเหรียญฯ ลดลงร้อยละ 14.21

มูลค่าการนำเข้าถุงมือหนังที่ไม่ใช่ถุงมือกีฬา ในปี 2009 ลดลงร้อยละ 32.04 มูลค่าการนำเข้าจากประเทศคู่ค้าสำคัญลดลงทั้งสิ้น มูลค่าการนำเข้าจากจีนคิดเป็นร้อยละ 72.66 ของมูลค่านำเข้ารวมทั้งสิ้น รองลงมาเป็นการนำเข้าจากปากีสถานและอินเดีย มูลค่านำเข้าจากไทยประมาณ 5 พันเหรียญฯ

ถุงมือหนังสำหรับเล่นกีฬามีมูลค่านำเข้าในปี 2009 ลดลงร้อยละ 12.05 มูลค่านำเข้าจากประเทศคู่ค้าสำคัญลดลงทั้งสิ้น ร้อยละ 31.97 ของมูลค่านำเข้าเป็นการนำเข้าจากจีนลดลงร้อยละ 11.81 มูลค่านำเข้าจากอินโดนิเซียเท่ากับร้อยละ 19.92 ลดลงร้อยละ 16.23 ประเทศไทยร้อยละ 13.15 ลดลงร้อยละ 6.66 เวียดนามร้อยละ 11.87 ลดลงร้อยละ 2.16 และฟิลิปปินส์ร้อยละ 11.57 ลดลงร้อยละ 25.36

โอกาสแสดงสินค้าเครื่องหนังในเขตความรับผิดชอบของสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครลอสแอนเจลิส

1. World Shoes & Accessories (WSA)

งานแสดงสินค้ารองเท้าและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง จัดขึ้นที่นครลาสเวกัสปีละสองครั้ง กำหนดการจัดงานในปี 2011 คือวันที่ 7 - 9 กุมภาพันธ์ และ วันที่ 27 - 29 กรกฏาคม ที่ Venetian & Sands Expo Center ติดต่อออกคูหาในงานที่ ENK International, 15821 Ventura Blvd., Suite 415, Encino, CA 91436, Tel: 818 379-9400, Fax: 818 379-9410, e-mail: salesdepartment@wsashow.com

2. Los Angeles Fashion Market (www.lafashionmarket.com) Tel: 213 630-3683 งานแสดงสินค้าแฟชั่นเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า หมวก เครื่องประดับตกแต่งร่างกาย เฟอร์นิเจอร์และเครื่อง ประดับตกแต่งบ้าน จัดขึ้นที่ California Market Center, 9 & Main St., Downtown Los Angeles ปีละ 5 ครั้ง กำหนดจัดงานในครั้งต่อไปคือระหว่างวันที่ 15 - 19 ตุลาคม 2010 (Spring 11) ในงานจะมีงานแสดงสินค้าเฉพาะสินค้าเพิ่มเติมคือ

(ก) Transit (the Los Angeles Shoe Show) งานแสดงสินค้ารองเท้าติด ต่อออก คูหาในงานที่ Brad Jeremich at Tel: 213 630-3631, e-mail:jeremich@californiamarketcenter.com

(ข) Focus (Apparel & Accessories Show) Tel: 213 630-3737 e-mail: orodriquez@californiamarketcenter.com

(ค) L.A. Kids Market

(ง) New Mart สำหรับนักออกแบบเสื้อผ้าและเครื่องประดับที่เป็นคนรุ่น ใหม่

3. Dallas Apparel & Accessories Market จัดที่ FashionCenterDallas, Dallas Market Center, 2100 Stemmons Freeway, Dallas, TX 75207, Tel: 214 655-6100 (www.dallasmarketcenter.com) ทุกเดือนมกราคม (21 - 24 มกราคม 2011) มีนาคม (25 -28 มีนาคม 2011) มิถุนายน (3- 6 มิถุนายน 2011) สิงหาคม (12 - 15 สิงหาคม 2011) และตุลาคม (21 - 24 ตุลาคม 2011)

Dallas Market Center มีการเปิดตลาดมากกว่า 50 ครั้งต่อปี สำหรับผู้ค้าปลีกจากทั่ว โลกเข้าชมและเลือกซื้อสินค้าที่โรงงานผลิต ผู้นำเข้า และผู้ค้าส่งวางแสดงในห้องแสดงสินค้าของตน สินค้าที่วางโชว์และจำหน่ายรวมถึงเสื้อผ้าของขวัญของชำร่วย ของตกแต่งบ้าน และเครื่องประดับตกแต่งร่างกาย

4. Fashion Market Northern California , www.fashionmarketnorcal.com 3701 Sacramento St., # 204, San Francisco, CA 94118, Tel: 415 328-1221,e-mail:info@fashionmarketnorcal.com จัดแสดงสินค้าแฟชั่นและเครื่องประดับตกแต่งปีละ 5 ครั้ง

Fashion Market Northern California เป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดที่ใช้ระบบการวางโชว์ สินค้าในลักษณะ open-booth แสดงสินค้าแฟชั่น เสื้อผ้า

5. MAGIC Show Las Vegas, MAGIC International, 6200 Canoga Avenue, 2 nd Fl., Woodland Hills, CA 91367, Tel: 818 593-5000, Fax: 818 593-5020, e-mail: MAGIConline.com, www.magiconline.com เป็นงานแสดงแฟชั่นที่ใหญ่ที่สุดของโลก จัด ขึ้นเป็นประจำทุกปีที่นครลาสเวกัส แบ่งออกเป็น

5.1 MAGIC Menswear เสื้อผ้าบุรุษ

5.2 WWDMAGIC เสื้อผ้าสตรี

5.3 PROJECT เสื้อลำลอง เสื้อกีฬา

5.4 S.L.A.T.E เสื้อผ้าสำหรับคนรุ่นใหม่ (hipster, artists, musician)

5.5 FN PLATEFORM รองเท้า

5.6 STREET Unlimited คนหนุ่มรุ่นใหม่

5.7 PREMIUM สำหรับนักออกแบบที่เป็นคนหนุ่มรุ่นใหม่

5.8 SOURCING เสื้อผ้า รองเท้า ผ้าผืน ผ้าชิ้น

5.9 POOLTRADESHOW เสื้อผ้าลำลองสำหรับคนรุ่นใหม่

6. Off Price Specialist Shows (www.offpriceshow.com) งานแสดงสินค้าเสื้อผ้า รองเท้า ค้างสต๊อก สำหรับผู้ค้าส่งขายให้แก่ผู้ค้าปลีก จัดขึ้นประจำทุกปีที่นครลาสเวกัส

7. Accessories the Show Las Vegas (www.accessosriestheshow.com) งาน แสดง สินค้าเครื่องประดับตกแต่งร่างกาย จัดขึ้นทุกปีที่นครลาสเวกัส

8. ASD Las Vegas (www.asdonline.com) เป็นงานแสดงสินค้าเน้น B2B สำหรับสินค้าเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย ของตกแต่งบ้าน ของขวัญของชำร่วย

9. California Gift Show (www.californiagiftshow.com) เป็นงานแสดงสินค้าของขวัญของตกแต่งบ้าน ของตกแต่งร่างกาย จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในนครลอสแอนเจลิส ที่ Los Angeles Convention Center และ ที่ L.A. Mart Showrooms ในระหว่างงานจะมีงานแสดงสินค้าย่อยร่วมอยู่ด้วยคือ Beckman's West (www.beckmans.com) เป็นงานแสดงสินค้าเน้นสินค้าหัตถกรรม

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครลอสแอนเจลิส

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ