นิด้าโพล เผยผลสำรวจ ปชช.เกินครึ่งเห็นด้วยคสช.ใช้เวลา 12 เดือนปฏิรูปปท.

ข่าวการเมือง Sunday July 6, 2014 12:03 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “กรอบเวลาการปฏิรูปประเทศของ คสช."
ถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับกรอบระยะเวลา 12 เดือนในการปฏิรูปประเทศ และการจัดการเลือกตั้งในเดือน ตุลาคม 2558 ตาม Road Map ของ คสช. พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 58.60 ระบุว่า กรอบระยะเวลามีความเหมาะสม รองลงมา ร้อยละ 21.34 ระบุว่า กรอบระยะเวลายาวและช้าเกินไป ร้อยละ 17.75 ระบุว่า กรอบระยะเวลาสั้นและเร่งรีบเกินไป และร้อยละ 2.31 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

ด้านความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสภาพการณ์การเมืองไทยหลังการปฏิรูปประเทศ และหลังการเลือกตั้งในปี 2558 พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 35.91 ระบุว่า สภาพการณ์การเมืองไทยจะดีขึ้นเล็กน้อย รองลงมา ร้อยละ 35.43 ระบุว่า สภาพการณ์การเมืองไทยจะดีขึ้นมาก ร้อยละ 20.30 ระบุว่า สภาพการณ์การเมืองไทยจะเหมือนเดิม ร้อยละ 3.74 สภาพการณ์การเมืองไทยจะแย่ลง และร้อยละ 4.62 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

ท้ายสุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการปฏิรูปการเมืองในด้านต่าง ๆ ของ คสช. ที่คาดว่าจะประสบความสำเร็จมากที่สุด พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 43.55 ระบุว่า เป็นการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันของนักการเมืองและข้าราชการ รองลงมา ร้อยละ 24.68 ระบุว่า เป็นการแก้ไขปัญหาความแตกแยกทางการเมือง ร้อยละ 9.08 ระบุว่า เป็นการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมนักการเมือง เช่น การไม่มีจริยธรรม การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง ร้อยละ 4.78 ระบุว่า เป็นการแก้ไขปัญหาการเข้าครอบงำพรรคการเมืองของกลุ่มทุน ร้อยละ 3.66 ระบุว่า เป็นการแก้ไขปัญหาการถ่วงดุลอำนาจระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร และเป็นการแก้ไขปัญหาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตัดสินใจสาธารณะ ในสัดส่วนที่เท่ากัน ร้อยละ 1.59 ระบุว่า เป็นการแก้ไขปัญหาการซื้อสิทธิ์ขายเสียง ร้อยละ 1.35 ระบุว่า เป็นการแก้ไขปัญหาประสิทธิภาพองค์กรอิสระ เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ ปปช. กกต. ร้อยละ 1.27 ระบุว่า ไม่สามารถแก้ไขได้ และ ร้อยละ 6.38 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

ทั้งนี้ ระยะเวลาทำการสำรวจระหว่างวันที่ 2 – 3 กรกฎาคม 2557 จากประชาชนทั่วประเทศ กระจายทุกระดับการศึกษาและอาชีพ รวมทั้งสิ้นจำนวน 1,256 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับกรอบเวลาการปฏิรูปประเทศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อาศัยการสุ่มตัวอย่างจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล" ด้วยความน่าจะเป็นแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งภูมิภาคออกเป็น 5 ภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภาคสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ (Systematic Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95.0 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.4


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ