ประชุมวิชาการ: อนาคตอุดมศึกษาไทย:จะรุ่งหรือจะร่วง

ข่าวทั่วไป Thursday November 26, 2015 15:30 —สำนักโฆษก

รศ.นพ.กำจร ตติยกวี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการบรรยายพิเศษ เรื่องวิสัยทัศน์อุดมศึกษาไทย ในยุคของการเปลี่ยนแปลง วันที่ 26 พฤศจิกายน 2558 ณ โรงแรมแมนดาริรแมเนจ บาย เซ็นเตอร์พอยส์ กรุงเทพฯ ในการประชุมวิชาการ ประจำปี 2558

รศ.นพ.กำจร ตติยกวี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการบรรยายพิเศษ เรื่องวิสัยทัศน์อุดมศึกษาไทย ในยุคของการเปลี่ยนแปลง วันที่ 26 พฤศจิกายน 2558 ณ โรงแรมแมนดาริรแมเนจ บาย เซ็นเตอร์พอยส์ กรุงเทพฯ ในการประชุมวิชาการ ประจำปี 2558 ซึ่งสภาคณาจารย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ร่วมกับที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจัดขึ้นในหัวข้อ อนาคตการศึกษาไทย : จะรุ่งหรือจะร่วง??

ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวในโอกาสนี้ว่า เรื่องของอุดมศึกษานั้นเราต้องมองไปรอบโลกจะมองแค่ของไทยไม่ได้ ต้องมองภาพกว้างของโลก ซึ่งจะทำให้พบคำหนึ่ง คือ World Universityหลายคนพยายามตีความ หมายถึงเมื่อพูดถึงแล้วต้องได้รับการยอมรับในระดับโลก ต้องมีลักษณะ 3 ส่วน คือ 1 Teaching Staff 2 Researchers และ 3 Students มหาวิทยาลัยที่อยู่ระดับโลกจะมี Teaching Staff ที่มีคุณภาพสูงและสามารถถ่ายทอดความรู้ได้ดี มีนักวิจัยที่สร้างผลงานให้กับมหาวิทยาลัยได้ ซึ่งจะนำมาซึ่งStudent และการบริหารจัดการ และมีทรัพยากรที่เพียงพอ ซึ่งเกณฑ์ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก 2014/2015 จะใช้ 6 ประการ คือ ความมีชื่อเสียงด้านวิชาการ ความคิดเห็นของนายจ้างต่อผู้ที่จบการศึกษาจากสถาบันการศึกษา สัดส่วนของอาจารย์ต่อนักศึกษา สัดส่วนผลงานทางวิชาการที่ได้รับการอ้างอิงต่อจำนวนอาจารย์ สัดส่วนอาจารย์ชาวต่างประเทศ และสัดส่วนนักศึกษาชาวต่างประเทศ

ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวต่อไปว่า โครงสร้างความเชื่อมโยงการบริหารระบบอุดมศึกษาไทยมี 155 สถาบันฯ ระดับปริญญาขึ้นไป และ 1สถาบันวิทยาลัยชุมชน ซึ่งงบประมาณที่ได้รับเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งเป็นเหตุผลให้งบประมาณของกระทรวงศึกษาธิการเพิ่มขึ้นด้วย งบประมาณส่วนใหญ่ลงไปที่คน แผนอุดมศึกษามองภาพในอนาคตไว้หลายเรื่อง และต้องแก้ไขในหลายเรื่อง คือ รอยต่อกับการศึกษาระดับอื่น การแก้ปัญหาอุดมศึกษาในปัจจุบัน การพัฒนาบุคลากรในอุดมศึกษา ธรรมาภิบาลและการบริหารจัดการ และการพัฒนาอุดมศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ กรอบแนวคิดแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 12 นั้นอุดมศึกษาต้องเป็นกลไกในการขับเคลื่อนประเทศ พร้อมทั้งต้องเสนอการปฏิรูปอุดมศึกษา บนแนวคิดให้อุดมศึกษาเป็นหัวรถจักร ในการปรับการศึกษาทั้งระบบ ตั้งแต่การศึกษาขั้นพื้นฐานจนถึงอุดมศึกษา ซึ่งจะเป็นโอกาสสำคัญในการเปลี่ยนแปลงของประเทศ

อิชยา/สรุป

ศุภชัย/ภาพ

กลุ่มสารนิเทศ สอ.สป.

ที่มา: http://www.thaigov.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ