รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจและภาวะการค้าสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 16-31 สิงหาคม 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Friday September 24, 2010 14:07 —กรมส่งเสริมการส่งออก

เศรษฐกิจ-ภาวะการค้า

1. การสนับสนุนเงิน 40 ล้านเหรียญสิงคโปร์ยกระดับพนักงาน มีแผนการดำเนินการภายใน 2 ปี เพื่อส่งเสริมการทำงานของพนักงานที่ได้เงินเดือนน้อย (ประมาณเดือนละ 1,400 เหรียญสิงคโปร์หรือต่ำกว่า) และเพื่อจุดประสงค์ที่จะทำให้ค่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้นในอนาคต เงินทุนดังกล่าวจะให้แก่บริษัทที่ปรับเปลี่ยนระบบการทำงานของพนักงานให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น โดยไม่มีการลดจำนวนพนักงานหรือให้พนักงานทำงานเพิ่มเวลา คาดว่า พนักงานประมาณ 25,000 ราย จะได้รับผลประโยชน์จากโปรแกรม Inclusive Growth Programme (IGP) ผู้ดำเนินการคือ Employment and Employability Institute (e2i) ซึ่งจะแบ่งเงินสนับสนุนไปยังกลุ่มต่างๆ ดังนี้

          กลุ่ม                                                                ร้อยละ
การผลิต  การขนส่ง  และคลังสินค้า                                                    22
การค้าส่งและการค้าปลีก                                                             18
โรงแรม ร้านอาหารและเครื่องดื่ม                                                      18
การจัดการพื้นที่  การทำความสะอาด และการรักษาความปลอดภัย                               14
การรักษาสุขอนามัย  การดูแลชุมชน  การบริการสังคม และการให้บริการบุคคล                     14
การจัดหา/การจัดการ                                                               14

2. คาดการณ์ธุรกิจในช่วงครึ่งปีหลัง ปี 2553 เนื่องจากการเติบโตเศรษฐกิจทั่วโลกจะเป็นไปอย่างชะลอตัวในช่วงครึ่งปีหลัง Economic Development Board (EDB) ได้สำรวจและคาดการณ์ธุรกิจ ดังนี้ (1) กลุ่มการผลิตสินค้าอิเล็คทรอนิกส์จะขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น สินค้าที่จะเพิ่มขึ้น ได้แก่ wireless handsets และ mobile computing devices (2) กลุ่มการผลิตเคมีภัณฑ์ จะดีขึ้น ซึ่งสินค้าที่จะเพิ่มขึ้นได้แก่ specialties and other chemical segments project (3) กลุ่มการผลิตทั่วไปจะเพิ่มขึ้น ได้แก่ general manufacturing industries and the precision engineering ยกเว้น transport engineering จะลดลง (เนื่องจาก marine and offshore engineering จะได้รับการสั่งซื้อน้อยลง) (4) กลุ่ม biomedical จะลดลง เนื่องจากต้องใช้เวลาในการซ่อมบำรุงรักษาโรงงาน และต้องใช้เวลาเตรียมการสำหรับส่วน ผสมยาที่แตกต่างจากเดิม (5) กลุ่มการผลิต petrochemical จะลดลง เนื่องจากผู้ผลิตยังคงมีสินค้าปริมาณมากอยู่ในสต๊อก ทั้งนี้ คาดว่าจะมีการจ้างเพิ่มขึ้น โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่ม precision engineering and electronic clusters อนึ่ง ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การส่งออกลดลง ได้แก่ การแข่งขันด้านราคาจากผู้ผลิตต่างประเทศปัญหาเสถียรภาพความมั่นคงของประเทศต่างๆ และปัญหาสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว

3. โปรแกรมสนับสนุน SMEs กลุ่มการผลิตให้เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน โดยความร่วมมือของ A*Star (Singapore Institute of Manufacturing Technology : SIMTech) และ Workforce Development Agency (WDA) ใช้ชื่อโปรแกรมว่า SME Manufacturing Excellence (S.M.E) Programme เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับพนักงานระดับผู้จัดการด้าน Operations Management Innovation (OMNI) ให้เพิ่มความรู้ ยกระดับความสามารถพร้อมทักษะเพื่อช่วยให้มีผลผลิตเพิ่มขึ้น รวมถึงให้มีการพัฒนาธุรกิจและระบบการดำเนินการของบริษัทให้อยู่ในระดับที่ดีเยี่ยม (หรืออย่างน้อยร้อยละ 5 ภายใน 1 ปี) ทั้งนี้ ถึงปัจจุบัน บริษัท SMEs ที่ได้เข้าร่วมโปรแกรมนี้ ได้แก่ Fong’s Engineering & Manufacturing, Hitech Heat Treatment Services, Kim Hiap Lee และ Maha Chemicals ซึ่งได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่าย ร้อยละ 70 ในการฝึกอบรมพนักงาน

4. Nanotechnology Consortium สิงคโปร์เพื่อช่วยภาคอุตสาหกรรมให้มีระบบการค้นคว้าวิจัยที่สามารถทำให้การผลิตสินค้าแบบธรรมดา กลายเป็นสินค้าที่มีศักยภาพในการใช้ได้งานได้หลายระบบ โดยหน่วยงาน A*Star, Industrial Consortium On Nanoimprint (ICON) ด้วยการสนับสนุนจากหน่วยงาน Economic Development Board (EDB), International Enterprise (IE) Singapore และ SPRING Singapore ให้ใช้ Nanoimprint Technology (NIT) ทำการส่งเสริม ให้บริษัทปรับการผลิตสินค้าให้มีประโยชน์หลายอย่างและมีความพร้อมด้าน Nanotechnology ที่ทำให้ผลผลิตใหม่ๆปราศจากสารเคมีและไร้สารพิษอื่นๆสู่ตลาด โดยใช้ความแข็งแกร่งของกลุ่ม precision engineering และ electronics ของสิงคโปร์ ปัจจุบันได้มุ่งเน้นใน 2 โครงการอุตสาหกรรมคือ anti-reflection surfaces และ anti-bacterial surfaces โดยร่วมกับกลุ่ม ICON กลุ่มแรก ได้แก่ Singapore’s DSO National Laboratories and Solves Innovative Technology Pte. Ltd., Nypro, Inc. (US), Innox Co., Ltd. (Japan), NTT-Advanced Technology Corporation (Japan) และ Youngchang Chemical Co., Ltd. (South Korea)

5. กลุ่มอุตสาหกรรม Energy และ Chemicals เป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดในสิงคโปร์ ซึ่งเมื่อปี 2552 กลุ่ม petrochemicals and specialties sectors มีผลผลิตมูลค่าประมาณ 58 พันล้านเหรียญสิงคโปร์ และคาดการณ์ว่า ความต้องการในระยะยาวมีความสดใส และเอเชียจะมีผลผลิตถึงร้อยละ 50 ของความต้องการเคมีภัณฑ์ทั่วโลกภายในปี 2015 ทั้งนี้ สิงคโปร์พยายามสร้างให้ประเทศเป็น 1 ใน 10 อันดับแรกของผู้นำศูนย์ Petrochemical โดยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ รวมถึงสร้างความสามารถในการแข่งขันในด้านวัตถุดิบเพื่ออุตสาหกรรม petrochemicals และยกระดับให้มีการผลิตด้วยวัตถุดิบที่ก้าวหน้า และเคมีภัณฑ์ชนิดพิเศษ อนึ่ง คาดว่า ภายในปี 2555 โรงงานของบริษัท ExxonMobil Chemical และ Shell Chemicals จะผลิต Ethylene ได้รวมกันเพิ่มขึ้นจาก 2 ล้านตันต่อปี (tones perannum : tpa) เป็น 4 ล้านตันต่อปี นอกจากนี้ ยังจะมุ่งเน้นส่งเสริมด้านเคมีภัณฑ์พิเศษที่สร้างมูลค่าเพิ่ม เพื่อการสนับสนุนกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการเติบโตอย่างสูงในปัจจุบัน เช่น Clean Energy

6. ผลผลิตของภาคอุตสาหกรรมการผลิตเดือนกรกฎาคม 2553 ซึ่งมีการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9 โดยการขยายตัวในแต่ละกลุ่ม ดังนี้ (1) Precision Engineering เพิ่มขี้นร้อยละ 50.9 (2) Electronics เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.5 (3) General Manufacturer เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.3 (4) Chemical เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 (5) Transport Engineering เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 และ (6) Biomedical เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.2

7. คาดการณ์ธุรกิจบริการไตรมาสที่ 3 ปี 2553 ซึ่งคาดว่า ธุรกิจและการจ้างงานจะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มและการขยายตัว ดังนี้

              กลุ่ม                  การขยายตัวของธุรกิจ       การขยายตัวการจ้างงาน
Wholesale Trade                           28                      22
Retail Trade                              11                      18
Transport & Storage                       16                      17
Hotels                                    17                      22
Catering                                  58                      26
Information & Communications               9                      14
Financial  Services                       31                      44
Real Estate                               17                      8
Business Services                         19                      16
Amusement & Recreation                    65                      25

8. Consumer Price Index (CPI) เดือนกรกฎาคม 2553 ซึ่งมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 (เทียบกับเดือนมิถุนายน 2553) เนื่องจากค่าใช้จ่ายสูงขึ้นในด้านที่พักอาศัย (+ร้อยละ 2.6) การคมนาคม (+ร้อยละ 1.7) และเสื้อผ้า/รองเท้า (+ร้อยละ 3.2) หากเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า มีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 แบ่งเป็นด้านที่พักอาศัย (+ร้อยละ 2.7) การคมนาคม (+ร้อยละ 10.7) สุขอนามัย (+ร้อยละ 2.3) และอาหาร (+ร้อยละ 1.5) สำหรับในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2553 อัตรา CPI สูงขึ้นร้อยละ 2.1 (เทียบกับ 7 เดือนแรกปี 2552)

ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ

1. สิงคโปร์กับ EU มีความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้น โดยเฉพาะด้านการค้าในปี 2552 EU เป็นประเทศคู่ค้าใหญ่ที่สุดของสิงคโปร์ การค้ารวมระหว่างกันมีมูลค่า 86.8 พันล้านเหรียญสิงคโปร์ หรือคิดเป็นร้อยละ 11.6 ของมูลค่าการค้ารวมของสิงคโปร์ สิงคโปร์เป็นประเทศคู่ค้าใหญ่ที่สุดของ EU ในอาเซียน(อันดับที่ 5 ในเอเชีย และอันดับที่ 12 ของโลก) บริษัท EU ในสิงคโปร์ มีมากกว่า 8,000 ราย มูลค่าการลงทุน Foreign Direct Investment ของ EU ในสิงคโปร์ มีมูลค่า 142 พันล้านเหรียญสิงคโปร์(2551)

2. สิงคโปร์กับเกาหลีใต้ The Maritime and Port Authority of Singapore (MPA) ร่วมมือกับ Ministry of Land, Transport and Maritime Affairs (MLTM) ของเกาหลีใต้ ได้ลงนาม Memorandum of Understanding (MOU) ด้าน Maritime และความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่าง MPA และ MLTM เพื่อการเดินเรืออย่างปลอดภัยและปกป้องสภาพแวดล้อมของการเดินเรือ รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเดินเรือผ่านการประชุม การฝึกอบรม และการสัมมนา ทั้งนี้ จะส่งผลต่อไปถึงการพัฒนาอุตสาหกรรมการขนส่งสินค้าและการรักษาความปลอดภัยของท่าเรืออีกด้วย

อื่นๆ

1. ค่าเงินเหรียญสิงคโปร์สูงขึ้น ไม่ได้ส่งผลให้ราคาสินค้าต่ำลง นับจากปี 2549 จนถึงปี 2552 อัตราดัชนีผู้บริโภคเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 3.1 ต่อปี ในขณะที่ดัชนีราคานำเข้าลดลงร้อยละ 2.3 ในปี 2552 ดัชนีราคานำเข้าลดลงถึงร้อยละ 8 ในขณะที่ดัชนีผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 และสิงคโปร์ต้องพึ่งพาการนำเข้าเป็นสำคัญ แม้ว่าจะนำเข้าในราคาถูก แต่การจำหน่ายในสิงคโปร์มีราคาสูง เนื่องจากมีปัจจัย non-trade-ables ประมาณร้อยละ 55 (ค่าแรงงาน ค่าขนส่ง ค่าเช่าร้าน ค่าคลังสินค้า ภาษี ศุลกากร และอื่นๆ) นอกเหนือจากค่าสินค้าส่งผลให้สินค้าไทยในตลาดสิงคโปร์มีการแข่งขันสูงมาก

2. การห้ามจำหน่ายไข่ไก่ หน่วยงานควบคุมอาหาร Agri-Food and Veterinary Authority (AVA) ได้ตรวจพบว่า ฟาร์มไข่ไก่ N & N ในสิงคโปร์ผลิตไข่ไก่ที่มีสาร antibiotic - doxycycline ผสมอยู่ และได้ประกาศห้ามไม่ให้ N & N จำหน่ายไข่ไก่จนกว่าบริษัทฯ จะแก้ไขปัญหาดังกล่าว คาดว่า สารพิษเป็นส่วนผสมใน pre-mixes ที่ใช้เลี้ยงไก่ อนึ่ง สิงคโปร์บริโภคไข่ไก่ประมาณ 4 ล้านฟองต่อวัน และมีฟาร์มผลิตไข่ไก่ 3 แห่ง คือ (1) N & N ผลิตได้ประมาณร้อยละ 9 ประมาณ 300,000 ฟอง ของปริมาณการบริโภครวม (2) Seng Choon และ (3) Chew’s Agriculture ผลิตได้รวมกันร้อยละ 14 ของปริมาณการบริโภครวม ทั้งนี้ สิงคโปร์ไม่อนุญาตให้นำเข้าไขไก่จากประเทศไทย

3. การสร้าง Singapore Sports Hub โดย Singapore Sports Council (SSC) และ Singapore Sports Hub Consortium (SSHC) ได้ลงนามในสัญญาเพื่อ SSHC ออกแบบสร้าง จัดการด้านการเงินและดำเนินกิจการ Singapore Sports Hub ในระยะเวลา 25 ปี เริ่มจากการสร้าง National Stadium ในเดือนตุลาคม 2553 มูลค่า 1.33 พันล้านเหรียญสิงคโปร์และจะแล้วเสร็จในเดือนเมษายน 2557 โดยภาครัฐจะจ่ายเงินให้ Consortium ภายใต้โปรแกรม Private-Public-Partnership (PPP) ซึ่งเป็นการจ่ายเงินรายปี เป็นระยะเวลา 25 ปี ทั้งนี้ Singapore Sports Hub จะเป็นโครงการที่ใหญ่ที่สุดของสิงคโปร์ จะส่งผลให้สิงคโปร์ต้องนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้น โดยฉพาะสินค้าวัสดุเพื่อการก่อสร้าง และอุปกรณ์ตกแต่งสถานที่

4. โรงเรียนการแพทย์แห่งใหม่ในสิงคโปร์ ด้วยความร่วมมือระหว่าง Imperial College London และ Nanyang Technological University (NTU) โดยสามารถรับนักศึกษารุ่นแรกได้ 50 คน เริ่มในปี 2556 ทั้งนี้ ความต้องการด้านการรักษาสุขภาพในสิงคโปร์ จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆเนื่องจากมีประชากรที่มีอายุสูงจำนวนมากขึ้นโรงเรียนการแพทย์แห่งใหม่จะทำให้มีบุคคลากรเพิ่มขึ้น เป็นโปรแกรม Medical Degree ระยะเวลา 5 ปี มีเป้าหมายการรับนักศึกษาปีละ 150 ราย

กิจกรรมที่ดำเนินการระหว่างวันที่ 16-31 สิงหาคม 2553

1. เข้าร่วมประชุม พร้อมอำนวยความสะดวกคณะเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (สำนักนโยบายและแผน) ประชุมการสร้างความร่วมมือด้านการจดทะเบียนร่วมกับสำนักงาน Accounting and Corporate Regulatory Authority (ACRA) และสำนักงานฯ EnterpriseOne ณ ประเทศสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 22-25 สิงหาคม 2553

2. เข้าร่วมประชุมพร้อมอำนวยความสะดวก เพื่อโครงการ Road Show คณะผู้แทนการค้าโลจิสติกส์เจรจาการค้า ณ ประเทศสิงคโปร์ กับหน่วยงาน Singapore Logistics Association, International Enterprise Singapore และ Crimson Logic สิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 26-28 สิงหาคม 2553

3. ขออนุมัติการจัดคณะผู้แทนการค้าสิงคโปร์เยือนประเทศไทย ระหว่างวันที่ 12-15 กันยายน 2553 โดยคณะประกอบด้วย 16 บริษัท (21 ราย) เพื่อพบเจรจาการค้ากับผู้ผลิตและผู้ส่งออกไทยสินค้ายานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ รวมทั้งเยี่ยมชมโรงงานผลิตรถยนต์ฯ

4. ประสานงานเชิญผู้ประกอบการไทยเข้าร่วมงาน Thai Festival 2010 ซึ่งจัดโดยสถานเอกอัครรราชทูตไทย ณ สิงคโปร์ และทีมประเทศไทย ระหว่างวันที่ 2-6 กันยายน 2553 โดย สคร.สิงคโปร์ ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้เชิญผู้ประกอบการไทย

5. ประสานงานเชิญนักธุรกิจสิงคโปร์เยือนงาน Bangkok Gems & Jewelry 2010 ระหว่างวันที่ 8-12 กันยายน 2553 ซึ่งมีผู้สนใจเข้าชมงานฯ 7 ราย

6. ประสานการขออนุมัติปรับโครงการส่งเสริมการขายร่วมกับซุปเปอร์มาร์เก็ตเป็นโครงการส่งเสริมเครือข่ายธุรกิจสปาไทยสู่ตลาดสิงคโปร์ (กำหนดการระหว่างวันที่ 27-28กันยายน 2553)

7. ประสานติดตามผลจาก Singapore Business Federation เพื่อจัดคณะสมาชิกฯ เยือนงาน Thailand International Logistics Fair 2010 (7-10 October 2010)

8. ติดตามผลการลงโฆษณาประชา สัมพันธ์งาน BIG & BIH, October 2010 ( 19-24 October 2010) ในสื่อสิ่งพิมพ์ต่างประเทศ (The Straits Times สิงคโปร์)

9. ประสานเชิญสื่อมวลชนเยือนงาน Thailand International Logistics Fair 2010 (7-10 October 2010) และ Bangkok International Gift Fair and Bangkok International Houseware Fair (19-24 October 2010)

10. ประสานเชิญชวนนักธุรกิจ/ผู้นำเข้า

สิงคโปร์เยือนงานแสดงสินค้าในประเทศไทย ได้แก่

  • Thailand International Logistics Fair 2010 (7-10 October 2010)
  • Thailand International Education Exhibition 2010 (8-10 October 2010)
  • Bangkok International Gift Fair and Bangkok International Houseware Fair (19-24 October 2010)

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ สิงคโปร์

ที่มา: http://www.depthai.go.th


แท็ก สิงคโปร์  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ