(เพิ่มเติม) "สมัคร"คาดแถลงนโยบาย18-19ก.พ.นี้,เชื่อมโยงระบบขนส่งมวลชน-อุโมงค์ผันน้ำ

ข่าวการเมือง Sunday February 10, 2008 16:37 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

          นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ"สนทนาประสาสมัคร" ว่า จะพิจารณาร่างนโยบายเพื่อแถลงต่อรัฐสภาให้แล้วเสร็จภายในวันจันทร์นี้ก่อนที่จะเสนอเข้าสู่คณะรัฐมนตรีในวันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์นี้ และต้องส่งให้สภาผู้แทนราษฎรก่อน 3 วันเพื่อศึกษารายละเอียด โดยคาดว่าจะแถลงได้ในวันที่ 18 -19 กุมภาพันธ์นี้ ซึ่งจะหารือกับพรรคฝ่ายค้านเพื่อกำหนดวันอภิปรายนโยบายรัฐบาลอีกครั้ง
"อยากเรียนว่าวันอังคาร ก็ระหว่างนี้วันหยุดก็ประชุมซักซ้อมนโยบายกันเสร็จ กำลังรีบพิมพ์วันจันทร์ให้ ครม. อ่าน วันอังคารเอาไปอนุมัติกันอย่างเป็นทางการ เช้าวันพุธ ก็พิมพ์ เขาต้องการเวลา 6 ชั่วโมง พิมพ์แล้วก็แจก ต้องให้สภาฯ ก่อน 3 วัน เราก็ประมาณการไว้วันจันทร์นะครับ วันจันทร์ที่ 18 ข้ามไป 19 ก็ได้ เพราะเราไม่เอาวันพุธ ธรรมดาเขาจะมีงานพระราชพิธี ก็หลีกเลี่ยง ก็ถอยลงมาได้ทุกอย่างเซ็ตไว้เรียบร้อยแล้วครับ"นายสมัคร กล่าว
สำหรับการยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% จะให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและจะต้องคุยกับพรรคร่วมรัฐบาลทั้ง 6 พรรคก่อน
"ถามว่า 30% จะยกเลิกมั้ย คำตอบของผมก็คือว่า การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ทุกพรรคการเมืองบอกประชาชนที่ไปหาเสียงว่าจะยกเลิก 30% แต่ทว่าเมื่อมาเป็นพรรคการเมืองร่วมกันแล้ว ฝ่ายค้านจะคิดอย่างไรไม่ทราบ แต่ว่าจะรวมกัน 6 พรรคนี่ เขามีความเห็นตรงกัน ถึงกระนั้น วันอังคารนี่เราจะเจอกัน 6 พรรค ก็จะให้รัฐมนตรีคลังสอบถามซะว่ายังเห็นตรงกันมั้ย
*ยืนยันเดินหน้านโยบายเชื่อมโยงรถไฟฟ้าสู่ภูมิภาค
นายสมัคร กล่าวถึงการเดินหน้าแก้ปัญหาระบบขนส่งมวลชนให้เป็นรูปธรรม หลังจากที่เห็นว่าล่าช้ามา 30 ปี โดยเน้นขยายเส้นทางออกไปยังชานเมือง เนื่องจากประชาชนจะได้รับประโยชน์มาก ซึ่งจะเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟฟ้าออกไปทุกภูมิภาค เช่น ขยายเส้นทางจากหมอชิตไปลำลูกกา บางใหญ่ อ้อมน้อย และบางปู เส้นทางละ 30 กิโลเมตร โดยน่าจะแล้วเสร็จภายใน 3 ปี
"มันจะต้องเหยียดยาวออกไปอยู่ที่หมอชิตมันต้องยาวเข้าไปลำลูกาไปอีก 30 กิโลอยู่ทางเรียบเดียวนี้มีทางรถไฟใต้ดินไปโผล่ที่บางซื่อต้องเหยียดยาวไปทางบางใหญ่ เกือบ 25 กิโล ไปจ่ออยู่ที่ทางเรียบตากสิน เมือก่อนมันทำไม่ได้มันอยู่นอกเขต กทม ตอนนี้ผมทำได้ผมเป็นรัฐบาล ไม่ใช่ไปหยุดอยู่ที่หมดชิตซึ้งยาวไปอนุสรณ์สถานแล้วก็ไปลำลูกกา ต้องไปบางใหญ่โน้น แล้วทางสายอ่อนนุชได้ไปแค่สำโรงยาวออกไปเลยนะครับไปในเมืองเสร็จก็ออกโน้นบางพูลเลย ท่านต้องหลับตามองเห็นว่านี้คือ สี่แฉกใช้ของเก่าที่มีอยู่ต้องขึ้นไปดูข้างบนไปดูบนหลังคาตึกแล้วมองลงมาบอก ในความไม่ดีก็มีดีอยู่คือสถาน 21สถานนีเนี้ยะเขาสร้างดีเขาสร้างเก่งสถานนีมาตราฐานดูข้างบนบอกมันจอดได้ 6 ตู้ แต่ใช้ 3 ตู้เพราะคนโดยสารมีขนาดนี้ ถ้าเพิ่มเป็น 6 ตุ้ ก็เท่ากับเท่าตัวนี้หมายความว่าถ้าเราเยียดออกไปข้างละ 30 โลเพราะฉะนั้นแล้วในเมืองไม่ต้องใช้คือระบบเขาดีเขาใช้ได้เราเป็น 6 ก็จะได้เท่าตัวเวลาที่ใช้ 5 นาที ขบวนถ้าเป็น 2 นาทีครึ่งขบวนก็เป็นอีกเท่าตัว"
ในส่วนของวงแหวนรอบใน จะมีการขยายเส้นทางรถไฟใต้ดิน 40 กิโลเมตร
"มันจะต้องสะดวกของประชาชนก็คือวงแหวนรอบใน 40 กิโลครับถนนรัชดาภิเษกตรงใหนรัชดาภิเษกก็เอาตั้งแต่คลองเตยวิ่งมาจากครองเตยไปถึง อโศกมนตรีก็ได้ครับไป อสมท วิ่งยาวโค้งไปจนกระทั้งถึงรัชโยธินข้ามวิภาวดี ออกไปแล้วก็ยาวออกไปแล้วก็ไปข้ามสะพานพระราม 7 ข้ามไปถึงโรงไฟฟ้าที่ยันฮีพระนครเหนือแล้วก็วิ่งจรันสนิทวงตลอดเลยครับจนกระทั้งไปถึงมไหสวรรค์และก็บ้านสะพานกรุงเทพฯ และก็วิ่งไปสะพานวิ่งไปตามถนนพระราม 3 ก็ไปออกคลองเตยรูปร่างแบบนี้ 40 กิโลมีรถใต้ดินอยู่ใต้ดินเป็นเวลา 6 ปี รถใต้ดินวิ่งสวนกันเขาเรียกว่าวิ่งวน 40 กิโล แล้วออกไปข้านอก 100 กิโล ออกไปข้างนอกคือยกระดับ ยกระดับตรงไหน ยกตัวอย่าง ตรงบางหว้า บางหว้ามีถนนใหม่"
*เร่งสร้างอุโมงค์ผันน้ำจากโขงแก้ภัยแล้งในอีสาน
นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ย้ำถึงความจำเป็นในการดำเนินโครงการสร้างอุโมงค์ผันน้ำจากแม่น้ำโขงว่า เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมรับมือปัญหาขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภคในภาคอีสาน ซึ่งหลายพื้นที่พบว่าประชาชนกำลังประสบปัญหาดังกล่าวอยู่และเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นซ้ำซากทุกปี ซึ่งจะนิ่งนอนใจไม่ได้ ภายใต้การบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่
"เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ก็เกิดแล้ว น้ำก็มาแล้ว และช่วยกรุงเทพฯ อยู่ทุกวันนี้ 960 ล้าน เรามีสิทธิ์จะได้น้ำ ได้ 3,500 มีอย่างนั้น แถวใกล้ ๆ ตรงนั้นสัก 3 เขื่อน เขื่อนละ 1,000 ไม่ได้ยากเย็น ไม่ต้องมีหลืบต่าง ๆ นี่คิดให้ฟังเท่านั้นล่ะครับว่า ถ้ามันมีที่เก็บไว้ แล้วต่อไปก็ส่ง จะส่งใส่แม่น้ำก็ได้ จะส่งใส่น้ำมูลน้ำชีก็ได้ หรือว่าจะวางตามท่อ ก็หลับตามองเห็นท่อนี่เมดอินไทยแลนด์นะครับ ถ้ามันมีอ่างใหญ่ขนาดเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ถ้าทำอย่างนั้นเสร็จแล้วมันก็มีน้ำมาเก็บอีสานต้องการน้ำ 4-6 เดือนหน้าฝนไม่ต้องไปยุ่งแต่หน้าแล้งก็เอาน้ำใส่ท่อ"
อย่างไรก็ดี ก่อนหน้านี้ นายธีระ วงศ์สมุทร อธิบดีกรมชลประทาน ได้ออกมาแสดงความเห็นว่าโครงการดังกล่าว ด้านเทคนิคสามารถที่จะดำเนินการได้อย่างแน่นอน เพราะจากสภาพพื้นที่ของภาคอีสานที่อยู่ต่ำกว่าระดับแม่น้ำโขง ซึ่งกรมชลประทานพร้อมให้การสนับสนุนดำเนินโครงการอย่างเต็มที่

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ