ครม.เห็นชอบนโยบายและแผนความมั่นคงแห่งชาติ ปี 60-64

ข่าวการเมือง Tuesday October 10, 2017 16:34 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบร่างนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ.2560-2564) ตามที่สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เสนอ

สาระสำคัญของนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติฯ ฉบับใหม่ คือ 1.นโยบายความมั่นคงแห่งชาติ มีจำนวน 16 นโยบาย ประกอบด้วย 1) เสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติและการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 2) สร้างความเป็นธรรม ความปรองดอง และความสมานฉันท์ในชาติ 3) ป้องกันและแก้ไขการก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 4) จัดระบบการบริหารจัดการชายแดนเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาข้ามพรมแดน 5) สร้างเสริมศักยภาพการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยคุกคามข้ามชาติ 6) ปกป้อง รักษาผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล 7) จัดระบบ ป้องกัน และแก้ไขปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมือง 8) เสริมสร้างความเข้มแข็งและภูมิคุ้มกันความมั่นคงภายใน 9) เสริมสร้างความมั่นคงของชาติจากภัยการทุจริต 10) เสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ 11) รักษาความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 12) เสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานและอาหาร 13) พัฒนาระบบการเตรียมพร้อมแห่งชาติเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของชาติ 14) เสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพการป้องกันประเทศ 15) พัฒนาระบบงานข่าวกรองให้มีประสิทธิภาพ และ 16) เสริมสร้างดุลยภาพในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

ส่วนแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่งคงแห่งชาติ มีจำนวน 19 แผน ประกอบด้วย 1) การเสริมสร้างความมั่นคงของมนุษย์ 2) การข่าวกรองและการประเมินสถานการณ์ความมั่นคงระยะยาว 3) การเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติภายใต้การปกครองระบอบประชาธิไปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 4) การพัฒนาระบบการเตรียมพร้อมแห่งชาติ 5) การพัฒนาศักยภาพการป้องกันประเทศ 6) การสร้างความสามัคคีปรองดอง 7) การป้องกันและแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 8) การบริหารจัดการผู้หลบหนีเข้าเมือง 9) การป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ 10) การป้องกันและปราบปรามยาเสพติด 11) การเสริมสร้างความมั่นคงของชาติจากภัยทุจริต 12) การรักษาความมั่นคงพื้นที่ชายแดน 13) การรักษาความมั่นคงทางทะเล 14) การป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยคุกคามข้ามชาติ 15) การป้องกันและแก้ไขปัญหาความมั่นคงทางไซเบอร์ 16) การรักษาดุลยภาพสภาวะแวดล้อมระหว่างประเทศ 17) การรักษาความมั่นคงทางพลังงาน 18) การรักษาความมั่นคงด้านอาหารและน้ำ และ 19) การรักษาความมั่นคงด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ