กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ผนึกหอการค้าจังหวัดพื้นที่ภาคเหนือ ใช้กลไกอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคเสริมความเข้มแข็ง นักรบเศรษฐกิจ

ข่าวทั่วไป Thursday January 14, 2016 15:35 —สำนักโฆษก

กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ผนึกหอการค้าจังหวัดพื้นภาคเหนือ ใช้กลไกอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคเสริมความเข้มแข็งภาคอุตสาหกรรมและวิสาหกกิจเสริมแกร่ง “นักรบเศรษฐกิจ หรือ Start Ups” หวังเพิ่มมูลค่าธุรกิจกว่า 2,000 ล้านบาท

14 มกราคม 2559 ณ โรงแรมแชงกรีล่า จ.เชียงใหม่ กระทรววงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ ร่วมกับหอการค้าในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือ จัดประชุมเรื่องการสร้างและส่งเสริมความเข้มแข็งของ Start Ups ในภาคเหนือด้วยกลไกสนับสนุนของสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ (สอว.) และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ โดยมี รศ.ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ให้เกียรติเป็นประธานการประชุม พร้อมหารือแลกเปลี่ยนความเห็นร่วมกับผู้แทนหอการค้าจังหวัด อาจารย์จากมหาวิทยาลัยเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ กลุ่มผู้ประกอบการรุ่นใหม่

รศ.ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เปิดเผยถึงวัตถุประสงค์การประชุมดังกล่าว เพื่อเร่งการสร้างธุรกิจนวัตกรรมใหม่ ในกลุ่มเป้าหมายธุรกิจอุตสาหกกรรมสำคัญของภาคเหนือ เช่น อุตสาหกกรรม ไอที ซอฟต์แวร์ ดิจตอล เครื่องสำอาง การแพทย์ หรือนวัตกรรมการท่องเที่ยว เป็นต้น โดยกรอบการดำเนินงานการสร้างและส่งเสริม Northern Innovative Startups จะใช้กลไกของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้แก่ สอว. และสนช. ซึ่ง สอว.ดำเนินงานผ่านอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือที่มี 7 มหาวิทยาลัยเครือข่ายเป็นฐานสำคัญ และ สนช.จะดูแลด้านเงินสนับสนุนนวัตกรรม แก่สมาชิกหอการค้าจังหวัดตลอดจนกลุ่มทายาทธุรกิจภาคเหนือ ที่เข้าร่วมโครงการ โดยมีกรอบแนวทางดำเนินการดำเนินงาน 2 ส่วนสำคัญ ได้แก่

1. การเร่งการสร้างธุรกิจนวัตกรรมใหม่ในพื้นที่ภาคเหนือ โดยการเฟ้นหาผู้ประกอบการนวัตกรรมใหม่(Startup Program) การพัฒนาหลักสูตรนวัตกรรม(Coaching Program) การทดสอบความเป็นไปได้ด้านเทคโนโลยีและโมเดล (Prototyping, Market Validation, and Business Modeling Program ตลอดจนสนับสนุนเงินลงทุนเบื้องต้น (Pitching for Seed Funds)

2. การส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้เข้มแข็งในพื้นที่ภาคเหนือ ประกอบด้วย การสร้างช่องทางการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์และบริการนวัตกรรมในประเทศและต่างประเทศ การสร้างช่องทางการระดมทุนจาก Venture Capitalists และการสร้างความร่วมมือทางธุรกิจ (Business Matching)

การดำเนินงานดังกล่าวจะเน้นการส่งเสริมสนับสนุนนวัตกรรมใหม่ 3 กลุ่ม ได้แก่ (1) IT Software และ Digital Content (2) Medical Spa and Wellness และ (3) Smart Tourism โดยมีแผนสนับสนุนต่อเนื่อง 4 ปีวงเงินงบประมาณร่วมกว่า 225 ล้านบาท ผลที่คาดว่าจะได้รับ หรือเป้าหมายที่คาดหวังให้เกิดขึ้น คือ มีผู้ประกอบการนวัตกรรมใหม่ที่มีศักยภาพสูงที่มุลค่าธุรกิจเบื้องต้นอย่างน้อย 5 ล้านบาท ในภาคเหนือ รวมอย่างน้อย 240 ราย (รวมมูลค่าเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในพื้นที่ 1,200 ล้านบาท)

ด้าน ดร.ธัญญานุภาพ อานันทนะ ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แม่ข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ ได้ชี้แจงเพิ่มเติมรายละเอียดกิจกรรมที่จะดำเนินงานภายใต้กรอบแนวทางข้างต้นว่า ด้านการเร่งการสร้างธุรกิจนวัตกรรมใหม่ในพื้นที่ภาคเหนือ จะมีการเฟ้นหาและสร้าง Startup Coaching ให้แก่บริษัท Startup รวมถึงการสร้าง Feasibility มีงบสนับสนุน 340,000 บาท/ราย สนับสนุนตรงไปยังผู้รับผิดชอบกิจกรรม โดยมีอุทยานวิทยาศาสตร์ เพื่อสร้างความเข้มแข็งแก่ 340,000 บาท/ราย จะมีงบสนับสนุนไม่เกิน 600,000 บาท/ราย (โดยบริษัท Startup Matching 10%) ทั้งนี้บริษัทฯ ต้องจดทะเบียนนิติบุคคลแล้วและเป็นสมาชิกหอการค้าในจังหวัดภาคเหนือ โดยวางแผนสนับสนุนต่อเนื่อง 4 ปี วงเงินงบประมาณรวม 225,600,000 ล้านบาท ปี 2559 สนับสนุน 30 ราย ปี 2560 จำนวน 50 ราย ปี 2561 จำนวน 70 ราย และปี 2562 จำนวน 90 ราย ผลที่คาดว่าจะได้รับ หรือเป้าหมายที่คาดหวังให้เกิดขึ้น คือ มีผู้ประกอบการนวัตกรรมใหม่ที่มีศักยภาพสูงที่มุลค่าธุรกิจเบื้องต้นอย่างน้อย 5 ล้านบาท ในภาคเหนือ รวมอย่างน้อย 240 ราย (รวมมูลค่าเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในพื้นที่ 1,200 ล้านบาท)

สำหรับด้านการส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้เข้มแข็งในพื้นที่ จะเน้นธุรกิจนวัตกรรมเป้าหมายภาคเหนือในกลุ่มอุตสาหกรรมไอที ซอฟต์แวร์และดิจิตอล กลุ่มธุรกิจเมดิคอล สปา และสุขภาพ และนวัตกรรมด้านการท่องเที่ยว โดยมีคณะอนุกรรมการคัดเลือกพิจารณาบริษัท Startup และการตัดสินการสนับสนุนเป็นผู้แทนจาก สอว. สนช.หอการค้าจังหวัดภาคเหนือ ผู้ทรงคุณวุฒิ และอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ ซึ่งจะดำเนินงานในการจัดกิจกรรมสร้างโอกาสของ Startup ด้านการตลาด Venture Capital และ Business Matching เป้าหมาย 4 ปี 2559-2562 รวม 240 ราย คาดว่าผู้ประกอบการนวัตกรรมใหม่ภาคเหนืออย่างน้อย 240 รายมีมูลค่าทางธุรกิจสูงขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 20 มูลค่ารวมทางธุรกิจของผู้ประกอบกการใหม่เฉลี่ยรายละ 10 ล้านบาท รวม 4 ปี มากกว่า 2,400 ล้านบาท

ข่าวโดย: เทียรทอง ใจสำราญ กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ภาพโดย: ภูษิต โพธิ์แสง

ที่มา: http://www.thaigov.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ