
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้ติดตามการคาดการณ์สภาพอากาศพบว่า จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ทั้งนี้ สทนช. ได้ประเมินวิเคราะห์สภาพอากาศ สถานการณ์น้ำ และคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก ดินโคลนถล่ม พบว่ามีพื้นที่บางส่วนเสี่ยงต้องเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม น้ำท่วมขังในเขตชุมชนเมืองที่เกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำ เนื่องจากระบายไม่ทันและระดับน้ำโขงเปลี่ยนแปลง ในช่วงวันที่ 20 - 24 กรกฎาคม 2568 ดังนี้
1. พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม และน้ำท่วมขัง ดังนี้
1.1 ภาคเหนือ บริเวณ จังหวัดเชียงราย (อำเภอเมืองเชียงราย แม่สาย แม่จัน แม่ฟ้าหลวง พญาเม็งราย เวียงชัย เทิง ป่าแดด ขุนตาล เชียงของ เวียงแก่น เวียงเชียงรุ้ง ดอยหลวง และเชียงแสน) จังหวัดแม่ฮ่องสอน (อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน ปางมะผ้า ปาย และสบเมย) จังหวัดเชียงใหม่ (อำเภอเชียงดาว แม่แตง แม่ริม แม่แจ่ม แม่อาย พร้าว จอมทอง และอมก๋อย) จังหวัดลำพูน (อำเภอเมืองลำพูน และบ้านโฮ่ง) จังหวัดลำปาง (อำเภอเมืองลำปาง งาว แจ้ห่ม และเมืองปาน) จังหวัดพะเยา (อำเภอเมืองพะเยา ดอกคำใต้ ปง เชียงคำ ภูซาง และเชียงม่วน) จังหวัดแพร่ (อำเภอสอง ร้องกวาง และวังชิ้น) จังหวัดน่าน (อำเภอเมืองน่าน บ่อเกลือ ปัว ทุ่งช้าง ภูเพียง สองแคว เฉลิมพระเกียรติ เชียงกลาง สันติสุข แม่จริม ท่าวังผา และเวียงสา) จังหวัดตาก (อำเภอท่าสองยาง แม่ระมาด แม่สอด พบพระ และอุ้มผาง) จังหวัดอุตรดิตถ์ (อำเภอฟากท่า ท่าปลา และน้ำปาด) จังหวัดพิษณุโลก (อำเภอนครไทย และวังทอง)
1.2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณ จังหวัดเลย (อำเภอเมืองเลย ท่าลี่ นาด้วง ด่านซ้าย นาแห้ว และปากชม) จังหวัดหนองคาย (อำเภอเมืองหนองคาย โพนพิสัย และรัตนวาปี) จังหวัดบึงกาฬ (อำเภอ
1.3 ภาคตะวันออก บริเวณ จังหวัดชลบุรี (อำเภอบางละมุง และศรีราชา) จังหวัดระยอง (อำเภอเมืองระยอง บ้านค่าย ปลวกแดง และนิคมพัฒนา) จังหวัดจันทบุรี (อำเภอเมืองจันทบุรี ขลุง ท่าใหม่ โป่งน้ำร้อน แก่งหางแมว เขาคิชฌกูฏ นายายอาม มะขาม และแหลมสิงห์) จังหวัดตราด (อำเภอเมืองตราด เขาสมิง คลองใหญ่ และบ่อไร่)
1.4 ภาคตะวันตก บริเวณ จังหวัดกาญจนบุรี (อำเภอสังขละบุรี และทองผาภูมิ)
1.5 ภาคใต้ บริเวณ จังหวัดระนอง (อำเภอเมืองระนอง สุขสำราญ กะเปอร์ ละอุ่น และกระบุรี) จังหวัดพังงา (อำเภอเมืองพังงา คุระบุรี ตะกั่วป่า กะปง และท้ายเหมือง) จังหวัดภูเก็ต (อำเภอเมืองภูเก็ต กะทู้ และถลาง) จังหวัดสุราษฎร์ธานี (อำเภอชัยบุรี บ้านตาขุน พระแสง และบ้านนาสาร)
2. เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและเล็กที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 ของความจุเก็บกักบริเวณ จังหวัดตาก ลำปาง ลำพูน พะเยา น่าน แพร่ สุโขทัย อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เลย หนองคาย สกลนคร อุดรธานี กาฬสินธุ์ นครพนม มุกดาหาร นครราชสีมา ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ปราจีนบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด สุราษฎร์ธานี และกระบี่ และขอให้พิจารณาบริหารจัดการน้ำเขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ กว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา หนองหาร จังหวัดสกลนคร ให้เหมาะสม ไม่ให้เกิดผลกระทบหรือเกิดผลกระทบน้อยที่สุด
3. เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่งและท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขาของแม่น้ำอิง บริเวณอำเภอเชียงคำ เทิง พญาเม็งราย ขุนตาล และเชียงของ จังหวัดเชียงราย แม่น้ำสาย บริเวณอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย แม่น้ำปิง บริเวณอำเภอเชียงดาว แม่แตง แม่ริม และสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ แม่น้ำยม บริเวณอำเภอสอง จังหวัดแพร่ แม่น้ำน่าน บริเวณอำเภอเมืองน่าน ท่าวังผา ภูเพียง และเวียงสา จังหวัดน่าน ห้วยหลวง บริเวณอำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ลำน้ำก่ำ บริเวณอำเภอวังยาง จังหวัดนครพนม ลำน้ำยัง บริเวณอำเภอเสลภูมิ และโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร และลำเซบาย บริเวณอำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร
4. เฝ้าระวังกิจกรรมการใช้น้ำและการสัญจรทางน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ด้านท้ายเขื่อนเจ้าพระยา บริเวณ จังหวัดอ่างทอง และพระนครศรีอยุธยา เนื่องจากการปรับแผนการระบายน้ำเขื่อนเจ้าพระยา ในอัตรา 490 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เป็น 500 - 700 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
5. เฝ้าระวังผลกระทบจากระดับน้ำในแม่น้ำโขงเปลี่ยนแปลง เนื่องจากมีปริมาณฝนตกสะสม บริเวณสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำโขงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่ส่งผลให้ระดับน้ำล้นตลิ่ง บริเวณพื้นที่จังหวัดริมแม่น้ำโขง ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี