ธอมสัน รอยเตอร์ ประกาศรายชื่อสถาบันการเงินที่ได้รับรางวัลด้านการปริวรรตเงินตราต่างประเทศ (FX AWARDS) เป็นครั้งที่สองสำหรับวงการการเงินของไทย เพื่อส่งเสริมความโปร่งใสและสภาพคล่องในตลาดปริวรรตเงินตราของไทย และ ตระหนักถึงความสำคัญของตลาดดังกล่าวที่มีต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
สำหรับสถาบันการเงินที่ได้รับรางวัลนั้น ได้รับการคัดเลือกจากปริมาณการซื้อขายและการให้ข้อมูลด้านราคาผ่านระบบซื้อ ขายอัตราแลกเปลี่ยนแบบอิเล็กทรอนิกส์ของธอมสัน รอยเตอร์ ได้แก่
-สาขาผู้จัดสรรสภาพคล่องดอลลาร์สหรัฐ/บาทยอดเยี่ยม (จากระบบซื้อขาย Dealing Spot Matching)
รางวัลชนะเลิศ: ธนาคารดอยซ์ แบงก์
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1: ธนาคารกรุงเทพ
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2: ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย)
-สาขาผู้จัดสรรสภาพคล่องสกุลเงินต่างประเทศยอดเยี่ยม (จากระบบซื้อขาย Dealing Spot Matching)
รางวัลชนะเลิศ: ธนาคารเจพี มอร์แกน เชส
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1: ธนาคารทหารไทย
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2: ธนาคารกรุงเทพ
-สาขาผู้จัดสรรสภาพคล่องสกุลเงินต่างประเทศยอดเยี่ยม (จากระบบซื้อขาย RTFX)
รางวัลชนะเลิศ: ธนาคารธนชาต
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1: ธนาคารยูโอบี
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2: ธนาคารกสิกรไทย
-สาขาผู้ให้ข้อมูลอัตราแลกเปลี่ยนยอดเยี่ยม
รางวัลชนะเลิศ: ธนาคารไทยพาณิชย์
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1: ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ คอร์ปอเรชั่น
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2: ธนาคารโตเกียว มิตซูบิชิ
-สาขาผู้ให้ข้อมูลอัตราดอกเบี้ยสกุลเงินบาทยอดเยี่ยม
รางวัลชนะเลิศ: ธนาคารซิตี้แบงก์
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1: ธนาคารทหารไทย
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2: ธนาคารดอยซ์ แบงก์
นางสาวสุวิมล เตชัสวรารักษ์ ผู้จัดการธุรกิจ ธอมสัน รอยเตอร์ ประจำประเทศไทย เวียดนาม และอินโดจีน ระบุว่า การซื้อขายเงินตราต่างประเทศเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่มีปริมาณการซื้อขายที่สูง และยังคงได้รับความสนใจอย่างมากจากวงการซื้อ ขายทั่วโลก โดยในเดือนมกราคม 2544 มีปริมาณการซื้อขายในตลาดสปอตทั่วโลกโดยเฉลี่ยต่อวันมากกว่า 1.45 แสนล้านดอลลาร์ โดยธอมสัน รอยเตอร์ เป็นบริษัทแรกที่เปิดตัวระบบซื้อขายอิเล็กทรอนิกส์สำหรับค่าเงินบาทเทียบกับดอลลาร์ สหรัฐ ผ่านทางบริการจับ คู่การซื้อขายทางอิเล็กทรอนิกส์
ทั้งนี้ เงินบาทแข็งค่าขึ้น 10.5% ในปี 2553 ซึ่งนับเป็นสกุลเงินที่ปรับตัวขึ้นแข็งแกร่งที่สุดเป็นอันดับสามในเอเชียรอง จากเงินเยน ญี่ปุ่น และมาเลเซียน ริงกิต และในปีเดียวกันตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้น 41% จากกระแสเงินทุนต่างชาติที่ไหลเข้าเป็น มูลค่าถึง 1.9 พันล้านดอลลาร์ โดยประเทศไทยมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับสองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รองจาก อินโดนีเซีย