แถลงการณ์ของบริษัทระบุว่า บริษัทและบริษัทในเครือคาดว่าจะมีกำไร 3 พันล้านหยวน (455 ล้านดอลลาร์) ในปี 2553 ส่วนรายได้คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 32% เมื่อเทียบกับปีก่อน แตะระดับ 1.85 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงกว่าเป้าหมายสำหรับปีที่ 1.5 แสนล้านดอลลาร์
ทั้งนี้ หวูฮั่น ไอรอน แอนด์ สตีล คอร์ป เป็นรัฐวิสาหกิจและเป็นบริษัทแม่ของ หวูฮั่น ไอรอน แอนด์ สตีล จำกัด ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เซี่ยงไฮ้และเป็นโรงถลุงเหล็กรายใหญ่อันดับ 3 ของจีน
-- ไลหวู สตีล รายงานว่า แผนการควบกิจการระหว่าง จี๋หนาน ไอรอน แอนด์ สตีล และ ไลหวู สตีล ซึ่งทั้งคู่เป็นบริษัทจดทะเบียนและบริษัทในเครือของชานตง ไอรอน แอนด์ สตีล กรุ๊ป ได้รับการปฏิเสธจากกลุ่มผู้ถือหุ้นของไลหวู สตีล
แต่อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอในการควบกิจการดังกล่าวได้รับการอนุมัติโดยผู้ถือหุ้นชั่วคราวของจี๋หนาน สตีล ในการประชุมสามัญเมื่อวันที่ 31 ธันวาคมที่ผ่านมา
-- เหอเป่ย ไอรอน แอนด์ สตีล กรุ๊ป ผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่สุดของจีน ได้ลงนามในสัญญาปรับปรุงโครงสร้างทางการเงินกับผู้ประกอบการโรงถลุงเหล็กจำนวน 7 ราย เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2553 ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ เหอเป่ย์ ไอรอน แอนด์ สตีล กรุ๊ป ซึ่งมีฐานการผลิตในภาคเหนือของจีนได้เข้าซื้อกิจการโรงถลุงเหล็กกว่า 12 แห่ง ภายในชวงแค่ 50 วัน ซึ่งประกอบไปด้วย บริษัทจำกัดจำนวน 5 รายในเดือนพฤศจิกายน 2553 โดยเหอเป่ย์ ไอรอน แอนด์ สตีล กรุ๊ป เป็นรัฐวิสาหกิจและบริษัทแม่ของ เหอเป่ย์ ไอรอน แอนด์ สตีล จำกัด ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เสิ่นเจิ้น
-- หูหนาน นอนเฟอร์รัส มีทัลส์ ประกาศว่า บริษัทได้เข้าซื้อหุ้นของซูโจว ไดมอนด์ จำนวน 4.625 ล้านหุ้น คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 18.615 ล้านหยวน เมื่อวันที่ 28 ธันวาคมที่ผ่านมา
ณ วันดังกล่าว ซูโจว ไดมอนด์ มีมูลค่าตามบัญชีที่ยังไม่ผ่านการรับรองของผู้ตรวจสอบเท่ากับ 543 ล้านหยวน
-- จู จี๋มิน ประธานบริษัท โจวกัง กรุ๊ป ซึ่งเป็นผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ของจีนกล่าวว่า บริษัทมีเป้าหมายจะเพิ่มกำลังการผลิตขึ้นเป็น 30 ล้านตันในปี 2555 โดยการก่อสร้างในเฟสแรกของโรงถลุงเหล็กจิงถังจะแล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2553 ซึ่งจะทำให้บริษัทกำลังการผลิตเหล็กเพิ่มขึ้น 9.7 ล้านตัน
-- จินชวน กรุ๊ป ผู้ผลิตนิกเกิ้ลรายใหญ่สุดของจีน ได้ปรับราคานิกเกิ้ลขึ้นเป็น 186,000 หยวน/ตัน จากราคา 184,000 หยวน/ตัน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553
-- ราคาทองคำที่ตลาดฮ่องกงเพิ่มขึ้น 100 ดอลลาร์ฮ่องกง ปิดที่ระดับ 13,138 ดอลลาร์ฮ่องกง/ตำลึง เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา โดยราคาดังกล่าวเทียบเท่ากับ 1,386.41 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ เพิ่มขึ้น 11.16 ดอลลาร์สหรัฐ ที่อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ/ 7.771 ดอลลาร์ฮ่องกง สำนักข่าวซินหัวรายงาน