กระทรวงวิทย์ฯ จัดทำโครงการเฉลิมพระเกียรติ "สมเด็จพระเทพฯ" รวมผลงานด้านนวัตกรรม วท. เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 2 เมษายน 2558

ข่าวทั่วไป Thursday April 2, 2015 13:45 —สำนักโฆษก

วันนี้ ( 1 เมษายน 2558 ) เวลา 11.00 น. ดร. พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานการแถลงข่าวในประเด็น กระทรวงวิทย์ฯ จัดทำโครงการเฉลิมพระเกียรติ "สมเด็จพระเทพฯ" รวมผลงานด้านนวัตกรรม วท. พร้อมด้วย นายสมชาย เทียมบุญประเสริฐ รองปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ วท. และหน่วยงานของ วท. เข้าร่วมงานดังกล่าว ณ ห้องโถงชั้น 1 อาคารพระจอมเกล้า กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นอกจากนี้ ภายในงานได้มีการจัดแสดงนิทรรศการโดยนำโครงการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพฯ มานำเสนอ อาทิ เช่น ระบบข้อมูลภูมิสารสนเทศการพัฒนาระบบ โดย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) โครงการการประกวดรางวัลนวัตกรรมข้าวไทยปี 2558 โดย สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) โครงการกระจายโอกาสการเรียนรู้ดาราศาสตร์ "77 จังหวัด เปิดโลกส่องฟ้าดาราศาสตร์ เปิดโอกาสเรียนรู้ทั่วหล้า" โดยสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) โครงการศึกษาสารองค์ประกอบของผลิตผลจากพืชพรรณในโครงการ อพ.สธ. โดย กรมวิทยาศาสตร์บริการโครงการจัดทำระบบฐานข้อมูลทะเบียนพรรณไม้ชุมชน โดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) เป็นต้น

ก.วิทย์ฯ จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพฯ รวบรวมนวัตกรรมตามพระราชดำริเจ้าฟ้ามหาจักรี

กระทรวงวิทย์ฯ จัดทำโครงการเฉลิมพระเกียรติ "สมเด็จพระเทพฯ" รวมผลงานด้านนวัตกรรม วท. เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 2 เมษายน 2558

วันนี้ ( 1 เมษายน 2558 ) เวลา 11.00 น. ดร. พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานการแถลงข่าวในประเด็น กระทรวงวิทย์ฯ จัดทำโครงการเฉลิมพระเกียรติ "สมเด็จพระเทพฯ" รวมผลงานด้านนวัตกรรม วท. พร้อมด้วย นายสมชาย เทียมบุญประเสริฐ รองปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ วท. และหน่วยงานของ วท. เข้าร่วมงานดังกล่าว ณ ห้องโถงชั้น 1 อาคารพระจอมเกล้า กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นอกจากนี้ ภายในงานได้มีการจัดแสดงนิทรรศการโดยนำโครงการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพฯ มานำเสนอ อาทิ เช่น ระบบข้อมูลภูมิสารสนเทศการพัฒนาระบบ โดย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) โครงการการประกวดรางวัลนวัตกรรมข้าวไทยปี 2558 โดย สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) โครงการกระจายโอกาสการเรียนรู้ดาราศาสตร์ "77 จังหวัด เปิดโลกส่องฟ้าดาราศาสตร์ เปิดโอกาสเรียนรู้ทั่วหล้า" โดยสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) โครงการศึกษาสารองค์ประกอบของผลิตผลจากพืชพรรณในโครงการ อพ.สธ. โดย กรมวิทยาศาสตร์บริการโครงการจัดทำระบบฐานข้อมูลทะเบียนพรรณไม้ชุมชน โดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) เป็นต้น

ดร. พิเชฐ กล่าวว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงมีคุณูปการหาที่สุดมิได้ในการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต และเพิ่มโอกาสทางการศึกษาของประชาชน ทรงเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ได้ทรงใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีหลายรูปแบบในโครงการพัฒนา เพื่อนำความร่มเย็นเป็นสุขให้เกิดแก่ประชาชนชาวไทย ดังนั้น เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 2 เมษายน 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้รวบรวมกิจกรรมของหน่วยงานภายใต้กำกับ ที่ได้จัดทำขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เริ่มจาก

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) จัดทำโครงการกระจายโอกาสการเรียนรู้ดาราศาสตร์ “77 จังหวัด เปิดฟ้าส่องโลกดาราศาสตร์ เปิดโอกาสเรียนรู้ทั่วหล้า” โดยการมอบกล้องโทรทรรศน์ อุปกรณ์และสื่อการสอนที่ผลิตโดยฝีมือคนไทย ให้แก่โรงเรียนและสถานศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน ในประเทศและประเทศเพื่อนบ้าน โดยจะจัดการอบรมครูด้านดาราศาสตร์ ฝึกทักษะการใช้กล้องฯและอุปกรณ์ทางดาราศาสตร์

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) ดำเนินโครงการพัฒนาเขตนวัตกรรมบริการสุขภาพ เพื่อสนับสนุนให้เกิดมีการพัฒนาพื้นที่บริการนวัตกรรมสุขภาพที่มีการนำผลงานวิจัยและพัฒนาบนฐานของชีววิทยาศาสตร์มาเชื่อมโยงกับการบริการทางการแพทย์ให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรมและใช้งานได้จริง โดยจะขยายผลไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ทั่วประเทศเริ่มจาก โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ จ.ปราจีนบุรี สวางคนิเวศ

จ.สมุทรปราการ จ.ระนอง ฯลฯ

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA) จัดทำโครงการความร่วมมือไทย-อินเดีย ทำแผนที่เส้นทางวัฒนธรรมอาเซียน เชื่อมโยงวัฒนธรรมภูมิภาค ทั้งนี้เพื่อบูรณาการเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ มาประยุกต์ใช้ในการศึกษาวิจัยร่องรอยความเจริญของพระพุทธศาสนา ด้านประวัติศาสตร์ โบราณสถาน วัฒนธรรมและปฏิสัมพันธ์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมจากอินเดียมาสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

นอกจากนี้ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA) ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของระบบให้บริการข้อมูลภูมิสารสนเทศโครงการตามพระราชดำริ จึงได้ดำเนินการจัดทำและพัฒนาระบบ 60 พรรษา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร : ระบบข้อมูลภูมิสารสนเทศในโครงการตามพระราชดำริสมเด็จพระพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีขึ้น โดยเป็นระบบออนไลน์ที่มีความทันสมัย สืบค้นได้ง่าย เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ ตลอดจนบุคคลทั่วไปได้เข้ามาศึกษา และนำข้อมูลโครงการตามพระราชดำริไปใช้ให้เกิดประโยชน์

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) จัดตั้งสถานีอ้างอิงพิกัดและเวลามาตรฐานประเทศด้วยระบบดาวเทียมนำทาง หาค่าพิกัดทั้งแนวราบและค่าระดับแนวดิ่งของการสำรวจ มีความสมบูรณ์ในการวิเคราะห์ระดับความตื้น ลึก หนา บาง ของพื้นที่ภูมิประเทศ เพื่อประเมินความเสี่ยงในพื้นที่น้ำท่วม พื้นที่เกษตรกรได้อย่างถูกต้องแม่นยำ

สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (สซ.) จัดทำเครื่องแสดงผลอักษรเบรลล์ 20 เซลล์ โดยพัฒนาต้นแบบจากองค์ความรู้ ความสามารถและศักยภาพของเทคโนโลยีการใช้แสงซินโครตรอน เพื่อช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางสังคม ในกลุ่มผู้พิการทางสายตา

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) จัดกิจกรรมประกวดรางวัลนวัตกรรมข้าวไทยปี 2558

เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมข้าวไทยซึ่งรวมทั้งผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิต เป็นการกระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวในการพัฒนาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมข้าว

สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (สสนก.) จัดทำระบบฐานข้อมูลทะเบียนพรรณไม้ชุมชน เพื่ออนุรักษ์พืชพรรณและความหลากหลายทางชีวภาพท้องถิ่น สร้างแหล่งความรู้ในชุมชนและระบบฐานข้อมูลพรรณไม้ชุมชน ให้เกิดการเชื่อมโยงในระบบเดียวกันเป็นเครือข่ายความรู้พันธุกรรมพืชในแต่ละท้องถิ่น

กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) จัดทำโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชพรรณมะเกี๋ยง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) เพื่อส่งเสริมให้นักวิจัยนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์มะเกี๋ยง อาทิ เครื่องดื่มกึ่งสำเร็จรูป แยม เครื่องดื่มธัญชาติ ฯลฯ

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ดำเนินกิจกรรมและโครงการเฉลิมพระเกียรติถึง 5 โครงการ ประกอบด้วย โครงการผลิตกล้าไม้คุณภาพ 60,000 กล้า เพื่อส่งเสริมการปลูกและอนุรักษ์พันธุกรรมพืชสมุนไพร ผักพื้นบ้าน อาทิ ผักหวานป่า ชมจันทร์ ฟักข้าว เป็นต้น โครงการปลูกอนุรักษ์มเหสักข์และสักสยามินทร์ จำนวน 2,000 ต้น บนพื้นที่ 20 ไร่ ณ สถานีวิจัยลำตะคอง จ.นครราชสีมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์พันธ์สัก มเหสักข์ และสักสยามมินทร์ ที่มีอายุและขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โครงการจัดสร้างอาคารปฏิบัติการและธนาคารเชื้อพันธุกรรมพืช เพื่อเก็บอนุรักษ์เชื้อพันธุกรรมในรูปของเมล็ดพันธุ์ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และการปลูกรักษาในสภาพแปลง โครงการสวนสมุนไพรและแปลงปลูกพืชผักพื้นบ้าน เพื่อปรับปรุงและพัฒนาสวนสมุนไพร และปลูกพืชผักพื้นบ้าน โครงการอาคารเทคโนโลยีการเกษตรเสมือนจริง สำหรับเป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านพฤกษศาสตร์ ด้านการเกษตร และวิทยาศาสตร์ชีวภาพ แก่นักเรียน นักศึกษา นักวิชาการ เกษตรกร และผู้สนใจทั่วไป

นอกจากนี้ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้จัดทำโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริฯ เพื่อเผยแพร่การดำเนินงานของโครงการใน 5 ด้านหลัก ได้แก่ 1) วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตามพระราชดำริ 2) เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา 3) เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อคนพิการ 4) เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเด็กป่วยในโรงพยาบาล และ 5) เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาผู้ต้องขังในทัณฑสถานและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ตลอดจนผลงานและความสำเร็จที่เป็นรูปธรรมให้แก่หน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรเอกชน นักวิชาการ และพสกนิกรทั่วไป ได้ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินโครงการเพื่อพัฒนาประเทศต่อไป และขณะนี้ได้จัดแสดงนิทรรศการ โดยสามารถดาวโหลด Fact Sheet

ข่าวโดย: ทีมโฆษกกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ถ่ายภาพและวีดิโอ : นางสุนิสา ภาคเพียร นาวงษ์,นายรัฐพล หงสไกร

เผยแพร่ข่าว : นางสาวชลธิชา แสงเทียนสุวรรณ, นางสุนิสา ภาคเพียร นาวงษ์

ประสานข้อมูลทั่วไป: กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ สำนักปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

โทร: 02 333 3727-32 โทรสาร: 02 333 3834 อีเมลล์: pr@most.go.th เฟสบุ๊ค: sciencethailand

ที่มา: http://www.thaigov.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ