สถาบันวัคซีน แจงผลข้างเคียง "ภาวะลิ่มเลือด-เกล็ดเลือดต่ำ" หลังฉีดแอสตร้าฯ พบน้อย-ยันไทยเลิกฉีดแล้ว

ข่าวทั่วไป Friday May 3, 2024 10:09 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

ตามที่มีการเผยแพร่ข่าวในประเด็น บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า ยอมรับว่าวัคซีนโควิด-19 ของบริษัทฯ อาจทำให้เกิดภาวะลิ่ม เลือดร่วมกับภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (Thrombosis with thrombocytopenia syndrome : TTS) ซึ่งอาจทำให้เกิดความกังวลใจของ ประชาชนได้นั้น สถาบันวัคซีนแห่งชาติ รับทราบข้อกังวลดังกล่าวแล้ว และขอให้ข้อมูล ดังนี้

1. ข้อมูลดังกล่าวไม่ใช่ข้อมูลใหม่ แต่เป็นข้อมูลที่ได้รับจากการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่เมื่อเริ่มมีการใช้วัคซีนโควิด 19 ชนิดไวรัสเวกเตอร์ ของบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า ในวงกว้าง ซึ่งจากข้อมูลทั่วโลก พบว่า ภาวะ TTS ที่เกิดขึ้นภายหลังการได้รับ วัคซีนโควิด 19 ชนิดไวรัสเวกเตอร์ เป็นเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่พบได้น้อยมาก โดยรายงานการเกิดภาวะ TTS ภายหลังการฉีดวัคซีน ส่วนใหญ่ มาจากสหราชอาณาจักร (UK) และสหภาพยุโรป (EU) และจากรายงานทั่วโลกพบว่า อุบัติการณ์ของภาวะ TTS ภายหลังการฉีด วัคซีน มีความแตกต่างทางภูมิศาสตร์อย่างมาก โดยมีรายงานน้อยมากที่มาจากประเทศนอกยุโรป

จากข้อมูลขอสหราชอาณาจักร (ณ วันที่ 14 มิ.ย.64) และสหภาพยุโรปคาดการณ์ว่า ความเสี่ยงในการเกิด TTS ของ ประชากรในภูมิภาคอยู่ที่ประมาณ 1 ราย ต่อ 100,000 ประชากร ในขณะที่ฐานข้อมูลความปลอดภัยระดับโลกของบริษัท แอสตร้าเซนเน ก้า พบว่า อัตราการรายงาน TTS ต่อประชากร 1,000,000 ราย อยู่ระหว่าง 0.2 (ในประเทศแถบเอเชียและบราซิล) ถึง 17.6 (ในกลุ่มประเทศนอร์ดิก)

สำหรับประเทศไทย มีการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า ทั้งหมด 48,730,984 โดส พบผู้สงสัยหรือยืนยัน ภาวะลิ่มเลือดอุดตันร่วมกับเกล็ดเลือดต่ำ จำนวน 7 ราย อัตราการเกิดภาวะ TTS เท่ากับ 0.014 ต่อ 100,000 ประชากร หรือจะพบผู้ มีภาวะดังกล่าวได้ 1 ราย ในผู้ที่ได้รับวัคซีนจำนวน 10,000,000 คน

2. ภาวะ TTS ที่เกิดขึ้นภายหลังจากการได้รับวัคซีน ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นภายใน 3-21 วันแรกหลังจากที่ได้รับวัคซีน ซึ่งมักพบ ภายหลังการฉีดวัคซีนเข็มแรกมากกว่าเข็มที่สอง และพบในคนอายุน้อยมากกว่าผู้สูงอายุ ปัจจุบันยังไม่ทราบปัจจัยเสี่ยงที่เฉพาะเจาะจง สำหรับการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันร่วมกับภาวะเกล็ดเลือดต่ำ โดยจากการเก็บข้อมูลพบว่าภาวะ TTS มักเกิดในผู้ป่วยที่เคยมีประวัติการ เกิดลิ่มเลือดมาก่อน ผู้ป่วยที่เป็นโรคแพ้ภูมิตัวเอง รวมถึงผู้ที่มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำจากระบบภูมิคุ้มกัน

ทั้งนี้ ข้อมูลความเสี่ยงของภาวะดังกล่าว ได้ถูกเพิ่มเติมในเอกสารกำกับยาของวัคซีนโควิด-19 ของบริษัท แอสตร้าเซนเน ก้า หัวข้อ "คำเตือนพิเศษ และข้อควรระวังในการใช้ยา" ตั้งแต่วันที่ 8 ก.ย.64 ภายหลังจากที่มีข้อมูลภายหลังการใช้วัคซีนในวงกว้าง มากขึ้น ทำให้หลังจากนั้นสามารถติดตามเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์ดังกล่าวที่อาจเกิดขึ้นภายหลังการฉีดวัคซีน และสามารถให้การรักษา ภาวะดังกล่าวได้อย่างเหมาะสม

3. ความเสี่ยงของการเกิดภาวะ TTS ภายหลังจากการป่วยด้วยโควิด-19 สูงกว่าความเสี่ยงที่เกิดจากการได้รับวัคซีนโค วิด-19 หลายเท่า จากการเก็บข้อมูลในอังกฤษ ซึ่งมีประชาชนจำนวน 19,608,008 คน ที่ได้รับวัคซีนโควิด-19 ของบริษัท แอสตร้าเซน เนก้า เป็นโดสแรก กับกลุ่มประชาชนที่มีผลบวกในการตรวจการติดเชื้อ SAR-CoV-2 จำนวน 1,758,095 คน ในการศึกษา สามารถ วิเคราะห์ข้อมูลอัตราเสี่ยงของการเกิดภาวะต่างๆ ในช่วง 8-14 วันหลังได้รับวัคซีน ซึ่งเป็นช่วงที่มีรายงานอุบัติการณ์สูงสุดได้ ดังนี้

ภาวะที่มีความเสี่ยง              อัตราความเสี่ยงภายหลังจากรับวัคซีนโควิด-19            อัตราเสี่ยง
                                 ของบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า             ภายหลังการป่วยด้วยโควิด-19
ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ
(Thrombocytopenia)                       1.33                               5.27

ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ
(Venous thromboembolism)                 1.10                              13.86

ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดแดง
(Arterial thromboembolism)               1.02                               4.52

4. องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ออกเอกสารคำแนะนำสำหรับการใช้วัคซีนโควิด-19 ของบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า ตั้งแต่ วันที่ 10 ก.พ.64 และได้มีการปรับคำแนะนำอย่างต่อเนื่องเป็นระยะ เมื่อมีข้อมูลภายหลังการใช้ที่มากขึ้น โดยมีการปรับปรุงคำแนะนำล่า สุดเมื่อวันที่ 15 มี.ค.65 มีใจความสำคัญเกี่ยวกับประเด็นภาวะ TTS ที่เกิดภายหลังได้รับวัคซีนโควิด-19 ชนิดไวรัสเวกเตอร์ ของบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า ดังนี้

"ในประเทศที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง ประโยชน์ของการฉีดวัคซีนป้องกันโรค มีมากกว่าความ เสี่ยงอย่างมาก อย่างไรก็ตาม การประเมินประโยชน์และความเสี่ยงอาจแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ ทั้งนี้ แต่ละประเทศควรพิจารณา สถานการณ์ทางระบาดวิทยา ความเสี่ยงในระดับบุคคลและประชากร ความพร้อมของวัคซีนชนิดอื่นๆ และทางเลือกสำหรับการลดความ เสี่ยง ซึ่งจากข้อมูลทั่วโลกพบว่า การรับวัคซีนมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยงสูงที่สุดในกลุ่มผู้สูงอายุ เนื่องจากหากประชากรในกลุ่มนี้ป่วย ด้วยโควิด-19 มีโอกาสที่จะป่วยหนักหรือเสียชีวิตได้ และความเสี่ยงของการเกิดลิ่มเลือดอุดตันที่มีสาเหตุมาจากการป่วยด้วยโควิด-19 จะ เพิ่มขึ้นตามอายุ นอกจากนี้ สำหรับผู้ที่มีภาวะ TTS ภายหลังการรับวัคซีนโดสแรก ไม่ควรได้รับวัคซีนชนิดเดิมเป็นโดสที่สอง

5. ปัจจุบัน ประเทศไทยไม่ได้มีการฉีดวัคซีนโควิด-19 ชนิดไวรัสเวกเตอร์ ของบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า แล้ว

เมื่อพิจารณาจากข้อมูลข้างต้น พบว่าความเสี่ยงของการเกิดภาวะ TTS ที่เป็นผลมาจากการป่วยด้วยโควิด-19 มีอุบัติการณ์ สูงกว่า ภายหลังการฉีดวัคซีนโควิด-19 ชนิดไวรัสเวกเตอร์ ของบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า อย่างมาก และทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย มี ระบบกำกับดูแลความปลอดภัยของการใช้วัคซีนที่มีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของประชาชนเป็นหลัก เพื่อให้ประชาชนได้รับ ประโยชน์จากการฉีดวัคซีนมากกว่าความเสี่ยงที่ได้รับอย่างดีที่สุด

อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงภายหลังจากการได้รับวัคซีนเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ แต่จะมีการควบคุมให้มีโอกาส เกิดขึ้นน้อยที่สุด ก่อนการพิจารณาอนุญาตให้ใช้วัคซีนในวงกว้าง ขอให้ประชาชนคลายความกังวลใจ ทั้งนี้ หากมีข้อมูลเพิ่มเติม สถาบันวัคซีน แห่งชาติจะทำการอัปเดตข้อมูลให้ทราบเป็นระยะ


แท็ก ข้อมูล  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ